เป็นแม่ควรจะอิ่มเอิบใจ แต่ทำไมกลับเศร้า อาจเป็นเพราะ “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด”

เนื้อหาในบทความนี้

“เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ทำไมฉันรู้สึกหม่นหมอง และเหนื่อยอ่อน” เมื่อสถานะเปลี่ยนเป็นคำว่า “แม่” ควรจะรู้สึกสุข แต่ทำไมความรู้สึกเศร้า หดหู่ ทุกข์ใจจึงมาแทนที่ ฉันควรจะยินดี และมีสุขที่ได้ใกล้ชิดลูกน้อย

องค์การอนามัยโลก ได้ระบุว่า 1 ใน 5 ของคุณแม่หลังคลอดในประเทศกำลังพัฒนา มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และตัวเลขอาจเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่ได้รับการดูแลจากจิตแพทย์ ดังนั้น แม่หลังคลอดควรทำความเข้าใจ และเตรียมรับมือกับภาวะอารมณ์หลังคลอด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

สาเหตุภาวะซึมเศร้าหลังคลอด มาจากฮอร์โมนหลังคลอด และปัจจัยด้านอื่นๆ ดังนี้

● ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อภาวะอารมณ์

● การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปจากเดิม ต้องคอยดูแลลูก ทำให้แม่หลังคลอดปรับตัวไม่ทัน เกิดความวิตกกังวล และความเครียด

● ปัญหาด้านสุขภาพที่เป็นก่อนตั้งครรภ์ เช่น เป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง โรคไบโพลาร์ หรือครอบครัวมีประวัติเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

● ปัจจัยทางอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาทางด้านการเงิน การงาน ความสัมพันธ์ในครอบครัว

รู้จักกับ อาการทางจิตหลังคลอด ตั้งแต่อาการระดับเบา จนถึงขั้นรุนแรง

1.ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue หรือ Baby Blue )

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ postpartum blue คือ อาการที่คุณแม่หลังคลอดส่วนมากจะต้องเผชิญ มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด ซึ่งเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีความกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูก ความอ่อนเพลียทางด้านร่างกาย ทำให้คุณแม่มือใหม่อาจตั้งตัวไม่ทัน จึงเกิดความเครียดตามมา แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อคุณแม่เริ่มปรับตัวได้ และสามารถหายได้เอง จึงถือว่ายังไม่รุนแรงนัก และอาการนี้เรียกอีกอย่างว่า เบบี้บลู (Baby Blue) ซึ่งเชื่อว่าคุณแม่หลายท่านต้องเคยได้ยินกันบ่อยๆ

อาการเบบี้บลู (Baby Blue) คุณแม่จะมีอาการ ดังนี้

1. วิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ

2.  อารมณ์สวิง ขึ้นๆ ลงๆ ทำให้มีอาการหงุดหงิด หรืออยู่ๆ มีอาการซึมเศร้า และร้องไห้

3.  รู้สึกเหนื่อยหน่าย เซื่องซึมเป็นบางครั้ง

ดังนั้น คุณแม่หลังคลอด ที่พบว่าตัวเองมีอาการดังที่กล่าวมา อย่ากังวลใจกับอาการเบบี้บลู (Baby Blue) ไปค่ะ เพราะเบบี้บลู (Baby Blue) หรือ postpartum blue คือ ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในคุณแม่หลังคลอดตามธรรมชาติ เพียงแค่คุณแม่รับมือได้ ก็จะกลับมาสดใส และแฮปปี้กับลูกน้อย และคนข้างๆ ได้เช่นเดิมค่ะ  

2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)

โรคซึมเศร้าหลังคลอด เป็นภาวะอาการทางจิตต่อเนื่องมาจากภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรืออาการเบบี้บลู (Baby Blue) เกิดขึ้นตั้งแต่ 2 สัปดาห์ – 6 เดือน ซึ่งจะมีอาการรุนแรงกว่าอาการเบบี้บลู (Baby Blue) และมีอาการเกิดขึ้นต่อเนื่องเกือบตลอดเวลา ต้องสังเกตอาการให้ดี หากมีอาการนานเกิน 2 สัปดาห์  “ ต้องได้รับการดูแล รักษาที่ถูกต้องจากจิตแพทย์ ”

โรคซึมเศร้าหลังคลอด มีอาการอย่างน้อย 5 ใน 9 ข้อ ดังนี้ และ มีข้อ 1 ข้อ 2 ร่วมด้วย

1. มีอาการซึมเศร้า หม่นหมอง หดหู่ ร้องไห้

2. หมดความสนใจ หรือความสนุกกับกิจกรรมที่เคยชื่นชอบลดลง  หรือรู้สึกเบื่อหน่ายในการดูแลลูก

3. เบื่ออาหาร กินได้น้อยลง หรืออยากอาหารมากขึ้น กินได้ตลอดเวลา

4. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียตลอดเวลา ไม่มีอารมณ์ หรือหมดกะจิตกะใจทำอะไร

5. รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา หรือนอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ

6. รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่มีความสามารถที่จะเลี้ยงดูลูกหรือดูแลลูกได้

7. ไม่มีสมาธิ ความคิด การอ่าน/การจดจ่อในสิ่งที่ทำลดลง

8. การเคลื่อนไหวเชื่องช้าลง หรืออยู่ไม่สุข

9. มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย อยากทำร้ายตัวเอง

อ้างอิงจาก พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด

3. โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)

โรคจิตหลังคลอด เป็นภาวะอาการขั้นรุนแรง ซึ่งพบได้ในคุณแม่หลังคลอด ที่มีปัญหาทางด้านจิตเวช หรือผู้ที่ดูแลลูกเพียงลำพัง เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจทำร้ายตัวเอง และลูกได้ “ควรได้รับการดูแล จากหมอด้านจิตเวชอย่างใกล้ชิด หรือต้องนอนรักษาที่โรงพยาบาลโดยด่วนซึ่งต้องใช้ระยะเวลารักษาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี

โรคจิตหลังคลอด คุณแม่จะมีอาการ ดังนี้

               1. หวาดกลัว หวาดระแวง ประสาทหลอน เช่น หูแว่ว

2. มีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง ฉุนเฉียว หรือซึมเศร้า และอารมณ์ดี คล้ายโรคไบโพลาร์

3. กินไม่ได้ นอนไม่หลับ น้ำหนักตัวลดลงมาก

4. มีพฤติกรรมแปลกประหลาด วุ่นวายผิดปกติ จนสังเกตได้

5. มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือฆ่าลูกตนเอง หรือคิดทำร้ายคนรอบข้าง

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด “คุณพ่อมือใหม่” ก็เป็นได้เช่นกัน

คุณพ่อมือใหม่หลายท่าน อย่าเพิ่งชะล่าใจ เพราะภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจเกิดขึ้นกับเหล่าคุณพ่อได้เช่นกัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วง 3-6 เดือนหลังภรรยาคลอด เพราะเกิดจากความเหนื่อยล้าจากการทำงาน และต้องคอยดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดช่วยภรรยา และเกิดความกังวลไม่รู้จะช่วยเลี้ยงลูกอย่างไร หรือเกิดความเครียดทางด้านการเงิน หรือบทบาทหน้าที่ความเป็นผู้นำ

ดังนั้น การหาเวลาพักผ่อน และทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ จะช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ แต่หากคุณพ่อมีอาการที่รุนแรงขึ้น ก็ไม่ควรชะล่าใจ ควรรีบทำการปรึกษาจิตแพทย์ทันทีค่ะ

ทริค! รับมือ เมื่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาเยือน ทำอย่างไรไม่ให้กลายเป็นซึมเศร้าเรื้อรัง

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาจทำให้เกิดความกังวลใจสำหรับแม่หลังคลอดได้ แต่หากคุณแม่ทำความเข้าใจ และหาวิธีรับมือเพื่อเอาชนะอาการซึมเศร้าหลังคลอดนี้ได้ โดยการหาวิธีดูแลตัวเอง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพจิตใจที่เกิดขึ้น เชื่อว่าคุณแม่จะกลับมาสดใส และมีความสุขกับการเลี้ยงลูกค่ะ

               “แนะนำ” วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด ไม่ให้กลายเป็นซึมเศร้าเรื้อรัง

  ● หาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ หรือทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น อ่านหนังสือที่ชอบ ดูหนัง ฟังเพลงที่ชอบ

  ● รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกาย จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง รู้สึกกระปรี้ประเปร่ามากขึ้น

  ● พูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีเลี้ยงลูกกับเพื่อนๆ และคนในครอบครับ หรือระบายความอึดอัดให้ฟัง

  ● หลีกเลี่ยงรับฟังข่าวสาร ที่อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ

  ● หากไม่สามารถจัดการความรู้สึกได้ด้วยตนเอง ควรรีบรักษาด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจทำการรักษาโรคซึมเศร้าต่อไป โดยการทำจิตบำบัด หรือให้ยาต้านซึมเศร้า

นอกจากคุณแม่จะดูแลตัวเองหลังคลอด เพื่อรับมือกับอาการซึมเศร้าหลังคลอดแล้ว คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นสามี หรือคนในครอบครัว ก็สามารถมีส่วนช่วยดูแลสุขภาพจิตของแม่หลังคลอดได้ โดยการให้กำลังใจ คอยหมั่นถามไถ่ โดยเฉพาะสามี อาจชวนภรรยาออกไปกินข้าวนอกบ้าน หรือให้กำลังใจโดยการซื้อของขวัญให้ รับรองว่าอาการซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ ต้องค่อยๆ ดีขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ แต่หากคุณแม่ หรือคนรอบข้างสังเกตว่าคุณแม่หลังคลอด มีอาการเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหลังคลอด ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษา ลดอาการรุนแรง ที่อาจเข้าข่ายโรคจิตหลังคลอด ซึ่งจากการวิจัยพบได้ 1 ใน 500 คน  ดังนั้นควรดูแล และรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะดีที่สุดค่ะ

หากแม่หลังคลอดท่านใดสงสัย หรือมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือการรักษาโรคซึมเศร้า สามารถสอบถามได้ที่ช่อง COMMENT ด้านล่าง ได้เลยนะคะ ทาง ADMIN จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ 👇💚🤍

📂บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง : 9 เรื่องควรรู้? แม่หลังคลอด ร่างกายเปลี่ยน เตรียมรับมือ📁

https://healthsmile.co.th/blog/9-changes-in-mothers-body-and-mind-after-delivered/

References

https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28414

https://www.bbc.com/thai/international-58847146

https://bit.ly/3Aabda5

https://bit.ly/3QZhifu

https://www.huggies.co.th/th-th/birth/postnatal-depression

อ้างอิงข้อมูล

https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28414

https://www.bbc.com/thai/international-58847146

https://bit.ly/3NyGqqi

https://www.huggies.co.th/th-th/birth/postnatal-depression

https://bit.ly/3QZhifu

https://bit.ly/3Aad9PT

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์