เนื้อหาในบทความนี้
- ทริคใช้สิทธิประกันสังคมยังไงให้คุ้มค่าที่สุด
- การยื่นเอกสารเพื่อเบิกเงินทดแทน
- ระยะเวลาการอนุมัติสิทธิ – ช่องทางการรับเงิน
- เช็กลิสต์คำถามที่พบบ่อย-พร้อมตอบไขข้อสงสัย
- Q : ภรรยาไม่ได้มีสิทธิประกันสังคม แต่งงานกับสามีที่มีสิทธิประกันสังคม แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะสามารถขอใช้สิทธิประกันสังคมที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ได้หรือไม่?
- Q : กรณีคลอดบุตรใช้สิทธิประกันสังคมฝ่ายชาย (บิดา) ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตร มีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประกันสังคมยังไง?
- Q : กรณีสงเคราะห์บุตรใช้สิทธิประกันสังคมฝ่ายชาย (บิดา) ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตร สามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้ไหม?
- Q : ฝ่ายชาย จดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนแรก จากนั้นเลิกรากันโดยยังไม่ได้หย่าร้าง จากนั้นมีลูกกับภรรยาคนที่ 2 (ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เนื่องจากยังไม่ได้หย่าจากภรรยาคนแรก) จะเบิกประกันสังคมได้ไหม?
- Q : กรณีขาดส่งเงินประกันสังคม แต่ได้ไปติดต่อขอส่งต่อเรียบร้อยแล้ว จะสามารถเบิกเงินค่าคลอดบุตรได้ไหม?
- Q : ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง แต่นายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้ ทำอย่างไรได้บ้าง?
- Q: หากนายจ้างเพิกเฉย ต่อการขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้ลูกจ้าง จะมีบทลงโทษนายจ้างอย่างไรบ้าง?
- Q : ส่งเงินประกันสังคมได้แค่ 11 เดือนแล้วคลอดบุตร สามารถยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรได้ไหม?
- Q : เคยได้เงินสงเคราะห์บุตรแล้วขาดส่งไป 2 ปี ตอนนี้กลับมาทำงานและส่งเงินสมทบใหม่ ถ้าบุตรยังไม่ถึง 6 ขวบ สามารถยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรใหม่ได้ไหม?
- Q : ค่าคลอดบุตรสามารถเบิกย้อนหลังได้ไหม?
- Q : หลังจากยื่นเรื่องขอสิทธิประโยชน์ค่าคลอดบุตร จะโอนเข้าบัญชีภายในกี่วัน ?
- สิทธิประกันสังคม กรณีแท้งบุตร
สำหรับบทความนี้ เป็นบทความต่อเนื่องจากบทความ เช็กสิทธิ์! คุณแม่มือใหม่ เบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคมจ่ายอะไรให้บ้าง ฉบับ Update 2567 โดยเราได้รวบรวม คำถามที่พบบ่อย พร้อมตอบไขข้อสงสัย เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมเบื้องต้น ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรทราบ มาไว้ให้แล้ว อีกทั้งแนะนำ ทริคการใช้สิทธิประกันสังคมให้คุ้มค่า ไว้ในบทความเดียวกันนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคุณผู้ปกครองมือใหม่ทุกท่าน
ทริคใช้สิทธิประกันสังคมยังไงให้คุ้มค่าที่สุด
แน่นอนว่าการใช้สิทธิประกันสังคมต่างๆ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ทางสำนักงานประกันสังคมกำหนดไว้ ดังนั้น แนะนำให้เหล่าคุณพ่อ คุณแม่ ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วน เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุด และกรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ สามารถขอใช้สิทธิประกันสังคมได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แนะนำให้ใช้สิทธิผู้ประกันตนหญิง เนื่องจากจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีกด้วย
การยื่นเอกสารเพื่อเบิกเงินทดแทน
ยื่นด้วยตนเอง หรือทำหนังสือมอบอำนาจให้ตัวแทนดำเนินการให้ได้ ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด ตามสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
ระยะเวลาการอนุมัติสิทธิ – ช่องทางการรับเงิน
หากยื่นเอกสารครบถ้วน มีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขการรับสิทธิ์ และไม่ติดสถานะค้างชำระกรณีสำนักงานประกันสังคมเรียกเงินคืน จะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีของผู้ประกันตนผ่านธนาคารประเภทออมทรัพย์ ภายใน 7-10 วัน ทำการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสำนักงานประกันสังคมในแต่ละเขตพื้นที่ หากต้องการติดตาม หรือสอบถามผลการอนุมัติ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือ www.sso.go.th หรือโทร 1506
เช็กลิสต์คำถามที่พบบ่อย-พร้อมตอบไขข้อสงสัย
Q : ภรรยาไม่ได้มีสิทธิประกันสังคม แต่งงานกับสามีที่มีสิทธิประกันสังคม แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะสามารถขอใช้สิทธิประกันสังคมที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ได้หรือไม่?
A : หากฝ่ายชาย จ่ายเงินสมทบตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิที่กล่าวไว้ด้านบน และจ่ายเงินสมทบอย่างต่อเนื่องก็สามารถใช้สิทธิประกันสังคมของสามีเบิกได้ค่ะ โดยทางสำนักงานประกันสังคมจะมีแบบฟอร์มเฉพาะสำหรับผู้ประกันตนที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ยื่นแทน
(อ้างอิง : https://www.facebook.com/ssofanpage/posts/2089049674507179 )
Q : กรณีคลอดบุตรใช้สิทธิประกันสังคมฝ่ายชาย (บิดา) ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตร มีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประกันสังคมยังไง?
A: มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร ดังนี้ค่ะ
• เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันคลอดบุตร
• เอกสารในการยื่นเบิก
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง)
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส (กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิเบิก)
- สูติบัตร พร้อมสำเนา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนภรรยา
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี
ใช้ได้หลากหลายธนาคาร ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) //ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) // ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต จำกัด (มหาชน) // ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย // ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด
***หลักฐานอื่นๆ หากสำนักงานประกันสังคมที่ผู้ประกันตนไปยื่นเอกสารขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสิทธิ
**** แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)และหนังสือรับรองกรณีไม่มีทะเบียนสมรส สามารถดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์ www.sso.go.th
Q : กรณีสงเคราะห์บุตรใช้สิทธิประกันสังคมฝ่ายชาย (บิดา) ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตร สามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้ไหม?
A : สามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้ค่ะ แต่ต้องเป็นไปตามมหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังนี้ค่ะ
- เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
- จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นบุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
- เอกสารในการยื่น
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายหรือสำเนาการจดทะเบียนรับรองบุตร
- สูติบัตร พร้อมสำเนา
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี
ใช้ได้หลากหลายธนาคาร ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) //ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) // ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต จำกัด (มหาชน) // ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย // ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด
***หลักฐานอื่นๆ หากสำนักงานประกันสังคมที่ผู้ประกันตนไปยื่นเอกสารขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสิทธิ
**** แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์ www.sso.go.th
Q : ฝ่ายชาย จดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนแรก จากนั้นเลิกรากันโดยยังไม่ได้หย่าร้าง จากนั้นมีลูกกับภรรยาคนที่ 2 (ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เนื่องจากยังไม่ได้หย่าจากภรรยาคนแรก) จะเบิกประกันสังคมได้ไหม?
A : หากฝ่ายชายติดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนแรก จะไม่สามารถเบิกสิทธิประโยชน์เบิกค่าคลอด หรือสงเคราะห์บุตรกับภรรยาคนที่ 2 ได้ หากมีการหย่า จะต้องหย่าก่อนที่ภรรยาคนที่ 2 คลอดบุตรถึงจะใช้สิทธิการเบิกค่าคลอดได้
Q : กรณีขาดส่งเงินประกันสังคม แต่ได้ไปติดต่อขอส่งต่อเรียบร้อยแล้ว จะสามารถเบิกเงินค่าคลอดบุตรได้ไหม?
A : สามารถรับสิทธิได้ เมื่อมีการนำส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนเดือนที่คลอดบุตร ไม่ว่าเงินสมทบ 5 เดือนนั้นจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
Q : ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง แต่นายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้ ทำอย่างไรได้บ้าง?
A : ถ้าผู้ประกันตนมีการทำงานกับนายจ้าง ต้องให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนให้ และนายจ้าง กับลูกจ้าง จะต้องนำส่งเงินสมทบในอัตราที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 5 ต่อเดือน ของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ แนะนำให้ลองตกลงพูดคุยเจรจากับนายจ้างก่อน แต่ถ้านายจ้างยังเพิกเฉยแนะนำให้ท่านติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมที่สถานประกอบการตั้งอยู่
Q: หากนายจ้างเพิกเฉย ต่อการขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้ลูกจ้าง จะมีบทลงโทษนายจ้างอย่างไรบ้าง?
A: ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ตามมาตรา 96)
Q : ส่งเงินประกันสังคมได้แค่ 11 เดือนแล้วคลอดบุตร สามารถยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรได้ไหม?
A : การได้รับสิทธิประกันสังคมสงเคราะห์บุตร มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้ค่ะ
- จะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ที่มีการนำส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่ใช้สิทธิ ไม่ว่าเงินสมทบ 12 เดือนนั้นจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
- จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่บุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
ดังนั้น กรณีส่งประกันสังคมได้แค่ 11 เดือนแล้วคลอดบุตร หากก่อนหน้านี้ ภายใน 36 เดือน มีการส่งประกันสังคมจนครบ 12 เดือน ก็จะสามารถยื่นรับสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรได้ค่ะ แต่หากส่งแค่ 11 เดือน ก็จะไม่สามารถขอรับสิทธิได้ค่ะ
Q : เคยได้เงินสงเคราะห์บุตรแล้วขาดส่งไป 2 ปี ตอนนี้กลับมาทำงานและส่งเงินสมทบใหม่ ถ้าบุตรยังไม่ถึง 6 ขวบ สามารถยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรใหม่ได้ไหม?
A : ถ้ามีการติดต่อนำส่งเงินสมทบใหม่แล้ว สามารถกรอกแบบฟอร์มขอใช้สิทธิบุตรคนเดิม ยื่นที่สำนักงานประกันสังคม เพื่อรับเงินสงเคราะห์บุตรต่อได้ค่ะ
Q : ค่าคลอดบุตรสามารถเบิกย้อนหลังได้ไหม?
A : สำหรับผู้ประกันตนที่คลอดบุตร ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เป็นต้นมา ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่คลอดบุตร ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
หากเกินระยะเวลากำหนดยื่นขอเบิกค่าคลอดบุตร กฎหมายอนุโลมให้ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิ สามารถยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ พร้อมแสดงเหตุผลที่ไม่สามารถยื่นเรื่องภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และจะต้องรอการพิจารณา
Q : หลังจากยื่นเรื่องขอสิทธิประโยชน์ค่าคลอดบุตร จะโอนเข้าบัญชีภายในกี่วัน ?
A : กรณีที่สงสัยเรื่องการเบิกค่าคลอดบุตรโอนเข้าบัญชีกี่วัน ทั้งนี้หากส่งเอกสารครบถ้วน และผ่านการอนุมัติ เงินจะโอนเข้าบัญชีประเภทออมทรัพย์ของผู้ประกันตน ภายใน 7-10 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสารเสร็จสมบูรณ์
สิทธิประกันสังคม กรณีแท้งบุตร
นอกจากกรณีดังที่กล่าวมาทั้งหมด ประกันสังคมยังให้สิทธิคุ้มครอง ในเรื่องของภาวะการแท้งบุตร ในอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ซึ่งมีเหตุจำเป็นต้องผ่าตัดนำเด็กออก กรณีนี้จะยังสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขปกติ แต่ต้องนำใบรับรองแพทย์แทนใบสูติบัตรยื่นเอกสาร จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ในส่วนนี้ได้
หากคุณแม่ หรือคุณพ่อ ต้องการข้อมูลเรื่องสิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือสอบถามเรื่องสิทธิประกันสังคมด้านอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ได้เลย
อ้างอิงข้อมูล
https://www.enfababy.com/social-security-benefits-for-pregnancy
https://web.facebook.com/ssofanpage/photos/a.105303622881804/3661773053901492/?type=3&_rdc=1&_rdr
Last Updated on 31 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/
Last Updated on 31 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์