คำถามที่พบบ่อย สำหรับการตรวจ DNA พ่อลูก
การตรวจความเป็นบิดา (Paternity test) เป็นกระบวนการที่หลายครอบครัวและบุคคลเลือกใช้เพื่อยืนยันความสัมพันธ์ทางสายเลือด ซึ่งมีความสำคัญทั้งทางด้านกฎหมายและความมั่นใจส่วนบุคคล ในบทความนี้ เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจความเป็นบิดา เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจขั้นตอนและประโยชน์ของการทดสอบนี้ได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิธีการตรวจ รูปแบบของผลลัพธ์ หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง การรู้ข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้จะทำให้คุณตัดสินใจได้อย่างมั่นใจและพร้อมในการตรวจ
ตรวจความเป็นพ่อลูก กับเฮลท์สไมล์ เริ่มต้นที่ 12,000 บาท บริการถึงบ้านทั่วประเทศ สอบถามที่ LINE ID : @HealthSmile
Q : การตรวจความเป็นบิดา (Paternity test) คืออะไร?
A : การตรวจความเป็นบิดา (Paternity test) เป็นการตรวจ DNA เพื่อยืนยันว่าบุคคลคนนั้นเป็นบิดาทางชีวภาพของเด็กหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบลักษณะเฉพาะในพันธุกรรม (DNA) ของทั้งคู่ ซึ่งโดยปกติบุคคลที่เป็นบิดาและบุตร จะมี DNA ที่เหมือนกันอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ดังนั้น การตรวจตำแหน่งของ DNA หลายๆตำแหน่ง เพื่อยืนยันความเป็นพ่อลูก ก็จะสามารถช่วยบอกได้อย่างแม่นยำมากกว่า 99.99% ว่าบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเป็นบิดานั้น มี DNA คล้ายคลึงกันหรือไม่ และน่าจะเป็นบิดาของเด็กที่เข้ารับการตรวจนั้นๆหรือไม่
Q : วิธีการตรวจความเป็นบิดามีกี่วิธี อะไรบ้าง?
A : การตรวจความเป็นบิดา มีอยู่ 2 แบบ คือ
- ตรวจตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ เริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 9 สัปดาห์เป็นต้นไป โดยการเจาะเลือดของมารดา (ซึ่งมีเศษของ DNA ของทารกในครรภ์ปะปนอยู่) และเก็บเซลล์จากเยื่อบุกระพุ้งแก้มของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา แล้วส่งมายังห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์
- การตรวจ DNA พิสูจน์ความเป็นพ่อ-ลูก แบบไม่รุกราน (NIPPT) วิธีนี้ไม่เสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแท้ง หรือผลแทรกซ้อนจากการตรวจ (ราคา 34,800 บาท)
- การตรวจ DNA พิสูจน์ความเป็นพ่อ-ลูก แบบรุกราน ได้แก่การเจาะน้ำคร่ำ หรือเจาะชิ้นเนื้อรกมาตรวจ อาจทำให้เกิดการแท้ง หรือผลแทรกซ้อนจากการตรวจได้ (เฮลท์สไมล์ ไม่ได้ให้บริการการตรวจด้วยวิธีนี้)
- ตรวจทารก หรือเด็กหลังคลอด ขั้นตอนหลักคือการเก็บตัวอย่าง DNA ของทั้งทารก (เด็ก) โดยตรง โดยการป้ายเก็บเซลล์จากกระพุ้งแก้มของทั้งตัวบุตร และจากผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา แล้วส่งมายังห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ (ราคา 12,000 บาท)
Q : ผลการตรวจความเป็นบิดามีความแม่นยำแค่ไหน?
A : การตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา ไม่ว่าจะเป็นการตรวจตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ หรือตรวจหลังคลอด ก็มีความแม่นยำสูงถึง 99.99% ในการยืนยันความเป็นบิดาทางชีวภาพ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความแม่นยำได้ที่บทความนี้ : ผลตรวจ DNA พ่อลูก มีความผิดพลาดได้ไหม
Q : สามารถใช้ผลการตรวจความเป็นบิดาในศาลได้หรือไม่?
A : ผลตรวจความเป็นบิดาที่ทำการตรวจกับเฮลท์สไมล์ สามารถใช้ในศาล และใช้ทางกฎหมายได้ หากเป็นการตรวจภายใต้การกำกับดูแลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีการจัดทำเอกสารครบถ้วน โดยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และจำเป็นต้องเข้ามาตรวจที่ศูนย์ของเราเท่านั้น (สามารถสอบถามได้ที่ LINE ID : @HealthSmile )
Q : ค่าใช้จ่ายในการตรวจความเป็นบิดาเท่าไหร่?
A : ค่าใช้จ่ายในการตรวจความเป็นพ่อลูกนั้นมีหลายแพคเกจ ขึ้นอยู่กับประเภทของการตรวจ และความต้องการในการใช้ทางกฎหมายหรือไม่ ดังนี้
- ตรวจตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์
- ตรวจแบบรุกราน โดยการเจาะน้ำคร่ำ หรือเจาะชิ้นเนื้อรกไปตรวจ เป็นวิธีที่รุกราน อาจทำให้เกิดการแท้งได้ (เฮลท์สไมล์ ไม่ได้ให้บริการการตรวจดังกล่าว)
- ตรวจแบบไม่รุกราน โดยการเจาะเลือดของแม่ เพื่อนำเศษ DNA ของทารกที่อยู่ในครรภ์ไปตรวจ (NIPPT : Non-invasive Prenatal Paternity Test) ไม่สามารถใช้ทางกฎหมายได้ มีบริการถึงบ้านทั่วประเทศ ค่าบริการรวมทุกอย่างแล้วอยู่ที่ 34,800 บาท / บิดาและบุตร 1 คู่
- ตรวจทารก หรือเด็กหลังคลอด
- ผลตรวจเพื่อความสบายใจ ไม่ใช้ทางกฏหมาย มีค่าบริการรวมทุกอย่างแล้ว มีบริการถึงบ้านทั่วประเทศ อยู่ที่ 12,000 บาท / บิดาและบุตร 1 คู่
- ใช้ผลตรวจทางกฏหมาย ต้องเข้ามาตรวจที่ศูนย์ตรวจเท่านั้น ราคาเริ่มต้นที่ 22,000 บาท / บิดาและบุตร 1 คู่
Q : สามารถตรวจความเป็นบิดาได้เองที่บ้านหรือไม่?
A : สามารถตรวจความเป็นบิดาได้เองที่บ้าน โดยชุดตรวจของเฮลท์สไมล์ คุณสามารถเก็บตัวอย่างเองโดยใช้ชุดทดสอบที่บ้านและส่งไปกลับมายังห้องปฏิบัติการ แต่ผลตรวจที่บ้านไม่สามารถใช้ในศาลได้ และจะไม่สามารถบันทึกชื่อของผู้เข้ารับการตรวจลงในใบผลตรวจได้ (เนื่องจากเราไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ที่เข้ารับการตรวจเป็นผู้ที่อ้างอิงในชื่อนั้นจริงๆ) หากต้องการซื้อชุดตรวจ สามารถสอบถามได้ที่ LINE ID : @HealthSmile
Q : การตรวจความเป็นบิดาระหว่างตั้งครรภ์ทำได้หรือไม่?
A : การตรวจความเป็นบิดาระหว่างตั้งครรภ์ทำได้ 2 วิธี ได้แก่
- วิธีรุกราน คือการเจาะน้ำคร่ำหรือเจาะชิ้นเนื้อรกมาตรวจ DNA เปรียบเทียบกับผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา เป็นวิธีที่อาจเกิดผลแทรกซ้อนจากการเจาะน้ำคร่ำหรือรกของทารกมาตรวจได้ (วิธีนี้ เฮลท์สไมล์ ไม่ได้ให้บริการ)
- วิธีไม่รุกราน โดยการใช้ตัวอย่างเลือดของมารดาเพื่อตรวจหา DNA ของทารกในครรภ์ (NIPPT : Non-Invasive Prenatal Paternity Test) ซึ่งวิธีที่ไม่รุกราน จะไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดผลแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่บทความนี้ : ตรวจความเป็นพ่อลูกก่อนคลอด ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์
Q : ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนการตรวจความเป็นบิดา?
A : แนะนำให้เตรียมตัวก่อนเก็บ DNA จากกระพุ้งแก้ม โดยการงดอาหาร น้ำ บุหรี่ หมากฝรั่ง และงดแปรงฟัน 1 ชม. ก่อนการตรวจ และหากเป็นการตรวจเชิงกฎหมาย คุณอาจต้องนำบัตรประจำตัวและเอกสารอื่น ๆ ทางกฏหมายมาด้วย ได้แก่
- บัตรประชาชนของมารดาที่มีชื่อตรงกับในสูติบัตรของบุตร
- บัตรประชาชน หรือ สูติบัตรของบุตร
- บัตรประชาชน หรือ พาสปอร์ต ของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา
Q : เอกสารที่ต้องใช้ในการตรวจพิสูจน์ความเป็นบิดามีอะไรบ้าง
A : หากต้องการตรวจด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารใดๆทั้งสิ้น แต่ผลที่ออกมาจะไม่สามารถระบุชื่อของผู้ตรวจได้ แต่หากต้องการระบุชื่อผู้ตรวจในรายงานผลตรวจ จะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ
- บัตรประชาชนของมารดา (เพื่อให้ความยินยอมในการตรวจ แทนบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)
- สูติบัตรของบุตรที่มีชื่อของมารดา (เพื่อยืนยันว่ามารดาที่ให้ความยินยอม เป็นบุคคลเดียวกับที่เป็นมารดาในสูติบัตร)
- บัตรประชาชนของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา
กรณีบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว
- บัตรประชาชนของบุตร
- บัตรประชาชนของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา
กรณีทารกยังอยู่ในครรภ์
- บัตรประชาชนของมารดา
- บัตรประชาชนของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา
Q : ใช้เวลานานแค่ไหนจึงจะได้ผลการตรวจ?
A : ระยะเวลาในการได้รับผลตรวจจะแตกต่างกันไป ดังนี้
- กรณีตรวจ DNA พ่อ-ลูก หลังทารกคลอด (ไม่ได้ใช้เอกสารทางกฎหมาย) รายงานผลภายใน 14 วัน (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 10 วัน)
- กรณีตรวจ DNA พ่อ-ลูก หลังทารกคลอด (ใช้เอกสารทางกฎหมาย) รายงานผลภายใน 21 วัน
- กรณีตรวจ DNA พ่อ-ลูก ขณะทารกอยู่ในครรภ์ (NIPPT) รายงานผลภายใน 21 วัน (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 14 วัน)
Q : ผลการตรวจความเป็นบิดาแสดงค่าอย่างไร?
A : ผลจะแสดงความเป็นไปได้ในการเป็นบิดาโดยมีค่าเป็น 0 (ไม่ใช่บิดาทางชีวภาพ) หรือ 99.99% ขึ้นไป (เป็นบิดาชีวภาพ) โดยจะเป็นคำภาษาอังกฤษ ดังนี้
- กรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจ เป็นบิดาทางชีวภาพ
“It is concluded that “ชื่อของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา” is the biological father of the fetus.” - กรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจ ไม่ใช่บิดาทางชีวภาพ
“It is concluded that “ชื่อของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา” is NOT the biological father of the fetus.
ตัวอย่างผลตรวจ DNA พิสูจน์ความเป็นพ่อ-ลูก หลังทารกคลอด กรณีเป็นพ่อ-ลูกกัน (คลิกที่นี่)
ตัวอย่างผลตรวจ DNA พิสูจน์ความเป็นพ่อ-ลูก หลังทารกคลอด กรณีไม่ได้เป็นพ่อ-ลูกกัน (คลิกที่นี่)
ตัวอย่างผลตรวจ DNA พิสูจน์ความเป็นพ่อ-ลูก ขณะทารกอยู่ในครรภ์ กรณีเป็นพ่อ-ลูกกัน (คลิกที่นี่)
ตัวอย่างผลตรวจ DNA พิสูจน์ความเป็นพ่อ-ลูก ขณะทารกอยู่ในครรภ์ กรณีไม่ได้เป็นพ่อ-ลูกกัน (คลิกที่นี่)
Q : การตรวจความเป็นบิดาใช้ในกรณีใดบ้าง?
A : การตรวจ DNA พ่อลูกนั้น หลักๆมีอยู่ 2 ประเภท คือ
- การตรวจเพราะต้องการรู้ ไม่ได้ใช้สำหรับการฟ้องร้องหรือเรียกร้องใดๆทางกฎหมาย ซึ่งการทราบความเป็นบิดา อาจจะทำให้การดูแลด้านสุขภาพของบุตรนั้นดีขึ้น เช่น ในกรณีที่บิดามีโรคบางอย่างที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- การตรวจเพราะต้องใช้ผลสำหรับยืนยันความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในกรณีที่มีข้อพิพาท หรือเพื่อใช้ในคดีความที่เกี่ยวกับสิทธิการดูแลบุตร ค่าเลี้ยงดู หรือมรดก
Q : ใครต้องการตรวจความเป็นบิดาบ้าง?
A : ผู้ปกครองที่ต้องการยืนยันสถานะบิดาชีวภาพของเด็ก หรือผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับประวัติทางพันธุกรรมและสุขภาพของครอบครัว
Q : สามารถตรวจพิสูจน์ความเป็นพ่อ-ลูกได้ที่ไหนบ้าง?
A : เฮลท์สไมล์ ให้บริการตรวจพิสูจน์ความเป็นพ่อ-ลูก ทั่วประเทศ ทั้งการตรวจตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ (เจาะเลือดของมารดาตั้งครรภ์ และเก็บ DNA จากกระพุ้งแก้มผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา) และการตรวจหลังจากทารกคลอดแล้ว (สามารถสั่งซื้อชุดเก็บ DNA พิสูจน์ความเป็นพ่อ-ลูกด้วยตนเองได้ที่นี่) หรือสามารถให้เจ้าหน้าที่ของเราเข้าไปเก็บสิ่งส่งตรวจได้
Q : การทดสอบความเป็นบิดาจำเป็นต้องเจาะเลือดหรือไม่?
A : การเก็บตัวอย่าง DNA เพื่อพิสูจน์พ่อลูก กรณีหลังคลอด ส่วนใหญ่ใช้ไม้พันสำลีทำการป้ายในกระพุ้งแก้มเพื่อเก็บเซลล์ที่มี DNA อยู่ซึ่งไม่เจ็บ แต่หากเป็นการตรวจ DNA ก่อนทารกคลอดที่เรียกว่า NIPPT ก็จะมีการเจาะเลือดของมารดาที่ตั้งครรภ์อยู่ก็อาจรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อย ส่วนผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา สามารถเก็บโดยใช้ไม้พันสำลีทำการป้ายในกระพุ้งแก้มได้
Q : ต้องทำอย่างไรหากผลการตรวจไม่ตรงตามที่คาดหวัง?
A : หากผลการตรวจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง อาจขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายหรือแพทย์ เพื่อพิจารณาผลเพิ่มเติมหรือดำเนินการทดสอบซ้ำ
Last Updated on 16 ตุลาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์