ตรวจ NIPT กับตรวจ NIFTY ต่างกันอย่างไร?
ปัจจุบันการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมมีหลายแบบหลายวิธี ทั้งการตรวจที่มีความแม่นยำต่ำ ไปจนถึงสูง สำหรับการตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) และ NIFTY (Non-Invasive Fetal TrisomY test) เป็นการทดสอบที่ใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมในทารกในครรภ์โดยใช้ตัวอย่างเลือดของแม่ ที่มีความแม่นยำสูงถึง 99.9% ซึ่งถือว่าเป็นวิธีคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมที่มีความแม่นยำมากที่สุด ณ ปัจจุบัน โดยการตรวจ NIPT แบ่งวิธีออกเป็น 2 วิธีหลักๆ คือ SNP และ NGS
NIFTY เป็นแบรนด์หนึ่งของการตรวจ NIPT ที่ใช้เทคโนโลยี NGS ตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมต่างๆ ซึ่งมีความแม่นยำสูงและเป็นการตรวจจากเลือดของมารดา ไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ หรือเจาะชิ้นเนื้อรกผ่านท้องแม่ ทำให้ไม่มีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ หรือพูดอีกอย่างก็คือ NIFTY เป็น subset ของการตรวจ NIPT นั่นเอง
โดยมีรายละเอียดของการตรวจทั้งสอง ดังนี้
NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing)
- เป็นการทดสอบที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมในทารกจากเซลล์ตัวอ่อนที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดของแม่ หรือเรียกว่า cell-free fetal DNA
- ความผิดปกติที่ตรวจได้ จะเป็นความผิดปกติที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซม เช่น Trisomy 21 (ดาวน์ซินโดรม), Trisomy 18 (เอ็ดเวิร์ดซินโดรม), Trisomy 13 (พาทัวซินโดรม), และความผิดปกติทางโครโมโซมเพศ
- ความแม่นยำสูง (มากกว่า 99%) และความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากเป็นการตรวจจากเลือดคุณแม่ โดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ หรือเจาะชิ้นเนื้อรกผ่านท้องแม่
การตรวจ NIPT หลักๆที่มีบริการอยู่ในประเทศไทย มีเทคนิคการตรวจอยู่ 2 วิธี คือ
- Next generation sequencing (NGS)
- Single-nucleotide polymorphism (SNP)
โดยวิธีทั้งสอง (NGS และ SNP) สามารถตรวจหาภาวะโครโมโซมผิดปกติทั่วไป เช่น ดาวน์ซินโดรม (Trisomy 21), เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Trisomy 18) และ พาทัวซินโดรม (Trisomy 13) รวมถึงเพศของทารกและภาวะผิดปกติของโครโมโซมเพศ และโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับภาวะขาด – เกิน ของโครโมโซม เช่น Di-George, Cri-du-chat, Prader-Willi หรือ Angelman syndrome.
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเทคนิค NIPT ที่ใช้ SNP และ NGS
NIPT ที่ใช้ SNP:
- ใช้การแปรผันทางพันธุกรรมที่เรียกว่า single nucleotide polymorphisms (SNPs) เพื่อตรวจสอบความแตกต่างระหว่าง DNA พ่อแม่และลูก [1] [4]
- สามารถระบุ triploidy ได้ ซึ่งวิธี NGS ไม่สามารถทำได้ [4]
- มีโอกาสไม่สามารถรายงานผลได้ (No call) ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับ NGS [2] ทำให้มีโอกาสต้องเจาะเลือดมารดามาตรวจซ้ำบ่อยกว่า
- สามารถแยกเพศของทารกแต่ละราย ในกรณีครรภ์แฝดได้
- ในประเทศไทย แบรนด์ที่ใช้การตรวจด้วยวิธีนี้ สามารถทราบผลได้สูงสุด 5 โครโมโซม + 8 microdeletion / duplication syndrome
NIPT ที่ใช้ NGS:
- ใช้การจัดลำดับจีโนมทั้งหมด (Whole genome sequencing) เพื่อให้มีมุมมองที่ครอบคลุมทั่วทั้งจีโนม [1]
- มีอัตราความล้มเหลว (No call) ต่ำกว่าวิธี SNP [1]
- อาจมีความแม่นยำน้อยกว่าวิธีการที่ใช้ SNP ในการตรวจจับความผิดปกติที่เป็นแบบ Mosaicism เมื่อเทียบกับการตรวจ SNP [5]
- ในประเทศไทย แบรนด์ NIFTY Pro ที่ใช้การตรวจด้วยวิธีนี้ สามารถทราบผลได้สูงสุด 23 โครโมโซม + 92 microdeletion / duplication syndrome
อ่านเพิ่ม : ข้อดี – ข้อเสียของการตรวจ NIPT ด้วยวิธี SNP และ NGS
NIFTY (Non-Invasive Fetal TrisomY test)
- เป็นแบรนด์หนึ่งของการตรวจ NIPT ซึ่งมีการพัฒนาและการตลาดโดยบริษัท BGI (Beijing Genomics Institute) จากฮ่องกง เป็นการทดสอบที่ใช้เทคโนโลยี Next generation sequencing (NGS) ในการตรวจหาภาวะขาด-เกินของโครโมโซม (Trisomy) และความผิดปกติที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมขนาดเล็กๆ (Microdeletion / Duplication syndrome)
- สามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมเหมือนกับ NIPT เช่น Trisomy 21, Trisomy 18, Trisomy 13 และสามารถตรวจหา microdeletions / duplication syndrome ต่างๆได้สูงสุดถึง 92 ความผิดปกติ รวมถึงความผิดปกติที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมเพศได้
- ความแม่นยำสูงในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมากกว่า 99.9% และมีความครอบคลุมในการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมหลากหลายประเภท
- ใช้เทคโนโลยีการตรวจแบบ NGS (Next-generation sequencing)
ปัจจุบัน NIFTY สามารถเข้ารับการตรวจได้ทั่วประเทศไทย โดยสามารถติดต่อขอรับบริการผ่าน เฮลท์สไมล์ ได้ที่ LINE ID : @HealthSmile
และมีรายการตรวจให้เลือก ดังนี้
- NIFTY Focus 5 โครโมโซม
- NIFTY Core 23 โครโมโซม
- NIFTY Pro 23 โครโมโซม + ความผิดปกติอีก 92 รายการ
- NIFTY Twins (สำหรับครรภ์แฝด) 3 โครโมโซม + โครโมโซม Y
ข้อดี – ข้อเสียของการตรวจ NIPT ด้วยวิธี SNP และ NGS
ข้อได้เปรียบของการใช้การวิเคราะห์แบบ SNP ในการตรวจ NIPT คือ
มีความสามารถในการตรวจจับ Triploidy
- วิธี NIPT ที่ใช้ SNP สามารถระบุ triploidy ซึ่งวิธี NGS ไม่สามารถตรวจพบได้ [4] [6] แต่อย่างไรก็ดี ทารกที่เป็น Triploidy มักมีความผิดปกติรุนแรง จนสามารถเห็นจากอัลตราซาวนด์ได้โดยง่าย แพทย์จึงมักจะไม่ค่อยพลาดในการตรวจความผิดปกติดังกล่าวนี้
สามารถตรวจได้ แม้จะมี %DNA ของลูกที่ลอยในเลือดมารดาต่ำกว่า
- NIPT ที่ใช้ SNP จะใช้เปอร์เซนต์ของ DNA ลูกที่ลอยอยู่ในเลือดแม่ (cell-free fetal DNA) ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับวิธี NGS [4] ดังนั้นจึงตรวจได้ในอายุครรภ์ที่น้อยกว่าได้ โดย SNP จะเริ่มตรวจได้ที่อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ แต่ NGS จะเริ่มตรวจได้ที่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์เป็นต้นไป
การตรวจหาแฝดที่ฝ่อตัวไป และแยกความผิดปกติของมารดา และแฝดแต่ละคนได้
- NIPT ที่ใช้ SNP สามารถตรวจจับความผิดปกติของโครโมโซมแต่ละคนได้ กล่าวคือ สามารถแยก DNA ของมารดา ของทารก และรวมไปถึงกรณีครรภ์แฝดก็สามารถแยก DNA ของแต่ละคนได้ ซึ่งวิธี NGS ทำไม่ได้ [4]
- กรณีครรภ์แฝดที่ตัวอ่อนฝ่อตัวไป (Vanishing twins) ก็จะสามารถบอกได้ว่าเคยมีตัวอ่อนฝ่อตัวไป
- กรณีครรภ์แฝดที่มีชีวิตทั้งสองราย ก็จะสามารถบอกได้ ว่าเป็นแฝดจากไข่ใบเดียวกัน (แฝดเหมือน) หรือแฝดคนละไข่ (แฝดไม่เหมือน) และแยกเพศของแฝดแต่ละรายได้
- กรณีผลตรวจเกิดพบความเสี่ยงสูง ก็จะทราบว่า เป็นความผิดปกติของมารดาหรือทารก หรือกรณีครรภ์แฝดก็จะทราบได้ว่ามีความผิดปกติที่แฝดคนใด
ข้อได้เปรียบหลักของการใช้ NGS ในการตรวจ NIPT คือ
การครอบคลุมจีโนมที่กว้างกว่า ทราบความผิดปกติได้มากกว่า
- NIPT ที่ใช้ NGS ให้มุมมองจีโนมทั้งหมด (Whole genome sequencing) ที่ครอบคลุมโครโมโซมต่างๆได้มากกว่าวิธี SNP [4] [8]
- ในประเทศไทยแบรนด์ NIFTY Pro ใช้เทคโนโลยี NGS ตรวจได้ 23 โครโมโซม + ความผิดปกติของ Microdeletion / Duplication 92 ชนิด
อัตราการไม่สามารถรายงานผลได้ (No call) ต่ำกว่า
- NIPT ที่ใช้ NGS มีอัตราความล้มเหลว (No call) ต่ำกว่าวิธี SNP [4] ทำให้ลดความกังวล และไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดซ้ำบ่อยๆ
ขั้นตอนการทำงานที่เรียบง่าย ผลตรวจออกเร็วกว่า
การใช้เทคนิคการตรวจแบบ NGS ในการเตรียมตัวอย่างเลือดได้โดยไม่ต้องใช้การทำ PCR (Polymerase chain reaction) จึงช่วยลดความซับซ้อนของขั้นตอนการทำงาน และสามารถรายงานผลได้เร็วกว่าวิธี SNP ซึ่งมีวิธการตรวจหลายขั้นตอน [4]
ตารางเปรียบเทียบการตรวจ NIPT และ NIFTY
ลักษณะ | NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) | NIFTY® (Non-Invasive Fetal TrisomY test) |
ความแม่นยำ | มากกว่า 99% | มากกว่า 99.9% |
ความเสี่ยงต่อทารก | ต่ำ | ต่ำ |
เทคโนโลยีที่ใช้ | มีสองวิธี NGS หรือ SNP | NGS |
การตรวจพบความผิดปกติที่สำคัญ | ขึ้นอยู่กับการเลือกเทคนิคตรวจ เป็น NGS หรือ SNP | Trisomy 21, 18, 13 และ microdeletions / duplications สูงสุด 92 ความผิดปกติ |
อัตราความล้มเหลว (No call) | ต่ำกว่า (NGS), สูงกว่า (SNP) | ต่ำ |
ความครอบคลุมของจีโนม | ครอบคลุมทั่วทั้งจีโนม (NGS) | ครอบคลุมทั่วทั้งจีโนม |
ความสามารถในการระบุ Triploidy | ได้ (SNP) | ไม่ได้ |
อายุครรภ์ที่สามารถตรวจได้ | 9 สัปดาห์ (SNP), 10 สัปดาห์ (NGS) | 10 สัปดาห์ |
การแยก DNA ในครรภ์แฝด | ได้ (SNP) | ไม่ได้ |
Reference
[1] https://www.illumina.com/clinical/reproductive-genetic-health/nipt/labs/nipt-technology-types.html[2] https://www.degruyter.com/document/doi/10.1515/labmed-2022-0023/html
[3] https://obgyn.onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1002/pd.4111
[4] https://www.e-kjgm.org/journal/view.html?doi=10.5734%2FJGM.2015.12.2.66
[5] https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8764859/
[6] https://www.researchgate.net/publication/289495204_Advantages_of_the_single_nucleotide_polymorphismbased_noninvasive_prenatal_test
[8] https://www.samitivejhospitals.com/article/detail/noninvasive-prenatal-testing[9] https://www.illumina.com/clinical/reproductive-genetic-health/nipt/labs/nipt-technology-types.html
Last Updated on 8 พฤศจิกายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/
Last Updated on 8 พฤศจิกายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์