Last Updated on 10 พฤศจิกายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

Last Updated on 10 พฤศจิกายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ทำ ICSI ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนแล้ว ต้องตรวจ NIPT หรือ ตรวจนิฟตี้ ซ้ำอีกไหม

ขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติ หรือการใช้เทคโนโลยีช่วย เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF : Invitro fertilization) , ICSI (Intracytoplasmic sperm injection) หรือวิธีอื่นๆ ในการใช้เทคโนโลยีช่วยการตั้งครรภ์นั้น ก็จะสามารถนำตัวอ่อนมามาตรวจคัดกรองโครโมโซมก่อนการฝังตัว หรือเรียกว่า PGT-A ได้ ซึ่งจะทำให้เลือกเฉพาะตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมปกติเท่านั้น ฝังเข้าไปในโพรงมดลูกของคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งในกรณีคุณแม่ ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน แล้ว จะต้องตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมขณะตั้งครรภ์ (NIPT หรือ NIFTY) อีกหรือไม่ ในบทความนี้จะมีคำตอบค่ะ

เด็กหลอดแก้วที่ได้ ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ก่อนใส่ในโพรงมดลูกแล้ว ยังควรตรวจ NIPT หรือ NIFTY หรือไม่

[เด็กหลอดแก้ว] ทำ ICSI ตรวจโครโมโซมก่อนใส่ตัวอ่อนแล้ว ต้องตรวจ NIPT หรือ ตรวจนิฟตี้ ซ้ำอีกไหม

คำตอบ คือ สามารถเลือกได้ว่าจะตรวจซ้ำหรือไม่ แต่หากกังวลก็แนะนำว่าควรตรวจซ้ำ ขึ้นอยู่กับความต้องการของครอบครัวว่าต้องการตรวจหรือไม่

เหตุผลที่แนะนำว่าควรตรวจคัดกรองโครโมโซมซ้ำ

ภาวะขาด-เกินของโครโมโซม เป็นความผิดปกติที่เกิดได้บ่อยที่สุดในตัวอ่อนที่ได้จากการทำเด็กหลอดแก้ว โดยทั่วไปเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าภาวะขาด-เกินของโครโมโซมนั้น มีปัจจัยเสี่ยงหลักๆก็คือเรื่องอายุของมารดา

มีการศึกษาอย่างชัดเจนแล้ว ว่า การคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติด้วยวิธี PGT-A (Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy) หรือในอดีตเรียกว่า PGS (Pre-implantation genetic screening) นั้นสามารถลดโอกาสการตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติของโครโมโซม นอกจากนี้ ยังเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เปอร์เซนต์การตั้งสูงขึ้นได้ด้วย

โดย PGT-A นั้น มีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณมากกว่า 95% ซึ่งก็ถือว่ามีความแม่นยำสูงในการตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซม ดังนั้น หากรับได้กับโอกาสผิดพลาดที่มีไม่มากนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจ NIPT ซ้ำ

ความแม่นยำของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนฝังในโพรงมดลูก (PGT-A) ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง

  1. คุณภาพของเซลล์ที่ส่งตรวจ : หากเซลล์ที่ได้มามีคุณภาพต่ำ หรือเก็บไว้นานก่อนที่จะนำส่งเข้าเครื่องตรวจ ก็จะทำให้ผลไม่แม่นยำได้
  2. เทคนิคที่ใช้ในการตรวจ : มีเทคนิคในการตรวจ PGT-A อยู่หลายเทคนิค เช่น ในอดีตจะใช้ fluorescence in situ hybridization (FISH), comparative genomic hybridization (CGH), ส่วนในปัจจุบัน จะใช้เทคนิค next-generation sequencing (NGS) ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดเท่าที่มี ณ ปัจจุบัน
  3. ความเชี่ยวชาญของแลปที่ตรวจ : เนื่องจากเป็นการดูผลจากเซลล์จำนวนน้อย ดังนั้น ผู้ที่ทำการตรวจจะต้องมีความเชี่ยวชาญ รวมถึงเครื่องที่ใช้ตรวจจะต้องมีความแม่นยำด้วย
  4. ระยะของตัวอ่อนที่นำไปตรวจ : การตรวจที่ระยะ blastocyst ณ ปัจจุบันถือว่าเป็นช่วงที่มีความแม่นยำมากกว่าการตรวจที่ระยะก่อนหน้า
  5. ภาวะ Mosaic ของตัวอ่อน : ภาวะ Mosaicism ของตัวอ่อน คือภาวะที่ในตัวอ่อนนั้นๆมีทั้งเซลล์ที่มีโครโมโซมปกติ ปะปนกับเซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติ การตรวจ PGT-A หากสุ่มได้เซลล์ที่ปกติไปตรวจเพียงอย่างเดียว ก็จะทำให้ผลผิดพลาดได้
  6. ความผิดปกติของโครโมโซม หรือพันธุกรรมของพ่อ-แม่ : ความผิดปกติบางอย่างก็ไม่สามารถตรวจได้จากการตรวจ PGT-A ได้

จะเห็นได้ว่า การตรวจ PGT-A นั้นก็มีข้อจำกัดหลายๆอย่าง อาจเกิดความผิดพลาดของการอ่านผลเนื่องมาจากปริมาณ DNA ที่เก็บมาได้จากเซลล์ของตัวอ่อนนั้นมีปริมาณน้อยเกินไป นอกจากนั้น ยังอาจมีภาวะโมเซอิก (Mosaic) ซึ่งก็คือการที่โครโมโซมของเด็กแต่ละเซลล์มีความแตกต่างกัน ทำให้เซลล์ที่นำมาตรวจนั้นถึงแม้ว่าผลปกติ ก็อาจจะไม่สามารถบอกได้ว่าเซลล์อื่นๆจะปกติทั้งหมด

การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซม หลังจากตั้งครรภ์สำเร็จแล้ว

ในปัจจุบัน หากคุณแม่สามารถตั้งครรภ์ได้แล้ว ก็มีการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมอยู่หลายวิธีในช่วงการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อย เช่น การตรวจอัลตราซาวนด์ดูความหนาต้นคอเด็ก, การตรวจสารเคมีในเลือดมารดา (PAPP-A), การตรวจ NIPT เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบเจาะเลือด มีกี่แบบ? ความแม่นยำเท่าไหร่?)

นอกจากนี้ยังมีการตรวจวินิจฉัยได้แก่ การเจาะน้ำคร่ำ หรือการตัดชิ้นเนื้อรกบางส่วนมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้เช่นเดียวกัน แต่ทั้งวิธีเจาะน้ำคร่ำ หรือการตัดชื้นเนื้อรกนี้ ก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแท้งบุตรได้

ซึ่งการตรวจเมื่อตั้งครรภ์แล้วนั้น ก็จะมีประโยชน์เพราะว่าเป็นการตรวจคัดกรองโครโมโซมในทารกที่ยืนยันการมีชีวิตแล้ว และช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณแม่และครอบครัวได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ การตรวจ NIPT หรือ NIFTY นั้น ยังสามารถตรวจภาวะที่มีการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กๆ (deletion/duplication syndrome) ซึ่ง PGT-A ไม่สามารถตรวจได้ (อ่านต่อ : NIFTY®️ Pro เพิ่มรายการตรวจ deletion/duplication จาก 84 เป็น 92 รายการแล้ว)

สรุป

จะเห็นได้ว่า ถึงแม้คุณแม่ที่ทำเด็กหลอดแก้ว จะได้ทำการตรวจคัดกรองโครโมโซมก่อนใส่ตัวอ่อนเข้าในโพรงมดลูก ก็ยังมีโอกาสที่ตัวอ่อนนั้นมีความผิดปกติของโครโมโซมได้ อันเนื่องจากสาเหตุ 2 ประการ ก็คือ

  1. ภาวะโมเซอิก (Mosaicism) ที่เกิดจากเซลล์ของของตัวอ่อนแต่ละเซลล์นั้น มีโครโมโซมที่ไม่เหมือนกัน ทำให้การสุ่มนำเซลล์ของตัวอ่อนเพียงบางเซลล์มาตรวจก่อน ก็อาจจะมีโอกาสได้แต่เซลล์ที่ปกติ แต่ไม่ได้เซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติมาด้วยก็ได้
  2. การนำเซลล์เพียงบางเซลล์จากตัวอ่อน (ซึ่งเซลล์ที่นำมาตรวจมีจำนวนน้อย) อาจทำให้เกิดข้อจำกัดของปริมาณ DNA ที่นำมาตรวจนั้นมีน้อยเกินไป

นอกจากนี้ ข้อจำกัดของ PGT-A คือ ไม่สามารถตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กๆ (deletion/duplication syndrome)ได้

ดังนั้น เพื่อความมั่นใจว่าทารกที่อยู่ในครรภ์ มีความปกติของโครโมโซม แพทย์จึงแนะนำว่าคุณแม่ สามารถเลือกที่จะตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมเพิ่มเติมได้ (เช่น NIPT, NIFTY) หรือจะเลือกตรวจวินิจฉัยด้วยการเจาะน้ำคร่ำหรือตรวจชิ้นเนื้อรกก็ได้เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดี โครโมโซมก็เปรียบเสมือนแม่พิมพ์ของชีวิต คุณแม่ยังต้องมีการให้สารอาหารและความรักความอบอุ่นตลอดการตั้งครรภ์ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลและฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และถึงแม้ว่าผลตรวจทั้งหลายจะปกติมารดาทุกคนก็จะมีความเสี่ยงพื้นฐาน 3 ถึง 5% สำหรับการตั้งครรภ์ใดๆ ที่จะส่งผลให้ทารกมีความพิการแต่กำเนิดหรือปัญญาอ่อนได้ ซึ่งการตรวจคัดกรองก่อนคลอดและการทดสอบวินิจฉัยไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติทั้งหมด และผลการตรวจที่ปกติไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะปกติไปจนถึงช่วงเวลาคลอด

References

Kimelman, D., Confino, R., Confino, E., Shulman, L. P., Zhang, J. X., & Pavone, M. E. (2018). Do patients who achieve pregnancy using IVF-PGS do the recommended genetic diagnostic testing in pregnancy? Journal of Assisted Reproduction and Genetics, 35(10), 1881–1885. https://doi.org/10.1007/s10815-018-1289-z

Kimelman, D., & Pavone, M. E. (2021). Non-invasive prenatal testing in the context of IVF and PGT-A. Best Practice & Research. Clinical Obstetrics & Gynaecology, 70, 51–62. https://doi.org/10.1016/j.bpobgyn.2020.07.004

Madjunkov, M., Abramov, R., Glass, K. B., Baratz, A. Y., Sharma, P. A., Madjunkova, S., & Librach, C. L. (2023). Noninvasive prenatal testing (nipt) after euploid embryo transfer shows high concordance with pgt-a results and low nipt predictive values. Fertility and Sterility, 120(4), e50. https://doi.org/10.1016/j.fertnstert.2023.08.165

Preimplantation Genetic Testing. (n.d.). Acog.org. Retrieved November 10, 2024, from https://www.acog.org/clinical/clinical-guidance/committee-opinion/articles/2020/03/preimplantation-genetic-testing

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]