Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

แม่ท้องต้องรู้! ควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

เนื้อหาในบทความนี้

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

คุณแม่หลายท่านที่กำลังตั้งครรภ์อาจมีความสงสัย คนท้องฉีดวัคซีนได้ไหม ตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนได้ไหม คนท้องต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง หรือคำถามที่ว่าคนท้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ไหม ในบทความนี้จะพาคุณแม่ทุกท่านไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนคนท้อง คนท้องฉีดวัคซีนได้ไหม กันค่ะ

ขณะตั้งครรภ์นอกจากการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอแล้ว คุณแม่ควรรู้ว่าคนท้องต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง เพราะหากคุณแม่ได้รับ วัคซีนคนท้องที่เหมาะสม” อาทิ วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก วัคซีนไอกรน จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคจากการสัมผัสโรคให้กับตัวคุณแม่เอง และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกในครรภ์ไปจนถึง 3-6 เดือนหลังคลอด ทั้งนี้การฉีดวัคซีนยังมีความสำคัญกับหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ เพราะมีวัคซีนบางชนิดที่ห้ามฉีดในระหว่างการตั้งครรภ์

คุณแม่ที่กำลังวางแผนมีบุตร และกำลังตั้งครรภ์ จึงควรรู้ว่า ก่อนการตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง และคนท้องฉีดวัคซีนอะไรบ้างค่ะ

วัคซีนสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ 19-26 ปี แนะนำควรฉีดก่อนการตั้งครรภ์

เนื่องจากวัคซีนมีหลายชนิด ทำให้การฉีดวัคซีนคนท้องมีข้อจำกัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ จึงมีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดเชื้อเป็นก่อนการตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เพราะเป็นวัคซีนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ จึงแนะนำให้ฉีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนการตั้งครรภ์ ดังนี้

1.วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Varicella vaccine)

โรคอีสุกอีใส (chickenpox, varicella) เป็นโรคที่สามารถหายได้เอง และผู้ที่ติดเชื้อแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต แต่ในขณะเดียวก็ยังพบว่า โรคอีสุกอีใสสามารถเกิดขึ้นได้อีกครั้ง และยังมีเชื้อไวรัสอยู่ในปมประสาท ส่งผลให้เมื่อร่างกายอ่อนแอ กระตุ้นให้เกิดโรคงูสวัดได้ และการติดเชื้อในทารกแรกเกิดจะมีอาการรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนมากกว่าเด็กทั่วไป

หากคุณแม่ติดเชื้ออีสุกอีใสระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วง 8-20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้ทารกติดเชื้ออีสุกอีใสได้ตั้งแต่กำเนิด ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางด้านร่างกาย และสมองของทารกในครรภ์ ได้แก่ อวัยวะส่วนแขนขาไม่พัฒนา ภาวะสมองฝ่อ เป็นต้น นอกจากนี้หากคุณแม่มีการติดเชื้อช่วงใกล้คลอด โดยเฉพาะ 2-5 วันก่อนคลอด จะมีความเสี่ยงสูงที่ทารกจะติดเชื้ออีสุกอีใส และมีอาการรุนแรง

ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Varicella vaccine)

● ฉีดวัคซีน 2 dose โดยพิจารณาตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีน

● หลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส แนะนำให้คุมกําเนิดอย่างน้อย 1 เดือน

● ห้ามฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ในระหว่างการตั้งครรภ์

● กรณีที่หญิงตั้งครรภ์ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสก่อนตั้งครรภ์ ควรได้รับวัคซีนหลังคลอด 2 ครั้ง ห่างกัน 4-8 สัปดาห์

● กรณีที่หญิงตั้งครรภ์สัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใส โดยที่ไม่มีประวัติการเป็นอีสุกอีใส และการฉีดวัคซีนมาก่อนการตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออีสุกอีใส หากมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค แพทย์จะทำการพิจารณาให้วัคซีนต่อไป

**หมายเหตุ : วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสเป็นวัคซีนทางเลือก พิจารณาฉีดเมื่อจำเป็น

2. วัคซีนป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (Measles-Mumps-Rubella, MMR)

โรคหัด (measles) เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันผ่านทางสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือการหายใจรดกัน โดยหากหญิงตั้งครรภ์มีการติดเชื้อ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในตัวคุณแม่เอง และทารกในครรภ์ตามมา อาทิ คุณแม่อาจเกิดอาการท้องเสีย ปอดอักเสบ สมองอักเสบ ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือเกิดภาวะแท้งบุตรได้ หรือทารกเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์

โรคคางทูม (mumps) สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสโดยตรง หรือได้รับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ซึ่งต้องอาศัยการสัมผัสใกล้ชิดมากกว่าเชื้อหัด โดยหากหญิงตั้งครรภ์มีการติดเชื้อคางทูมในอายุครรภ์ไตรมาสแรก หรือระหว่างสัปดาห์ที่ 1-13 มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งบุตรได้

โรคหัดเยอรมัน (German measles, rubella) สามารถติดต่อผ่านทางการหายใจ ซึ่งเชื้อจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด สามารถติดต่อไปสู่ทารกในครรภ์ผ่านทางสายสะดือได้ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร และทารกเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ได้ หากคุณแม่มีการติดเชื้อหัดเยอรมัน ในช่วงก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ทารกมักจะมีความผิดปกติ เช่น หูหนวก มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ กระดูก ระบบประสาท รวมถึงมีความผิดปกติด้านสติปัญญา ซึ่งพบได้ร้อยละ 20-85%

ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (Measles-Mumps-Rubella, MMR)

● ฉีดวัคซีน MMR 1-2 dose

● แนะนําให้ฉีดวัคซีน MMR ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคนที่ไม่เป็นหัดเยอรมัน หรือไม่แน่ใจว่าเคยเป็นหรือไม่ โดยไม่ต้องเจาะเลือดเพื่อดูภูมิคุ้มกันก่อนฉีด

● ห้ามฉีดวัคซีน MMR ในระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะเป็นวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ อันตรายต่อทารกในครรภ์

● หลังฉีดวัคซีน MMR ต้องคุมกําเนิดอย่างน้อย 1 เดือน

ตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนได้ไหมวัคซีนคนท้อง เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยในครรภ์

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า คุณแม่หลายๆ ท่าน เมื่อตั้งครรภ์อาจเกิดความสงสัยว่า คนท้องฉีดวัคซีนได้ไหม ตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนได้ไหม คนท้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง คนท้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ไหม ซึ่งต้องบอกเลยว่า การฉีดวัคซีนคนท้อง ถือเป็นเรื่องที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามเลย เพราะหากคนท้องฉีดวัคซีนที่เหมาะสม อาทิ วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก วัคซีนไอกรน จะได้รับการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อจากการสัมผัสโรค ในร่างกายคุณแม่ และทารกในครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด ดังนั้น การได้รับวัคซีนคนท้องที่เหมาะสม จึงมีความจำเป็น โดยคนท้องต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ดังนี้

1.วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก (Diphtheria and Tetanus toxoids combine (DT/dT) vaccine)

วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก เป็นวัคซีนรวมที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านควรได้รับ โดยวัคซีนบาดทะยักคนท้อง จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคบาดทะยักในทารกแรกเกิดจากการทำคลอด ไม่ว่าจะเป็นการตัดสายสะดือที่ไม่สะอาด วัคซีนบาดทะยักคนท้อง จึงมีความสำคัญ และวัคซีนคอตีบ ป้องกันโรคคอตีบที่อาจมีการระบาดขึ้น ซึ่งวัคซีนรวมโรคคอตีบ-บาดทะยักที่แนะนำในหญิงตั้งครรภ์ คือ วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก (dT) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ และบาดทะยักให้กับคุณแม่ และทารกตั้งแต่แรกเกิดได้ดี

ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก (Diphtheria and Tetanus toxoids combine (DT/dT) vaccine)

● ควรมีการฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก จำนวน 3 เข็ม โดยเข็มที่ 1 ฉีดทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ หลังจากนั้นอย่างน้อย 1 เดือน ให้ฉีดเข็มที่ 2 และหลังจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือน ให้ฉีดเข็มที่ 3 และควรมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี

● กรณีที่หญิงตั้งครรภ์มีประวัติได้รับวัคซีนมาแล้ว 1 ครั้ง ให้ทำการฉีดอีก 2 ครั้ง โดยมีระยะห่าง 0,6 เดือน

● กรณีหญิงตั้งครรภ์เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาแล้ว 2 ครั้ง ให้ทำการฉีดอีก 1 ครั้ง โดยมีระยะห่างระหว่างครั้งที่ 2 กับครั้งที่ 3 อย่างน้อย 6 เดือน และให้วัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี

● ไม่พบว่ามีผลข้างเคียงต่อหญิงให้นมบุตร หรือทารกที่ได้รับนมแม่

ปัจจุบันได้มีการแนะนำให้ “ฉีดวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (diphtheria-tetanus-acellular pertussis vaccine, Tdap)” ในหญิงตั้งครรภ์ โดยควรฉีดตั้งแต่อายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ จำนวน 1 เข็ม เพื่อป้องกันการติดเชื้อไอกรนในทารกแรกเกิด จนถึง 6 เดือน ที่อาจติดเชื้อไอกรนจากคุณแม่ที่ป่วยเป็นไอกรน เพราะไอกรน เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้โดยการไอ จามรดกัน ซึ่งพบไอกรนในเด็กทารกตั้งแต่เดือนแรกได้บ่อย และมักมีอาการรุนแรง

2.วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Inactivated influenza vaccine)

ในประเทศไทยมักพบการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว และพบความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในคนท้องที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ได้ คนท้องหลายท่านจึงอาจกังวลว่า คนท้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ไหม เพราะเกรงว่าหากติดเชื้อจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

การติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ในหญิงตั้งครรภ์ มักมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต และเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ดังนั้น จึงแนะนำให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ และยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกตั้งแต่แรกเกิดได้ โดย American College of Obstetricians and Gynecologists ได้แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เมื่ออายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน หรืออายุครรภ์มากกว่า 14 สัปดาห์ เนื่องจากพบว่าช่วงอายุครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3 เมื่อหญิงตั้งครรภ์มีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จะมีอัตราเสียชีวิตสูง แต่กรณีที่หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน สามารถฉีดได้ทุกระยะของอายุครรภ์ แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของสูตินารีแพทย์

ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Inactivated influenza vaccine)

● ควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

● ไม่มีข้อห้ามใช้วัคซีนในหญิงให้นมบุตร

3. วัคซีนป้องกันโควิด 19 (COVID-19 vaccine)

หากกำลังตั้งครรภ์คุณแม่สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ตามปกติหลังมีอายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์หรือ 3 เดือน สำหรับผู้ที่ไม่แนะนำให้ฉีดคือคุณแม่ที่มีอาการแพ้วัคซีนจากเข็มแรกอย่างรุนแรง หรือมีข้อห้ามจากแพทย์ที่ทำการดูแลโดยตรง นอกจากนี้หากไม่รับวัคซีนจะมีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 และอาจมีอาการรุนแรงในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • ตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก
  • มีน้ำหนักสูงกว่ามาตรฐาน
  • การมีภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง

โดยข้อมูลวัคซีนที่มีการรับรองแน่ชัดว่าเหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ที่สุดคือชนิด mRNA คือวัคซีนโมเดอร์นาและวัคซีนไฟเซอร์ อย่างไรก็ตามก่อนฉีดวัคซีนทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

วัคซีนคนท้อง พิจารณาฉีดเมื่อมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง

1.วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B vaccine)

พิจารณาให้ฉีดได้ในหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เช่น มีคู่นอนหลายคนในช่วง 6 เดือนที่ผ่าน หรือมีคู่นอนที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี เคยหรือกําลังใช้ยาเสพติด เป็นต้น ถึงแม้ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย แต่ยังพบว่ามีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ แต่ยังไม่มีข้อมูลมากพอ จึงแนะนำให้ฉีดเฉพาะผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ซึ่ง WHO แนะนำว่าสามารถใช้ได้ในหญิงให้นมบุตร

2.วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A vaccine)

พิจารณาให้ฉีดได้ในหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ เช่น ผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางไปแหล่งระบาดของโรค หรือมีอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ เช่น ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบี หรือผู้ป่วยโรคตับ เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย แต่ยังมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ได้ แต่น้อยมาก จึงแนะนำให้ฉีดเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง และสามารถฉีดในหญิงให้นมบุตรได้

3.วัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Haemophilus influenzae ชนิด b หรือ ฮิบ (Haemophilus influenzae type b, Hib vaccine)

พิจารณาให้ฉีดได้ในหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรค เนื่องจากลดความรุนแรงของโรคในมารดา และทารกในครรภ์ได้ แต่ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนฮิบในหญิงตั้งครรภ์ทั่วไปที่ไม่มีความเสี่ยง สามารถฉีดในหญิงให้นมบุตรได้

4.วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal C conjugate vaccine, MenCCV)

พิจารณาให้ฉีดได้ในหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรค เพราะยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับใช้ในหญิงตั้งครรภ์ แต่สามารถฉีดในหญิงให้นมบุตรได้

5.วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Streptococcus pneumoniae ชนิดโพลีแซคคาไรด์หรือ วัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ 23 สายพันธุ์ (23-valent pneumococcal polysaccharide vaccine, 23vPPV)

พิจารณาให้ฉีดได้ในหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด invasive pneumococcal disease (IPD) เช่น ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนนี้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนหน้านี้ เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย แต่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยเพียงพอสำหรับใช้ในหญิงตั้งครรภ์ แต่ถ้าจะให้ดีสำหรับหญิงที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ IPD รวมทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ ควรได้รับวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์ สำหรับหญิงให้นมบุตรสามารถฉีดได้

6.วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies vaccine )

พิจารณาให้ฉีดได้ในหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ แต่ยังไม่พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีนจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ และยังไม่พบว่า การให้วัคซีนในหญิงให้นมบุตรจะมีผลต่อทารก แต่ถึงอย่างไรก็ควรใช้วัคซีนอย่างระมัดระวังในหญิงให้นมบุตร

นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนชนิดเชื้อตายอื่นๆ ที่ควรพิจารณาให้ฉีดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนั้นๆ เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น ชนิดโพลีแซคคาไรด์ (Meningococcal polysaccharide vaccine, 4vMenPV) วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ ชนิดฉีด (Typhoid Vipolysaccharide vaccine; Parenteral) วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese encephalitis, JE, vaccine) และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (Inactivated poliomyelitis vaccine, IPV) เป็นต้น ทั้งหมดนี้ควรได้รับการพิจารณาฉีดจากทางการแพทย์

รู้ไว้ไม่เสี่ยง! วัคซีนคนท้อง “ห้าม” ใช้ในหญิงตั้งครรภ์

นอกจากวัคซีนคนท้องที่แนะนำให้ฉีดระหว่างตั้งครรภ์ และแนะนำให้ฉีดวัคซีนคนท้องเมื่อมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนั้นๆ แล้ว ยังมีวัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์อีกด้วย เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ตามมาได้ และหากหญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับวัคซีนเหล่านี้ ควรมีการคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 เดือน และอยู่ภายใต้การดูแลของสูตินารีแพทย์อย่างใกล้ชิด

วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ห้ามฉีดในระหว่างการตั้งครรภ์ มีดังนี้

1.วัคซีนป้องกันวัณโรค (Bacille Calmette Guerin, BCG vaccine; Live attenuated strain Mycobacterium bovis)

2.วัคซีนป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (Measles-Mumps-Rubella, MMR vaccine)

3.วัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles live-virus vaccine)

4.วัคซีนป้องกันโรคคางทูม (Mumps live-virus vaccine)

5.วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน (Rubella live-virus vaccine)

6.วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Varicella zoster live-virus vaccine, VAC)

7.วัคซีนป้องกันไข้ทรพิษหรือฝีดาษ (Vaccinia vaccine/smallpox vaccine)

8.วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ชนิดให้ทางปาก (Oral typhoid vaccine)

9.วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดพ่นจมูก (Live attenuated influenza vaccine, LAIV)

10.วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดรับประทาน (Oral Polio Vaccine, OPV)

11.วัคซีนโรต้าไวรัส (Rotavirus vaccine)

12.วัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง (Yellow fever vaccine)

13.วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Zoster vaccine)

14.วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคชนิดรับประทาน (Oral cholera vaccine/OCV)

15.วัคซีนโรคนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (7-valent pneumococcal conjugate vaccine, 7vPCV)

คุณแม่ตั้งครรภ์ หรือผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร คงหายสงสัยแล้วใช่ไหมคะ ว่าคนท้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง คนท้องฉีดวัคซีนได้ไหม และเห็นแล้วใช่ไหมคะว่า การฉีดวัคซีนมีความสำคัญต่อตัวคุณแม่เอง และทารกในครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอดเลยทีเดียว

ดังนั้น แนะนำให้คุณแม่รีบเช็กตัวเองนะคะ ว่าได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้วหรือยัง เพื่อจะได้ทำการฉีดป้องกันโรคต่างๆ ให้กับตัวคุณแม่ และสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ทารกตั้งแต่ในครรภ์ได้ค่ะ หากคุณแม่ท่านใดมีคำถามเพิ่มเติม หรือยังสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนคนท้อง วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก วัคซีนบาดทะยักคนท้อง วัคซีนไอกรน คุณแม่สามารถสอบถามได้ที่ช่อง COMMENT ด้านล่าง ได้เลยนะคะ ทาง ADMIN จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ

แถมเพิ่ม รู้ไว้ไม่เสี่ยง! วัคซีน “ห้าม” ใช้ในหญิงให้นมบุตร

วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ห้ามฉีดในระหว่างการให้นมบุตร มีเพียง 2 ชนิดดังนี้

1. วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง หรือฝีดาษ (Monkeypox/Smallpox (ACAM2000))

2. วัคซีนป้องกันไข้เหลือง (Yellow Fever)

อ้างอิงข้อมูล

ธีราพร ชนะกิจ, คําถามที่พบบ่อยในการให้วัคซีนในหญิงมีครรภ์ (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2559), หน้า 2-21.

https://www.cdc.gov/breastfeeding/breastfeeding-special-circumstances/vaccinations-medications-drugs/vaccinations.html

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]