Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความนี้
Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
การตั้งครรภ์แฝด ทางการแพทย์ถือว่าเป็นครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆระหว่างการตั้งครรภ์ได้หลายอย่าง เช่น การคลอดก่อนกำหนด น้ำคร่ำเดินก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ การแย่งอาหารกันของทารกในครรภ์ ฯลฯ ดังนั้น การที่เรารู้ว่าตั้งครรภ์แฝดแต่ตั้งแต่ตอนอายุครรภ์ยังน้อยๆ ก็น่าจะช่วยให้คุณแม่และคุณหมอเตรียมความพร้อมในการดูแลครรภ์ได้ดีขึ้น และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆค่ะ
บทความนี้จะพาคุณแม่ไปเช็กอาการท้องแฝดกัน ว่าคุณแม่มีสัญญาณเตือนที่จะมีลุ้นได้ลูกฝาแฝดหรือไม่ พร้อมทั้งรู้จักกับการตั้งครรภ์แฝดให้มากขึ้นด้วยค่ะ
แฝดแท้ Vs แฝดเทียม ต่างกันอย่างไร
เชื่อว่าแม่ๆ หลายคนคงจะทราบดีอยู่แล้วว่า การตั้งครรภ์แฝดนั้น คือการมีลูกมากกว่า 1 คนในคราวเดียวกัน หรือมีทารกมากกว่า 1 คนในครรภ์ ส่วนใหญ่ที่พบก็จะเป็นครรภ์แฝด 2 คน หรือคุณแม่บางคนอาจตั้งครรภ์แฝด 3 คน หรือมากกว่านั้น
ส่วนเรื่องรูปร่างหน้าตาของลูกแฝด คุณแม่บางคนอาจจะได้ลูกแฝดที่รูปร่างหน้าตาเหมือนกัน หรือคุณแม่บางคนอาจจะได้ลูกแฝดที่รูปร่าง หน้าตาไม่เหมือนกันเลยก็ได้เช่นกันค่ะ ทั้งนี้นั้นเกิดจากการตั้งครรภ์แฝดที่ต่างกัน ดังนี้
● การตั้งครรภ์แฝดจากไข่ใบเดียวกัน (แฝดแท้) คือ การที่ตัวอ่อนสองคน เกิดมาจากอสุจิตัวเดียวปฏิสนธิกับไข่ใบเดียวกัน แล้วเจริญเติบโตแยกออกมาเป็นสองคน (1 อสุจิ 1 ไข่) ซึ่งทั้งสองคนนี้ อาจจะอยู่ในถุงตั้งครรภ์เดียวกัน หรือแยกกันก็ได้ อาจจะใช้รกเพื่อรับสารอาหารจากคุณแม่แค่รกเดียว หรือมี 2 รกก็ได้ จึงเรียกว่า แฝดแท้ (Identical twins) ทารกที่เกิดมาส่วนใหญ่มักจะเป็นเพศเดียวกัน และมีลักษณะรูปร่าง หน้าตา ที่เหมือนกัน หรือคล้ายกันมากๆ แต่นิสัย และพฤติกรรมต่างๆอาจจะแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูค่ะ
● การตั้งครรภ์แฝดจากไข่คนละใบ (แฝดเทียม) คือ การที่ตัวอ่อนสองคน เกิดมาจากอสุจิคนละตัวปฏิสนธิกับไข่คนละใบ (2 อสุจิ 2 ไข่) แล้วเจริญเติบโตภายในรกและถุงน้ำคร่ำ หรือถุงตั้งครรภ์แฝดที่แยกจากกัน จึงเรียกว่า แฝดเทียม (Fraternal twins) ทารกแฝดเทียมที่เกิดมาจะมีเพศเดียวกัน หรือคนละเพศก็ได้ โดยจะมีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่มักจะไม่เหมือนกัน
หมายเหตุ : การเจริญเติบโตของทารกฝาแฝด ที่สำคัญในการดูแล คือจะต้องทราบว่าเป็นครรภ์แฝดที่มีกี่รก และมีถุงการตั้งครรภ์กี่ถุง ซึ่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดแท้ (Identical twins) จะมีรก 1 หรือ 2 รก และจำนวนถุงตั้งครรภ์ 1 หรือ 2 ถุงก็ได้ (ถ้ามี 2 รก ก็จะมีถุงตั้งครรภ์ 2 ถุงเสมอ) แต่หากเป็นแฝดเทียม (Fraternal twins) ก็จะมี 2 รก และ 2 ถุงการตั้งครรภ์เสมอ
ซึ่งหากอยากรู้ ว่าถุงตั้งครรภ์ในท้องแฝดซาวด์เจอตอนไหน ควรจะอัลตร้าซาวด์ตอนอายุครรภ์น้อยๆ เพื่อจะได้แยกได้ชัดว่าเป็นถุงการตั้งครรภ์แบบใด เพราะหากรอให้อายุครรภ์มากๆ การเจริญเติบโตของร่างกายน้องอาจจะบดบังการตรวจอัลตราซาวนด์ที่บ่งชี้ว่าเป็นครรภ์แฝดกี่รก กี่ถุงการตั้งครรภ์
การแยกว่าเป็นรกเดียวกัน หรือคนละรก และอยู่ในถุงการตั้งครรภ์เดียวกัน หรือแยกคนละถุงนั้นมีความสำคัญ เนื่องจากเปอร์เซนต์ที่จะเกิดปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ของครรภ์แฝดจะเป็นดังนี้ ครรภ์แฝด 1 รก 1 ถุง => 1 รก 2 ถุง => 2 รก 2 ถุง
เช็กปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดท้องแฝดด่วน!
การตั้งครรภ์แฝดในอดีตยังพบได้ไม่มากนัก เพราะยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วยทำลูกแฝด แต่ในปัจจุบันเราจะพบคุณแม่ที่ท้องแฝดมากขึ้น เพราะการตั้งครรภ์แฝดในปัจจุบันไม่ได้เกิดจากท้องแฝดธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่การท้องลูกแฝดนั้น มีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วยทำลูกแฝด ให้เกิดการตั้งครรภ์แฝดขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คุณแม่มีลูกแฝดอีกด้วย
ดังนั้น เราจะพาคุณแม่ไปเช็กกันค่ะว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด
● การท้องแฝดธรรมชาติ
1.ลูกแฝดเกิดจากพันธุกรรม ซึ่งหากคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้อง มีประวัติได้ลูกฝาแฝด โอกาสที่คุณแม่จะตั้งครรภ์แฝดก็มีได้เช่นกัน
2.ลูกแฝดเกิดจากคุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก ซึ่งช่วงที่อายุมากขึ้น ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้อาจเกิดการตกไข่มากกว่า 1 ใบ
3.ลูกแฝดเกิดจากคุณแม่ผ่านการตั้งครรภ์หลายครั้ง ทำให้มีโอกาสตกไข่ได้มากกว่า 1 ใบ จึงมีโอกาสได้ลูกฝาแฝด ท้องแฝดธรรมชาติ
4.ลูกแฝดเกิดจากคุณแม่หยุดกินยาคุมกำเนิด หลังจากที่กินติดต่อกันมานาน 3 ปีขึ้นไป ทำให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง โอกาสเกิดตกไข่มากกว่า 1 ใบ จึงเกิดขึ้นได้
5.ลูกแฝดเกิดจากคุณแม่มีภาวะมีบุตรยาก ข้อนี้อาจจะไม่เชิงท้องแฝดธรรมชาติ เพราะเกิดจากการที่คุณแม่บางท่านเมื่อมีภาวะบุตรยาก อาจได้รับยาบางชนิด ที่ไปกระตุ้นให้ตกไข่มากกว่า 1 ใบ
● เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วยให้ตั้งครรภ์ ทางเลือกคุณแม่อยากมีลูก
ปัจจุบันมีความนิยมในการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ (Artificial Reproductive Technology : ART) มากขึ้นอย่างมาก เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว, การทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) หรือ อิ๊กซี่ ซึ่งทางการแพทย์อาจใส่ตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัวเข้าไปในโพรงมดลูกของคุณแม่ เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้น โอกาสมีลูกฝาแฝดจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าการใส่ตัวอ่อนเพียงตัวเดียว
ในอดีต ยังไม่มีการกำหนดจำนวนตัวอ่อนที่จะใส่ในโพรงมดลูกของคุณแม่ ว่าควรจะใส่เป็นจำนวนเท่าใด ทำให้เกิดการตั้งครรภ์แฝดมากกว่า 2 คนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งปริมาณทารกในครรภ์จำนวนมากนั้นมีผลเสียต่อทารกทั้งหมด จึงอาจทำให้การตั้งครรภ์ 3-4 คนนั้น เกิดการแท้งออกมาจนหมดไม่เหลือสักคนเลยก็ได้ ดังนั้นในปัจจุบัน จึงมีแนวทางกำหนดจำนวนตัวอ่อนแพทย์ที่เหมาะสมสำหรับแพทย์ในการทำการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกในแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดครรภ์แฝดจำนวนมากเกินไป
เช็กลิสต์อาการท้องแฝด อาจมีลุ้นได้ลูกแฝด ฝาแฝด
เชื่อว่าเมื่อเกิดการตั้งครรภ์ แม่ๆ ทุกคนคงตื่นเต้นดีใจ คงแอบมีลุ้นกันใช่ไหมคะ ว่าจะมีโอกาสท้องลูกแฝดหรือไม่ ดังนั้นหากคุณแม่เช็กแล้วมีอาการ หรือความผิดปกติต่อไปนี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณแม่อาจกำลังท้องลูกแฝดอยู่นั่นเองค่ะ
●มีอาการแพ้ท้องหนัก นานเกิน 14 สัปดาห์
คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวมาเต็ม จนรู้สึกว่าไม่ไหว อาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์แฝด เพราะมีฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ที่สูงมากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์เดี่ยว จึงมีอาการแพ้ท้องอย่างหนัก และนานกว่าครรภ์เดี่ยว
●หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
เมื่อเราเหนื่อย หรือทำกิจกรรมหนักๆ หัวใจจะเต้นเร็วกว่าปกติเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับแม่ท้อง หัวใจจะทำงานหนักขึ้น เพราะเกิดการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงลูกน้อย ยิ่งหากเป็นครรภ์แฝด หัวใจจะทำงานหนักมากยิ่งขึ้น จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่าเป็นการตั้งครรภ์แฝด หัวใจจะเต้นเร็วกว่าปกติ จนรู้สึกตัวได้
●รู้สึกว่าลูกน้อยในครรภ์ดิ้นแรงและบ่อย
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดจะรู้สึกได้เร็ว ว่าลูกน้อยในครรภ์ดิ้น เพราะเกิดจากทารกที่มีมากกว่า 1 คน เมื่อเกิดการขยับตัวพร้อมๆ กัน คุณแม่ก็จะรู้สึกได้ว่าลูกน้อยดิ้นแรงและบ่อย ซึ่งเมื่อเทียบกับครรภ์เดี่ยวจะรู้สึกตัวว่าลูกดิ้นได้ช้ากว่า
●อายุครรภ์น้อย แต่ท้องใหญ่
หากคุณแม่ สังเกตว่าท้องตนเองใหญ่เกินกว่าปกติ เช่น อายุครรภ์ 3 เดือน แต่เหมือนคนท้อง 5 เดือน นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณแม่อาจท้องลูกแฝด เพราะเมื่อมีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน มดลูกจะขยายใหญ่ และหน้าท้องก็ขยายใหญ่ขึ้นมากกว่าครรภ์เดี่ยว แต่ทั้งนี้การที่คุณแม่ท้องใหญ่มากกว่าอายุครรภ์ อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นได้เช่นกัน ดังนั้น ควรทำการพบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ
อาการเช็กลิสต์ครรภ์แฝด อาการท้องแฝดดังกล่าว ไม่สามารถฟันธงได้ 100% ว่าคุณแม่จะเกิดการตั้งครรภ์แฝด ดังนั้นการตรวจด้วยการอัลตราซาวนด์เพื่อยืนยันอีกครั้ง จะชัวร์กว่านะคะ
ท้องแฝดหรือไม่ ตรวจทางการแพทย์ชัวร์กว่า-ตรวจท้องแฝดได้กี่สัปดาห์
อย่างที่บอกไปว่าบางครั้งการเช็กอาการ และสันนิษฐานด้วยตัวเองว่าเกิดการตั้งครรภ์ลูกแฝดหรือไม่ เป็นแค่ข้อสังเกตเบื้องต้นเท่านั้น ไม่อาจฟันธงได้ 100% แต่หากคุณแม่อยากเพิ่มความมั่นใจมากยิ่งขึ้น มีวิธีทางการแพทย์มาแนะนำ ดังนี้ค่ะ
● การอัลตร้าซาวด์ เป็นวิธีตรวจครรภ์แฝดที่นิยมมาเป็นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะมีวิธีการตรวจที่ไม่ต้องเจ็บตัว และเป็นวิธีที่แม่นยำ เพราะเมื่อทำการอัลตร้าซาวด์จะทำให้เห็นตัวอ่อนในท้อง และท้องแฝดซาวด์เจอตอนไหน ซึ่งบอกได้เลยว่าเป็นช่วงอายุครรภ์ 6- 10 สัปดาห์ขึ้นไปค่ะ เพียงแต่ช่วงครรภ์แรกๆ จะยังเห็นถุงตั้งครรภ์ไม่ชัด ด้วยสาเหตุนี้ท้องแฝดซาวด์เจอตอนไหน จึงควรทำการตรวจตอนอายุครรภ์ที่เหมาะสม ตามแพทย์แนะนำดีที่สุดค่ะ
การตั้งครรภ์แฝด เสี่ยง! ภาวะแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนกับแม่และลูก
การตั้งครรภ์แฝด เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับคุณแม่หลายๆ คน แต่ทั้งนี้อาจพ่วงมาด้วยภาวะแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่เอง และทารกในครรภ์ ซึ่งทางการแพทย์ถือว่าการตั้งครรภ์แฝดเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ดังนี้
● ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับคุณแม่ ได้แก่ แท้งบุตร หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ การตกเลือดก่อนคลอด หรือหลังคลอด มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด และเกิดโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไปจนถึงเกิดภาวะแทรกซ้อนครรภ์พิษ และภาวะซีด
●ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับลูก ได้แก่ ทารกมีโอกาสพิการแต่กำเนิด และเกิดความผิดปกติทางโครโมโซมมากกว่าครรภ์เดี่ยว ส่วนความเสี่ยงจากภาวะแฝดที่ใช้รกร่วมกัน คือ การถ่ายเลือดของทารกคนหนึ่งไปยังอีกคน ทำให้ทารกคนหนึ่งมีภาวะซีดและตัวเล็ก ในขณะที่อีกคนเริ่มมีหัวใจโตและบวมน้ำได้ นอกจากนี้กรณีที่อยู่ในถุงการตั้งครรภ์ใบเดียวกัน ก็อาจจะเกิดภาวะสายสะดือพันกันเอง ทำให้เสียชีวิตพร้อมกันได้ทั้งสองคนเลยค่ะ น่ากลัวมากๆเลย ดังนั้น กรณีครรภ์แฝดที่เป็นถุงการตั้งครรภ์เดียวกัน แพทย์อาจจะแนะนำให้มาคลอดก่อนกำหนดเล็กน้อย เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวนั่นเองค่ะ
ท้องแฝด ตรวจ NIPT หรือตรวจ nifty (นิฟตี้) ได้ไหม
สำหรับคุณแม่ท้องแฝด อาจเกิดความกังวลเกี่ยวกับโรคแทรกซ้อน และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับทารกในครรภ์ โดยเกรงว่าลูกน้อยจะมีโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดภาวะดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ตามมาได้ คุณแม่หลายคนจึงอาจมองหาการตรวจดาวน์ซินโดรม และตรวจโครโมโซม โดยเฉพาะการตรวจ NIPT หรือตรวจ nifty (นิฟตี้) ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน แต่คุณแม่หลายคนก็ยังคงไม่มั่นใจว่าวิธีนี้ตรวจในครรภ์แฝดได้หรือไม่
คุณแม่สามารถอ่านเพิ่มเติมในบทความนี้ได้ค่ะ การตรวจดาวน์ซินโดรมในครรภ์แฝด เลือกอย่างไรดี (NGD NIPT หรือ NIFTY® หรือ Panorama®️)
✅✅✅✅✅
หากต้องการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมในครรภ์แฝด รู้เพศ และโรคอื่นๆได้กับ Brand NIFTY®, NGD NIPT หรือ Panorama®
✅ ความแม่นยำสูง 99.9%
✅ เจาะเลือด 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✅ ค่าบริการในครรภ์แฝดเริ่มต้นที่ 12,900 บาท รวมค่าบริการ และแพทย์อ่านผลตรวจให้ทุกราย
✅ บริการทั่วประเทศ ไม่ต้องเดินทาง สะดวก ประหยัด
คุณแม่ทุกคนอยากให้ลูกในครรภ์สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีความผิดปกติ เป็นดาวน์ซินโดรม หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ดังนั้นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ซึ่งมีหลายการตรวจจึงเป็นเรื่องสำคัญ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
Line ID : @Healthsmile
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/NIFTY-content
📞 หรือโทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่
https://healthsmile.co.th/twins-nipt-down-syndrome-screening/