Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความนี้
Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
ปูพื้นฐาน การตรวจ NIPT คืออะไร..
การตรวจ NIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) คือการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดมารดา ที่สามารถคัดกรองความเสี่ยงของทารกในครรภ์ที่จะเกิดกลุ่มอาการดาวน์ หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมอื่นๆได้ด้วย โดย ณ ปัจจุบัน สามารถเลือกจำนวนโครโมโซมที่ต้องการตรวจได้สูงสุดครบทั้ง 23 โครโมโซมที่มีในมนุษย์ + กับความผิดปกติของการขาด/เกิน โครโมโซมขนาดเล็ก (Microdeletion/Duplication) 92 ชนิด
การทดสอบโดยปกติ จะใช้เลือดของมารดาประมาณ 8-10 ซีซี (บางแบรนด์อาจจะต้องใช้มากถึง 20 ซีซี) ซึ่งเลือดของคุณแม่จะมีชิ้นส่วนสารพันธุกรรมจากรกผสมอยู่ ทำให้การทดสอบ NIPT นี้เป็นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่มีความแม่นยำสูงมากถึง 99.9% และไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ มีระยะรอผลการทดสอบเพียง 5-14 วัน
อ่านเพิ่มเติม : การตรวจสารพันธุกรรมทารกในครรภ์ (Cell-free fetal DNA) คัดกรองดาวน์ซินโดรม
ความแม่นยำ 99.9% แปลว่าหากผลตรวจบอกว่ามีความเสี่ยงสูง แปลว่าลูกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรม หรือมีความผิดปกติใช่ไหม?
คำตอบคือ ไม่ใช่
เนื่องจากความแม่นยำในที่นี้ คือ Negative predictive value แปลว่า ถ้าผลออกมาปกติ (ได้ผลว่าความเสี่ยงต่ำ หรือ Low risk) จะแปลว่า โอกาสที่คุณแม่ได้ผลตรวจแบบนี้ จะมีลูกในครรภ์ผิดปกติอยู่ที่น้อยกว่า 0.1%
แต่ว่าค่าความแม่นยำ 99.9% นี้ ไม่ได้บอกว่าในกรณีที่ผลออกมาผิดปกติ (ได้ผลว่าความเสี่ยงสูง หรือ High risk) แล้ว ลูกของคุณแม่จะต้องเป็นโรค 99.9%
ซึ่งกรณีที่มีผลอออกมาว่ามีความเสี่ยงสูง ในผลตรวจจะมีการแจ้ง ว่าโอกาสที่ทารกในครรภ์จะผิดปกติอยู่ที่เท่าไหร่ เช่น 1:25 แปลว่า เจาะน้ำคร่ำไป 25 คน จะมีคนที่ตรวจพบว่าเป็นอยู่เพียง 1 คนเท่านั้น
ดังนั้น หากคุณแม่ได้ผลตรวจว่า High risk ก็อย่าเพิ่งเสียใจว่าลูกในครรภ์จะต้องมีความผิดปกตินะคะ
หากผลตรวจ NIPT หรือ NIFTY ผิดปกติ ต้องทำอย่างไร?
1. รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อันดับแรกที่ต้องทำ คือ ทางแพทย์ผู้ตรวจจะต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับความผิดปกติที่ตรวจพบ ได้แก่ โอกาสหากว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติจริงตามที่ตรวจพบจะมีความผิดปกติต่อน้องเขาอย่างไรบ้าง หากรุนแรงก็อาจจะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ แต่ในหลายๆกรณีที่แม้จะมีความผิดปกติของโครโมโซมบางส่วนจริง แต่อาการผิดปกตินั้นไม่รุนแรง คุณแม่ก็สามารถเลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อได้
โดยปกติ สำหรับผู้ที่เลือกตรวจ NIPT หรือ NIFTY กับเฮลท์สไมล์ เราจะมีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญอ่านผลตรวจให้กับคุณแม่ทุกๆรายที่เข้ารับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และตรวจคัดกรองโครโมโซมกับเรา ซึ่งหากคุณหมอท่านพบความผิดปกติ ก็จะโทรไปแจ้งผลกับคุณแม่โดยตรงให้คำปรึกษาแบบ 1 ต่อ 1 ค่ะ
2. เข้ารับการตรวจวินิจฉัย
เนื่องจาก การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และตรวจคัดกรองโครโมโซมด้วยวิธี NIPT นั้น ยังถือว่าเป็นการตรวจคัดกรอง (Screening test) ไม่ใช่การตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic test) ดังนั้น หากผลพบว่าผิดปกติ ก็จำเป็นต้องทำการตรวจเพื่อวินิจฉัย ซึ่งก็คือการนำเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจ โดยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) หรือเจาะชิ้นส่วนของรกมาตรวจ (Chorionic Villus Sampling : CVS)
จากนั้นก็จะรอผลตรวจยืนยันอีกประมาณ 3-21 วัน ขึ้นกับวิธีที่เลือกตรวจ
วิธีตรวจยืนยันว่าน้ำคร่ำ หรือชิ้นส่วนรกนั้นผิดปกติจริงหรือไม่ มีกี่วิธี อะไรบ้าง
1. G-banding karyotyping
การตรวจโครโมโซมด้วย Giemsa banding คือการย้อมสี Giemsa เพื่อให้มองเห็นโครโมโซม สามารถตรวจจำนวน และรูปร่างลักษณะของโครโมโซมได้
2. Fluorescent in situ hybridization (FISH)
เป็นการตรวจหาตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจงบนโครโมโซม จะเห็นการเรืองแสงบนโครโมโซมที่จำเพาะ สามารถตรวจได้ครั้งละหลายสี แต่จำนวนสีที่มากขึ้นจะทำให้คุณภาพการอ่านแย่ลง ปัจจุบันที่นิยมตรวจคือ 5 สี ได้แก่การตรวจโครโมโซมคู่ที่ 13, 18, 21, X, Y หรือบางแห่งอาจตรวจ 7 สี โดยเพิ่มโครโมโซมคู่ที่ 16 และ 22 ด้วย ดังนั้น การตรวจแต่ละครั้ง จะไม่เห็นโครโมโซมทั้งหมด แต่ข้อดีคือวิธีนี้จะได้ผลตรวจที่รวดเร็วกว่า
3. Comparative Genomic Hybridization (CGH)
มีการรายงานการใช้ CGH ครั้งแรก ในปี 1992 ในการตรวจหา DNA ของเซลล์มะเร็ง วิธี CGH นี้เป็นวิธีที่ใช้ในการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงจำนวนของโครโมโซม โดยไม่ต้องเพาะเลี้ยงเซลล์ แต่ใช้การเพิ่มจำนวน DNA ที่ต้องการตรวจ (whole genome amplification, WGA) และติดสารกัมมันตรังสี (fluorochromes) บน DNA ที่ต้องการตรวจ และ DNA ที่ใช้ควบคุม ด้วยสีที่แตกต่างกัน จากนั้นใช้การผสมในอัตราส่วนที่เท่ากัน
มี 2 วิธี คือ Manual CGH (mCGH) และ array CGH (aCGH)
- m-CGH จะใช้เวลาประมาณ 72 ชั่วโมงในการทำปฏิกิริยายังไม่รวมระยะเวลาในการอ่านผล
- a-CGH ใช้การอ่านผลสัดส่วนของสีโดยเครื่องอัตโนมัติ จะใช้เวลาได้เร็วที่สุดประมาณ 24 ชั่วโมง
- targeted arrays โดยการใช้ probe ที่จำเพาะกับโรคหรือความผิดปกติที่ต้องการตรวจ แต่อาจไม่สามารถวินิจฉัยความผิดปกติใหม่ที่เกิดขึ้นได้
- genome-wide arrays โดยสุ่มตำแหน่งจากโครโมโซมทั้งหมดซึ่งมักใช้ในเชิงศึกษาวิจัยมากกว่า เพราะสามารถค้นพบความผิดปกติ หรือกลุ่มอาการใหม่ๆได้
4. Single nucleotide polymorphism arrays (SNP arrays)
Single nucleotide polymorphism (SNP) สามารถใช้เพื่อแยกโครโมโซมและระบุบุคคลได้
จะเลือกวิธีไหนเพื่อตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์?
คุณแม่ไม่ต้องกังวล ว่าจะต้องเป็นผู้เลือกการตรวจให้กับทารกในครรภ์ เนื่องจากแพทย์ที่ทำการเจาะน้ำคร่ำ หรือเจ้าชิ้นเนื้อรกจะเป็นผู้ที่ทำการเลือกให้กับคุณแม่อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ดี มีเรื่องที่คุณแม่จะต้องระมัดระวัง กรณีที่แพทย์ที่ทำการเจาะน้ำคร่ำมีความรู้ไม่เพียงพอ และเลือกตรวจให้กับคุณแม่ผิดวิธี ทำให้ไม่สามารถพบความผิดปกติได้
ในที่นี้ คุณหมอผู้เชี่ยวชาญของเรา จึงสรุปกรณีมาให้คุณแม่ทราบคร่าวๆกันค่ะ
กรณีพบความเสี่ยงโครโมโซมคู่หลัก หรือโครโมโซมเพศ (คู่หลัก 22 คู่ หรือ X, Y)
สามารถเลือกตรวจวิธีใดก็ได้ ตามข้อด้านบน
กรณีพบความเสี่ยงโครโมโซมชนิด microdeletion หรือ duplication syndrome
แนะนำว่าควรเลือกตรวจด้วยวิธี array CGH เนื่องจาก
- สามารถวินิจฉัยได้ดีกว่า (higher diagnostic yield)
การตรวจด้วย G banding จะสามารถเห็นความผิดปกติ เมื่อมีขนาด 3-10 ล้าน basepair
แต่ความสามารถในการวินิจฉัยของ array จะสามารถตรวจพบความผิดปกติที่มีขนาดเล็กกว่า การใช้ G banding - ใช้เวลาสั้นกว่า (faster turnaround time)
วิธีการตรวจด้วย G banding ต้องมีการเพาะเลี้ยงเซลล์ เพื่อให้ได้ปริมาณ DNA มากพอ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
แต่ในการทำ aCGH สามารถทำได้โดยการสกัด DNA จากเซลล์ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการเพาะเลี้ยง ซึ่งจะสามารถรู้ผลการตรวจได้ภายใน 1 วัน และใช้เครื่องอัตโนมัติในการแปลผล ทำให้มีความแม่นยำ และลดค่าใช้จ่ายจากแรงงานคน
ข้อจำกัดของวิธี array CGH
- Inability to detect balanced structural rearrangements
ความผิดปกติทางโครงสร้างโครโมโซม จะไม่สามารถตรวจด้วย aCGH ได้ - Poor ability to detect polyploidies
polyploidies คือการเพิ่มจำนวนโครโมโซมทั้งหมด เช่น 69,XXX เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถตรวจได้ ด้วยการทำ standard aCGH - Variable ability to detect low level mosaicism
การตรวจ aCGH จะไม่สามารถ mosaism ที่น้อยกว่าร้อยละ 20 ได้ - Detection of variants of uncertain significance (VUS)
คือ การตรวจพบว่าโครโมโซมมีความผิดปกติจริง แต่ยังไม่แน่ใจว่าความผิดปกตินี้จะทำให้ทารกในครรภ์มีความพิการใดๆหรือไม่ หากมีจะพิการอย่างไร ซึ่งความไม่ทราบนี้อาจส่งผลว่าจะตัดสินยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ด้วย - Expense
aCGH มีราคาสูง แต่แนวโน้มราคาค่อยๆลดลง - Variable clinical sensitivity
จะเบิกเงินประกันค่าเจาะน้ำคร่ำได้อย่างไร
โดยปกติแล้ว ศูนย์แลปที่ให้บริการตรวจ NIPT ต่างๆจะมีประกันการเจาะน้ำคร่ำให้กับคุณแม่ทุกท่าน ในกรณีที่ผลตรวจออกมาว่ามีความเสี่ยงที่จะผิดปกติ เพื่อเป็นการยืนยันให้แน่ใจ 100% ว่าทารกในครรภ์นั้นผิดปกติจริงหรือไม่
ซึ่งคุณแม่สามารถติดต่อกับสถานพยาบาลที่ทำการตรวจ NIPT ให้กับคุณแม่ได้โดยตรง โดยหลักๆ จะมีเอกสารที่ต้องเตรียมดังนี้
-
- ผลการตรวจ NIPT ของแบรนด์นั้นๆ
-
- สำเนาผลการเจาะน้ำคร่ำ
-
- สำเนาใบเสร็จรับเงินการเจาะน้ำคร่ำ
-
- สำเนาบัตรประชาชนคุณแม่ตั้งครรภ์
-
- สำเนาหน้า Book Bank คนไข้ที่จะให้ทำการโอนเงินให้
-
- Letter of authorization ชุดเอกสารการประกันที่ทางศูนย์แลปส่งไปให้คุณแม่เซ็นต์
หากคุณแม่ตรวจ NIPT test แบรนด์ NIFTY หรือ NGD NIPS กับทางเฮลท์สไมล์ คุณแม่สามารถติดต่อกับ Admin ของเราได้โดยตรง เพื่อช่วยตรวจสอบเอกสารต่างๆก่อนการยื่นเคลมได้เลย
อ่านเพิ่มเติม : ประกันของการตรวจ NIFTY Focus , NIFTY Core และ NIFTY Pro มีรายละเอียดอย่างไร อย่างไหนจ่าย อย่างไหนไม่อยู่ในประกัน?
มีกรณีไหนไหมที่ผลตรวจบอกว่าปกติ แต่ลูกในครรภ์ผิดปกติ
กรณีที่ผลตรวจบอกว่าปกติ แต่ทารกในครรภ์ผิดปกติ จะเรียกว่าผลลบลวง หรือ false negative ซึ่งการตรวจ NIPT test สามารถเกิด false negative ได้เช่นกัน
ซึ่งแต่ละแบรนด์ ก็จะมีประกันความผิดพลาดกรณี false negative ที่ต่างกัน ตั้งแต่หลักแสนบาท ไปจนถึงหลักล้านบาทเลยทีเดียว
สำหรับแบรนด์ NIFTY หรือ NGD NIPS ที่ทางเฮลท์สไมล์ให้บริการอยู่นั้น จะมีประกันกรณีความผิดพลาด หรือ False negative นี้อยู่ที่ 1 – 2 ล้านบาท ตามแต่ละแพคเกจ
อ่านเพิ่มเติม : 7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดพลาด
อ่านเพิ่มเติม : ประกันของการตรวจ NIFTY Focus , NIFTY Core และ NIFTY Pro มีรายละเอียดอย่างไร อย่างไหนจ่าย อย่างไหนไม่อยู่ในประกัน?
หากต้องการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเฮลท์สไมล์
ค่าแพทย์ที่ปรึกษา 500 บาท คลิกที่นี่
Reference
Array comparative genomic hybridization (aCGH) – Department of Obstetrics and Gynecology Faculty of Medicine Chiang Mai University. (n.d.). Cmu.ac.th. Retrieved March 9, 2024, from https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/2797/
Park, S.-J., Jung, E. H., Ryu, R.-S., Kang, H. W., Chung, H. D., & Kang, H.-Y. (2013). The clinical application of array CGH for the detection of chromosomal defects in 20,126 unselected newborns. Molecular Cytogenetics, 6(1), 21. https://doi.org/10.1186/1755-8166-6-21
High risk NIPT results. (2023, June 7). Prenatalscreeningontario.Ca. https://www.prenatalscreeningontario.ca/en/pso/results-and-next-steps/positive-nipt-results.aspx
NIPT test. (n.d.). Cleveland Clinic. Retrieved March 9, 2024, from https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/21050-nipt-test
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/