Last Updated on 18 พฤศจิกายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความนี้
- 1. ตรวจ NIPT หาความเสี่ยงของโรคโครโมโซมผิดปกติ 3 คู่หลัก (Chromosomal Aneuploidies)
- 2. ตรวจ NIPT รู้เพศของทารก (Fetal sex)
- 3. ตรวจ NIPT หาความผิดปกติของโครโมโซมเพศ
- 4. ตรวจ NIPT หาความผิดปกติของโครโมโซมคู่อื่นๆ
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 1
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 2
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 2
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 3
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 4
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 5
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 6
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 7
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 8
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 9
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 10
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 11
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 12
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 14
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 15
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 16
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 17
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 19
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 20
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 22
- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 23 (โครโมโซมเพศหญิง X และ เพศชาย Y)
- ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ
- *หมายเหตุ
- สรุป
Last Updated on 18 พฤศจิกายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
การตรวจคัดกรองความผิดปกติที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมของทารกในครรภ์ที่มีความแม่นยำสูง หรือที่เรียกว่าการตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) นั้น สำหรับแพคเกจทีตรวจโครโมโซมได้ 23 คู่ หรือ การตรวจโครโมโซม 23 คู่ของทารกในครรภ์ ที่เฮลท์สไมล์ให้บริการตรวจ จะมีแพคเกจที่สามารถตรวจโครโมโซมได้ครบทั้ง 23 คู่อยู่ทั้งหมด 3 แพคเกจ ได้แก่
ซึ่งการตรวจภาวะขาด-เกินของโครโมโซมของทารกในครรภ์ ครบทั้ง 23 คู่นั้นสามารถให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของทารกในครรภ์ได้หลายด้าน ดังนี้
1. ตรวจ NIPT หาความเสี่ยงของโรคโครโมโซมผิดปกติ 3 คู่หลัก (Chromosomal Aneuploidies)
การตรวจ NIPT 23 โครโมโซมนั้น สำคัญที่สุด คือการตรวจหาภาวะขาด-เกิน ของโครโมโซมคู่หลัก 3 คู่ ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครโมโซม ได้แก่ เช่น ดาวน์ซินโดรม (Trisomy 21), เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Trisomy 18), และ พาทัวซินโดรม (Trisomy 13) ซึ่งทั้งสามโครโมโซมคู่หลักๆนี้ จะเป็นความผิดปกติของโครโมโซมที่พบได้บ่อย ดังนี้
- ดาวน์ซินโดรม Down syndrome
- เอ็ดเวิร์ดซินโดรม Edward syndrome
- พาทัวซินโดรม Patau syndrome
2. ตรวจ NIPT รู้เพศของทารก (Fetal sex)
การตรวจ NIPT สามารถระบุเพศของทารกได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากสามารถตรวจสอบโครโมโซมเพศ (X และ Y) ได้ โดยค่าความแม่นยำของการตรวจเพศของทารกในครรภ์ (ดูจากโครโมโซม) จะอยู่ที่ประมาณ 99.53%
ซึ่งสาเหตุของความผิดพลาดของการตรวจเพศของทารกในครรภ์ด้วยการตรวจ NIPT นั้นมีได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ภาวะ Vanishing twins คือ การที่คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดในตอนแรก แต่ปรากฎว่าตัวอ่อนคนที่สองนั้นไม่เจริญเติบโตและฝ่อหายไป ทำให้มีโครโมโซมของคนที่ฝ่อหายไปมาปะปนอยู่
- ภาวะ Mosaicism คือ การที่ทารกในครรภ์ มีโครโมโซมในแต่ละเซลล์ที่ไม่เหมือนกัน บางเซลล์เป็นชาย บางเซลล์เป็นหญิง
- ภาวะ Hermaphroditism คือ การที่ทารกเองมีการพัฒนาเปลี่ยนเพศของตนเองจากชายเป็นหญิง หรือหญิงเป็นชายด้วยตนเอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ ตรวจดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) แล้วผลเพศไม่ตรงกับลูกเรา เกิดจากอะไร
3. ตรวจ NIPT หาความผิดปกติของโครโมโซมเพศ
นอกจากจะตรวจเพศได้แม่นยำแล้ว การตรวจ NIPT นั้นสามารถตรวจหาความผิดปกติของการขาด-เกินของโครโมโซมเพศ ได้ 4 โรค เช่น
- Klinefelter syndrome (XXY)
- Turner syndrome (XO)
- Triple X syndrome (XXX)
- XYY Syndrome
แต่ทั้งนี้ การตรวจความผิดปกติของโครโมโซมเพศนั้น ไม่ได้เกี่ยวของกับการทำนาย หรือการตัดสินในทางทางเพศสภาพของเด็กนั้นๆ คือจะสามารถบอกได้ว่าต่อไปในอนาคตลูกจะเป็นกระเทย หรือตุ้ด หรือ เลสเบี้ยน หรือ LGBTQA+ ต่างหรือไม่ เนื่องจากกลุ่ม LGBTQA+ นั้นไม่ได้มีความผิดปกติที่เกี่ยวกับโครโมโซมเพศแต่อย่างใด แต่เป็นเพศวิถีต่าง ๆ ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
สำหรับรายการที่ตรวจได้ในข้อ 1-3 ด้านบนนี้ สามารถตรวจได้ในแพคเกจ 5 โครโมโซม ซึ่งเป็นแพคเกจพื้นฐานที่สุดที่เฮลท์สไมล์ให้บริการ คือ
4. ตรวจ NIPT หาความผิดปกติของโครโมโซมคู่อื่นๆ
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 1
โครโมโซม 1 เป็นโครโมโซมของมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 249 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์ หากมีการขาดหาย หรือการเกินของโครโมโซมคู่นี้ทั้งแท่ง ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์
ตัวโรคที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมคู่ที่ 1 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น มักจะเป็นกลุ่ม microdeletion / duplication syndrome ที่สามารถตรวจได้จาก package NIFTY Pro เท่านั้น* เช่น
- 1p36 deletion syndrome
- 1q21.1 microdeletion
- 1q21.1 microduplication
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 2
โครโมโซม 2 เป็นโครโมโซมใหญ่เป็นอันดับที่สองของมนุษย์ ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 243 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์ หากมีการขาดหาย หรือการเกินของโครโมโซมคู่นี้ทั้งแท่ง ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์เช่นเดียวกับโครโมโซมคู่ที่ 1
ตัวโรคที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมคู่ที่ 2 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น มักจะเป็นกลุ่ม microdeletion / duplication syndrome ที่สามารถตรวจได้จาก package NIFTY Pro เท่านั้น* เช่น
- 2q37 deletion syndrome
- MBD5-associated neurodevelopmental disorder (MAND) จาก microdeletion / duplication ของ ตำแหน่ง 2q23.1
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 2
โครโมโซม 2 เป็นโครโมโซมใหญ่เป็นอันดับที่สองของมนุษย์ ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 243 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์ หากมีการขาดหาย หรือการเกินของโครโมโซมคู่นี้ทั้งแท่ง ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์เช่นเดียวกับโครโมโซมคู่ที่ 1
ตัวโรคที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมคู่ที่ 2 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น มักจะเป็นกลุ่ม microdeletion / duplication syndrome ที่สามารถตรวจได้จาก package NIFTY Pro เท่านั้น* เช่น
- 2q37 deletion syndrome
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 3
โครโมโซม 3 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 198 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 6.5 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์ หากมีการขาดหาย หรือการเกินของโครโมโซมคู่นี้ทั้งแท่ง ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์เช่นเดียวกับโครโมโซมคู่ที่ 1
ตัวโรคที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมคู่ที่ 3 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น มักจะเป็นกลุ่ม microdeletion / duplication syndrome ที่สามารถตรวจได้จาก package NIFTY Pro เท่านั้น* เช่น
- 3p deletion syndrome
- 3q29 microdeletion syndrome
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 4
โครโมโซม 4 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 191 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์ หากมีการขาดหาย หรือการเกินของโครโมโซมคู่นี้ทั้งแท่ง ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์เช่นเดียวกับโครโมโซมคู่ที่ 1
ตัวโรคที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมคู่ที่ 4 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น มักจะเป็นกลุ่ม microdeletion / duplication syndrome ที่สามารถตรวจได้จาก package NIFTY Pro เท่านั้น* เช่น
- Wolf-Hirschhorn syndrome เกิดจาก deletion ที่บริเวณ chromosome 4p
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 5
โครโมโซม 5 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 181 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์ หากมีการขาดหาย หรือการเกินของโครโมโซมคู่นี้ทั้งแท่ง ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์เช่นเดียวกับโครโมโซมคู่ที่ 1
ตัวโรคที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมคู่ที่ 5 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น มักจะเป็นกลุ่ม microdeletion / duplication syndrome ที่สามารถตรวจได้จาก package NIFTY Pro เท่านั้น* เช่น
- cri-du-chat syndrome (cat’s cry syndrome)
- 5q31.3 microdeletion syndrome
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 6
โครโมโซม 6 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 171 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 5.5-6 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์ หากมีการขาดหาย หรือการเกินของโครโมโซมคู่นี้ทั้งแท่ง ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์เช่นเดียวกับโครโมโซมคู่ที่ 1
ตัวโรคที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมคู่ที่ 6 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น มักจะเป็นกลุ่ม microdeletion / duplication syndrome ที่สามารถตรวจได้จาก package NIFTY Pro เท่านั้น* เช่น
- 6q24-related transient neonatal diabetes mellitus
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 7
โครโมโซม 7 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 159 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์ หากมีการขาดหาย หรือการเกินของโครโมโซมคู่นี้ทั้งแท่ง ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์เช่นเดียวกับโครโมโซมคู่ที่ 1
ตัวโรคที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมคู่ที่ 7 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น มักจะเป็นกลุ่ม microdeletion / duplication syndrome ที่สามารถตรวจได้จาก package NIFTY Pro เท่านั้น* เช่น
- 7q11.23 duplication syndrome
- Williams syndrome เกิดจากการขาดหายไปของตำแหน่ง 7q11.23
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 8
โครโมโซม 8 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 146 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 4.5-5 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
หากมีการขาดหาย หรือการเกินของโครโมโซมคู่นี้ทั้งแท่ง (Trisomy 8) ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์เช่นเดียวกับโครโมโซมคู่ที่ 1 แต่กรณีภาวะ Mosaic ของโครโมโซมคู่นี้ก็อาจจะทำให้มีชีวิตได้ แต่ก็จะมีความผิดปกติค่อนข้างมากทั่วทั้งร่างกาย
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 9
โครโมโซม 9 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 141 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 4.5 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
หากมีการขาดหายของโครโมโซมคู่นี้ทั้งแท่ง จะสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ตัวโรคที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมคู่ที่ 2 ขนาดเล็กๆ เช่น
- 9q22.3 microdeletion
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 10
โครโมโซม 10 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 133 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 4-4.5 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมคู่ที่ 10 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- 10q26 deletion syndrome
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 11
โครโมโซม 11 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 135 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 4-4.5 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 11 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- Beckwith-Wiedemann syndrome เป็นความผิดปกติของยีนที่ตำแหน่ง 11p15.5
- Emanuel syndrome
- Ewing sarcoma
- Jacobsen syndrome เกิดจากการขาดหายไปของตำแหน่งปลาย 11q
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 12
โครโมโซม 12 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 134 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 4-4.5 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมคู่ที่ 12 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- Pallister-Killian mosaic syndrom
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13
โครโมโซม 13 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 115 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 3.5-4 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมคู่ที่ 13 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- Patau syndrome (Trisomy 13)
- Feingold syndrome : 13q31.3 microdeletions
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 14
โครโมโซม 14 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 107 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมคู่ที่ 14 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- terminal deletion 14 syndrome
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 15
โครโมโซม 15 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 102 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมคู่ที่ 15 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- 15q11-q13 duplication syndrome
- 15q13.3 microdeletion
- 15q24 microdeletion
- Angelman syndrome
- Prader-Willi syndrome
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 16
โครโมโซม 16 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 90 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมคู่ที่ 16 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- 16p11.2 deletion syndrome
- 16p11.2 duplication
- 16p12.2 microdeletion
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 17
โครโมโซม 17 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 83 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 2.5-3 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมคู่ที่ 17 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- 17q12 deletion syndrome
- 17q12 duplication
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18
โครโมโซม 18 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 78 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 2.5 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมคู่ที่ 18 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- Distal 18q deletion syndrome
- Proximal 18q deletion syndrome
- Trisomy 18 (Edward syndrome)
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 19
โครโมโซม 19 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 59 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมคู่ที่ 19 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- 19p13.13 deletion syndrome
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 20
โครโมโซม 20 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 63 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมคู่ที่ 12 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- Alagille syndrome : deletions ที่ตำแหน่ง 20p12
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
โครโมโซม 21 ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 48 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 1.5-2 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมคู่ที่ 21 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- Down syndrome (Trisomy 21)
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 22
โครโมโซม 22 เป็นโครโมโซมที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับสอง ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 51 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 1.5-2 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมคู่ที่ 12 และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- 22q11.2 deletion syndrome
- 22q11.2 duplication
- 22q13.3 deletion syndrome
ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 23 (โครโมโซมเพศหญิง X และ เพศชาย Y)
โครโมโซมเพศหญิง เป็นโครโมโซมที่มีขนาดใหญ่ ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 155 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
โครโมโซมเพศชาย มีขนาดเล็กกว่าโครโมโซมเพศหญิง ครอบคลุมหน่วยการสร้างดีเอ็นเอ (Base pair) ประมาณ 59 ล้านหน่วย และคิดเป็นประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของดีเอ็นเอทั้งหมดในเซลล์
ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ
ตัวโรคที่เกิดจากความผิดปกติในโครโมโซมเพศ และทารกในครรภ์อาจจะยังมีชีวิตรอดได้นั้น เช่น
- 46,XX testicular difference of sex development
- 48,XXXY syndrome
- 48,XXYY syndrome
- 49,XXXXY syndrome
- 47,XYY syndrome
- Klinefelter syndrome (XXY)
- Trisomy X (XXX)
- Turner syndrome (XO)
*หมายเหตุ
NIFTY Pro สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมขนาดเล็ก (Microdeletion / duplication syndrome) ได้ แต่มีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถตรวจความผิดปกติในระดับยีนได้ และรับประกันเฉพาะความผิดปกติที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมที่มีขนาดมากกว่า 5 ล้าน Base pair และยังมีข้อจำกัดหลายๆอย่างที่เทคโนโลยีการตรวจ NIPT ไม่สามารถตรวจได้ เช่น ring chromosome, translocation ฯลฯ
ดังนั้น หากเป็นความผิดปกติของโครโมโซมขนาดเล็กมากๆ หรือ เป็นความผิดปกติในระดับยีน (เช่น โรคธาลัสซีเมีย) NIFTY Pro หรือเป็นความผิดปกติที่พบไม่บ่อย ก็จะไม่สามารถตรวจได้
อ่านเพิ่มเติม ประกันของการตรวจ NIFTY Focus , NIFTY Core และ NIFTY Pro มีรายละเอียดอย่างไร อย่างไหนจ่าย อย่างไหนไม่อยู่ในประกัน?
สรุป
NIPT เป็นการทดสอบที่ไม่รุกรานและมีความแม่นยำสูงในกรณีของความผิดปกติของโครโมโซม เช่น การทดสอบสำหรับดาวน์ซินโดรม พาทัวซินโดรม และเอ็ดเวิร์ดซินโดรม รวมถึงโครโมโซมเพศต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถบอกความผิดปกติที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซมคู่อื่นๆได้อีกด้วย ดังนั้น การตรวจ NIPT จึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการประเมินความเสี่ยงของความผิดปกติทางโครโมโซมในทารกที่ตั้งครรภ์ และสามารถให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจทางการแพทย์ต่อไปได้เป็นอย่างดี
Reference
Chromosomes & mtDNA. (n.d.). Medlineplus.gov. Retrieved November 18, 2024, from https://medlineplus.gov/genetics/chromosome
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/