อัลตราซาวนด์ตอนอายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ จะเห็นอะไรบ้าง

ช่วงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนแรก

  • คุณแม่หลายคนส่วนมากอาการแพ้ทองจะเบาลง หรือบางคนก็ไม่มีอาการแพ้ท้องเหลืออีกแล้ว เพราะฮอร์โมนเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ความผันผวนของฮอร์โมนในร่างกายค่อยๆ กลับมาเป็นเหมือนเดิม
  • ทารกอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จะมีพัฒนาต่างๆมากมาย อวัยวะจะสร้างครบทุกระบบ และจะพัฒนาเรื่อยๆจนสมบูรณ์ ทารกจะมีขนาดยาว 2.1 นิ้ว หนักประมาณ 13-14 กรัม ยังไม่สามารถอัลตราซาวนด์สังเกตเห็นเพศลูกได้ แต่จะสามารถตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal testing) ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของลูกจากเลือดคุณแม่เพื่อทราบเพศลูกได้ (อ่านเพิ่ม : NIPT หรือ NIFTY นอกจากตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมได้ ยังตรวจโรคอะไรได้อีก)
  • หัวใจของลูกน้อยจะเต้นประมาณ 140-160 ครั้งต่อนาที ศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบลำตัว หัวใจจะมี 4 ห้อง และทารกสามารถขยับนิ้วมือและนิ้วเท้าได้มากขึ้นด้วย และจะเริ่มมีการสะสมแคลเซียมมากขึ้นเพื่อสร้างมวลกระดูกที่แข็งแรง

อวัยวะทารกช่วงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

  • นิ้วมือนิ้วเท้าแยกออกจาก กันอย่างสมบูรณ์ สามารถขยับนิ้วมือและนิ้วเท้าได้ เล็บเริ่มงอก
  • อวัยวะเพศจะยังเห็นเป็นเพียงตุ่มเล็กๆ ซึ่งยังไม่สามารถบอกเพศได้ชัดเจน
  • ทารกสามารถแสดงสีหน้าได้บ้างแล้ว เช่น หรี่ตาและขมวดคิ้วได้
  • ไตเริ่มขับของเสียออกจากกระเพาะปัสสาวะได้
  • ระบบประสาทเส้นต่าง ๆ ในสมองก็จะเริ่มเชื่อมโยงหากันมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • ดวงตาจะเริ่มเคลื่อนที่จากด้านข้างไปอยู่ด้านหน้าใกล้เคียงตำแหน่งของดวงตาที่ถูกต้อง

ร่างกายคุณแม่ช่วง 12 สัปดาห์

  • คุณแม่เริ่มมีท้องนูนออกมา คนรอบข้างสังเกตเห็นได้ จะรู้สึกอึดอัดหน้าท้องเริ่มขยาย ต้องหาเสื้อหรือกางเกงใหม่ให้พอดีตัว
  • หนังศีรษะมันขึ้น หรือผมแห้งมากขึ้น ผมร่วงมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เล็บยาวขึ้น แต่ก็เปราะง่าย
  • เล็บยาวเร็วขึ้น แต่ก็เปราะง่าย หักง่าย
  • อ่อนเพลียง่าย เพราะร่างการต้องทำงานหนักรองรับการเจริญเติบโต
  • มีอาการตกขาวมากขึ้น เพราะมีการไหลเวียนเลือดไปที่ช่องคลอด และฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้คุณแม่หลายคนมีอาการตกขาวออกมามากขึ้น แต่หากว่าตกขาวมากจนรู้สึกผิดปกติ ควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย เนื่องจากหากมีเชื้อโรคก็จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้ (อ่านเพิ่ม : ตกขาวระหว่างตั้งครรภ์ อาการอย่างไรถึงอันตราย?)
  • คุณแม่ควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย และครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ รวมถึงธัญพืชต่าง ๆ ด้วย (อ่านเพิ่ม : อาหารสำหรับคนแพ้ท้อง ที่ดีต่อคุณแม่และลูกในครรภ์)
  • อาการปวดท้องน้อย อาจมีสาเหตุจากการขยายตัวของมดลูก หากอาการปวดเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีอาการปวดติดต่อหลายวัน หรือมีเลือดออกจากช่องคลอด ควรรีบไปพบแพทย์

อาการปวดหลังของคุณแม่ท้อง 12 สัปดาห์

  • ทาครีมยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อย แต่ไม่ควรรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ หรือซื้อยาแก้ปวดมารับประทานเอง
  • เปลี่ยนอริยาบถบ่อย ๆ ไม่นั่งหรือนอนในท่าเดิมนาน ๆ
  • เวลานั่งหรือนอน ควรมีเบาะรองเพื่อรองรับน้ำหนัก
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือควรขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ตัว
  • พยายามคุมน้ำหนักให้ได้ตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อลดแรงกดดันที่กระดูกช่วงหลัง

การอัลตราซาวนด์ 12 สัปดาห์ เพื่ออะไร

  • ระยะนี้แพทย์จะทำการตรวจหาความเสี่ยงของภาวะบกพร่องทางโครโมโซมและพันธุกรรม เพื่อหาความเสี่ยงของดาวน์ซินโดรม และภาวะอื่น ๆ คุณแม่จึงอาจจะได้รับการตรวจวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก (NT : Nuchal Translucency) เพื่อดูว่าทารกมีความเสี่ยงของดาวน์ซินโดรมหรือไม่ รวมถึงการตรวจเลือด และอาจตรวจวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายด้วย
  • การตรวจหาความเสี่ยงของภาวะบกพร่องทางโครโมโซมและพันธุกรรม มีหลายวิธี คุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้
  • หากอัลตราซาวนด์ตอนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์แล้วไม่พบตัวอ่อน มีโอกาสเป็นไปได้สูงว่าคุณแม่จะมีการแท้งบุตรหรือมีภาวะท้องลม ให้มาตรวจครรภ์อีกครั้งในสัปดาห์ถัดไปเพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น เพราะอาจเป็นไปได้ว่ามีการนับอายุครรภ์ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ยังตรวจไม่พบตัวอ่อน มากไปกว่านั้น แพทย์จะไม่วินิจฉัยการแท้งหรือภาวะท้องลมจากการอัลตราซาวนด์แค่เพียงครั้งเดียวค่ะ จำเป็นจะต้องมีการติดตามดูผลในครั้งต่อไป

อัลตราซาวนด์เห็นอะไรบ้าง

  • ขนาดของทารก จะมีพัฒนาการลักษณะคล้ายมนุษย์มากขึ้น
  • อวัยวะต่างๆ ทารกเริ่มทำงานและพัฒนามีการเต้นของหัวใจ
  • ระบบประสาทส่วนต่างเริ่มทำงานทั้งสมองและไขสันหลัง
  • นิ้วมือนิ้วเท้าที่อยู่ในภาพอัลตราซาวนด์ แม้ว่ากำลังเติบโต

ท้อง 12 สัปดาห์ เลือดออกสีน้ำตาล หมายความว่าอะไร

การมีเลือดออกสีน้ำตาลในช่วงต้นอาจเกิดได้หลายสาเหตุ ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่กับทารกในครรภ์แข็งแรงสุขภาพดี

  • เมื่ออัลตราซาวนด์แล้วพบว่าตัวอ่อนยังมีชีวิต ถุงตั้งครรภ์และถุงไข่แดงยังอยู่ครบตามปกติ เลือดสีน้ำตาลที่ไหลออกมานี้ มักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ค่ะ
  • หากไม่มีความผิดปกติและเลือดในครรภ์ออกไม่หยุด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มว่ามดลูกมีความผิดปกติไหม บางทีอาจเป็นเลือดที่ค้างอยู่ภายในช่องคลอด ไม่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ หรือเป็นการแท้งค้าง แล้วไม่รู้ตัวว่ามีการแท้งเกิดขึ้น

ภาวะแท้งคุกคามเป็นอย่างไร

ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) คือ สถานะที่มีความเสี่ยงในการเกิดการแท้ง มักเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น

  • ปัจจัยทางพันธุกรรมโครโมโซมผิดปกติ
  • ทารกพิการตั้งแต่ในครรภ์
  • มดลูกและโพรงมดลูกผิดปกติ
  • การได้รับยาหรือสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
  • มีประวัติการแท้งบุตรมาก่อน
  • ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก
  • แม่มีโรคประจำตัว เช่าเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

แนวทางดูแลสุขภาพช่วงคุณแม่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์

  • ควรดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อดลความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ และการดื่มน้ำให้เพียงพอสามารถช่วยป้องกันปัญหาทั่วไปในการตั้งครรภ์ได้ เช่น ท้องผูก ริดสีดวงทวาร รวมถึงลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะด้วย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจจะไม่ปลอดภัยต่อทารกและสุขภาพของคุณแม่ และควรกินอาหารที่ผ่านการปรุงสุกเท่านั้น ไม่กินอาหารกึ่งสุก กึ่งดิบ อาหารไม่สะอาด เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียที่มาจากอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เพราะเสี่ยงจะทำให้คุณแม่มีน้ำหนักเกินค่าดัชนีมวลกาย และเสี่ยงที่น้ำหนักจะไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์
  • ต้องระมัดระวังเรื่องการยกของหนัก การหกล้ม คุณแม่ยังสามารถออกกำลังกายได้ แต่ไม่ต้องหนักเกินไป และไม่ควรออกกำลังกายในสถานที่ที่มีอากาศร้อนมาก หนาวมาก หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย เช่น กีฬาเอ็กซ์ตรีม เป็นต้น
  • งดอาหารเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์เช่น งดบุหรี่ สุรา ลดปริมาณกาแฟ อาหารขยะ ทานอาหารที่มีโปรตีน ใยอาหาร แคลเซียม เลี่ยงของหวาน

สรุป

ในช่วงอายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ การอัลตราซาวนด์จะแสดงพัฒนาการของทารกได้ โดยระบบอวัยวะของทารกจะสร้างครบทุกระบบและเริ่มทำงานแล้ว เช่น หัวใจเต้น 140-160 ครั้งต่อนาที, นิ้วมือนิ้วเท้าแยกออกจากกัน และระบบประสาทเริ่มเชื่อมต่อ อาการแพ้ท้องของคุณแม่มักจะเบาลง และร่างกายเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ ความผันผวนของฮอร์โมนลดลง คุณแม่อาจเริ่มมีท้องนูน และต้องดูแลสุขภาพด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมระวังอาการปวดหลังและคุมน้ำหนักตามคำแนะนำของแพทย์ และหากต้องการทราบเรื่องของความสมบูรณ์ของโครโมโซมทารกในครรภ์ ก็สามารถเลือกตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ หรือที่เรียกว่าการตรวจ NIPT ได้ ณ ช่วงเวลานี้

Last Updated on 17 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง

Last Updated on 17 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์