ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ จุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่

เนื้อหาในบทความนี้

เรื่องที่คุณแม่ทุกคนต้องรู้ เมื่อท้อง 6 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ?

การตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิงทุกคน เป็นเรื่องใหญ่ที่อาจมาพร้อมความกังวลที่เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะสำหรับ “คุณแม่มือใหม่” ที่เพิ่งรู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ได้ไม่นาน เพื่อเป็นการลดความกังวลที่เกิดขึ้น เราอยากนำเสนอเนื้อหาดี ๆ เป็นเกร็ดความรู้ เกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในครรภ์ พร้อมกับวิธีการดูแลตัวเองของคุณแม่ทุกคน โดยบทความนี้ เราจะมาแนะนำสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องได้ 6 สัปดาห์ มาดูกันเลยว่ามีเรื่องน่าสนใจอะไรกันบ้าง

 

พัฒนาการของทารกหลังจากผ่านตั้งท้องครบ 6 สัปดาห์

เมื่อคุณแม่ตั้งท้องครบ 6 สัปดาห์ ขนาดตัวอ่อนในครรภ์จะยังเล็กมาก ๆ อาจเทียบเท่ากับเมล็ดถั่วเขียว แต่ถึงอย่างไรในช่วงสัปดาห์ที่ 6 ก็ถือเป็น “พัฒนาการครั้งสำคัญ” เพราะหัวใจของทารกจะเริ่มเต้น เริ่มมีการสร้างโครงสร้างของ สมอง ไขสันหลัง ระบบประสาท รวมถึงอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ก็จะเริ่มพัฒนาหลังจากผ่านช่วงสัปดาห์นี้ไป

อ่านเพิ่มเติม : อาหารสำหรับคนแพ้ท้อง ที่ดีต่อคุณแม่และลูกในครรภ์

อาการผิดปกติที่พบบ่อยในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ พร้อมแนวทางดูแล

ในช่วงการตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์แรก ซึ่งถูกนับเป็น “ไตรมาสแรก” ของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะเริ่มพบกับอาการแพ้ท้องได้ในช่วงเวลานี้ เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง แต่สำหรับคุณแม่บางคนที่ตั้งท้องได้ 6 สัปดาห์ ก็อาจไม่มีอาการอะไรเลย สำหรับอาการผิดปกติที่คุณแม่หลายคนเผชิญ ก็จะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • อาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ในช่วงที่มีอาการแพ้ท้องให้กินอาหารมื้อเล็ก ๆ ระหว่างวัน ป้องกันไม่ให้ท้องว่าง และเลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย เลี่ยงอาหารรสจัด
  • อ่อนเพลียง่าย เนื่องจากร่างกายต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปใช้สำหรับการพัฒนาการของทารก ดังนั้นควรพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกทานอาหารที่ให้พลังงานเร็วอย่าง กล้วยหอม ถั่ว ธัญพืช เป็นต้น
  • หน้ามืดวิงเวียนศีรษะ เกิดจากความดันโลหิตที่ลดลง รวมถึงน้ำตาลในเลือดที่อาจลดลง ช่วงนี้ต้องพยายามอย่าลุกพรวดพราด และพกขนมเล็ก ๆ อย่าง แคร็กเกอร์ เอาไว้กินป้องกันน้ำตาลตก
  • ปวดหน่วงที่ท้องน้อย อาการจะคล้าย ๆ การปวดท้องประจำเดือน เกิดจากมดลูกที่มีการขยายตัว เพื่อรองรับทารกที่กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาการ สามารถบรรเทาการปวดด้วยการประคบร้อนได้
  • รู้สึกเจ็บคัดบริเวณเต้านม เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เป็นการเตรียมการสำหรับการให้นมลูกในอนาคต ในช่วงนี้ให้ใส่ยกทรงสำหรับคนท้อง ซึ่งจะประคองเต้านมได้ดีกว่ายกทรงทั่วไป

 

การตรวจที่สำคัญของคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ครบ 6 สัปดาห์

แม้จะมีความเชื่อที่บอกกันว่า ในขณะที่ท้อง 6 สัปดาห์ ยังไม่ต้องอัลตราซาวนด์ เพราะว่าเร็วเกินไปที่จะเห็นพัฒนาการของเด็ก ทว่าที่จริงแล้วการอัลตราซาวนด์ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 ก็สามารถทำได้ เพื่อเป็นการเช็คตำแหน่งการฝังตัวของทารก ว่าไม่ได้มีภาวการณ์ตั้งครรภ์นอกมดลูก และยังได้เห็นการเต้นของหัวใจทารกในช่วงเริ่มต้น พร้อมกับการตรวจสอบความสมบูรณ์ของอวัยวะสำคัญอื่น ๆ เบื้องต้นได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม : อัลตราซาวนด์ไตรมาสแรก (อายุครรภ์ 0-12 สัปดาห์) มีประโยชน์อย่างไร

[Ultrasound] ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์

[Ultrasound] ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ (ที่มาภาพ : https://www.thebirthcompany.co.uk/your-pregnancy-guide/pregnancy-week-six)

5 คำแนะนำ สำหรับคุณแม่ที่กำลังท้อง 6 สัปดาห์ ควรทำ

  1. กินอาหารมื้อเล็ก ประมาณ 5 ถึง 6 มื้อต่อวัน เน้นอาหารย่อยง่าย เลี่ยงการกินอาหารมื้อใหญ่ เนื่องจากขณะที่แพ้ท้อง อาจคลื่นไส้บ่อย กินมื้อเล็ก ๆ จะได้ป้องกันอาการท้องว่าง และควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
  2. เดินยืดเหยียดเบา ๆ อย่างน้อยวันละ 15 ถึง 20 นาที เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ พร้อมกับยังเป็นการช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย
  3. จดจำข้อความจากแพทย์ ทุกครั้งที่มีการพบแพทย์ ควรจดจำสิ่งที่แพทย์แนะนำให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ หากใครที่กลัวลืม แนะนำให้ใช้ปากกาไฮไลท์ในส่วนที่สำคัญเอาไว้
  4. เลือกทานอาหารว่างระหว่างวัน อาจจะเป็นผลไม้อบแห้ง โยเกิร์ต กล้วยหอม หรือ แคร็กเกอร์ ซึ่งจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ พร้อมให้พลังงานได้ดีอีกด้วย
  5. ใส่ใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แม้จะเป็นอาการเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไม่ควรมองข้าม แม้ในช่วงท้อง 6 สัปดาห์จะมีอาการหลายอย่างเกิดขึ้น ก็ควรต้องรู้ว่า อาการไหนปกติ อาการไหนไม่ปกติ

 

บทส่งท้าย

การตั้งท้อง 6 สัปดาห์ ถือว่าเป็น “จุดเริ่มต้นของชีวิต” เพราะตัวอ่อนจะเริ่มพัฒนาอวัยวะสำคัญอย่าง สมอง ระบบประสาท ที่สำคัญคือหัวใจดวงน้อย ๆ ของเจ้าตัวเล็กก็จะเริ่มเต้นในช่วงสัปดาห์นี้ ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในร่างกาย หวังว่าเนื้อหาจากบทความนี้ จะช่วยให้คุณแม่มือใหม่รู้วิธีรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย และเข้าใจวิธีดูแลตัวเอง เพื่อสุขภาพของเจ้าตัวเล็กและคุณแม่ที่จะต้องดีไปพร้อม ๆ กัน

 

ข้อมูลอ้างอิง

ลิงก์อ้างอิงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ : ลิงก์ 1 , ลิงก์ 2 , ลิงก์ 3 , ลิงก์ 4 , ลิงก์ 5 , ลิงก์ 6 , ลิงก์ 7

Last Updated on 6 พฤษภาคม 2025 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง

Last Updated on 6 พฤษภาคม 2025 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์