Last Updated on 16 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
Last Updated on 16 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
การใช้น้ำมันปลา (fish oil) ในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อกระตุ้นสมองทารกในครรภ์
จากงานประชุม WCPGHAN 2021 (world congress of pediatric gastroenterology, hepatology and nutrition) มีการพูดถึงการใช้น้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมในหญิงตั้งครรภ์พบว่าเด็กที่คลอดออกมาจะมีสมาธิและสามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วกว่าเมื่ออายุ 10 ปี ซึ่งถูกกล่าวโดยศาสตราจารย์นายแพทย์ Berthold Koletzko หัวหน้าแผนกเมแทบอลิกและโภชนวิทยาทางการแพทย์ โรงพยาบาลเด็ก Dr. von Hauner แห่งมหาวิทยาลัย University of Munich Medical Centre ประเทศเยอรมนี
งานวิจัยทำการทดลองในเด็กสเปนจำนวน 57 คนแบ่งเป็น เด็กที่เกิดจากหญิงที่ได้รับน้ำมันปลา (DHA 500 มก และ EPA 150 มก. ต่อวัน) ร่วมกับกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมต่อวันในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ 33 คน เทียบกับเด็กที่เกิดจากหญิงที่รับประทานกรดโฟลิกอย่างเดียวหรือไม่ได้รับประทานอาหารเสริมใดๆเลย 24 คน จากนั้นเด็กทั้งหมดจะถูกสแกนสมองเพื่อดูโครงสร้างของใยประสาท พบว่าไม่มีความแตกต่างกันด้านโครงสร้างของใยประสาท แต่เมื่อทำการทดสอบการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนพบว่า “เด็กที่ได้รับน้ำมันปลาเมื่ออยู่ในครรภ์สามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วและมีสมาธิจดจ่อได้ดีกว่าเมื่อเด็กเหล่านี้อายุ 10 ปีขึ้นไป” ทางผู้วิจัยจึงรายงานว่าน้ำมันปลามีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กเมื่อใช้ร่วมกับการทานอาหารหลักอย่างครบถ้วน
โอเมก้า-3 เป็นองค์ประกอบของน้ำมันปลา โดยจะมีชื่อที่ปรากฏในฉลากสารอาหารคือ EPA (eicosapantaenoic acid) และ DHA (docosahexaenoic acid) โดยโอเมก้า-3 ทั้งสองชนิดนี้มีประโยชน์ที่แตกต่างกันเล็กน้อย EPA จะช่วยบำรุงหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และกระบวนการอักเสบของร่างกาย ส่วน DHA จะช่วยบำรุงระบบประสาท การมองเห็น ดังนั้นการรับประทานโอเมก้า-3 ทั้งสองชนิดในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้เต็มที่
ดังนั้นหากคุณต้องการรับประทานน้ำมันปลาอย่างปลอดภัยแนะนำให้คุณแจ้งแพทย์ที่ทำการฝากครรภ์เพื่อให้แพทย์ทราบถึงข้อมูลสุขภาพต่างๆของคุณ จากนั้นการเลือกซื้อให้ดูปริมาณ DHA และ EPA ที่ฉลาก เช่น น้ำมันปลา 1000 มก. ในฉลากระบุว่าประกอบไปด้วย DHA 180 มก และ EPA 120 มก ดังนั้นคุณต้องรับประทานน้ำมันปลาดังกล่าวครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เพื่อให้ได้ปริมาณ DHA ใกล้เคียงกับงานวิจัยที่กล่าวถึงนั่นเอง
ข้อควรระวัง
1. ระวังการสับสนน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลา (cod liver oil) เพราะเป็นน้ำมันคนละชนิด
2. ความแตกต่างของน้ำมันปลาแต่ละยี่ห้อคือปริมาณ DHA และ EPA รวมทั้งกระบวนการนำสารที่เป็นพิษอย่างปรอทที่ถูกสะสมในปลาก่อนนำมาผลิตดังนั้นควรเลือกยี่ห้อที่มีการรับรองจาก อย เพื่อความปลอดภัย
*DHA: docosahexaenoic acid
**EPA: eicosapentaenoic acid
หากต้องการสั่งซื้อ น้ำมันปลา
Mega We Care DHA – 125 Tuna Oil 500 mg.(100 แคปซูล)
คลิกสั่งซื้อได้ที่นี่
Shopee
Lazada
JD central
*ทางบริษัท เฮลท์สไมล์ จำกัด และเจ้าของบทความ ไม่มีส่วนรับผิดชอบในการซื้อ-ขายสินค้าดังกล่าว
ผู้ซื้อสามารถติดต่อกับผู้ขายได้โดยตรงผ่านทาง platform E-commerce ข้างต้นเพื่อสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้โดยตรง
บริษัท เฮลท์สไมล์ จำกัด เพียงแต่เป็นผู้ที่ช่วยหาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์เลือกซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/