การตรวจความสมบูรณ์ชองเม็ดเลือด (Complete blood count)

ทำไมถึงต้องตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ?

            การตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด เป็นหนึ่งในค่าแลปที่บุคคลากรทางการแพทย์ใช้วิเคราะห์หาสาเหตุความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายเนื่องจากสภาวะบางอย่างเช่น โลหิตจาง การติดเชื้อ การอักเสบ เลือดออกผิดปกติ หรือมะเร็ง มีผลต่อจำนวนของเม็ดเลือด การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจึงบ่งบอกถึงความผิดปกตินั้นๆได้

เมื่อไหร่ถึงควรตรวจเม็ดเลือด ? 

            การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจะทำเมื่อ 1) ผู้ป่วยมีอาการ หรืออาการแสดงที่น่าจะส่งผลต่อเม็ดเลือด 2) เป็นการตรวจติดตามการรักษา หรือการดำเนินไปของโรค 3) ตรวจเพื่อความปลอดภัยเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษา หรือยาที่คาดว่าจะส่งผลต่อเม็ดเลือด

ต้องใช้อะไรเป็นสิ่งส่งตรวจบ้าง ?

            ต้องเจาะเลือดที่เส้นเลือดดำบริเวณแขน ปลายนิ้ว หรือส้นเท้าในเด็กแรกเกิด

ต้องมีการเตรียมตัวก่อนตรวจหรือไม่ ?

            ในการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ไม่ต้องดน้ำ งดอาหารก็สามารถตรวจได้

ในการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?

            การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count; CBC) เป็นการตรวจดูจำนวนของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย เรียกทั้ง 3 อย่างรวมกันว่า พลาสมา (plasma) ซึ่งถูกสร้างจากไขกระดูกและปล่อยออกมาสู่กระแสเลือด

            ในการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดนั้น ทำโดยเครื่องมือทางการแพทย์ที่สามารถนับว่ามีเม็ดเลือดชนิดใด ปริมาณเท่าไหร่บ้างในแต่ละคน รวมไปถึงขนาดและรูปร่างของเม็ดเลือดบางชนิดอีกด้วย โดยการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดมาตรฐานนั้นประกอบไปด้วย

  • การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดขาว (White blood cell; WBC)

ซึ่งมีทั้งจำนวนของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด และจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดย่อยๆแต่ละชนิด

  • การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง (Red blood cell; RBC)

ประกอบด้วยจำนวนของเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ฮีมาโตคริต (Hematocrit) ขนาดและรูปร่างของเม็ดเลือดแดง ได้แก่ ค่าเฉลี่ยปริมาตรของเม็ดเลือด (mean corpuscular volume; MCV) ค่าเฉลี่ยความเข้มของฮีโมโกลบิน (Mean corpuscular hemoglobin; MCH) ความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (Mean corpuscular hemoglobin concentration; MCHC) ค่าเฉลี่ยขนาดของเม็ดเลือดแดง (Red cell distribution width; RDW) อาจรวมถึงเม็ดเลือดแดงที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ (Reticulocyte) ก็ได้

  • การตรวจเกล็ดเลือด (Platelet)

การนับจำนวนเกล็ดแดงอาจรวมหรือไม่รวม ค่าเฉลี่ยปริมาตรของเกล็ดเลือด (mean platelet volume; MPV) หรือ ค่าเฉลี่ยขนาดของเกล็ดเลือด (platelet distribution width; PDW) ก็ได้

ซึ่งความปกติของจำนวน หรือค่าจากการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดบางอย่าง สามารถบอกถึงความผิดปกติบางอย่างได้ หรือใช้ร่วมกับการตรวจอื่นๆ เพื่อหาสาเหตความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่นการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (blood smear) เป็นการน้ำเลือดมาย้อมใส่แผ่นสไลด์ (แผ่นพลาสติกใสๆ) จากนั้นนำไปส่องใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อดู สี ขนาด หรือรูปร่างของเม็ดเลือดเพื่อเป็นข้อมูลในการรักษาแก่แพทย์

การประเมินเม็ดเลือดชนิดต่างๆมีรายละเอียดดังนี้

1. เม็ดเลือดขาว

            เม็ดเลือดขาว เรียกอีกอย่างว่า ลิวโคไซต์ (Leukocytes) มีหน้าที่ในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย หรือรักษาอาการบาดเจ็บต่างๆ โดยประกอบไปด้วย 5 ชนิดย่อยได้แก่ นิวโตรฟิล (Neutrophils) ลิมป์โฟไซต์ (Lymphocytes) เบโซฟิล (Basophils) อีโอซิโนฟิล (eosinophils) และโมโนไซต์ (โมโนไซต์) ซึ่งเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันไป ในภาวะปกติจำนวนของแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน แต่เมื่อเกิดสภาวะบางอย่างขึ้นในร่างกาย จะทำให้มีเม็ดเลือดขาวบางชนิดสูงขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ของมันเช่น เมื่อมีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียจำนวนนิวโตรฟิลจะเพิ่มขึ้นเพื่อมาต่อสู้กับแบคทีเรีย แต่หากติดเชื้อไวรัสจำนวนลิมป์โฟไซต์จะเพิ่มขึ้นแทน ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะมีอีโอซิโนฟิลเพิ่มมากขึ้น แต่มีโรคบางอย่างเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) จะทำให้เม็ดเลือดขาวทุกชนิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้

2. เม็ดเลือดแดง

            เม็ดเลือดแดง เรียกอีกอย่างว่า อิริธโทรไซต์ (Erythrocyte) มีแหล่งผลิตอยู่ที่ไขกระดูก เมื่อโตเต็มที่จะถูกปล่อยออกมาสู่กระแสเลือด ภายในเม็ดเลือดแดงประกอบด้วยฮีโมโกลบินทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจน เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายโดยเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์มีอายุขัย 120 วัน ซึ่งไขกระดูกจะสร้างและปล่อยออกมาทดแทนเม็ดเลือดแดงที่ตายไป หรือปล่อยออกมาทดแทนหากมีภาวะเลือด นอกจากนี้ยังมีหลายภาวะ หรือยาหลายชนิดที่ส่งผลต่อการสร้าง และอายุขัยของเม็ดเลือดแดง

            การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด แสดงถึงจำนวนของเม็ดเลือดแดง ปริมาณฮีโมโกลบินในเลือด สัดส่วนของเลือดต่อฮีโมโกลบิน (ฮีมาโตคริต) โดยในการพิจารณาการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดงนั้นจะพิจารณาจำนวน รูปร่าง และขนาดของเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีหลายภาะที่ส่งผลต่อสิ่งที่จะพิจารณาเช่น ขนาดของเม็ดเลือดแดงจะเปลี่ยนแปลงหากขาดวิตามินบี 12 กรดโฟลิก หรือธาตุเหล็ก การลดลงของเม็ดเลือดแดงหรือฮีโมโกลบิน เรียกว่าภาวะโลหิตจาง (anemia) จะทำให้ผู้ป่วยอ่อนแรง หรือการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดแดงเรียกว่า อิริธโทรไซโตซิส (erythrocytosis) หรือพอลิไซธิเมีย (polycythemia) ที่หากมีเม็ดเลือดแดงมากเกินไปอาจทำให้การไหลเวียนเลือดในเส้นเลือดเล็กๆติดขัดได้

3. เกล็ดเลือด

            เกล็ดเลือด เรียกอีกอย่างว่า ทรอมโบไซต์ (Thrombocytes) มีหน้าที่ทำให้เอดแข็งตัวเมื่อเกิดแผลขึ้น การมีเกล้ดเลือดน้อยเกินไปจะทำให้เลือดออกได้ง่าย หรือเกิดจ้ำเลือดขึ้นมา ในทางกลับกันหากที่เกล้ดเลือดมากเกินไปจะทำให้มีลิ่มเลือดไปอุดตันเส้นเลือดได้ ซึ่งในการตรวจเกล้ดเลือดนั้นจะประกอบไปด้วยจำนวนและรูปร่างของเกล็ดเลือด

จะแปลผลการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดได้อย่างไร ?

            ในการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เพราะบอกได้ถึงหลายโรค หรือหลายสภาวะเช่น

  • ช่วยในการวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อ การอักเสบ ภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • ตรวจติดตามการรักษาโรคต่างๆ
  • ตรวจติดตามความปลอดภัยในกรณีที่วิธีการรักษามีผลต่อเม็ดเลือดเช่น การรับเคมีบำบัด การรับรังสีรักษา

โดยหากแยกการวิเคราะห์ออกมาเป็นส่วนๆตามชนิดของเม็ดเลือดแล้ว สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้

  • การวิเคราะห์เม็ดเลือดขาว 

ที่เป็นเหมือนทหารของร่างกาย ที่คอยทำหน้าที่ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมต่างๆเช่น การติดเชื้อ มะเร็ง มะเร็ง หรือการแพ้ต่างๆได้เรียกว่า white blood cell (WBC) count เป็นการวิเคราะห์เม็ดเลือดขาวทั้งหมดในกระแสเลือด หรือ white blood cell differential เป็นการวิเคราะห์จำนวนของเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด มีประโยชน์ในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่จำเพาะได้มากกว่า โดย 5 ชนิดประกอบด้วย นิวโทรฟิล ลิมป์โฟไซต์ อีโอซิโนฟิล เบโซฟิล และโมโนไซต์

  • การวิเคราะห์เม็ดเลือดแดง 

ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนปทั่วร่างกายการนับเฉพาะเม็ดเลือดแดงเรียกว่า Red blood cell (RBC) count ส่วนการวิเคราะห์ค่าอื่นๆมีรายละเอียดดังนี้

  • การวิเคราะฮีโมโกลบินเป็นโปรตีนในเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนก็สะท้อนถึงจำนวนเม็ดเลือดแดงได้เช่นกัน
  • ฮีมาโตคริต คือร้อยละของเลือดในร่างกายรวมทั้งเม็ดเลือดแดงด้วย
  • ขนาดและรูปร่างของเม็ดเลือดแดง ทำการวิเคราะห์โดยใช้ค่า MCV คือค่าที่บอกขนาดเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ MCH คือค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ MCHC คือค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ และ RDW คือค่าการกระจายขนาดของเม็ดเลือด
  • และตัวอ่อนของเม็ดเลือดแดง (Reticulocyte) เป็นจำนวนเม็ดเลือดแดงที่แท้จริงเพราะหากดูเฉพาะ RBC จะหมายถึงเม็ดเลือดแดงที่โตเต็มวัยเท่านั้น
  • การวิเคราะห์เกล็ดเลือด 

ทำหน้าที่กระตุ้นการแข็งตัวของเลือด ในการวิเคราะห์จะประกอบไปด้วยจำนวนเกล็ดเลือด ปริมาตรเกล็ดเลือด (MPV) และค่าการกระจายขนาดของเกล็ดเลือด (PDW) สะท้อนว่าเกล็ดเลือดทั้งหมดมีขนาดเท่าๆกันหรือไม่

เมื่อไหร่ถึงควรตรวจเม็ดเลือด ?

            การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เป็นการตรวจทั่วๆไป จะทำทุกๆครั้งที่ไปตรวจสุขภาพซึ่งหากคุณมีจำนวนของเม็ดเลือดต่างๆในค่าปกติ ก็อาจไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ จนกระทั่งพบความผิดปกติบางอย่าง หรือแพทย์สงสัยว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่นเมื่อมีอาการหรืออาการแสดงบางอย่างที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือด ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรง มีสัญญาณของการติดเชื้อ การอักเสบ มีจ้ำเลือด หรือมีเลือดออกผิดปกติเกิดขึ้น

            และเมื่อผู้ป่วยถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะบางอย่างที่ส่งผลต่อเม็ดเลืดแล้ว มักมีการตรวจซ้ำเพื่อประเมินผลการรักษา หรือความปลอดภัยหากยาที่ใช้นั้นส่งผลต่อเม็ดเลือดเช่นการรับเคมีบำบัด จะส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดที่ไขกระดูก หรือยากดภูมิคุ้มกันที่ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำลงเป็นต้น

สิ่งอื่นๆที่ควรทราบเกี่ยวกับการตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

  • มีสภาวะหลายอย่างที่ส่งผลต่อปริมาณเม็ดเลือดซึ่งบางสภาวะต้องได้รับการรักษา แต่บางสภาวะก็สามารถหายไปได้เอง
  • การบริจาคเลือด หรือการรับเลือดจะส่งผลต่อปริมาณเม็ดเลือดได้
  • ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในเด็กทารก เด็กเล็ก และผู้ใหญ่มีความแตกต่างกันทำให้การพิจารณาค่าความสมบูรณ์เม็ดเลือดในวัยต่างๆ ต่ากันไปด้วย

การรายงานค่า Immature platelet fraction (IPF) คืออะไร ?

            IPF คือเกล็ดเลือดที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ หรือเรียกว่า reticulated platelet ในกระแสเลือด ซึ่งโดยปกติแล้ว IPF จะถูกสร้างจากไขกระดูกและไม่ถูกปลดปล่อยออกมาสู่กระแสเลือดหากยังไม่โตเต็มที่ แต่หากพบ IPF ในกระแสเลือดนั่นหมายความว่าเกิดภาวะที่เกล็ดเลือดต่ำลงอย่างมาก (thrombocytopenia) และไม่เพียงพอทำให้ไขกระดูกต้องปลดปล่อยเกล็ดเลือดที่ยังไม่โตเต็มที่ออกมาเร็วกว่าปกติ 

            การตรวจ IPF นั้นต้องทำโดยการตรวจด้วยเครื่อมือที่จำเพาะชื่อว่า automated hematology analyzer โดยค่า IPF จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ว่าการต่ำลงของเกล็ดเลือดเกิดจากสาเหตุใดโดย หากค่า IPF ต่ำลงหมายถึงการสร้างเกล็ดเลือดมีปัญหา แต่หากค่า IPF สูงขึ้นนั่นหมายถึงเกล็ดเลือดต่ำจากการเสียเลือดมาก นอกจากนี้ยังช่วยในการบอกว่าผู้ป่วยควรได้รับเกล็ดเลือดจากภายนอกหรือไม่ และช่วยในการติดตามผลของการให้เกล็ดเลือดในผู้ป่วย การทำงานของไขกระดูกหลังได้รักษา (การปลูกถ่ายไขกระดูก)

การรายงานค่า Reticulocyte hemoglobin คืออะไร ?

            ค่าฮีโมโกลบินใน เม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocytes) สามารถวัดได้เป็น ค่าเฉลี่ยปริมาณฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (mean reticulocyte hemoglobin content; CHr) หรือค่าที่เทียบเท่ากับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (reticulocyte hemoglobin equivalent; Ret-He) การรายงานจะรายงานค่าใดค่าหนึ่ง แต่การตรวจค่าดังกล่าวจะต้องทำด้วยเครื่อง automated hematology analyzer เช่นเดียวกับ IPF

            เม็ดเลือดแดงตัวอ่อน เป็นเม็ดเลือดแดงที่ยังไม่โตเต็มที่แต่ถูกปล่อยมาจากไขกระดูก ปริมาณของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนนั้นจะช่วยในการวินิจฉัยก็ต่อเมื่อ ร่างกายได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอใน 2-3 วันก่อนการตรวจ เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นวัตถุดิบในการสร้างเม็ดเลือด ดังนั้นหากทำการตรวจอย่างถูดวิธีแล้วค่า CHr หรือ Ret-He มีประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์การทำงานของไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือด หรือประเมินภาวะโลหิตจากจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก

การรายงานค่า immature granulocytes (IG) คืออะไร ?

            Immature granulocyte (IG) คือเม็ดเลือดขาวที่ยังไม่โตเต็มที่จากไขกระดูกประกอบไปด้วย เมต้าไมอีโลไซต์ (metamyelocyte) ไมอีโลไซต์ (myelocyte) และโปรไมอีโลไซต์ (promyelocyte) เซลล์เหล่านี้เป็นวัตถุดิบในการสร้างนิวโทรฟิล ที่เป็นหนึ่งในชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาว ในภาวะปกติเราจะพบเซลล์เหล่านั้นในไขกระดูกเท่านั้น การพบเซลล์ IG ในกระแสเลือดสามารถบอกได้ว่ามีการติดเชื้อ หรือเกิดมะเร็งเม็ดเลือดเกิดขึ้น แต่ในการวินิจฉัยที่แน่ชัดต้องพิจารณาค่าอื่นๆประกอบด้วย

มีสิ่งที่ใช้บำรุงเลือดหรือไม่ ?

          ในผู้ที่รักสุขภาพทุกคน เมื่อทราบถึงค่าความสมบูรณ์เม็ดเลือดต่างๆแล้ว อาจจะอยากหาสิ่งที่จะมาบำรุงหรือเปลี่ยนแปลงเม็ดเลือด แต่เม็ดเลือดนั้นไม่เหมือนกับไขมันดี หรือไขมันเลวที่ขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทาน   แต่ค่าความสมบูรณ์เม็ดเลือดจะเปลี่ยนแปลงหากคุณขาดธาตุเหล็ก จาดกรดโฟลิก หรือวิตามินบี 12 ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้บอกว่าคุณมีภาวะใด้แล้วควรเสริมด้วยสารอาหารประเภทใด แต่ในผู้ที่สุขภาพดีร่างกายจะทำการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือสภาวะร่างกายนั้นๆอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะต้องทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงเม็ดเลือดเพราะเป็นสิ่งที่ร่างกายสามารถปรับตัวได้เองอยู่แล้ว

หากมีค่าความสมบูรณ์เม็ดเลือดบางอย่างผิดปกติไป แพทย์จะทำการตรวจค่าใดเพิ่มอีกบ้าง ?

          การตรวจอื่นๆขึ้นอยู่กับว่าค่าใดผิดปกติ สงสัยถึงสภาวะใด มีการใช้ยาใดบ้างในอดีต ผลการตรวจร่างกายอื่นๆเป็นอย่างไร ซึ่งแพทย์อาจทำการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือค่าแลปอื่นๆเพิ่มเติมเช่น

  • หากมีค่าเม็ดเลือดขาวผิดปกติ แพทย์อาจสงสัยถึงการติดเชื้อเบคทีเรีย และต้องการหาอวัยวะที่ติดเชื้อจึงทำการตรวจเชื้อในเสมหะ ปัสสาวะ หรือเลือดเพิ่มเติม หากคิดถึงการติดเชื้อไวรัสจะทำการตรวจคอ (strep test) โมโนนิวคลิโอซิส (mononucleosis) หรือไวรัสเอ็บสไตบาร์ (EBV) และหากคิดถึงการอักเสบจะทำการตรวจ ซีพีอาร์ (CPR) หรือ อีเอสอาร์ (ESR) เพิ่มเติม
  • หากมีความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง จะทำการตรวจเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน ปริมาณธาตุเหล็ก ปริมาณวิตามินบี 12 กรดโฟลิก ความบกพร่องของฮีโมโกลบิน หรือโรคจี-6-พีดี (G6PD) เพิ่มเติม
  • หากค่าเกล็ดเลือดผิดปกติ จะทำการตรวจ การทำงานของเกล้ดเลือด หรือ HIT antibody ภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือภาวะเลือดแข็งตัวมากผิดปกติ โดยดูจากค่าเวลาในการแข็งตัวของเลือด (PT) PTT หรือสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดต่างๆ ว่ามีความผิดปกติที่ส่วนใดจึงสามารถวินิจฉัยโรคได้
  • รวมทั้งการเกิดภาวะความผิดปกติของเลือดที่รุนแรงเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ความบกพร่องในการทำงานของไขกระดูก จำเป็นที่จะต้องเจาะน้ำไขสันหลัง หรือเก็บไขกระดูกไปเพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม

ดังนั้นหากคุณไปตรวจสุขภาพอาจทำการพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพของคุณจากค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และถามแพทย์ถึงสิ่งที่คุณสงสัยหากแพทย์สั่งตรวจเพิ่มเติม

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์