เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมอยากเห็นลูกมีพัฒนาการเด็กที่ดี มีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจปฐมวัย มีพัฒนาการด้านสติปัญญาปฐมวัย ไม่มีใครอยากเห็นลูกมีพัฒนาการเด็กที่ล่าช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ บทความนี้จะพาคุณพ่อ คุณแม่ที่มีลูกในช่วงวัย 1-3 ปี ไปเช็กพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ กันค่ะว่า มีพัฒนาการเด็กสมวัยหรือไม่ พร้อมเรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาการแต่ละช่วงวัยที่เหมาะสม
ก่อนที่จะไปเช็กพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พัฒนาการ 1 ขวบ พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ผู้ปกครองควรรู้จักกับเกณฑ์ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเบื้องต้น ที่เรียกว่า คู่มือ dspm ซึ่งเป็นคู่มือที่ผู้ปกครองสามารถนำไปใช้ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (เด็กตั้งแรกเกิด-ก่อนเข้าประถมศึกษาชั้นปีที่ 1) ได้เองที่บ้าน และถูกใช้กันโดยทั่วไปในระดับสถานีอนามัย
ครั้งที่แล้วเราได้นำเสนอบทความ Checklist! พัฒนาการเด็กแรกเกิด-1 ปี และแนวทางส่งเสริมพัฒนาการแต่ละช่วงวัย พร้อมได้ให้ความหมายถึงการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย ครบทั้งพัฒนาการ 5 ด้าน ตามคู่มือ dspm ที่ผู้ปกครองควรรู้เบื้องต้น คุณพ่อ คุณแม่ สามารถตามไปอ่านกันได้ค่ะ
อ่านเพิ่มเติม : Checklist! พัฒนาการเด็กแรกเกิด-1 ปี พร้อมแนวทางส่งเสริมพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ (ใส่ลิงก์บทความ)
พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ปี พร้อมแนวทางส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ครบพัฒนาการ 5 ด้าน ตามคู่มือ dspm
เราจะพาคุณพ่อ คุณแม่ไปเช็กลิสต์พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ปี พร้อมแนวทางส่งเสริมพัฒนาการตามวัยที่ทำได้เองที่บ้าน ครบพัฒนาการ 5 ด้าน ตามคู่มือ dspm เพื่อใช้เป็นแนวทางกระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจปฐมวัย พัฒนาการด้านสติปัญญาปฐมวัย ในทุกๆ วันที่บ้าน ดังนี้ค่ะ
พัฒนาการเด็ก 1-2 ปี
1.ด้านการเคลื่อนไหว (Gross motor)
●อายุ 1 ปี 1-3 เดือน ยืนตามลำพังได้นานอย่างน้อย 10 วินาที
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย ด้วยการพยุงตัวเด็กให้ยืน เมื่อเด็กยืนได้ เปลี่ยนจับข้อมือ แล้วค่อยๆ ปล่อยให้เด็กยืนเอง
●อายุ 1 ปี 4-5 เดือน เดินลากของเล่น หรือสิ่งของได้
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการจับมือเด็กให้ลากของเล่น เช่น รถของเล่น กล่อง เดินไปข้างหน้าพร้อมกับผู้ปกครอง โดยทำซ้ำๆ หลายรอบ แล้วลองปล่อยให้เด็กทำเอง
●อายุ 1 ปี 6 เดือน วิ่งได้ หรือถือของได้ไกล 3 เมตร
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการพาเด็กวิ่งเล่นกับเด็กคนอื่นๆ โดยมีผู้ปกครองคอยจับมือพาวิ่งเล่น และฝึกให้เด็กเดินถือของมือเดียว
●อายุ 1 ปี 7 เดือน-2 ปี เหวี่ยงขาเตะสิ่งของได้ โดยไม่เสียการทรงตัว
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการชวนเด็กเล่นเตะลูกบอล หรือของเล่นที่มีลักษณะทรงกลม โดยจับมือข้างเดียว แล้วสอนให้เด็กยกขาเตะลูกบอล เมื่อเด็กสามารถทรงตัวได้เอง จึงให้เด็กลองทำเอง
2.ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา (Fine Motor)
●อายุ 1 ปี 1-3 เดือน ขีดเขียนเป็นเส้นบนกระดาษได้
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย ด้วยการวาดเส้นด้วยดินสอสีลงบนกระดาษให้เด็กดู จากนั้นให้เด็กลองทำตาม
●อายุ 1 ปี 4-5 เดือน ขีดเขียนเป็นเส้นต่างๆ บนกระดาษเองได้
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการวาดเส้นด้วยดินสอสีลงบนกระดาษให้เด็กดู แล้วให้เด็กลองทำตาม
●อายุ 1 ปี 6 เดือน เปิดหนังสือทีละหน้าได้เอง
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการเปิดหนังสือทีละหน้า แล้วชี้ชวนให้เด็กดูรูปภาพ แล้วบอกให้เด็กลองเปิดหนังสือทีละหน้าเอง
●อายุ 1 ปี 7 เดือน-2 ปี เรียงของเล่น หรือสิ่งของได้ โดยไม่ล้ม
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการหาของเล่น ที่เด็กสามารถวางเรียงแนวตั้งได้ เช่น ก้อนไม้สี่เหลี่ยม หรืออาจใช้กล่องสบู่ กล่องนม วางต่อกันแนวตั้งให้เด็กทำตาม แต่ในครั้งแรกๆ ควรช่วยจับมือเด็กทำ หากเด็กทำได้เอง ควรมีการชมเชย
3.ด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language)
●อายุ 1 ปี 1-3 เดือน เลือกสิ่งของตามคำสั่งได้
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย ด้วยการเรียกชื่อของเล่นที่เด็กคุ้นเคย เพื่อให้เด็กดูว่าของเล่นแต่ละชิ้นชื่อว่าอะไร จากนั้นหยิบของเล่นขึ้นมาพร้อมกัน แล้วเรียกชื่อ เพื่อให้เด็กชี้ หากชี้ถูก ควรชมเชย
●อายุ 1 ปี 4-5 เดือน ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ โดยไม่มีท่าทางประกอบ
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยบอกให้เด็กมีปฏิกิริยากับของเล่นนั้นๆ เช่น บอกให้เด็กส่งของให้ ในขณะที่เด็กกำลังถือของเล่น หรือถือของ
●อายุ 1 ปี 6 เดือน เลือกสิ่งของตามคำสั่งได้ถูกต้อง หรือชี้อวัยวะของร่างกายได้
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการเรียกชื่อของเล่นที่เด็กคุ้นเคย เพื่อให้เด็กดูว่าของเล่นแต่ละชิ้นชื่อว่าอะไร แล้วถามเด็กว่า ….“อยู่ไหน” จากนั้นเรียกชื่อสิ่งของนั้นๆ เพื่อให้เด็กชี้หรือหยิบ หากชี้ถูก ควรชมเชย และฝึกชี้อวัยวะ พร้อมเรียกชื่อ
●อายุ 1 ปี 7 เดือน-2 ปี หยิบ ชี้ ของเล่น หรือสิ่งของได้ถูกต้อง อย่างน้อย 4 อย่าง ตามที่ผู้ปกครองบอก
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการวางของเล่นที่เด็กคุ้นเคย แล้วชี้ชวนให้เด็กมอง แล้วสั่งให้เด็กหยิบของเล่นตามชื่อที่บอกขึ้นมาทีละชิ้น
4.ด้านการใช้ภาษา (Expressive Language)
●อายุ 1 ปี 1-3 เดือน พูดคำพยางค์เดียว เช่น หม่ำ ได้ 2 คำ
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย ด้วยการสอนเด็กให้พูดคำสั้นๆ ตามสถานการณ์ เช่น ก่อนป้อนข้าว ให้พูดว่า “หม่ำ” ในขณะที่ทำกิจกรรมนั้นๆ อยู่
●อายุ 1 ปี 4-5 เดือน ตอบชื่อสิ่งของได้ถูกต้อง
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการชี้และเรียกชื่อของเล่นที่เด็กคุ้นเคย แล้วหยิบขึ้นมาถามเด็กว่า คืออะไร ถ้าเด็กไม่ตอบ ให้บอกเด็กว่านี่คืออะไร จากนั้นทำซ้ำๆ
●อายุ 1 ปี 6 เดือน พูดเลียนคำที่เด่น หรือคำสุดท้ายของคำพูดได้
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการพูดกับเด็กตามสถานการณ์ เพื่อให้เด็กโต้ตอบ ออกเสียงตามคำลงท้าย เมื่อเด็กพูดตามให้โต้ตอบกลับ
●อายุ 1 ปี 7 เดือน – 2 ปี เลียนคำพูด ที่เป็นวลี 2 คำขึ้นไปได้ เช่น อาบน้ำ
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการพูด 2 คำชัดๆ ช้าๆ ให้เด็กฟังบ่อยๆ และให้เด็กพูดตาม หรือร้องเพลงที่ใช้คำง่ายๆ ให้เด็กฟังบ่อยๆ พร้อมทำท่าทางประกอบเพลง
5.ด้านการช่วยเหลือตนเอง และสังคม (Personal and Social)
●อายุ 1 ปี 1-3 เดือน เลียนแบบท่าทางการทำงานบ้านของผู้ปกครอง
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการให้อุปกรณ์งานที่เหมาะกับเด็ก และกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำงานบ้าน หากเด็กทำตามได้ ควรมีการชมเชย
●อายุ 1 ปี 4-5 เดือน เล่นสิ่งของได้พร้อมๆ กัน โดยเล่นให้สัมพันธ์กันได้ถูกต้อง
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการเล่นบทบาทสมมติกับเด็ก โดยใช้ของเล่น หรือสิ่งของร่วมด้วย เช่น เล่นป้อนอาหารให้ตุ๊กตา หวีผมให้ตุ๊กตา โดยใช้ของเล่นที่สัมพันธ์กับการเล่น
●อายุ 1 ปี 6 เดือน มองตาม หรือสนใจสิ่งที่ผู้ปกครองชี้ชวนให้มองสิ่งของที่อยู่ห่างออกไป 3 เมตรได้
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการชี้สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เพื่อให้เด็กมองตาม หากเด็กยังไม่มองให้ประคองหน้าเด็กให้หันมองตาม จากนั้นค่อยเปลี่ยนไปชี้ของที่อยู่ไกลออกไป 3 เมตร
●อายุ 1 ปี 7 เดือน-2 ปี ใช้ช้อนตักอาหารกินเองได้
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการจับมือเด็กให้ถือช้อน พร้อมกับตักอาหารใส่ปากเด็ก ในช่วงที่เด็กรับประทานอาหาร ซึ่งให้ผู้ปกครองฝึกให้เด็กทำบ่อยๆ จากนั้นให้เด็กทำเอง
พัฒนาการเด็ก 2-3 ปี
1.ด้านการเคลื่อนไหว (Gross motor)
●อายุ 2 ปี 1-5 เดือน กระโดดเท้าพ้นพื้นทั้ง 2 ข้างได้
ผู้ปกครองควรมีการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการฝึกให้เด็กกระโดดลงจากพื้นต่างระดับ โดยจับมือเด็กทั้ง 2 ข้างไว้ แล้วระหว่างทำให้ย่อตัวลงพร้อมกับเด็ก และควรคำนึงถึงความปลอดภัย
●อายุ 2 ปี 6 เดือน กระโดดข้ามเชือก หรือเส้นบนพื้น ไปข้างหน้าได้
ผู้ปกครองควรมีการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการกระโดดข้ามเชือกให้เด็กดู จากนั้นจับมือพยุงเด็กให้กระโดดข้ามเชือกตาม ให้ฝึกบ่อยๆ จนเด็กมั่นใจว่ากระโดดข้ามได้เอง ควรคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย
●อายุ 2 ปี 7 เดือน – 3 ปี ยืนขาเดียวได้ 1 วินาที
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการยืนขาข้างเดียวให้เด็กดู และหันหน้าเข้าหาเด็ก จับมือเด็กทั้งสองข้าง แล้วบอกให้เด็กลองทำตาม หากเด็กทำตามได้ ให้ปล่อยมือข้างหนึ่ง จับมือเด็กไว้เพียงข้างเดียว
2.ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา (Fine Motor)
●อายุ 2 ปี 1-5 เดือน แก้ปัญหาง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยรู้จักใช้สิ่งของเข้าช่วย
ผู้ปกครองควรมีการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการจำลองสถานการณ์ให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง หรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้ฝึกการแก้ไขปัญหา หากเด็กทำไม่ได้ ให้สอนโดยการทำให้เด็กดู
●อายุ 2 ปี 6 เดือน ยื่นสิ่งของให้ผู้ปกครองได้ถูกต้อง ตามคำสั่งที่บอกจำนวน
ผู้ปกครองควรมีการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการวางของเล่น 2 จำนวนขึ้นไป แล้วสั่งให้เด็กหยิบขึ้นมาให้โดยบอกจำนวน และควรเปลี่ยนชนิดสิ่งของให้หลากหลายขึ้น
●อายุ 2 ปี 7 เดือน – 3 ปี ลากเส้นเป็นวงกลมต่อเนื่องกันได้
ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการลากเส้นวงกลมลงบนกระดาษให้เด็กดู แล้วลองให้เด็กทำตาม หากเด็กเริ่มทำเองได้ ให้ใช้ดินสอสี สีต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กสนใจ
3.ด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language)
●อายุ 2 ปี 1-5 เดือน ชี้อวัยวะร่างกายได้ถูกต้อง 7 ส่วน
ผู้ปกครองควรมีการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการชี้อวัยวะร่างกายส่วนต่างๆ ของผู้ปกครองให้เด็กดู แล้วชวนให้เด็กลองทำตาม โดยชี้อวัยวะร่างกายของตนเอง หากเด็กทำเองได้ อาจใช้ร้องเพลงประกอบระหว่างทำกิจกรรม
●อายุ 2 ปี 6 เดือน วางสิ่งของไว้ด้านบน หรือด้านล่างได้ตามคำสั่ง
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการวางสิ่งของไว้ตำแหน่งบน หรือล่าง แล้วทำการบอกเด็กว่าของอยู่ตำแหน่งไหน แล้วสั่งเด็กหยิบสิ่งของมาไว้ตำแหน่งนั้นๆ แล้วทำสลับไปมาระหว่างวางของไว้ด้านบน ด้านล่าง แล้วค่อยๆ เพิ่มตำแหน่งอื่นๆ
●อายุ 2 ปี 7 เดือน – 3 ปี นำสิ่งของภายในห้อง ซึ่งอยู่มุมต่างๆ มาให้ผู้ปกครองได้ถูกต้องตามคำสั่ง
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการสั่งให้เด็กหยิบของในห้อง มาให้ทีละ 2 ชนิด เช่น หยิบแปรงสีฟัน และยาสีฟัน เสื้อและกางเกง ถ้าเด็กหยิบไม่ถูก ให้ชี้บอกหรือจูงมือเด็กพาไปหยิบของ
4.ด้านการใช้ภาษา (Expressive Language)
●อายุ 2 ปี 1-5 เดือน พูดตอบรับ และปฏิเสธได้
ผู้ปกครองควรมีการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการพูดคุย เล่าเรื่องเกี่ยวกับการตอบรับ หรือปฏิเสธร่วมกับเด็กเพื่อให้เด็กเข้าใจ แล้วถามคำถามให้เด็กตอบรับหรือปฏิเสธ เมื่อเด็กตอบรับหรือปฏิเสธ ให้ตอบสนองสิ่งที่เด็กต้องการ
●อายุ 2 ปี 6 เดือน พูดคำที่มีความหมาย ติดต่อกัน 2 คำ ขึ้นไปได้
ผู้ปกครองควรมีการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมชี้ภาพในนิทาน ว่าเขากำลังทำอะไร ถ้าเด็กยังไม่ตอบ ให้ถามซ้ำ
●อายุ 2 ปี 7 เดือน – 3 ปี พูดประโยค อย่างน้อย 4 ความหมาย
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการร้องเพลงที่ใช้คำพูดง่ายๆ ให้เด็กฟังบ่อยๆ พร้อมทำท่าทางตามเพลง เว้นวรรคให้เด็กร้องต่อ เช่น “ จับ…(ปูดำ) ขยำ…(ปูนา) ”
5.ด้านการช่วยเหลือตนเอง และสังคม (Personal and Social)
●อายุ 2 ปี 1-5 เดือน ล้าง และเช็ดมือได้เอง
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการฝึกให้เด็กล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง โดยการทำเป็นตัวอย่าง แล้วช่วยจับมือเด็กทำ จากนั้นให้เด็กลองทำเอง
●อายุ 2 ปี 6 เดือน รู้จักรอ จนกว่าจะถึงคิวตนเอง
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นกับเพื่อนๆ โดยมีผู้ปกครองคอยบอกให้เด็กทำตามกฎกติกา เช่น บอกให้เด็กรอคิวถัดไป เป็นต้น
●อายุ 2 ปี 7 เดือน-3 ปี สวมใส่กางเกงได้ด้วยตนเอง
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการสอนให้เด็กรู้จักด้านนอก-ใน และด้านหน้า-หลังของกางเกง และช่วยฝึกเด็กใส่กางเกงด้วยตัวเอง โดยเริ่มแรกผู้ปกครองจัดให้เด็กฝึกใส่กางเกงโดยการนั่ง พอเด็กเริ่มทำได้ ปล่อยให้เด็กทำเอง
การเข้าใจในพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พัฒนาการเด็ก 3 ขวบเบื้องต้น จะช่วยให้คุณพ่อ คุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการแต่ละช่วงวัยได้เองที่บ้านอย่างเหมาะสม และเพื่อเป็นการปูพื้นฐานพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจปฐมวัย พัฒนาการด้านสติปัญญาปฐมวัย ให้เด็กก่อนเข้าโรงเรียน
นอกจากพัฒนาการเด็กวัย 1-3 ปี พัฒนาการ 1 ขวบ พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ที่ผู้ปกครองควรเข้าใจแล้ว ผู้ปกครองควรเข้าใจพัฒนาการตามวัย 0-5 ปี และแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการ 0-5 ปีด้วย ก็จะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการเด็กได้ดียิ่งขึ้น เพราะช่วงพัฒนาการตามวัย 0-5 ปี จะมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านการเรียนรู้ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และเด็กอยู่ใกล้ชิดกับผู้ปกครองมากที่สุด จึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการ 0-5 ปี
ในบทความหน้าเราจะพาไปเช็กพัฒนาการเด็ก 3-5 ปีกันค่ะ เพื่อที่จะได้เข้าใจองค์รวมของพัฒนาการตามวัย 0-5 ปี และการส่งเสริมพัฒนาการ 0-5 ปี มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อพัฒนาการแต่ละช่วงวัย
หากผู้ปกครอง ทำการเช็กลิสต์พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ปี พัฒนาการ 1 ขวบ พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ครบพัฒนาการ 5 ด้าน แล้วพบว่า บางข้อเด็กยังทำไม่ได้ ต้องการคัดกรองกับผู้เชี่ยวชาญอีกรอบ และต้องการทริคส่งเสริมพัฒนาการแต่ละช่วงวัยที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน และได้ผล สามารถปรึกษานักจิตวิทยาคลินิกกับทาง HealthSmile ได้ที่ LINE @healthsmilecenter หรือคลิกได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ https://lin.ee/CDUgd8d
อ้างอิงข้อมูลจาก คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของกระทรวงสาธารณสุข
Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์