ใครควรตรวจยีนมะเร็งมากที่สุด
การตรวจยีนมะเร็ง คืออะไร
การตรวจยีนมะเร็ง เป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการค้นหาความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในครอบครัวของคุณ โดยจะตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนที่มีหน้าที่ยับยั้งการก่อตัวของมะเร็ง (Tumor suppressor gene) ซึ่งทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการยับยั้งการก่อมะเร็ง จึงทำให้มะเร็งเติบโตขึ้น หรือการมียีนที่ก่อมะเร็ง (Oncogene) ในร่างกายทำให้เกิดมะเร็งได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มียีนนี้ ดังนั้น หากถามว่าใครควรตรวจยีนมะเร็งมากที่สุด ก็คือคนที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง และต้องการทราบความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งของตนเอง
ก่อนและหลังทำการตรวจยีนมะเร็ง ผู้เข้ารับการตรวจควรใช้ข้อมูลและได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการทำการตรวจ การปฏิบัติตามคำแนะนำหลังได้ผลตรวจร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำ อาจช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของมะเร็งได้ในระยะยาวได้
ใครคือคนในครอบครัวที่ควรตรวจยีนมะเร็งมากที่สุด? ใครควรตรวจยีนมะเร็งมากที่สุด?
เนื่องจากการตรวจยีนมะเร็ง ณ ปัจจุบันยังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น เป็นการดีกว่าที่จะเลือกตรวจในคนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดก่อน จากนั้นหากพบความผิดปกติที่ยีนใดๆ เราจึงค่อยตรวจให้กับคนที่มีความเสี่ยงรองๆลงมาเป็นลำดับ
โดยเรียงตามลำดับจากคนที่ควรตรวจมากไปน้อย ดังนี้
คนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง และมะเร็งนั้นมีโอกาสที่จะถ่ายทอดทางพันธุกรรม
โดยอาจจะเพิ่งวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง กำลังรักษาอยู่ หรือรักษาจนหายแล้วก็ได้ ควรตรวจเป็นคนแรก (Proband testing)
- การตรวจยีน ในคนที่เป็นมะเร็ง (Proband testing) นั้นจะเลือกตรวจหลายๆยีน (Cancer gene panel testing) เพื่อตรวจทุกๆยีนที่อาจมีความผิดปกติได้ เช่น แพคเกจ SENTIS™ Hereditary cancer gene testing (74 genes, 23 kinds of hereditary cancer) หรือ OncoSure™ (17 genes,15 kinds of hereditary cancer)
คนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งที่อายุน้อย หรือ เป็นมะเร็งพร้อมๆกันหลายตำแหน่งในร่างกาย
ควรได้ตรวจยีนมะเร็งเช่นกัน เนื่องจาก ความผิดปกติของยีน มักจะทำให้เป็นมะเร็งได้ตั้งแต่อายุน้อย โดยแนะนำตรวจเป็น Cancer gene panel testing เช่นเดียวกัน เพื่อหาว่ามียีนใดบ้างที่อาจเป็นยีนก่อมะเร็ง
มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งมากกว่า 1 คน
เราจะเลือกคนที่มีความเสี่ยงสูงๆที่จะตรวจพบยีนที่ผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น
-
- กรณีเป็นมะเร็งเต้านม เราจะเลือกคนที่เป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชายก่อน
-
- เลือกตรวจในคนที่เป็นมะเร็งตอนอายุน้อยกว่า
- เลือกตรวจในคนที่มีมะเร็งมากกว่า 1 ตำแหน่ง
กรณีที่ตรวจพบเจอยีนที่ผิดปกติ
ก็จะทำการตรวจยีนนั้นๆให้กับคนในครอบครัวคนอื่นๆทั้งหมด เช่น หากตรวจพบยีน tp53 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ก็จะตรวจเฉพาะยีน tp53 ให้กับบุคคลในครอบครัวคนอื่นๆ ซึ่งจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของแต่ละคนได้ ทำให้ไม่ต้องตรวจแบบ Proband testing กับทุกๆคน (แต่หากต้องการตรวจหลายๆยีนก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของสมาชิกในครอบครัว)
-
- กรณีตรวจเจอยีนที่ผิดปกติ ให้ทำตาม Guideline แนวทางการรักษาคนที่มียีนเสี่ยงมะเร็งตามแต่ลักษณะยีนผิดปกติที่พบ
- กรณีตรวจไม่พบยีนที่คนในคนที่เป็นมะเร็งเป็น ก็แสดงว่าความเสี่ยงของญาติคนนั้นๆมีเท่าๆกับประชากรคนอื่นๆทั่วไป
กรณีตรวจแล้วไม่เจอยีนที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
ก็ไม่ได้แปลว่าในครอบครัวนั้นไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่อาจจะมียีนที่เรายังไม่รู้จักก็เป็นได้ (ซึ่งในปัจจุบัน นักวิจัยทางการแพทย์ทั่วโลกกำลังมีงานวิจัยเกี่ยวกับด้านยีนที่สัมพันธ์กับมะเร็งออกมาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ)
- กรณีไม่พบยีนที่ผิดปกติ คนอื่นๆก็อาจจะไม่จำเป็นต้องตรวจก็ได้
สรุปผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจยีนมะเร็ง เรียงตามลำดับ ดังนี้
- คนที่เป็นมะเร็ง
- เป็นมะเร็งชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
- เป็นมะเร็งในอายุน้อย
- เป็นมะเร็งพร้อมกันหลายตำแหน่ง
- เป็นมะเร็งในกลุ่มคนที่โอกาสเกิดมะเร็งน้อย (เช่น เป็นมะเร็งเต้านมในเพศชาย เป็นต้น)
ผู้ป่วยมะเร็งในกลุ่มเหล่านี้ แนะนำว่าควรตรวจยีนมะเร็งแบบหลายๆยีนพร้อมกัน (Cancer gene panel testing) เพื่อกวาดหายีนที่ผิดปกติ ว่ามียีนใดบ้าง ซึ่งจะมีประโยชน์ทั้งในด้านการรักษามะเร็ง และการทำนายมะเร็งของคนอื่นๆในครอบครัว
- คนที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง
- มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งหลายๆคน แต่อาจจะไม่สามารถตรวจยีนมะเร็งในผู้ป่วยมะเร็งเหล่านั้นได้
ควรตรวจยีนมะเร็งแบบหลายๆยีนพร้อมกัน (Cancer gene panel testing) - มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง และตรวจพบยีนผิดปกติในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง
ควรตรวจยีนมะเร็งเฉพาะที่พบความผิดปกตินั้น (Specific gene testing) หรือ พิจารณาตรวจยีนมะเร็งแบบหลายๆยีนพร้อมกัน (Cancer gene panel testing) ก็ได้ - มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง และตรวจ”ไม่พบ”ยีนผิดปกติในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง
อาจจะพิจารณาไม่ตรวจยีนมะเร็งเลยก็ได้ หรือ พิจารณาตรวจยีนมะเร็งแบบหลายๆยีนพร้อมกัน (Cancer gene panel testing) ก็ได้
- มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งหลายๆคน แต่อาจจะไม่สามารถตรวจยีนมะเร็งในผู้ป่วยมะเร็งเหล่านั้นได้
- คนที่ไม่มีประวัติมะเร็งในครอบครัว
- อาจจะพิจารณาไม่ตรวจยีนมะเร็งเลยก็ได้
หรือ พิจารณาตรวจยีนมะเร็งแบบหลายๆยีนพร้อมกัน (Cancer gene panel testing) ก็ได้
- อาจจะพิจารณาไม่ตรวจยีนมะเร็งเลยก็ได้
✅✅✅✅✅
หากมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง หรือต้องการตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงยีนกลายพันธุ์ที่จะทำให้เป็นมะเร็งในอนาคต
เฮลท์สไมล์ ให้บริการตรวจยีนความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้สูงสุด 74 ยีน ครอบคลุมชนิดของมะเร็งต่างๆ 24 ชนิด (ชาย 22 ชนิด หญิง 23 ชนิด)
* ทุกแพคเกจ มีแพทย์ที่ได้รับใบประกาศด้าน Precision Medicine (การแพทย์แม่นยำ) เพื่อแนะนำและอธิบายผลตรวจอย่างละเอียด
โดยมีแพคเกจให้เลือกอยู่ 3 แพคเกจ ดังนี้
- ตรวจยีนมะเร็งพบบ่อยในผู้หญิง : ราคา 24,900 บาท
ตรวจได้ 26 ยีน และ 2 มะเร็งที่พบบ่อยในเพศหญิ ได้แก่ มะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านมที่เกิดจากพันธุกรรม (Sentis Hereditary Breast and Ovarian Cancer) - ตรวจยีนมะเร็งครอบคลุมสำหรับเพศหญิง : ราคา 29,900 บาท
ตรวจได้ 74 ยีน สำหรับเพศหญิง ครอบคลุมมะเร็ง 23 ชนิด (Sentis Hereditary Cancer Panel : female) - ตรวจยีนมะเร็งครอบคลุมสำหรับเพศชาย : ราคา 29,900 บาท
ตรวจได้ 79 ยีน สำหรับเพศชาย ครอบคลุมมะเร็ง 22 ชนิด (Sentis Hereditary Cancer Panel : male)
📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
– Line ID : @HealthSmile
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/cancer-content
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจยีนมะเร็งถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้ที่นี่
https://healthsmile.co.th/blog/health-and-diseases/cancer-prediction-and-prevention/hereditary-cancer-gene-test/
✅✅✅✅✅
Last Updated on 29 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์