1. ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
ฮอร์โมนไทรอยด์เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการเผาผลาญ และใช้พลังงานภายในร่างกาย หากระดับของฮอร์โมนดังกล่าวลดลง จะส่งผลให้คุณน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ จากการใช้พลังงานที่ลดลง รวมถึงอาการอื่นๆ เช่น ผิวแห้ง ทนต่ออากาศหนาวได้ลดลง เหนื่อยง่าย ท้องผูก และเกิดภาวะซึมเศร้าเป็นต้น ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยดูอาการและตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือด และรักษาโดยการให้ออร์ดมนทดแทน
2. ภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้า เป็นอาการที่มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือโรคอ้วนได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป โดยผู้ป่วยมักจะไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ รวมถึงการออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ และผู้ป่วยจะมีฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ที่ทำให้มีการสะสมของไขมันที่หน้าท้องเพิ่มขึ้นจึงเกิดเป็นโรคอ้วนตามมาได้
3. อาการนอนไม่หลับ
ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง จะเสี่ยงต่อความอ้วนได้ เพราะเมื่อระยะเวลานอนน้อยลง ร่างกายจะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล และฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิด จะกระตุ้นให้ร่างกายอยากทานอาหารโดยเฉพาะน้ำตาลและไขมัน เราจึงควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ 8 ชั่วโมง
4. หญิงวัยหมดประจำเดือน
เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ฮอร์โมนเพศจะลดลงโดยเฉพาะเอสโตรเจน ทำให้มีการสะสมของไขมันรอบหน้าท้องเพิ่มขึ้น และไม่เพียงเท่านั้น อาการของหญิงวัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบ นอนไม่ค่อยหลับ หรืออารมณ์แปรปรวน จะทำให้การดูแลตัวเองลดลง ทางแก้ไขคือเมื่อรู้สึกอยากอาหาร อาจรับประทานลูกอมเม็ดเล็กๆแทนข้าว หรือปรึกษาเเพทย์เพิ่มหาทางแก้ไขที่เหมาะสม
5. โรคคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome)
โรคคุชชิ่ง คือโรคที่มีฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายมากเกินไป จากการที่ต่อมหมวกไต (ต่อมที่ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล) ทำงานมากเกินไป ส่งผลให้มีการสะสมของไขมันที่หน้าท้องเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสะสมที่ต้นคอ ทำให้เกิดเป็นหนอกคล้ายหนอกอูฐขึ้นมาได้ นอกจากนี้ยังมีอาการของเกิดจ้ำเลือดง่าย อ่อนแรง แขนขาลีบ หน้ากลม ซึ่งเป็นอาการที่ควรพบแพทย์เพิ่อตรวจหาสาเหตุ และรักษาที่ต้นเหตุโดยการ ผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด รังสีรักษา หรือให้รับประทานยาเพียงอย่างเดียวเป็นต้น
6. การเกิดโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome)
เป็นโรคที่ไม่สามารถตรวจพบได้ จนกว่าจะมีอาการ เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ขนดก เป็นสิวมาก เป็นต้น นอกจากนี้ถุงน้ำในรังไข่ที่มากเกินไปยังสร้างฮอร์โมนเพศชายมากขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่ม ความไวต่อฮอร์โมนอินซูลินลดลง ทำให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ เกิดอาการอ่อนแรงขึ้น การรักษาของแพทย์ทำได้โดยการปรับระดับฮอร์โมนที่มีให้อยู่ในภาวะสมดุล
7. ภาวะหัวใจล้มเหลว
อาการของหัวใจล้มเหลวคื่อการที่หัวใจเต้นอ่อนลง เบาลง ทำให้ร่างกายสามารถสูบฉีดเลือดไปได้น้อย เลือดจึงคั่งอยู่บริเวณที่ก่อนหัวใจจะบีบตัว น้ำหนักของร่างกายจึงเพิ่มขึ้นตามปริมาณเลือดที่คั่ง ซึ่งอาจเพิ่มขึ้น 2-3 กิโลกรัมภายใน 1 วัน หรือ 5 กิโลกรัมภายใน 1 สัปดาห์ อาการที่สังเหตุได้คือ เท้าบวม กดบุ๋ม หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก ความดันโลหิตสูง ความจำเสื่อม และสับสน ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจึงควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี
8. ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
อาการนอนกรนเสียงดังหรือรู้สึกง่วงนอนระหว่างวัน เกิดจากการอุดกลั้นของทางเดินหายใจในระยะเวลาเพียงไม่กี่วินาทีระหว่างการนอนหลับ โดยหนึ่งในสาเหตุของภาวะนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน อาจเป็นสัญญาณแสดงถึงภาวะหรือความผิดปกติของร่างกายบางอย่างได้ เช่น การทำงานของตับมีปัญหา ภาวะหัวใจล้มเหลว และความดันโลหิตสูง ซึ่งแพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยเครื่องเป่าความดันลมเพื่อเปิดขยายทางเดินหายใจ (CPAP breathing machine) หรือการรักษาด้วยวิธีอื่นๆต่อไป
9. อาการบวมน้ำ
ภาวะนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีปริมาณน้ำที่มากเกินไป โดยเฉพาะบริเวณแขนและขา ทำให้บริเวณแขนและขาบวม แน่น และขยับได้ลำบากมากขึ้น แต่ไม่เป็นภาวะที่อันตรายหรือร้ายแรงมากนัก อาจให้การรักษาด้วยยาขับปัสสาวะกรณีที่ไม่สามารถหายเองได้ แต่แพทย์ผู้ทำการรักษาควรทำการรักษาโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุของอาการร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคไต หรือโรคปอด เป็นต้น
10. กลุ่มอาการเมตาบอลิก
คือชื่อเรียกรวมกันของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง ที่นอกจากการที่น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงหลายอย่างเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองเป็นต้น ดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิต หรือไขมันให้อยู่ในระดับปกติจึงมีความสำคัญ สามารถทำได้โดยการปรึกษาแพทย์เพิ่อใช้ยา และปรับพฤติกรรมการกินและออกกำลังกาย
11. การเป็นโรคเบาหวาน
ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีการลดลงของการตอบสนองของร่างกายต่ออินซูลินอีกด้วย โดยในการรักษาจะทำการให้ปรับพฤติกรรม ใช้ยารับประทาน จนกระทั่งให้ยาฉีดอินซูลิน นั่นหมายความว่าฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายจะเพิ่มขึ้น ประโยชน์คือจะทำให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ แต่ข้อเสียคือร่างกายจะสะสมพลังงานมากขึ้นทำให้น้ำหนักเพิ่ม อีกทั้งผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะทานอาหารเพิ่มขึ่้นเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงควรใช้ยาและรับประทานอาหารอย่างระมัดระวังและสมดุล
12. การใช้ยาเสตียรอยด์
ในทางการแพทย์มีการใช้เสตียรอยด์ในหลายโรคเช่น ควบคุมการกำเริบของผู้ป่วยโรคหืด รักษาอาการปวดข้อในผู้ป่วยข้ออักเสบ แต่การใช้เสตียรอยด์ในขนาดสูงและเป็นเวลานานนั้น จะทำให้ร่างกายมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น จึงทำให้น้ำหนักเพิ่มได้ หารคุณมีอาการดังกล่าวจึงควรพบแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข
13. ยารักษาโรค
เนื่องจากยารักษาโรคต่างๆจะให้ประโยชน์ในการรักษาและควบคุมอาการแล้ว ยาหลายชนิดส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้จากที่ทั้งทราบและไม่ทราบกลไลของยา เช่นยาบางชนิดกระตุ้นให้มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ยาบางชนิดลดการเผาผลาญไขมันลงเป็นต้น ดังนั้นการซื้อยามารับประทานเองโดยไม่จำเป็น และไม่อยู่ในการดูแลของแพทย์ เป็นสิ่งที่อันตราย ตัวอย่างที่ทานแล้วน้ำหนักอาจจะเพิ่ม เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาป้องกันโรคลมชัก ยาความดันโลหิตสูงบางชนิด เป็นต้น
Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์