Last Updated on 30 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
Last Updated on 30 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
อายุแรกสมรส ของประเทศไทย เทียบกับทั่วโลก
อายุแรกสมรส (Age at First Marriage) หมายถึงอายุของบุคคลเมื่อเข้าสมรสครั้งแรก ในประเทศไทยมีข้อมูลจาก ระบบฐานข้อมูลอนามัยการเจริญพันธุ์ประเทศไทย มีรายงานล่าสุดเมื่อปี 2553 พบว่า คนไทยแต่งงานรวม เฉลี่ยเมื่ออายุประมาณ 28.4 ปี เพศชายแต่งงานช้ากว่า ที่อายุประมาณ 28.3 ปี และเพศหญิงที่ 23.7 ปี
ซึ่งแนวโน้มอายุแรกสมรส หรืออายุเฉลี่ยที่คนไทยแต่งงานนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยตลอดตั้งแต่ปี 2533 (ปีแรกที่เริ่มเก็บสถิติ) โดยปี 2533 พบว่า คนไทยแต่งงานรวม เฉลี่ยเมื่ออายุเพียง 24.7 ปี เพศชายแต่งงานที่อายุประมาณ 25.9 ปี และเพศหญิงที่ 23.5 ปี
รูปแสดงอายุแรกสมรสของประเทศไทย
อายุแรกสมรสของทั่วโลก
ข้อมูลจาก Wikipedia ซึ่งข้อมูลมาจากหลากหลายแหล่ง และปีที่ได้ข้อมูลนั้นค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่ ข้อมูลเก่าปี 1980 ไปจนถึงประเทศที่พัฒนาแล้วก็จะมีข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดในปี 2023
ประเทศที่มีอายุแรกสมรสเฉลี่ยสูงสุดคือ
Country | Men | Women | Average | Age Gap | Age Ratio | Year | Source | |
|
37.1 | 34.9 | 36 | 2.2 | 1.06 | 2023 | [33] | |
|
36.8 | 34.8 | 35.8 | 2 | 1.06 | 2019 | [32] | |
|
36.3 | 33.9 | 35.1 | 2.4 | 1.07 | 2019 | [15] | |
|
37 | 33 | 35 | 4 | 1.12 | 2019 | [7] | |
|
35.6 | 33.6 | 34.6 | 2 | 1.06 | 2019 | [15] | |
|
35.1 | 33.7 | 34.4 | 1.4 | 1.04 | 1991 | [2] | |
|
35.3 | 32.6 | 34 | 2.7 | 1.08 | 2013 | [11] | |
|
34.8 | 33.2 | 34 | 1.6 | 1.05 | 2021 | [2] | |
|
35 | 32.7 | 33.9 | 2.3 | 1.07 | 2019 | [15] | |
|
34.1 | 33.2 | 33.7 | 0.9 | 1.03 | 2015 | [8] |
ประเทศที่มีอายุแรกสมรสเฉลี่ยต่ำสุด คือ
Country | Men | Women | Average | Age Gap | Age Ratio | Year | Source | |
|
21.7 | 17.3 | 19.5 | 4.4 | 1.25 | 2010 | [2] | |
|
22.3 | 17.9 | 20.1 | 4.4 | 1.25 | 2010 | [3] | |
|
22.4 | 18.2 | 20.3 | 4.2 | 1.23 | 2011 | [3] | |
|
22.3 | 18.4 | 20.4 | 3.9 | 1.21 | 2008 | [3] | |
|
24 | 17.2 | 20.6 | 6.8 | 1.4 | 2015 | [2] | |
|
24.3 | 17.9 | 21.1 | 6.4 | 1.36 | 2010 | [3] | |
|
23.4 | 18.7 | 21.1 | 4.7 | 1.25 | 2017 | [2] | |
|
23.4 | 18.9 | 21.2 | 4.5 | 1.24 | 2007 | [3] | |
|
23.7 | 18.7 | 21.2 | 5 | 1.27 | 2007 | [3] | |
|
23.8 | 18.7 | 21.3 | 5.1 | 1.27 | 2006 | [3] |
รูปแสดงอายุแรกสมรส เปรียบเทียบทั่วโลก
สีน้ำเงินอายุมาก สีเขียวอายุน้อย
By BlacknoseDace – Own work, CC BY-SA 4.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=92562922
สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทั่วโลก พบว่าอยู่ในระดับกลางๆ โดย อยู่ในอันดับที่ 76
ความสำคัญของอายุแรกสมรส
1. สุขภาพและการมีบุตร
อายุที่สมรสเป็นปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของทั้งบิดา มารดา และทารกในครรภ์ โดยทั่วไปผู้ที่สมรสในช่วงอายุที่เหมาะสมมีโอกาสในการมีบุตรที่สุขภาพดี และลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพทั้งแม่และเด็ก การสมรสในวัยที่มีอายุเยอะขึ้นอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยากและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางอย่าง
2. การศึกษาและการพัฒนาอาชีพ
การสมรสในช่วงวัยที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น สามารถส่งผลดีต่อการศึกษาและการพัฒนาอาชีพได้ ในทางกลับกันหากมีอัตราการสมรสในอายุน้อย ก็อาจจะทำให้ขาดโอกาสในการเข้ารับการศึกษาในระดับสูง และทำให้โอกาสในการสร้างฐานะทางการเงินที่มั่นคงมีน้อยลง
3. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
สมรสในช่วงวัยที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นสามารถส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของครอบครัวและสังคม โดยการลดปัญหาทางการเงินและความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงในครอบครัว ลดปัญหาการหย่าร้าง การทอดทิ้งเด็ก การทารุณกรรมในเด็กลงได้
4. การพัฒนาจิตใจและความสัมพันธ์
การสมรสในวัยที่มีวุฒิภาวะมากขึ้นช่วยให้คู่สมรสสามารถรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตคู่ได้ดีกว่า ช่วยให้มีความเข้าใจและสนับสนุนซึ่งกันและกันในช่วงเวลาที่ยากลำบากได้มากกว่า นอกจากนี้ยังเพิ่ม
โดยทั่วไป อายุแรกสมรสที่เหมาะสมสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ในระยะยาว
อายุแรกสมรสที่เหมาะสม คือกี่ปี
ยังไม่มีระบุว่าอายุแรกสมรสที่เหมาะสม คือกี่ปี แต่จากบทความของนิตยสาร Time ในปี 2015 ได้กล่าวถึงสถิติการสมรสจากรายงานผลการศึกษาของ Nick Wolfinger นักสังคมวิทยาจาก Utah University ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นชีวิตคู่คือ 28-32 ปี โดยผู้วิจัยนำข้อมูลการสำรวจสภาวะครอบครัวชาวอเมริกันระหว่างปี 2006-2010 และ 2011-2013 มาวิเคราะห์ และพบว่าคู่แต่งงานที่อยู่ในช่วงวัยนี้มีอัตราการหย่าร้างต่ำกว่าผู้ที่แต่งงานในช่วงวัยอื่น โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกหลังจากแต่งงานมีอัตราการแยกทางน้อยมาก
อายุแรกที่เหมาะสมในการมีบุตร คือกี่ปี
สำหรับอายุที่เหมาะสมในการมีบุตร คือ ช่วงปลาย 20 ถึงต้น 30 จะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด มีบางรายงานการศึกษาพบว่าช่วงอายุ 30.5 ปี เป็นช่วงที่ดีที่สุด เพราะถ้าคุณแม่อายุน้อย (15-19 ปี) ก็มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้เหมือนกัน ทั้งจากสภาพร่างกายที่ยังไม่พร้อมตามธรรมชาติ และทางด้านจิตใจทั้งช่วงตั้งครรภ์ ช่วงคลอด และหลังคลอด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ภาวะตกเลือดหลังคลอด และสำหรับตัวเด็กในท้องก็เสี่ยงต่อภาวะทารกโตช้า ภาวะโครโมโซมผิดปกติ หรือกลุ่มอาการดาวน์
สรุป
การแต่งงานและการมีบุตรเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตของคู่สมรส ไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย การตัดสินใจที่จะมีลูกควรมาพร้อมกับการดูแลสุขภาพของทั้งพ่อและแม่เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ การฝากครรภ์และการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อพ่อแม่มีอายุมากขึ้น การฝากครรภ์จะช่วยให้แพทย์สามารถติดตามการพัฒนาของทารกและตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
สำหรับพ่อที่มีอายุมากขึ้น ควรตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของลูกในครรภ์ เช่น การกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยวและความผิดปกติทางจิต การตรวจสุขภาพและการรับคำปรึกษาจากแพทย์เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ในทำนองเดียวกัน แม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี จะมีความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมในทารกเพิ่มขึ้น การฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอและการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการมีทารกที่แข็งแรง
ดังนั้น ไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย แต่งงานช้าหรือเร็ว หากตั้งครรภ์แล้ว การดูแลรักษาและการฝากครรภ์อย่างดีเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดีและลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติต่างๆ การเตรียมตัวและการดูแลสุขภาพตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์จะเป็นก้าวสำคัญในการสร้างครอบครัวที่มีสุขภาพดีและแข็งแรง
References
1. | Math says this is the perfect age to get married. Time [Internet]. [cited 2024 Jul 30]; Available from: https://time.com/3966588/marriage-wedding-best-age/ |
2. | Mirowsky J. Parenthood and health: The pivotal and optimal age at first birth. Soc Forces [Internet]. 2002 [cited 2024 Jul 30];81(1):315–49. Available from: https://academic.oup.com/sf/article-abstract/81/1/315/2234500 |
3. | Wikipedia.org. [cited 2024 Jul 30]. Available from: https://th.wikipedia.org/wiki/อายุแรกสมรส |
4. | อายุเฉลี่ยเมื่อแรกสมรส จากสำมะโน [Internet]. Data.go.th. [cited 2024 Jul 30]. Available from: https://data.go.th/dataset/os_01_00040 |
5. | บัวทอง ธ, โพธิศิริ ว. ความสัมพันธ์ระหว่าง การศึกษา อายุแรกสมรส และภาวะเจริญพันธุ์สมรส. J SocHu UBU [Internet]. 2020 [cited 2024 Jul 30];11(1):25–51. Available from: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/229253 |
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/