Last Updated on 16 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

พ่อและแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียแบบไหน ที่ไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

เนื้อหาในบทความนี้

Last Updated on 16 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ดาวน์ซินโดรม และ ธาลัสซีเมียคืออะไร

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (Down syndrome screening) เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดที่สำคัญสำหรับครอบครัว เพื่อตรวจสอบความเสี่ยงที่ลูกน้อยอาจมีภาวะโครโมโซมผิดปกติ โดยหนึ่งในภาวะที่มักจะถูกตรวจคัดกรองคือดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) ซึ่งเกิดจากการมีโครโมโซมที่ 21 เพิ่มขึ้นมา 1 ชุด ทำให้มีโครโมโซมที่ 21 ทั้งหมด 3 ชิ้นแทนที่จะเป็น 2 ชิ้นตามปกติ

ในบริบทของการเป็นพาหะสำหรับธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับความผิดปกติของเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) คำถามที่เกิดขึ้นคือผู้ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียและมีโอกาสส่งต่อธาลัสซีเมียให้กับลูกหลาน ควรตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมหรือไม่

ความเชื่อมโยงระหว่างธาลัสซีเมียและดาวน์ซินโดรม

การเป็นพาหะธาลัสซีเมียไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการมีบุตรที่มีดาวน์ซินโดรม ธาลัสซีเมียและดาวน์ซินโดรมเป็นสองภาวะที่มีสาเหตุและกระบวนการทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดาวน์ซินโดรมเกิดจากความผิดปกติใน “โครโมโซม” คู่ที่ 21 ในขณะที่ธาลัสซีเมียเกิดจากการมีความผิดปกติใน “ยีน” ที่ควบคุมการผลิตเฮโมโกลบิน ซึ่งอยู่บนโครโมโซมอื่น ดังนั้น การเป็นพาหะของธาลัสซีเมียไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความเสี่ยงของการมีลูกที่มีดาวน์ซินโดรม

พ่อ-แม่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ได้ไหม

การที่คุณแม่หรือคุณพ่อ ท่านใดท่านหนึ่งหรือทั้งสองท่าน เป็นพาหะธาลัสซีเมียนั้น สามารถตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมและโครโมโซมได้ตามปกติ ตัวโรคธาลัสซีเมียไม่ได้มีผลกระทบจะทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมผิดพลาดแต่อย่างใด (อ่านเพิ่ม : 7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดพลาด)

แต่อย่างไรก็ตามหากว่าทั้งคุณพ่อ-คุณแม่เป็นโรคธาลัสซีเมียบางอย่าง หรือเป็นพาหะธาลัสซีเมียบางอย่าง ที่อาจจะถ่ายทอดทำให้ลูกเป็นธาลัสซีเมียแบบรุนแรง (Thalassemia major) ก็ไม่ควรจะตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมหรือโครโมโซม เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องไปเจาะตรวจน้ำคร่ำ (โอกาสแท้ง 0.5%) หรือตรวจเลือดสายสะดือ (โอกาสแท้ง 1.5%-3%) เพื่อทำการวินิจฉัยภาวะธาลัสซีเมียรุนแรงของทารกในครรภ์ ซึ่งการเจาะตรวจทั้งสองแบบที่กล่าวมานี้ สามารถตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์ได้เลย จึงไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

สำหรับรายละเอียด สามารถอ่านเพิ่มได้ที่นี่ : เป็นธาลัสซีเมีย ตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้ไหม

ธาลัสซีเมียรุนแรง (Thalassemia major)

ธาลัสซีเมียรุนแรง จะมีอาการดังนี้ เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติไปและแตกง่าย ผู้ป่วยจึงมีอาการซีดเรื้อรัง มีอาการของดีซ่าน มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูก ตับและม้ามโตซึ่งเป็นกลไกของการพยายามสร้างเม็ดเลือดแดงทดแทนด้วยส่วนหนึ่ง และเป็นภาวะที่เกิดตามหลังการแตกของเม็ดเลือดแดงด้วย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาในหลายระบบของร่างกาย

ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการซีดตั้งแต่อายุน้อยกว่า 1 ปี ตับและม้ามโตมาก มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกและมีการเจริญเติบโตช้า ผู้ป่วยมักมีระดับฮีโมโกลบิน
ต่ำถึง 3-5 กรัมต่อเดซิลิตร (Hematocrit 15-25%) กลุ่มผู้ป่วยที่มักจัดเป็น thalassemia major ได้แก่ ผู้ป่วยโฮโมซัยกัส เบต้าธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยเบต้า-ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี บางราย และผู้ป่วยโรคฮีโมโกลบิน เอช ในบางรายซึ่งพบน้อย

กลุ่มนี้ให้การรักษาโดยการให้เลือดอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาระดับของฮีโมโกลบินก่อนเติมเลือด (pre-transfusion hemoglobin) ประมาณ 9.0-10.5 กรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งเป็นระดับที่สามารถ suppress ineffective erythropoiesis โดยให้เลือดทุกๆ 3-5 สัปดาห์ และให้ยาขับธาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอ ให้ folic acid เสริม พิจารณาตัดม้ามในผู้ป่วยบางราย เผ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆในระยะยาว และให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุกรรมแก่ผู้ป่วยและครอบครัว

รูปลักษณะของผู้ที่เป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง

ที่มา : https://medthai.com/ธาลัสซีเมีย

ธาลัสซีเมียรุนแรง คือ ทารกที่มีลักษณะของยีนผิดปกติ ที่ทำให้การสร้างฮีโมโกลบินผิดปกติ จนเกิดโลหิตจางรุนแรง จะมี อยู่ 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ

  1. ฮีโมโกลบินบาร์ท (Hb Bart’s) (–/–)
  2. โรคเบต้า-ธาลัสซีเมีย เมเจอร์ (b-thalassemia major) หรือ โฮโมซัยกัส เบต้าธาลัสซีเมีย (B0/B0)
  3. โรคเบต้า-ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี (beta-thal/Hb E) บางราย
  4. ฮีโมโกลบิน เอช (–/-a) ในบางราย (ซึ่งพบน้อย)

พ่อ-แม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียแบบไหน ที่ไม่ควรตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

สำหรับคุณพ่อ-คุณแม่ ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย จะมีโอกาสถ่ายทอดยีนของตนเองไปสู่ลูกได้ ซึ่งพาหะบางชนิด อาจจะถ่ายทอดไปจนทำให้ลูกที่เกิดมีภาวะโลหิตจางรุนแรง หรือเรียกว่า ธาลัสซีเมียเมเจอร์ (Thalassemia major) ได้ ซึ่งตารางต่อไปนี้ จะแสดงคู่เสี่ยงที่ลูกจะมีโอกาสเป็นธาลัสซีเมียรุนแรง และไม่ควรตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แต่ควรตรวจเพื่อวินิจฉัยธาลัสซีเมีย ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรมไปพร้อมๆกันได้

ตารางแสดง ชนิดของพาหะธาลัสซีเมียในคู่สามีภรรยาที่เสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคชนิดรุนแรง
ที่มา : การควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงด้วยวิธีก่อนคลอด
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561

หรือสรุปง่ายๆ คือ

  • หากคุณพ่อหรือคุณแม่ เป็นพาหะหรือเป็นโรคธาลัสซีเมีย แค่คนใดคนหนึ่ง โดยอีกคนปกติ ทารกในครรภ์ จะไม่มีโอกาสเป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงเลย
  • เป็นโรคธาลัสซีเมียทั้งสองคน ก็จะมีโอกาสที่ลูกจะเป็นธาลัสซีเมียแบบรุนแรงได้
  • เป็นโรคธาลัสซีเมีย 1 คน และอีกคนเป็นพาหะ ก็จะมีโอกาสที่ลูกจะเป็นธาลัสซีเมียแบบรุนแรงได้
  • เป็นพาหะธาลัสซีเมียทั้งสองคน ก็จะมีโอกาสที่ลูกจะเป็นธาลัสซีเมียแบบรุนแรงได้

ซึ่งในรายละเอียด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ทำการฝากครรภ์ หรือหากไม่แน่ใจ คุณพ่อ-คุณแม่ สามารถ Add Line เพื่อปรึกษาเรื่องเกี่ยวกับธาลัสซีเมียของลูกในครรภ์กับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญของเฮลท์สไมล์ได้ ตามช่องทางนี้ค่ะ โดยมีค่าแพทย์ปรึกษา 500 บาทค่ะ

📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการปรึกษาแพทย์ได้ที่
Line ID : @Healthsmile
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/NIFTY-content

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง