ใบส่งตรวจ NIFTY®️ คัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมทารกในครรภ์ มีข้อมูลอะไรบ้าง Update 2023
อัพเดท 26 เมษายน 2566
update 26 April 2023
คุณแม่ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมทารกในครรภ์ (Non-invasive prenatal testing : NIPT) กับทาง Brand NIFTY®️ (แพคเกจตรวจดาวน์ซินโดรม นิฟตี้ NIFTY NIPT คุ้มค่า สะดวก) อาจจะสงสัยว่า ใบเอกสารที่คุณแม่กรอก และเซนต์ชื่อเพื่อเข้ารับการเจาะเลือดตรวจนั้นมีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง
ในบทความนี้ ทางทีมงาน เฮลท์สไมล์ จะขอนำเสนอเกี่ยวกับใบส่งตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมทารกในครรภ์ แบรนด์ NIFTY®️ อย่างละเอียดเลยค่ะ
โดยเอกสารที่เราจะอ้างอิงในบทความนี้ จะเป็นใบส่งตรวจ NIFTY®️ ที่ update ล่าสุดจากทางบริษัท แบงคอกจีโนมิกส์อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ตรวจ NIPT แบรนด์ NIFTY®️ เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ออกเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 ค่ะ ดังนั้น หากกรณีที่คุณแม่เข้ารับบริการตรวจกับบางสถานพยาบาล แล้วรูปร่างเอกสารไม่เหมือนกัน ก็ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะว่าอาจจะเป็นเอกสารรุ่นก่อนหน้า ก็สามารถส่งตรวจได้เหมือนกันค่ะ
แต่ที่สำคัญคือ บางสถานพยาบาลอาจจะแอบอ้างว่าเป็นของ NIFTY®️ แต่ว่าไปตรวจของแบรนด์อื่นๆให้กับคุณแม่ ดังนั้น ก่อนอื่น ต้องดูให้ชัดเจนนะคะว่ามีสัญลักษณ์ของทาง NIFTY®️ อยู่ในใบส่งตรวจค่ะ
ใบส่งตรวจ NIFTY®️ รุ่นใหม่นี้ มีทั้งหมด 5 หน้าค่ะ
หน้าที่ 1 รายละเอียดของมารดาผู้เข้ารับการตรวจ
หน้าแรกนี้ จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลของคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละท่าน โดยแบ่งออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
ส่วนเลือกแพคเกจ
จะเป็นส่วนที่เลือกว่าจะตรวจแพคเกจใน โดยในครรภ์เดี่ยว (มีทารกในครรภ์คนเดียว) ทาง NIFTY จะมีแพคเกจให้เลือกอยู่ 3 แพคเกจ ดังนี้ (สามารถคลิกที่ชื่อแพคเกจเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยนะคะ)
- NIFTY Focus : ตรวจได้ 5 โครโมโซม
- NIFTY Core : ตรวจได้ 23 โครโมโซม
- NIFTY Pro : ตรวจได้ 23 โครโมโซม และตรวจ ภาวะขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้ (Deletion / Duplication syndromes) (อ่านเพิ่ม : NIFTY®️ Pro เพิ่มรายการตรวจ deletion/duplication จาก 84 เป็น 92 รายการแล้ว)
- NIFTY Twin
ส่วนครรภ์แฝด จะตรวจได้เฉพาะครรภ์แฝด 2 คนเท่านั้น ไม่สามารถตรวจครรภ์แฝด 3 ขึ้นไปได้ค่ะ จะมีอยู่เพียงแพคเกจเดียว คือ NIFTY Twin : ตรวจได้ 3 โครโมโซม และตรวจหาโครโมโซม Y
Patient Information
ส่วนนี้จะเป็นข้อมูลส่วนตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่
-
- ชื่อ-นามสกุล : กรอกเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่
-
- เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เลขหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นคนต่างชาติ)
-
- วัน – เดือน – ปีเกิด (คริสตศักราช)
-
- เบอร์โทรศัพท์
-
- อายุ
-
- น้ำหนัก – ส่วนสูง
-
- Referral reason เหตุผลในการตรวจ (ไม่จำเป็นต้องกรอก)
Pregnancy Information
โดยส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะเป็นผู้กรอกข้อมูลให้
-
- USG Date : วันที่อัลตราซาวนด์ หากจำไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องกรอก
-
- Working EDC Date : วันกำหนดคลอด คุณแม่สามารถดูได้จากสมุดฝากครรภ์ได้ โดยเราสามารถคำนวณอายุครรภ์จากวันกำหนดคลอดได้ทีเว็บไซต์นี้ https://www.mdcalc.com/calc/423/pregnancy-due-dates-calculator
-
- Gestational Week : อายุครรภ์ ณ วันเจาะเลือด
-
- IVF : Invitro fertilization คือ เป็นการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้วหรือไม่
ICSI : Intracytoplasmic Sperm Injection คือ
หมายเหตุ ICSI เป็นการทำให้เกิดการปฏิสนธิแบบเจาะจง โดยเอาตัวสเปิร์มใส่เข้าไปในไข่เลย ส่วน IVF เป็น การปล่อยให้ไข่และสเปิร์มผสมกันเอง
- IVF : Invitro fertilization คือ เป็นการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้วหรือไม่
-
- Singleton : ครรภ์เดี่ยว
Twin pregnancy : ครรภ์แฝด
- Singleton : ครรภ์เดี่ยว
-
- Diagnosed with vanishing twin syndrome : คือการที่เคยได้รับวินิจฉัยว่าเป็นแฝด แต่หลังจากนั้นมีตัวอ่อนตัวใดตัวหนึ่งฝ่อหายไป หรือไม่เจริญเติบโตต่อ ซึ่งกรณีนี้ อาจทำให้ผลคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากอาจมีส่วนของ DNA ของตัวอ่อนที่ฝ่อไปมาปะปนในการตรวจ
โดยทั่วไป เราจะแนะนำให้ตรวจหลังจากที่ตัวอ่อนฝ่อไปแล้วนานเกิน 8 สัปดาห์ เพื่อป้องการความคลาดเคลื่อนของผล
- Diagnosed with vanishing twin syndrome : คือการที่เคยได้รับวินิจฉัยว่าเป็นแฝด แต่หลังจากนั้นมีตัวอ่อนตัวใดตัวหนึ่งฝ่อหายไป หรือไม่เจริญเติบโตต่อ ซึ่งกรณีนี้ อาจทำให้ผลคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากอาจมีส่วนของ DNA ของตัวอ่อนที่ฝ่อไปมาปะปนในการตรวจ
-
- Date of Last Delivery / Abortion : วัน-เดือน-ปี ที่เคยคลอดหรือแท้งบุตรคนที่แล้ว เนื่องจากหากตั้งครรภ์ต่อในระยะเวลาใกล้กันมาก อาจจะทำให้มีเศษของ DNA จากทารกคนก่อนหลงเหลืออยู่ในเลือดของมารดา ทำให้ผลคลาดเคลื่อนได้
Patient’s Medical Condition
ส่วนนี้จะเป็นข้อจำกัดต่างๆในการตรวจ NIPT เนื่องจากคุณแม่ที่มีภาวะดังกล่าว จะมีโอกาสทำให้ผลคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากสาเหตุต่างๆที่มีในส่วนนี้ จะทำให้มี DNA อื่นมาปะปน หรือทำให้ปริมาณ DNA ของทารกในเลือดคุณแม่มีน้อย หรือมีผลอื่นๆทำให้ผลตรวจผิดได้
แต่ทั้งนี้ บางข้ออาจจะตรวจได้ แต่ต้องระมัดระวังในการแปลผล แต่บางข้อ เช่น ข้อ 1, 3 อาจจะไม่สามารถตรวจได้เลย
โดยมีทั้งหมด 7 ข้อ ดังนี้
1. Received allogeneic blood การได้รับเลือดจากผู้อื่น ต้องได้รับมานานมากกว่า 1 ปีก่อนเจาะเลือด
2. Received heparin ได้รับการรักษาโรคด้วยเฮพาริน ต้องมากกว่า 24 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด
สำหรับชื่อยาที่เกี่ยวข้องกับข้อนี้ ได้แก่
– ยา Warfarin เช่น มาฟอแรน (Maforan®) ออฟาริน (Orfarin®) เป็นต้น
– ยา Low molecular weight heparin เช่น Enoxaparin, Clexane เป็นต้น
– ยาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแข็งตัวของเลือด ควรปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์
3. Received immunotherapy and/or human serum albumin therapy ได้รับภูมิคุ้มกันบำบัด หรือการรักษาโรคด้วยซีรั่มอัลบูมิน ต้องได้รับมากกว่า 4 สัปดาห์ก่อนเจาะเลือด
4. Pregnancy with tumor(s) and or had a history of tumor(s) ผู้รับบริการมีเนื้องอกหรือเคยมีประวัติมีเนื้องอก เนื่องจากเนื้องอกหรือมะเร็งอาจจะมีลักษณะ DNA ที่แตกต่างจากมารดา และทารกในครรภ์ ทำให้ผลตรวจผิดพลาดได้
5. Testee or Family has history of genetic disease(s) or syndrome(s): ผู้รับบริการหรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคทางพันธุกรรม
6. Abnormal Reproductive History : มีประวัติความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์
7. Abnormal results of other prenatal screening tests : พบความผิดปกติจากการตรวจคัดกรองระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ตรวจ Quadruple test ผลพบเป็น High risk, อัลตราซาวนด์พบผนังต้นคอหนา เป็นต้น
สำหรับข้อห้ามที่ไม่สามารถตรวจ NIPT ได้เลย คุณแม่สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้ค่ะ : 7 ข้อห้ามของคุณแม่ ที่ไม่สามารถตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้
Hospital / Clinic Information
เป็นรายละเอียดของโรงพยาบาล หรือคลินิก ที่ทำการส่งตรวจ ข้อมูลตรงนี้โดยส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะเป็นผู้กรอกข้อมูลให้
Sample Information
เป็นช่องสำหรับกรอกข้อมูลว่านำส่งเลือดคุณแม่แบบใด ข้อมูลตรงนี้โดยส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะเป็นผู้กรอกข้อมูลให้
-
- Sample type : ชนิดของสิ่งส่งตรวจ แบ่งเป็นสองชนิด คือ
-
- Whole blood คือ ส่งเป็นเลือดที่ไม่ได้ผ่านการปั่นแยก
-
- Plasma คือ ส่งเลือดที่ผ่านการปั่นแยก Plasma ออกมาจากเลือดแล้ว
โดยปกติ การเจาะตรวจ NIPT มักจะใช้ Whole blood ซึ่งผลที่ได้ก็จะไม่ได้แตกต่างกัน
- Plasma คือ ส่งเลือดที่ผ่านการปั่นแยก Plasma ออกมาจากเลือดแล้ว
-
- Sample type : ชนิดของสิ่งส่งตรวจ แบ่งเป็นสองชนิด คือ
-
- Blood collection date : วันที่เจาะเลือด หากเกิน 7 วันจะไม่รับตรวจ, หากเกิน 96 ชั่วโมง (4 วัน) ก็สามารถตรวจได้ แต่จะต้องเซ็นต์เอกสารรับรอง Special sample concession เพิ่มเติม (อ่านรายละเอียดเพิ่มในหัวข้อถัดไป Special sample concession)
Gender Requested
ส่วนนี้เป็นความต้องการของมารดาว่าต้องการทราบเพศของทารกในครรภ์หรือไม่ ใช้สำหรับการตรวจในครรภ์เดี่ยวเท่านั้น เนื่องจากในครรภ์แฝด จะรายงานผลเพียงพบโครโมโซม Y หรือไม่ หากพบ ทารกในครรภ์ก็อาจจะเป็น ชาย/ชาย หรือ ชาย/หญิง ก็ได้
ในกรณีที่ไม่ได้ติ๊กว่าต้องการทราบเพศหรือไม่ จะถือว่าคุณแม่ต้องการทราบ และจะรายงานผลเพศในใบรายงานผลเสมอ
Special Sample Concessions
ส่วนนี้เป็นส่วนสำหรับเจ้าหน้าที่ ที่จะต้องแจ้งข้อมูลให้คุณแม่ตตั้งครรภ์ทราบ ถึงข้อจำกัดบางอย่างที่อาจทำให้เลือดไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพการรับสิ่งส่งตรวจ ซึ่งโดยปกติแม้จะเข้าเกณฑ์ของทั้งสามข้อดังกล่าวก็อาจจะสามารถตรวจและรายงานผลได้ แต่หากผลตรวจไม่สามารถออกได้ก็จำเป็นจะต้องเจาะเลือดใหม่ซ้ำอีกครั้ง
โดย 3 ข้อที่คุณแม่อาจจะต้องเจาะเลือดซ้ำ มีดังนี้
-
- ตัวอย่างอาจถึงห้องปฏิบัติการเกิน 96 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 7 วัน :
โดยปกติหลอดเลือดที่ใช้เก็บเลือดคุณแม่จะเรียกว่า Streck tube ซึ่งเป็นหลอดเลือดชนิดพิเศษ (จุกปิดหลอดเลือดเป็นลายทหารสีน้ำตาล/ดำ) สามารถเก็บเลือดเพื่อตรวจหา Cell free DNA ไว้ได้นานถึง 7 วัน (ซึ่งโดยปกติ ทางเฮลท์สไมล์ของเรา จะจัดส่งเลือดไปยังศูนย์ตรวจทุกวัน คุณแม่จึงไม่ต้องกังวลในข้อนี้) แต่ในบางสถานพยาบาล ที่ต้องการประหยัดค่าส่ง อาจจะเก็บเลือดไว้นาน เพื่อรวมส่งทีเดียวพร้อมกัน ทำให้อาจจะส่งเลือดล้าช้าได้ ซึ่งถ้าเลือดมาถึงที่ศูนย์ตรวจเกิน 7 วัน ทางศูนย์จะไม่รับเลือดเพื่อตรวจต้องเจาะเลือดคุณแม่เพื่อส่งตรวจใหม่เท่านั้น
- ตัวอย่างอาจถึงห้องปฏิบัติการเกิน 96 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 7 วัน :
-
- อายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ หรือมากกว่า 24 สัปดาห์ :
อายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ อาจจะมีปริมาณ Cell free DNA ของทารกในเลือดคุณแม่น้อยเกินไป ทำให้ไม่สามารถรายงานผลได้ ต้องเจาะเลือดตรวจซ้ำอีกครั้ง
ส่วนกรณีอายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์ ทางการแพทย์จะถือว่าไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้หากความผิดปกตินั้นไม่ได้ทำให้ทารกในครรภ์พิการรุนแรง (เว้นแต่ถ้าความผิดปกตินั้นรุนแรง ก็สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ทุกอายุครรภ์) ดังนั้น ถ้าคุณแม้ตรวจหลัง 24 สัปดาห์ ก็อาจจะไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้
- อายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ หรือมากกว่า 24 สัปดาห์ :
-
- ค่า BMI มากกว่า 40 :
คุณแม่สามารถเข้าไปคำนวณค่า BMI ของตนเองได้ที่ลิงค์นี้ : https://www.mdcalc.com/calc/29/body-mass-index-bmi-body-surface-area-bsa
ในคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ จะทำให้สัดส่วนเปอร์เซนต์ของ cell free DNA ของทารกที่ลอยอยู่ในเลือดคุณแม่มีน้อย จึงอาจจะทำให้ไม่สามารถออกผลได้
- ค่า BMI มากกว่า 40 :
ในส่วนนี้ สำคัญที่คุณแม่จะต้องเซ็นชื่อลงในช่อง Testee signature
หน้า 2 เอกสารยืนยันการขอตรวจ (Confirmation Statement)
หน้านี้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการตรวจ NIPT แบรนด์ NIFTY โดยมีการบอกถึงสิ่งที่ตรวจได้ และข้อจำกัดต่างๆของการตรวจ มีการอ้างอิงถึงข้อมูลและงานวิจัยทางการแพทย์ต่างๆ และการขอเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงข้อมูลทางพันธุกรรมของคุณแม่เพื่อนำไปใช้ในการตรวจวิเคราะห์ผล และประโยชน์ด้านอื่นๆ ตามกฏหมาย PDPA ซึ่งคุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดได้ตามรูปด้านบน
สำหรับสิ่งสำคัญในหน้าที่ 2 นี้ ทางทีมงานสรุปให้ดังนี้
ส่วนของข้อมูลการตรวจ และข้อจำกัดของการตรวจ
-
- การตรวจ NIFTY เหมาะกับอายุครรภ์ที่ 10-24 สัปดาห์
-
- การตรวจ Deletion/Duplication syndrome ใน Package NIFTY Pro นั้น เนื่องจากข้อมูลยังมีจำกัด (เคสที่ทารกตรวจพบความผิดปกติมีน้อย) จึงอาจเกิดผลลบลวง หรือผลบวกลวงได้
-
- หากตรวจ NIFTY แล้วผลผิดปกติ ต้องยืนยันผลด้วยการตรวจวินิจฉัย (อ่านเพิ่ม : ผลตรวจ NIFTY หรือ ผลตรวจ NIPT ผิดปกติ ต้องทำอย่างไรต่อ?)
-
- ข้อจำกัดที่มีความผิดปกติของโครโมโซมบางอย่าง, ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนเดียว หรือหลายๆ ยีน (monogenic/polygenic disease) เหล่านี้จะไม่สามารถตรวจคัดกรองได้ และ NIFTY ไม่สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติในภาวะที่มีลักษณะทางพันธุกรรมมากกว่า 1 แบบในคนเดียวกัน (Mosaicism) ได้
-
- สาเหตุของผลบวกลวง หรือผลลบลวง (อ่านต่อ : 7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดพลาด)
-
- บางกรณีจำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจซ้ำ
ส่วนของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ต้องขออนุญาตเจ้าของข้อมูลตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (กฎหมาย PDPA)
-
- จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้ข้อมูลทางพันธุกรรม เพื่อการตรวจ และการพัฒนา การประกันคุณภาพของห้องปฏิบัติการ โดยจะเก็บข้อมูลเป็นข้อมูลนิรนาม เพื่อปกปิดข้อมูลส่วนบุคคล
-
- เอกสาร และสิ่งส่งตรวจของคุณแม่จะถูกเก็บรักษาเป็นเวลา 2 ปี นับจากวันที่ได้รับสิ่งส่งตรวจ ส่วนรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลในระบบจะถูกเก็บไว้เป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่ได้รับสิ่งส่งตรวจ
-
- BGI จะเก็บรักษาข้อมูลทางพันธุกรรมของคุณแม่เป็นเวลา 5 ปี ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานการบริการเวชศาสตร์จีโนมของสถานพยาบาล
-
- ทาง BGI จึงจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณแม่ ไปยัง บริษัท People’s Insurance Company of China (PICC) ซึ่งเป็นบริษัทที่รับประกันผลการตรวจ NIFTY เพื่อให้คุณแม่ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขในการเอาประกันอย่างสมบูรณ์
หน้า 3 เอกสารยืนยันการขอตรวจ (Confirmation Statement) (ต่อ)
หน้าที่ 3 นี้ ส่วนบนจะเป็นเกี่ยวกับการใให้ความยินยอมเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้ข้อมูลทางพันธุกรรม เพื่อการตรวจ ต่อเนื่องจากหน้าที่ 2
โดยจะมีส่วนที่ให้คุณแม่กรอกความยินยอมอยู่ 2 ข้อ ดังนี้
1. ยินยอมให้ BGI และบริษัทในเครือเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งข้อมูลแบบประเมินความพึงพอใจ ข่าวประชาสัมพันธ์ โฆษณา เนื้อหาส่งเสริมการขาย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บริการ และข้อเสนอพิเศษอื่น ๆ ให้กับคุณแม่
-
- ข้อนี้จะยินยอมหรือไม่ก็ได้
2. ยินยอมให้ BGI เก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งส่งตรวจและสุขภาพของคุณแม่ เพื่อให้ BGI สามารถให้บริการการตรวจ NIFTY แก่คุณแม่
-
- ข้อนี้ จำเป็นต้องติ๊กยินยอม มิฉะนั้นจะไม่สามารถตรวจ NIFTY ได้
คำชี้แจงของบุคลากรทางการแพทย์
ส่วนนี้ของหน้าที่ 3 จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลของการตรวจ ที่หากคุณแม่เลือกตรวจกับ เฮลท์สไมล์ ก็สามารถสอบถามข้อมูลเชิงลึกกับทางเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของ เฮลท์สไมล์ ได้
หากคุณแม่ไม่ได้ตรวจกับเรา ก็สามารถสอบถามยังโรงพยาบาล หรือคลินิกที่คุณแม่เข้ารับบริการได้เช่นกัน
หน้า 4-5 เอกสารยินยอมการเอาประกันของ PICC สำหรับการตรวจ NIFTY
สองหน้านี้จะเป็นเอกสารเกี่ยวกับการรับประกันของ NIFTY ซึ่งคุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดได้ใน ประกันของการตรวจ NIFTY Focus , NIFTY Core และ NIFTY Pro มีรายละเอียดอย่างไร อย่างไหนจ่าย อย่างไหนไม่อยู่ในประกัน?
และเซ็นในช่อง Signature of Testee
สรุปสิ่งที่คุณแม่ต้องกรอกข้อมูลในการเข้ารับการตรวจ NIFTY
-
- หน้า 1
-
- กรอกข้อมูลส่วนบุคคลในช่อง Patient Information
-
- เซ็นชื่อในช่อง Special Sample Concessions
-
- หน้า 1
-
- หน้า 3
-
- ติ๊กแสดงความยินยอม / ไม่ยินยอม ให้ BGI เก็บข้อมูลส่วนบุคคล
-
- ติ๊กยินยอมเท่านั้น ให้ BGI เก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งส่งตรวจและสุขภาพของคุณแม่ เพื่อให้ BGI สามารถ NIFTY ให้คุณแม่ได้
-
- เซ็นชื่อในช่อง ลายเซ็นผู้รับบริการ
-
- หน้า 3
-
- หน้า 4
-
- เซ็นชื่อในช่อง ลายเซ็นผู้รับบริการ
-
- หน้า 4