Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

อัลตราซาวนด์ไตรมาสแรก (อายุครรภ์ 0-12 สัปดาห์) มีประโยชน์อย่างไร

รูปต้นบทความ อัลตราซาวนด์ไตรมาสแรก (อายุครรภ์ 0-12 สัปดาห์) มีประโยชน์อย่างไร

อัลตราซาวนด์ไตรมาสแรก (อายุครรภ์ 0-12 สัปดาห์) มีประโยชน์อย่างไร

อัลตราซาวนด์ไตรมาสแรก (อายุครรภ์ 0-12 สัปดาห์) มีประโยชน์อย่างไร

คุณแม่ที่ทราบว่าตั้งครรภ์ คงอยากจะรู้ว่าลูกในครรภ์นั้นแข็งแรงดีไหม มีอะไรผิดปกติหรือไม่ การอัลตราซาวนด์นั้นก็มีประโยชน์ในการดูโครงสร้างและความผิดปกติของทารกในครรภ์ สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงการอัลตราซาวนด์ไตรมาสแรก (อายุครรภ์ 0-12 สัปดาห์) เห็นอะไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร

1. การยืนยันการตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์นั้น มีทั้งการตั้งครรภ์ที่ปกติและผิดปกติ ในครรภ์ปกติหากได้อัลตราซาวนด์ก็จะสามารถเห็นถุงการตั้งครรภ์ (gestational sac) และตัวอ่อน (embryo) รวมถึงหากอายุครรภ์มากกว่า 6 สัปดาห์แล้วก็จะเห็นการเต้นของหัวใจตัวอ่อนในครรภ์ ทำให้สามารถยืนยันได้ว่ามีการตั้งครรภ์ แต่หากมีความผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น ท้องลม (Blighted ovum) หรือท้องนอกมดลูก (Ectopic pregnancy) ก็จะเห็นความผิดปกติได้

แต่อย่างไรก็ดี การที่อายุครรภ์น้อยมากๆ ก็อาจจะยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าการตั้งครรภ์นั้นปกติ หรือผิดปกติ ต้องทำการตรวจติดตามซ้ำ

2. การนับอายุครรภ์

การอัลตราซาวนด์ในช่วงอายุครรภ์น้อยๆ จะสามารถกำหนดอายุครรภ์ได้แม่นยำมากกว่าการตรวจอัลตราซาวนด์ตอนอายุครรภ์มากแล้ว โดยจะนับอายุครรภ์ของทารกได้ด้วยการวัดความยาวของตัวอ่อน (crown-rump length, CRL) เพื่อเปรียบเทียบกับอายุครรภ์ที่ได้จากการคำนวณประจำเดือนของคุณแม่ หากมีความแตกต่างกันไม่เกิน 1 สัปดาห์ ก็มักจะใช้อายุครรภ์ตามการคำนวณประจำเดือน แต่หากต่างกันมากกว่า 1 สัปดาห์ ก็จะใช้อายุครรภ์ที่ได้จากการอัลตราซาวนด์

รูปอัลตราซาวนด์ ในไตรมาสแรก

3. การตรวจการตั้งครรภ์แฝด

การตั้งครรภ์แฝด (แฝดสอง twins, แฝดสาม triplets, etc.) สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย และหากได้รับการตรวจแต่เนิ่นๆ จะสามารถแยกได้ค่อนข้างแม่นยำว่าเป็นแฝดที่มี 2 รก หรือมี รกเดียว เป็นแฝดที่อยู่ในถุงการตั้งครรภ์คนละถุง หรืออยู่ในถุงเดียวกัน ซึ่งกรณีที่แยกรกกัน ก็จะมีปัญหาน้อยกว่าแฝดที่ใช้รกร่วมกัน และกรณีถุงการตั้งครรภ์แยกกันคนละถุง ก็จะมีปัญหาน้อยกว่าแฝดที่ใช้ถุงการตั้งครรภ์ร่วมกันเช่นกัน

อ่านเพิ่ม : เช็กด่วน! อาการท้องแฝด คุณอาจได้เป็นคุณแม่ลูกแฝดคนต่อไป พร้อมเช็กลิสต์ภาวะแทรกซ้อน ที่มาพร้อมท้องแฝด

4. การตรวจความผิดปกติเกี่ยววกับการตั้งครรภ์

สามารถตรวจพบความผิดปกติของถุงการตั้งครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก (ectopic pregnancy) ซึ่งอาจทำให้เกิดการตกเลือดรุนแรง ช๊อก และเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา หรือการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy) ที่อาจเปลี่ยนเป็นมะเร็งในอนาคตได้หากไม่ได้รับการรักษาและการตรวจติดตามอาการที่ถูกต้อง

5. การตรวจการเต้นของหัวใจ

สามารถตรวจจับการเต้นของหัวใจตัวอ่อน (fetal heartbeat) ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญในการบ่งบอกถึงสุขภาพของตัวอ่อนได้ โดยหากอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด จะเห็นตั้งแต่ 6 สัปดาห์เป็นต้นไป อัลตราซาวนด์ทางหน้าท้องมักจะเห็นตั้งแต่ 8 สัปดาห์เป็นต้นไป

6. การตรวจโครงสร้างของตัวอ่อน

อัลตราซาวนด์ไตรมาสแรก สามารถตรวจสอบการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของตัวอ่อน เช่น ศีรษะ แขน ขา และอวัยวะภายในบางส่วน นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่จะตรวจได้ก็คือ ผนังต้นคอ (Nuchal translucency) ที่เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงของทารกที่จะเกิดความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) หรือ เทอร์เนอร์ซินโดรม (Turner syndrome) เป็นต้น

อ่านเพิ่ม : ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีกี่แบบ อะไรบ้าง

อ่านเพิ่ม : ผนังต้นคอหนา ของทารกในครรภ์ เกิดจากอะไร

สำหรับบทความถัดไป จะพูดถึงอวัยวะที่จะเห็นได้จากการอัลตราซาวนด์ในช่วงอายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์

Exit mobile version