Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

การตรวจ NIPT หรือ การตรวจสารพันธุกรรมทารกในครรภ์ (Cell-free fetal DNA) เพื่อคัดกรองดาวน์ซินโดรม

การตรวจ cell-free fetal DNA (ตรวจ NIPT) คืออะไร

ปรับปรุงเนื้อหาล่าสุด 9 สิงหาคม 2567
โดย นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ชื่อย่อของการตรวจ : cffDNA , Non-Invasive Prenatal Screening (NIPS), Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) หรือ บางท่านอาจเรียกว่าการตรวจนิฟ

ทำไมจึงต้องตรวจสารพันธุกรรมทารกในครรภ์

การตรวจควรทำเมื่อไหร่

ต้องใช้สิ่งส่งตรวจอะไรบ้าง

ต้องมีการเตรียมตัวก่อนการตรวจหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม : Top 10 คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม NIPT

การตรวจ cffDNA (การตรวจ NIPT) คืออะไร

เซลล์ลูกในเลือดแม่ มี 2 ชนิดคือ Intact fetal cell และ cell- free fetal DNA

สารพันธุกรรมที่ไม่ได้อยู่ในเซลล์ หรือ cffDNA คือสารที่หลั่งออกมาจากรกในครรภ์ แล้วไหลเวียนอยู่ในเลือดของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ โดยสารเหล่านี้จะสัมพันธ์กับสารพันธุกรรมของทารกในครรภ์ และเนื่องจากการตรวจนี้ไม่จำเป็นต้องไปเจาะสารพันธุกรรมของเซลล์ของทารกจริงๆ (โดยไม่ได้เจาะน้ำคร่ำ หรือตัดชิ้นเนื้อรกจากทารก) ทำให้ไม่มีผลแทรกซ้อนจากการตรวจต่อทารกในครรภ์ จึงมักถูกเรียกว่า การตรวจคัดกรองแบบไม่รุกราน หรือ Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) ซึ่งในบทความนี้ ต่อไปจะขอเรียกการตรวจหา cffDNA ว่า “การตรวจ NIPT หรือ การตรวจนิฟ”

สาร cffDNA จะถูกสร้างและหลั่งออกมาจากรกตั้งแต่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์เป็นต้นไปและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ในการตรวจสามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมของทารกได้ ตัวอย่างเช่นการมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (ปกติโครโมโซมจะอยู่เป็นคู่ ทั้งหมด 23 คู่ในร่างกาย) ทำให้เกิดโรคดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18 ทำให้เกิดกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward syndrome) และความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13 เกิดกลุ่มอาการพาทัว (Patau syndrome) เป็นต้น

กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมเป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยและมีความหลากหลายมากที่สุด โดยสามารถคัดกรองด้วยการตรวจ NIPT ได้ ส่วนกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดและพาทัวนั้นเป็นกลุ่มอาการที่พบได้น้อยกว่าแต่มีความรุนแรงมากกว่าดาวน์ซินโดรม ซึ่งทารกส่วนมากจะเสียชีวิตหลังจากคลอดไม่นาน นอกจากกลุ่มอาการ 3 กลุ่มที่กล่าวมาแล้ว การตรวจดังกล่าวยังสามารถตรวจหาความผิดปกติอื่นๆที่เกิดจากการขาด – เกินของโครโมโซมอื่นๆได้อีกด้วย เช่น กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ที่มีความผิดปกติของโครโมโซมเพศเกินจาก XY เป็น XXY หรือ การขาด-เกินของบางส่วนของโครโมโซมที่มีขนาดเล็กๆ (Microdeletion / duplication syndrome) เช่น กลุ่มอาการคริดูชาต์ (Cri-du-chat syndrome) ที่เกิดจากส่วนของโครโมโซมคู่ที่ 5 ขาดหายไป เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม : 

ตรวจ NIPT หรือ การตรวจนิฟ มีความจำเป็นหรือไม่

การตรวจ NIPT เป็นวิธีการตรวจคัดกรองโครโมโซมที่สามารถตรวจหาโรคทางพันธุกรรมได้มากกว่าแค่ดาวน์ซินโดรม ณ ปัจจุบัน สามารถตรวจภาวะขาด-เกินของโครโมโซมได้ทั้ง 23 คู่ และสามารถตรวจภาวะขาด-เกินของโครโมโซมขนาดเล็กๆได้ด้วย แต่การตรวจ NIPT นั้นแม้จะมี Detection rate สูงถึง 99.9% แต่ก็เป็นเพียงการตรวจเพื่อคัดกรองเท่านั้น ไม่สามารถใช้วินิจฉัยได้ว่าทารกในครรภ์เป็นโรคหรือไม่ หากผลออกมาว่ามีความผิดปกติจะต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

ดังนั้นการตัดสินใจว่าจะเข้ารับการตรวจ NIPT หรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวมารดาว่ามีความต้องการอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากอเมริกามีหลักๆอยู่ 2 ค่ายเพื่อให้มารดาใช้ในการตัดสินใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้

อ่านเพิ่มเติม : 

มีการแปลผลการตรวจอย่างไร

หากผลการตรวจ NIPT ออกมาเป็นผลลบ (Low risk หรือความเสี่ยงต่ำ) สามารถบอกได้ว่าทารกมีสารพันธุกรรมต่างๆปกติ แต่ผู้ปกครองยังไม่ควรอุ่นใจเพราะการตรวจเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองเท่านั้น จะต้องรอให้ทารกคลอดออกมาเพื่อยืนยันว่าทารกปกติจริงๆ

หากผลตรวจ NIPT เป็นบวก (High risk หรือความเสี่ยงสูง) จะบอกได้ว่าทารกมีความเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่ต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ หากอายุครรภ์อยู่ระหว่าง 10-15 สัปดาห์จะตรวจโดยการการเจาะรกมาตรวจสารพันธุกรรมด้วยการเจาะชิ้นเนื้อรก (Chorionic Villus Sampling : CVS) แต่หากอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์จะสามารถเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจได้ และการตรวจโครโมโซมที่ละเอียดมากขึ้นเพื่อมั่นใจว่าทารกมีหรือไม่มีความผิดปกติจริงๆ

ในบางกรณีจะไม่สามารถบอกผลตรวจได้ เนื่องจากตัวอย่างเลือดของมารดาที่นำไปใช้ตรวจมีวิธีการเก็บตัวอย่างที่ไม่เหมาะสมเช่น มารดารที่หนักมากว่า 113 กิโลกรัม การเจาะเลือดมารดาที่อายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ ในกลุ่มนี้ทั้ง ACMG และ ACOG แนะนำให้ตรวจโดยวิธีเจาะถุงน้ำคร่ำหรือรกเพื่อตรวจจะทำให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำมากกว่า

มีสิ่งอื่นที่มารดาควรทราบก่อนตรวจหรือไม่

สำหรับวิธีการตรวจ NIPT เป็นวิธีการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ได้ แต่อย่างไรก็ดี ความผิดปกติของทารกในครรภ์นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ รวมถึงสาเหตุอื่นๆที่ไม่ได้เกี่ยวกับโครโมโซมด้วย เช่น ความผิดปกติที่เกิดจากการติดเชื้อบางชนิด (Group B streptococcus , ซิฟิลิส , หัดเยอรมัน เป็นต้น) หรือความผิดปกติจากการได้รับสารเคมีหรือยาบางอย่าง หรืออาจเกิดความผิดปกติโดยที่ไม่ทราบสาเหตุก็ได้ ดังนั้น แม้ว่าผลการตรวจ NIPT จะปกติ ก็ไม่ได้หมายความว่าทารกในครรภ์จะสมบูรณ์แข็งแรง 100% และคุณแม่ก็ควรที่จะเข้ารับการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ NIPT หรือไม่

การตรวจ NIPT เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยในการคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่มารดาเป็นผู้มีสิทธิเลือก ดังนั้นเพื่อความสบายใจและการตเรียมตัวที่ดีควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการตรวจดังกล่าว เพื่อขอความเห็นของแพทย์ว่าจำเป็นต้องมีการตรวจ NIPT เพิ่มเติมหรือไม่ และให้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียก่อนการตัดสินใจตรวจ

ทั้งนี้ในปัจจุบัน มีคลินิกแลปจำนวนมากที่ให้บริการตรวจโดยที่ไม่ได้มีความรู้ด้านสูติศาสตร์ ทำให้เมื่อผลตรวจผิดปกติก็จะไม่สามารถให้คำแนะนำใดๆได้ จึงควรเข้ารับบริการการตรวจ NIPT ในสถานพยาบาลหรือบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ มีแพทย์ให้คำปรึกษา ดูผล และให้คำแนะนำจะดีกว่าการเข้ารับบริการในสถานที่ที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญให้การดูแล

หากการตั้งครรภ์ครั้งก่อนหน้าให้ผลตรวจเป็นลบ จำเป็นจะต้องตรวจ NIPT ในการตั้งครรภ์ครั้งนี้หรือไม่

ควรทำการตรวจ NIPT ในทุกๆการตั้งครรภ์เพราะโอกาสของการเกิดทารกที่มีความผิดปกติมีในทุกๆการตั้งครรภ์

ตรวจ NIPT ใช้เวลานานเท่าใด

ในการตรวจขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการที่ส่งตรวจ ซึ่งเวลาที่ใช้รอผลเฉลี่ย 1-2 สัปดาห์

ตรวจ NIPT สามารถตรวจภาวะหลอดประสาทไม่ปิด ได้หรือไม่

NIPT ไม่สามารถตรวจภาวะดังกล่าวได้ การตรวจภาวะท่อประสาทไม่ปิดนั้นจะตรวจในไตรมาสที่ 2 โดยตรวจสารชีวเคมีที่ชื่อว่า AFP ในเลือดของมารดา (จะอยู่ในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี Quadruple test)

ตรวจ NIPT สามารถบอกเพศของทารกได้หรือไม่

ได้แน่นอน เพราะมีการตรวจโครโมโซมเพศด้วย โดยข้อมูลนี้จะรายงานอยู่ในผลตรวจเป็นปกติ แต่หากมารดาไม่ต้องการทราบเพศของทารก ก็สามารถแจ้งว่าไม่ต้องการทราบเพศของทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม :

References

1. Noninvasive prenatal testing (NIPT) – department of obstetrics and gynecology faculty of medicine Chiang Mai university [Internet]. Cmu.ac.th. [cited 2024 Aug 9]. Available from: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/3622/
   
2. Prenatal screening aneuploidies using Cell-free fetal DNA [Internet]. Cmu.ac.th. [cited 2024 Aug 9]. Available from: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/prenatal-screening-aneuploidies-using-cell-free-fetal-dna/
   
3. Tongsong T. การตรวจทางพันธุกรรมสำหรับทารกระหว่างการตั้งครรภ์ (prenatal genetic test ) – department of obstetrics and gynecology faculty of medicine Chiang Mai university [Internet]. Cmu.ac.th. [cited 2024 Aug 9]. Available from: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/46295/
   
4. Mortazavipour MM, Mahdian R, Shahbazi S. The current applications of cell-free fetal DNA in prenatal diagnosis of single-gene diseases: A review. Int J Reprod Biomed (Yazd) [Internet]. 2022 [cited 2024 Aug 9];20(8):613. Available from: http://dx.doi.org/10.18502/ijrm.v20i8.11751
   
5. Everett TR, Chitty LS. Cell‐free fetal DNA: the new tool in fetal medicine. Ultrasound Obstet Gynecol [Internet]. 2015 [cited 2024 Aug 9];45(5):499–507. Available from: http://dx.doi.org/10.1002/uog.14746
   
6. Raj H, Yelne P. Cell-free fetal deoxyribonucleic acid (cffDNA) analysis as a remarkable method of non-invasive prenatal screening. Cureus [Internet]. 2022 [cited 2024 Aug 9];14(10). Available from: http://dx.doi.org/10.7759/cureus.29965
   
7. Wikipedia contributors. Cell-free fetal DNA [Internet]. Wikipedia, The Free Encyclopedia. 2024. Available from: https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Cell-free_fetal_DNA&oldid=1222579477
   
8. Chiu RWK, Lo YMD. Cell‐free fetal DNA coming in all sizes and shapes. Prenat Diagn [Internet]. 2021 [cited 2024 Aug 9];41(10):1193–201. Available from: http://dx.doi.org/10.1002/pd.5952
   

Exit mobile version