Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

ลูกหน้าตาไม่เหมือนพ่อ…แล้วไง? ถ้าโดนทักแบบนี้ ต้องทำยังไงดี?

ลูกหน้าตาไม่เหมือนพ่อ...แล้วไง? ถ้าโดนทักแบบนี้ ต้องทำยังไงดี?

ลูกหน้าตาไม่เหมือนพ่อ...แล้วไง? ถ้าโดนทักแบบนี้ ต้องทำยังไงดี?

ลูกหน้าตาไม่เหมือนพ่อ…แล้วไง? ถ้าโดนทักแบบนี้ ต้องทำยังไงดี?

ในโลกโซเชียลทุกวันนี้ แค่โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊กก็มีคนพร้อมคอมเมนต์ทันทีว่า “เอ๊ะ…หน้าลูกไม่เหมือนพ่อเลยนะ?” ฟังแล้วก็จี๊ดดด ขำก็ไม่ขำ จะโกรธก็ใช่ที่ ยิ่งถ้าเป็นคำพูดจากคนใกล้ตัวหรือครอบครัว มันอาจกลายเป็นประเด็นใหญ่แบบไม่รู้ตัวเลยก็ได้ค่ะ

แต่เดี๋ยวก่อน! ก่อนจะเครียดหรือทะเลาะกัน ลองอ่านบทความนี้ก่อนดีกว่า เพราะเรื่อง “ลูกหน้าไม่เหมือนพ่อ” มันไม่ได้แปลว่า “ไม่ใช่ลูก” เสมอไปนะคะ ในบทความนี้เรามาคุยกันแบบอ้างอิงข้อมูลวิทยาศาสตร์จริงจังแต่เล่าแบบเข้าใจง่ายกันดีกว่าค่ะ

ทำไมลูกถึงไม่เหมือนพ่อ?

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า พันธุกรรมมันซับซ้อนกว่าที่คิด เราแต่ละคนได้ยีนมาจากพ่อกับแม่คนละครึ่ง การแสดงออกทางพันธุกรรม รวมไปถึงหน้าตาของลูก ก็เกิดจากยีนที่ได้รับจากพ่อและแม่นี่แหละ แต่ยีนที่ได้รับมาบางตัวก็แอบ “ซ่อน” ไว้เฉย ๆ ไม่แสดงออกมาให้เห็น เช่น สีผิว รูปหน้า หรือแม้แต่ตาชั้นเดียว/สองชั้น นอกจากนี้ยืนที่กำหนดหน้าตาของมนุษย์นั้น มีหลายยีนมาก ในหลายๆงานวิจัยกล่าวว่ามีถึง 20 ยีนเลยทีเดียว ดังนั้น แม้ยีนจะต่างกันนิดๆหน่อย ก็อาจทำให้หน้าตาต่างกันได้ค่ะ

ยกตัวอย่างกรณีที่ยีนบางตัวที่ถูกซ่อนไว้นะคะ พ่อแม่ผิวขาวทั้งคู่ แต่ถ้าปู่ย่าหรือตายายเคยมีผิวเข้มมาก่อน ลูกก็อาจเกิดมาผิวคล้ำได้ เพราะยีนเหล่านี้อาจข้ามรุ่นมาโผล่ในรุ่นหลานได้แบบไม่คาดคิดเลยล่ะ (Jablonski, 2004)

พูดง่าย ๆ ก็คือ “หน้าตาไม่เหมือน” ไม่ได้แปลว่า “ไม่ใช่”

อ่านเพิ่ม : ลูกหน้าตาไม่เหมือนพ่อ เพราะอะไร? หรือจริงๆแล้วจะไม่ใช่ลูกของเรา?

ถ้าเริ่มไม่แน่ใจ จะทำยังไงดี?

ถ้าในใจเริ่มมีความสงสัยจริงจัง หรือมีคนในครอบครัวกดดันหนักมากจนทำให้เกิดความกังวล ไม่ต้องกลัวนะคะ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยพิสูจน์ความเป็นพ่อได้ด้วยความแม่นยำสูงแบบ 99.999% เลยทีเดียว นั่นก็คือ การตรวจ DNA พิสูจน์ความเป็นบิดาค่ะ (ซึ่งจริงๆแล้ว จะพิสูจน์ความเป็นมารดา พี่น้อง ปู่ย่าตายาย ก็ได้ค่ะ)

การตรวจ DNA พิสูจน์พ่อ-ลูก เป็นการเอาตัวอย่างเซลล์ เช่น เก็บ DNA จากเซลล์เยื่อบุกระพุ้งแก้ม หรือเลือด หรือสิ่งส่งตรวจอื่นๆ มาเปรียบเทียบกันระหว่าง 2 ท่านที่ต้องการรู้ความสัมพันธ์ ซึ่งแม่นยำสุด ๆ และใช้เวลาประมาณ 10-14 วันก็รู้ผลแล้วค่ะ

อ่านเพิ่ม : ตรวจ DNA พิสูจน์ความสัมพันธ์ (พ่อ-แม่-ลูก, พี่-น้อง) ได้จากสิ่งใดบ้าง?

บางคนอาจไม่รู้ว่า ปัจจุบันยังสามารถตรวจ DNA ได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้องด้วยนะ เรียกว่า Non-Invasive Prenatal Paternity Test แค่เจาะเลือดแม่ และเก็บเอาตัวอย่าง DNA จากพ่อก็พอ ไม่ต้องยุ่งกับตัวเด็กเลย ปลอดภัยทั้งแม่และลูก (Lo et al., 1997)

HealthSmile ของเรามีให้บริการตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา
– ตรวจหลังทารกคลอด ราคา 12,000 บาท
– ตรวจขณะตั้งครรภ์ ราคา 34,800 บาท

พร้อมบริการถึงบ้านทั่วประเทศ

สอบถามข้อมูลได้ที่ LINE ID : @HealthSmile หรือคลิกที่ลิงค์นี้ : https://lin.ee/4CIgU8r

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับแพคเกจได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/dna-paternity-test/

แล้วถ้าต้องถึงขั้นขึ้นศาลล่ะ?

บางเคสที่เรื่องบานปลายมาก ๆ จนต้องพิสูจน์กันในชั้นศาล ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะกฎหมายไทยก็สามารถออกคำสั่งให้ตรวจ DNA ได้เหมือนกันนะคะ โดยเฉพาะกรณีที่มีผลต่อเรื่องนามสกุล มรดก หรือสิทธิ์ทางกฎหมายของเด็ก ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 1546–1560) ถ้าใครสงสัยในความเป็นพ่อ สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งตรวจ DNA ได้เลย และผลตรวจนี้ก็ถือเป็นหลักฐานทางกฎหมายที่ศาลยอมรับนะครับ (สำนักงานกฤษฎีกา, 2562)

แล้วเรื่องความรู้สึกล่ะ…ทำไงดี?

เอาจริง ๆ เรื่องแบบนี้มันกระทบใจคนทั้งบ้านเลยนะ โดยเฉพาะคนเป็นพ่อที่รู้สึกถูกตั้งคำถาม หรือแม่ที่อาจรู้สึกไม่เป็นธรรม เด็กเองก็อาจรับรู้ถึงบรรยากาศตึงเครียดได้เหมือนกัน จากงานวิจัยจาก American Psychological Association (2017) ยังบอกอีกว่า เด็กที่โตมาในครอบครัวที่มีข้อพิพาทเรื่องสายเลือด มีแนวโน้มจะเครียดและไม่มั่นคงทางอารมณ์มากกว่าปกติ

ดังนั้น ถ้ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นจริง ๆ ทางออกที่ดีที่สุดก็คือ “พูดคุยกันตรง ๆ” ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาตัดสิน มากกว่าการฟังจากคำพูดของคนอื่นที่ไม่ได้อยู่ในชีวิตเราจริง ๆ

สรุปแบบเพื่อนเตือนเพื่อน

ถ้าโดนทักว่า “ลูกหน้าไม่เหมือนพ่อ” ก็อย่าเพิ่งวู่วาม ฟังหูไว้หู แล้วถามตัวเองก่อนว่า “เราเชื่อมั่นในความสัมพันธ์แค่ไหน?” ถ้าคำพูดนั้นทำให้ไม่สบายใจมาก ๆ ก็ตรวจ DNA ไปเลยให้จบ ๆ เพราะเทคโนโลยีสมัยนี้ช่วยให้เราคลี่คลายทุกอย่างได้แบบชัดเจน ไม่มีต้องเดาอีกต่อไปค่ะ


แหล่งอ้างอิง

Exit mobile version