Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

ตรวจดาวน์ซินโดรมฟรี ทั่วประเทศไทย คืออะไร ใช้วิธีไหน แม่นยำเหรอ

ตรวจดาวน์ซินโดรมฟรี ทั่วประเทศไทย คืออะไร ใช้วิธีไหน แม่นยำเหรอ

ตรวจดาวน์ซินโดรมฟรี ทั่วประเทศไทย คืออะไร ใช้วิธีไหน แม่นยำเหรอ

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม “ตรวจนิป (NIPT)” ฟรีทั่วประเทศ คนไทยตรวจได้ทุกคน ทุกสิทธิ์

Update ล่าสุด 21 กันยายน 2561 อ้างอิงจากข่าว ของสำนักข่าว ThaiPost (https://www.thaipost.net/main/detail/18121) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561. รัฐบาลให้เจาะเลือดตรวจในกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไปคลอบคลุมทั่วประเทศ ทุกสิทธิ์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรีนี้ คือวิธี Quad test นั่นเอง

Update ล่าสุด พฤศจิกายน 2566 สิทธิ์ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรี ครอบคลุมมารดาตั้งครรภ์ชาวไทยทุกคน ทุกสิทธิ์การรักษา ไม่ว่าจะเป็นบัตรทอง ประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ หรือข้าราชการ ก็สามารถตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมได้ฟรี ทุกคน ทุกสิทธิ์ ( https://www.nhso.go.th/news/4213 )

Update ล่าสุด ตุลาคม 2567 สปสช. เห็นชอบหลักการข้อเสนอบริการตรวจ NIPT ในระบบบัตรทอง ( https://cimjournal.com/public-health-news/pr8-25 )

สปสช. เห็นชอบปรับอัตราจ่ายบริการ NIPT’ ตรวจอาการดาวน์ในครรภ์แบบไม่ลุกล้ำ (https://www.gcc.go.th/2025/01/29/สปสช-เห็นชอบปรับอัตราจ่/)

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรี คือวิธีไหน

แม้จะมีความคืบหน้าจาก สปสช. ที่เห็นชอบหลักการข้อเสนอบริการตรวจ NIPT ในระบบบัตรทองให้แก่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นชาวไทย ฟรีทุกคน ทุกสิทธิ์ เมื่อการประชุมในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567 ซึ่งนับเป็นข่าวดีสำหรับคุณแม่คนไทยทุกคน ที่จะได้เข้ารับบริการการตรวจ NIPT หรือ การตรวจนิปส์ที่เดิมมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 9,000 – 20,000 บาท (แล้วแต่สถานพยาบาล) ได้ฟรี โดยวิธีนี้นั้นมีความแม่นยำสูงถึง 99.9%

ทำไม NIPT จึงเป็นทางเลือกที่ “คุ้มค่า”

ที่มาของนโยบายจาก สปสช.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ผลักดันให้การตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ด้วยวิธี NIPT (Non-Invasive Prenatal Test) เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์หลักสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกสิทธิการรักษา โดยมีพื้นฐานมาจากงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขที่แสดงให้เห็นถึง ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในระยะยาว สำหรับประเทศไทย

ความท้าทายด้านสาธารณสุข

ภาวะโครโมโซมผิดปกติของทารก เช่น

  • กลุ่มอาการดาวน์ (Trisomy 21) พบประมาณ 1 ใน 800 ราย

  • กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Trisomy 18) พบประมาณ 1 ใน 5,000 ราย

  • กลุ่มอาการพาทัว (Trisomy 13) พบประมาณ 1 ใน 16,000 ราย

ล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพัฒนาการ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของเด็ก รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวทั้งต่อครอบครัวและระบบสาธารณสุข

กุญแจสำคัญคือ “ราคาที่เข้าถึงได้”

ผลการวิเคราะห์ต้นทุนพบว่า NIPT จะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด หากสามารถลดราคาลงเหลือประมาณ 47 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1,800 บาท)

การปรับอัตราเบิกจ่ายของ สปสช.

เพื่อตอบรับแนวทางดังกล่าว สปสช. ได้ปรับเพิ่มอัตราค่าบริการตรวจ NIPT จากเดิม 1,700 บาท เป็น 2,700 บาท เพื่อจูงใจให้เกิดการให้บริการในวงกว้าง และตั้งเป้าหมายว่า

  • ในปี 2568 จะมีหญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการ กว่า 237,930 ราย

  • และเพิ่มเป็น 300,000 – 400,000 ราย ในปีถัดไป

สิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่

ภายใต้ประกาศฉบับใหม่ หญิงตั้งครรภ์ในทุกสิทธิการรักษาจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้:
ตรวจคัดกรองโครโมโซมผิดปกติ 3 คู่หลัก ได้แก่ Trisomy 21, 18 และ 13 ได้ 1 ครั้งต่อการตั้งครรภ์
ส่งเสริมให้เลือกตรวจด้วยวิธี NIPT ซึ่งมีความแม่นยำสูงและปลอดภัย
✅ หากไม่สามารถรับบริการ NIPT ได้ ยังสามารถเลือกตรวจแบบ Quadruple test ซึ่ง สปสช. ให้การสนับสนุนเช่นกัน

ณ ปัจจุบัน (ผู้เขียนเขียนบทความนี้ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2568) เริ่มมีการให้บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรีด้วยการตรวจ NIPT ในบางของโรงพยาบาลรัฐแล้ว ส่วนบางโรงพยาบาลที่ยังเข้าไม่ถึง ก็จะยังคงเป็นวิธีการเจาะเลือดหาสารชีวเคมีในเลือดของมารดา 4 ค่า (Quadruple test, Quad test, ควอดเทสต์) ซึ่งมีความแม่นยำประมาณ 80-85% และหากผลตรวจผิดปกติ ก็จะต้องตรวจเพื่อยืนยันเพิ่มเติมด้วยการเจาะน้ำคร่ำ ก็การเจาะน้ำคร่ำก็สามารถตรวจได้ฟรีเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี การเจาะน้ำคร่ำก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งบุตรได้เล็กน้อย ประมาณ 0.5%

ข้อแตกต่าง ระหว่างการตรวจ NIPT ฟรีของรัฐ กับการตรวจ NIPT ของเอกชน

ข้อพิจารณา ตรวจ NIPT ฟรี รพ.รัฐ (บัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการ) ตรวจ NIPT เอกชน (ชำระเงินเอง)
ค่าใช้จ่าย ฟรี (อาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆตามที่โรงพยาบาลเรียกเก็บ) 7,000-20,000 บาท
ค่าวินิจฉัยเพื่อยืนยันผลกรณีผลตรวจพบความเสี่ยงสูง

– หากเจาะน้ำคร่ำหรือเจาะเลือดสายสะดือที่โรงพยาบาลรัฐ = ฟรี

– หากฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 10,000-20,000 บาท

มีเงินประกันให้ แล้วแต่แพคเกจที่เลือก ที่ 10,000 – 25,000 บาท

สามารถเลือกตรวจที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ทั้งรัฐและเอกชน

ค่าประกัน หากกรณีเกิดผลลบลวง (ผลบอกว่าทารกเสี่ยงต่ำที่จะเป็นดาวน์ซินโดรม แต่จริงๆแล้วทารกเป็นดาวน์ซินโดรม) ไม่มีประกันความผิดพลาด มีประกันอยู่ที่ 1,000,000 – 2,000,000 บาท แล้วแต่เพคเกจที่เลือก
ตรวจกี่โครโมโซม 3 คู่ ได้แก่ 13 18 21 ตรวจได้สูงสุด 23 คู่ รวมความผิดปกติที่เกิดจากการขาด/เกิน ของโครโมโซมขนาดเล็ก (Microdeletion / Duplication) อีก 92 โรค
รู้เพศหรือไม่ ณ ประกาศล่าสุด ไม่รวมโครโมโซมเพศ และโรคที่เกิดจากภาวะขาด/เกินของโครโมโซมเพศ รู้เพศ และโรคที่เกิดจากภาวะขาด/เกินของโครโมโซมเพศ
ติดต่อที่ใด โรงพยาบาลรัฐ ทั่วประเทศ

คลินิกเอกชน
โรงพยาบาลเอกชน

HealthSmile ให้บริการทั่วประเทศ

อายุครรภ์ที่ตรวจได้ 10-18 สัปดาห์

10 สัปดาห์เป็นต้นไป ไม่กำหนดอายุครรภ์สูงสุด

แต่การตรวจช้า อาจจะไม่สามารถพิจารณายุติการตั้งครรภ์ได้หากผลตรวจผิดปกติ

ถ้าตรวจ NIPT แล้วผลมีความเสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร

ต้องตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันความผิดปกติ ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ หรือการเจาะเลือดสายสะดือทารกในครรภ์ (อ่านเพิ่ม : ผลตรวจ NIFTY หรือ ผลตรวจ NIPT ผิดปกติ ต้องทำอย่างไรต่อ? )

ถ้าตรวจ NIPT แล้วผลออกไม่ได้ (No-call) ต้องทำอย่างไร

ในแนวทางที่ออกมา ก็จะแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำ หรือเจาะเลือดสายสะดือเพื่อพิสูจน์ความผิดปกติต่อ หรือหากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ต้องการตรวจอะไรเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้เช่นกัน

แนวทางการตรวจ nipt สปสช

แนวทางการตรวจ nipt สปสช

ปัจจุบัน การตรวจ Quad test นั้นอาจจะเลิกใช้ในอนาคต ถ้าเกิดมีการนำ NIPT มาใช้อย่างแพร่หลาย

Quad test วิธีฟรี แล้วมีความเสี่ยงต้องทำอย่างไร

เนื่องจากการตรวจ Quad test มีความแม่นยำอยู่ที่ 80-85% ดังนั้น หากพบว่าผลตรวจมีความเสี่ยงสูง ก็จะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม ด้วยการตรวจที่มีความแม่นยำมากกว่า โดยมี 2 ทางเลือก ดังนี้

การเจาะน้ำคร่ำ

วิธีนี้เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัย ทำโดยการเจาะเอาน้ำคร่ำที่มีเซลล์ของทารกออกมาเพื่อทำการตรวจโครโมโซม ( อ่านเพิ่มเติม เจาะน้ำคร่ำคืออะไร โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย )

    • ค่าตรวจฟรีทุกสิทธิ์ เมื่อตรวจที่โรงพยาบาลรัฐ
    • ต้องไปที่โรงพยาบาลที่สามารถเจาะน้ำคร่ำได้เท่านั้น ไม่ได้มีให้บริการในทุกโรงพยาบาลรัฐ
    • มีความเสี่ยงแท้ง ประมาณ 0.5% เนื่องจากต้องแทงเข็มเข้าดูดน้ำคร่ำจากโพรงมดลูกมาตรวจ

การเจาะตรวจ NIPT

วิธีนี้ ก็เป็นการตรวจคัดกรองเช่นเดียวกันกับการตรวจ Quad test แต่ว่ามีความแม่นยำที่สูงกว่า โดยความมีค่าความแม่นยำของการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอยู่ที่ 99.9%

    • มีค่าใช้จ่ายอยู่อยู่ที่ประมาณ 9,000 – 20,000 บาท แล้วแต่สถานพยาบาล และจำนวนโครโมโซมที่สามารถตรวจได้
    • มีบริการทั่วประเทศ สามารถติดต่อได้ คลิกที่นี่
    • ไม่เสี่ยงแท้ง เพราะเจาะเลือดจากคุณแม่

ณ ปัจจุบัน การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่แม่นยำที่สุดคือวิธีไหน

การตรวจคัดกรองที่แม่นยำที่สุด คือ การตรวจที่ชื่อว่า NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่า 99% และสามารถตรวจได้ฟรีตามโรงพยาบาลรัฐแล้ว

รูปภาพ เปรียบเทียบการตรวจ Quad test (80%), NIPT (99.9%) และ เจาะน้ำคร่ำ (100%)

ซึ่งโดยปกติ การตรวจ NIPT นั้นมีเทคนิคที่หลากหลาย และมีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้ค่าตรวจของแต่ละบริษัทนั้นแตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว วิธี NIPT นั้นสามารถตรวจดาวน์ซินโดรมได้แม่นยำ >99% จึงเป็นวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ที่แม่นยำที่สุด ณ ปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม : Top 10 คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม NIPT

อ่านเพิ่มเติม : ข้อดี – ข้อเสียของการตรวจ NIPT ด้วยวิธี SNP (Panorama) และ NGS (NIFTY, NGD NIPS)

นอกจากนี้ NIPT ยังสามารถรายงานผลโครโมโซมคู่อื่นๆ นอกจากคู่ที่ 21 ที่ทำให้เกิดดาวน์ซินโดรมได้อีกด้วย เช่น คู่ที่ 18 และ 13 รวมไปถึงโครโมโซมเพศ X, Y หรือโครโมโซมอื่นๆได้ด้วย โดย ณ ปัจจุบัน แบรนด์ที่ทาง เฮลท์สไมล์ ของเราให้บริการอยู่ (NIFTY) จะตรวจได้สูงสุดที่ 23 โครโมโซม และความผิดปกติของโครโมโซมขนาดเล็ก (Microdeletion / duplication) อีก 92 ความผิดปกติ

สรุป

ปัจจุบัน แม้ว่าทางที่ประชุมของ สปสช. จะเห็นชอบหลักการข้อเสนอบริการตรวจ NIPT ในระบบบัตรทองให้กับคุณแม่ฟรีทุกราย แต่ก็สามารถตรวจได้ 3 โครโมโซมหลัก คือคู่ที่ 13, 18 และ 21 เท่านั้น ไม่มีการตรวจโครโมโซมเพศ ไม่มีประกันความผิดพลาด หากตรวจพบผลเสี่ยงสูงจะต้องเจาะน้ำคร่ำหรือเจาะเลือดสายสะดือที่โรงพยาบาลรัฐเท่านั้น 

หากคุณแม่ ต้องการตรวจความผิดปกติในโครโมโซมคู่อื่นๆของทารกในครรภ์ ก็สามารถเลือกตรวจ NIPT กับบริษัทเอกชน ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด เพราะสามารถทราบถึงโรคทางพันธุกรรมอื่นๆที่การตรวจ NIPT สามารถรายงานผลได้ด้วย โดย ณ ปัจจุบันที่เฮลท์สไมล์ ให้บริการอยู่ก็จะเป็น package NIFTY Pro ที่สามารถตรวจได้สูงสุด 23 โครโมโซม + 92 ความผิดปกติที่เกิดจากภาวะขาด-เกินของโครโมโซมขนาดเล็กๆ

คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการตรวจ NIPS, NIPT, NIFTY และการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอื่นๆได้ที่ https://healthsmile.co.th/category/blog-th/nipt/

หากต้องการสอบถามการตรวจ NIPT Add LINE ID @HealthSmile หรือคลิกที่นี่

อ่านเพิ่มเติม : กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)

อ่านเพิ่มเติม : ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (Down’s Syndrome Screening) ด้วย NIPT

 

Exit mobile version