Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

สิทธิ์คุณแม่คนไทยต้องรู้ ตามราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.2565 ของฟรีที่รัฐมอบให้คุณแม่ตั้งครรภ์ (ตอนที่ 1)

ประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในหลายๆประเทศที่มีระบบบริการสุขภาพดีเป็นอันดับต้นๆของโลก และทางกระทรวงสาธารณสุขก็พยายามเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกในครรภ์เพื่อที่จะให้ประชากรในประเทศไทยนั้นมีคุณภาพ โดยเริ่มต้นตั้งแต่การฝากครรภ์ การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ การตรวจเรื่องโลหิตจาง/ธาลัสซีเมีย การคุมกำเนิดให้กับวัยรุ่นเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ฯลฯ สำหรับบทความนี้ เราจะเป็นการสรุปสิทธิ์ต่างๆของคุณแม่ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 มาให้อ่านกันค่ะ

สิทธิ์คุณแม่คนไทยต้องรู้

ดาวน์โหลดไฟล์

      1. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการฝากครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
      2. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
      3. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
      4. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
      5. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการป้องกันและควบคุมการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
      6. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. ๒๕๖๖
        • รวมจากข้อ 1-4
        • ปรับปรุงข้อ 5 เป็น บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย

    เนื่องจากมีประกาศเปลี่ยนแปลง ปี 2566

    ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. ๒๕๖๖

    สามารถอ่านบทความ update ล่าสุดได้ที่นี่


     

    เรื่องการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการฝากครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔

    สำหรับคนไทยทุกคนที่มีเลขบัตรประชาชน 13 หลัก สามารถเข้ารับบริการฝากครรภ์ได้ฟรีที่สถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง หรือสถานพยาบาลเอกชนบางแห่งที่เข้าร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้(กรุณาสอบถามสถานพยาบาลแต่ละแห่งก่อนเข้ารับการฝากครรภ์เสมอ) โดยที่ไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นสิทธิ์บัตรทอง หรือประกันสังคม หรือข้าราชการ

    โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดให้มีบริการต่างๆด้านการฝากครรภ์ดังนี้

    โดยบริการฝากครรภ์ที่ได้มาตรฐานที่ดีตามมาตรฐานที่กำหนด จะต้องมีกิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์ ดังต่อไปนี้ครบถ้วนด้วย

    ส่วนกรณี การบริการฝากครรภ์ในกรณีครรภ์เสี่ยงสูงหรือมีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลมากกว่าบริการพื้นฐานสำหรับบริการ ฝากครรภ์ หน่วยบริการ
    สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิรักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิรายนั้น

    ตารางแสดงแนวทางฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2565 กรมอนามัย : กิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์

    ตารางแสดงแนวทางฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2565 กรมอนามัย : กิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์ หน้า 1

    ตารางแสดงแนวทางฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2565 กรมอนามัย : กิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์ หน้า 2

     

    ตารางแสดงแนวทางฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2565 กรมอนามัย : กิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์ หน้า 3

     

    ตารางแสดงแนวทางฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2565 กรมอนามัย : กิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์ หน้า 4


     

    เรื่องการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔

    จากข้อที่ผ่านมา จะเห็นว่า กรณีฝากครรภ์แล้ว ถ้าผลตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียของทั้งบิดา / มารดา (MCV + DCIP) เป็นบวกทั้งคู่ให้ตรวจยืนยัน Hb typing/PCR เพื่อกำหนดคู่เสี่ยงการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์และยุติการตั้งครรภ์

    โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะช่วยเหลือค่าบริการตรวจยืนยันโลหิตจางธาลัสซีเมียให้แก่หญิงไทยซึ่งตั้งครรภ์ และสามี หรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็น คนไทยทุกคน ที่มีผลการคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียผิดปกติ ไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นสิทธิ์บัตรทอง หรือประกันสังคม หรือข้าราชการ

    โดยมีรายละเอียดดังนี้

    *** หมายเหตุ รายการตรวจในกรณีเหล่านี้ ผู้เขียนไม่แน่ใจในการฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลของเอกชนว่าสามารถใช้สิทธิ์ได้หรือไม่ กรุณาสอบถามสถานพยาบาลแต่ละแห่งอีกครั้ง


     

    เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔

    การบริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ เป็นการให้บริการแก่ หญิงไทยซึ่งตั้งครรภ์ทุกคน ไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นสิทธิ์บัตรทอง หรือประกันสังคม หรือข้าราชการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    ค่าบริการตรวจคัดกรอง Down syndrome ในหญิงตั้งครรภ์ทุกกลุ่มอายุ

    จะเห็นได้ว่า การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในหญิงตั้งครรภ์ ตามสิทธิที่ สปสช. ให้นั้น ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการฝากครรภ์ของคนไทย ให้มีความมั่นใจมากขึ้นว่าทารกในครรภ์จะไม่มีปัญหาเรื่องดาวน์ซินโดรม

    แต่อย่างไรก็ดี เทคนิคการตรวจที่ได้รับฟรีนั้น เป็นการตรวจที่เรียกว่า Quadruple test ซึ่งมีความแม่นยำ (detection rate) อยู่ที่ประมาณ 80% และไม่สามารถตรวจในครรภ์แฝดได้

    หากคุณแม่ต้องการการตรวจคัดกรองที่มีความแม่นยำมากขึ้นกว่านี้ โดย ณ ปัจจุบัน มีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่มีความแม่นยำสูงถึง 99.9% และสามารถตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในครรภ์แฝดได้ ได้แก่การตรวจ NIPT หรือ Non-invasive Prenatal testing ซึ่งจะไม่สามารถรับบริการได้จากโรงพยาบาลของรัฐทั่วๆไป

    อ่านเพิ่มที่นี่
    —– การตรวจสารพันธุกรรมทารกในครรภ์ (Cell-free fetal DNA) คัดกรองดาวน์ซินโดรม
    —– อายุครรภ์ที่เหมาะจะเจาะตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPT, NIPS, NIFTY) คือช่วงไหน
    —– การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบ NIPT (นิฟ หรือนิฟตี้) ตรวจในครรภ์แฝดได้ไหม

    จะเห็นได้ว่า การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมนั้นมีอยู่หลายวิธี ทั้งวิธีที่ไม่มีค่าใช้จ่าย (ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐ)แต่ความแม่นยำ 80% หรือวิธีการตรวจ NIPT ที่ความแม่นยำสูงถึง 99.9% เมื่อเทียบกับการเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งการเจาะน้ำคร่ำจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งบุตรได้ ดังนั้น หากคุณแม่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าตนเองควรเลือกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมแบบไหนดี ลองอ่านบทความนี้ เพื่อช่วยตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

    —– 8 ขั้นตอนในการเลือกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมให้คุ้มค่า (NIFTY, Quad test, อัลตราซาวนด์ และอื่นๆ)


    อ่านต่อ ตอนที่ 2 คลิกที่นี่
    4. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พ.ศ. ๒๕๖๔
    และ
    5. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการป้องกันและควบคุมการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๖๔

    Exit mobile version