ปัจจุบันการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์นั้นมีหลายวิธี แต่ละวิธีก็มีความแม่นยำแตกต่างกัน
ในการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม หรือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโครโมโซม มักจะเป็นการตัดสินใจของคุณแม่ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม โดยผู้เชี่ยวชาญอาจจะเป็นแพทย์ พยาบาล หรือนักวิชาการด้านสุขภาพเกี่ยวกับพันธุศาสตร์ก็ได้ โดยคนเหล่านี้จะสามารถแนะนำหรือแสดงความเห็นว่าการตรวจคัดกรองมีความสำคัญอย่างไร แต่ละวิธีมีความแม่นยำขนาดไหน ค่าใช้จ่ายเท่าไร เหมาะสมกับคุณแม่หรือไม่ แต่สุดท้ายแล้วยังคงเป็นสิทธิของผู้ป่วยที่จะเลือกทำหรือไม่ทำ
สำหรับบางประเทศ การทำการตรวจคัดกรองเป็นสิทธิของผู้ป่วยและไม่ได้บังคับให้ทำ แต่ในบางกรณี เช่น หากแพทย์เห็นว่ามีความเสี่ยงสูง อาจแนะนำให้ผู้ป่วยทำการตรวจคัดกรอง เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจทำการรักษาต่อไป
สำหรับในประเทศไทยก็ไม่ได้มีการบังคับให้ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเช่นเดียวกัน
หากฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐ จะได้รับสิทธิ์ในการตรวจคัดกรองด้วยวิธี Quadruple test (หรือเรียกว่าควอดเทสต์) ได้ฟรี ซึ่งวิธีนี้จะมีความแม่นยำในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอยู่ที่ 80% แต่หากคุณแม่ฝากครรภ์ในโรงพยาบาลเอกชนหรือคลินิกเอกชน การตรวจ Quadruple test นี้จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1,500-5,000 บาท แล้วแต่แต่ละสถานพยาบาลจะเรียกเก็บ
ส่วนการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมและโครโมโซมที่มีความแม่นยำสูง หรือที่เรียกว่า Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) ที่มีความแม่นยำในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมสูงถึง 99.9% นั้น โรงพยาบาลรัฐบาลบางแห่งอาจจะไม่มีให้บริการ ดังนั้นหากต้องการตรวจจำเป็นต้องรับบริการจากสถานพยาบาลภายนอก ซึ่งทาง HealthSmile ของเราให้บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี NIPT นี้อยู่ด้วยค่ะ (แพคเกจตรวจคัดกรองโครโมโซมและดาวน์ซินโดรมของ HealthSmile)
หลักการในการเลือกตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม
ที่สำคัญคือการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเกี่ยวกับผลที่อาจเกิดขึ้นจากการตรวจคัดกรอง เช่น ประโยชน์ที่จะได้รับ ความเสี่ยง ค่าใช้จ่าย และการจัดการกับผลการตรวจคัดกรอง ทั้งนี้ผู้ป่วยมีสิทธิในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการรักษาของตนเอง
อ่านเพิ่ม : 8 ขั้นตอนในการเลือกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมให้คุ้มค่า (NIFTY, Quad test, อัลตราซาวนด์ และอื่นๆ)
บางกรณีที่คุณแม่เข้ารับบริการกับสถานพยาบาลบางแห่งที่บังคับให้คุณแม่ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม หรือตรวจคัดกรองโครโมโซมกับสถานพยาบาลนั้นๆ โดยอาจจะมีราคาที่สูงมาก หรือไม่ได้มีการให้คำแนะนำที่เหมาะสมและดีเพียงพอ คุณแม่และครอบครัวสามารถที่จะปฏิเสธ และเลือกเข้ารับการตรวจคัดกรองกับสถานพยาบาลแห่งอื่นๆได้ ตามหลักของสิทธิผู้ป่วย ข้อที่ 5 ดังนี้
กรณีใดบ้างที่คุณแม่และครอบครัว ควรพิจารณาปฏิเสธข้อเสนอให้ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม หรือโครโมโซมกับสถานพยาบาลนั้น
- คิดค่าฝากครรภ์เหมารวม : นำการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเข้าไปในแพคเกจฝากครรภ์ โดยที่คุณแม่และครอบครัวไม่มีสิทธิ์ในการเลือกว่าจะตรวจด้วยวิธีใด
- ไม่แจ้งรายละเอียด : ไม่ได้แจ้งรายการ และราคาของแต่ละแพคเกจอย่างละเอียดและเข้าใจได้ง่าย
- เร่งรัดให้ตัดสินใจ : แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์แจ้งแนะนำการตรวจ และให้ตัดสินใจโดยเร็วว่าจะตรวจหรือไม่ตรวจในวันนั้นๆเลย เพื่อรีบเร่งให้ตัดสินใจ (จะได้ไม่มีโอกาสเปรียบเทียบกับสถานพยาบาลอื่น)
- โน้มน้าวให้ตรวจ : โดยอาจโน้มน้าวให้ตรวจแพคเกจที่มีราคาสูง แต่อาจจะไม่มีความจำเป็น และไม่ได้แจ้งทางเลือกอื่นๆที่มี
ขั้นตอนที่ควร
ถ้าคุณรู้สึกว่าแพทย์หรือโรงพยาบาลบังคับคุณให้ทำการตรวจโดยที่คุณแม่ไม่รู้สึกสบายใจ คุณแม่มีสิทธิในการปฏิเสธ และข้อต่อไปนี้คือขั้นตอนที่ควรทำ
- แสดงความคิดเห็น: บอกแพทย์ของคุณว่าคุณรู้สึกไม่สบายใจหรือไม่ยินยอมที่จะทำการตรวจหรือรับการรักษาดังกล่าว แน่ใจว่าคุณได้แสดงความคิดเห็นของคุณอย่างชัดเจน
- สอบถามข้อมูล: ขอให้แพทย์ของคุณอธิบายรายละเอียดของการตรวจหรือการรักษา ประโยชน์ที่จะได้รับ ความเสี่ยง และทางเลือกที่อื่น ที่คุณสามารถพิจารณา
- ขอความช่วยเหลือ: ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ คุณสามารถขอความช่วยเหลือจาก HealthSmile ให้ช่วยเปรียบเทียบความคุ้มค่า และวิธิต่างๆที่ทางสถานพยาบาลนั้นๆเสนอมาได้
- ขอความเห็นที่สอง: ถ้าคุณไม่แน่ใจในการตัดสินใจของคุณ คุณสามารถขอความเห็นจากแพทย์อื่นๆ หรือขอทบทวนข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจได้เสมอ
สุดท้ายนี้ คุณแม่และครอบครัวมีสิทธิ์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการตรวจ/รักษาของคุณเอง และควรมีการเคารพต่อสิทธิ์ของคุณ ทั้งนี้ การทำงานร่วมกับทีมการแพทย์ของคุณเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการและความกังวลของคุณจะช่วยให้คุณได้รับการตรวจที่เหมาะสมที่สุด