Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

Update มาตรฐานการฝากครรภ์ ปี 2566 จากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

เอกสารฉบับเต็ม : คลิกที่นี่

เรื่องการฝากครรภ์ เป็นหน้าที่ของสูตินรีแพทย์ร่วมกับครอบครัวของมารดา ที่จะส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพของมารดาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด เพื่อให้ทารกที่เกิดมาแข็งแรง และคุณแม่ปลอดภัย

หน้าที่หลักๆของสูตินรีแพทย์ด้านการดูแลครรภ์ มีดังนี้

     

      1. ส่งเสริมสุขภาพ : ด้วยการส่งเสริมโภชนาการ การดูแลสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้การตั้งครรภ์มีปัญหา เช่น เรื่องการสูบบุหรี่ของคนในครอบครัว โรคประจำตัวต่างๆของมารดา เป็นต้น
      1. ป้องกัน : ช่วยหาความเสี่ยงด้านสุขภาพของคุณแม่ และป้องกันความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ป้องกันเกี่ยวกับเรื่องเบาหวาน ดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ หรือครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น
      1. รักษา : กรณีพบความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ก็ต้องให้การรักษาอย่างเต็มที่เพื่อให้หายจากโรค หรือลดความรุนแรงจากโรคที่เป็นอยู่ให้ได้มากที่สุด
      1. ฟื้นฟู : ฟื้นฟูสุขภาพมารดาจากโรคต่างๆ ไปจนถึงการฟื้นฟูหลังคลอด

    โดยหลักๆแล้ว ในเรื่องของการตั้งครรภ์ จะเน้นไปในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเป็นส่วนใหญ่ โดยผ่านการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ มีการตรวจหาความเสี่ยงของโรค และการป้องกันโรคด้วยวัคซีน และยาต่างๆในคนที่มีความเสี่ยง

    ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย (Royal Thai College of Obstetricians and Gynecologists : RTCOG) จึงได้จัดทำแนวทางการดูแลขึ้น เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงมาตรฐาน ให้แพทย์ที่ฝากครรภ์ทุกคนทำตาม

    ในบทความนี้ ผู้เขียนของ HealthSmile ร่วมกับ นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์ ได้สรุปเนื้อหาในเอกสารของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และนำมาย่อยให้กับคุณแม่แต่ละท่าน เพื่อเป็น check list ว่าได้รับบริการการฝากครรภ์ที่ดี และถูกต้องตามมาตรฐานขั้นต่ำของประเทศไทยแล้วหรือยัง

    ทั้งนี้ การที่แพทย์ที่ฝากครรภ์ของคุณแม่ ทำ/ไม่ทำ ตามเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว ก็อาจจะเพราะมีเหตุผลบางประการ คุณแม่ควรที่จะปรึกษากับแพทย์ที่ฝากครรภ์โดยตรง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันนะคะ และแนวทางเวชปฏิบัติฉบับนี้มิได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินการทางกฎหมายแต่อย่างใดค่ะ

    อ่านเอกสารฉบับเต็ม
    แนวทางเวชปฏิบตัิของราชวิทยาลยัสตูินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
    เรื่อง การดูแลสตรีตั้งครรภ์
    RTCOG Clinical Practice Guideline : Prenatal Care

    คลิกที่นี่

    เริ่มต้นที่การหาความเสี่ยงของการตั้งครรภ์

       

        1. ซักประวัติของคุณแม่ ทั้งประวัติส่วนตัว และประวัติของครอบครัว
        1. ตรวจร่างกาย และตรวจภายใน
        1. ตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยมีรายการตรวจ ดังนี้

             

              • DCIP ดูพาหะทาลัสซีเมีย (ในบางโรงพยาบาลเอกชน อาจเลือกตรวจ Hemoglobin typing เลย แต่จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า)
              • Blood group (ABO และ Rh) ดูกรุ๊ปเลือด
              • ตรวจมะเร็งปากมดลูก กรณีไม่เคยตรวจมาในช่วง 3-5 ปี (การตรวจนี้หลายๆโรงพยาบาลอาจไม่ได้ตรวจให้ โดยสาเหตุมีหลากหลาย เช่น ข้อจำกัดของจำนวนแพทย์ที่มีในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ, แพทย์กังวลว่าหากมีเลือดออกหรือเกิดการแท้งแล้วจะโทษว่าเกิดจากการตรวจภายใน เป็นต้น : ผู้เขียน)
              • ตรวจปัสสาวะ หาการติดเชื้อ
              • ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ซิฟิลิส, เอชไอวี (HIV), ตับอักเสบบี (HBsAg)
              • ตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมของทารกในครรภ์ เช่น ดาวน์ซินโดรม ซึ่งโดยทั่วไปมีวิธีตรวจที่เลือกได้ ดังนี้

                   

                    • ตรวจ NIPT ความแม่นยำ 99.9% ราคาขึ้นอยู่กับจำนวนโครโมโซมที่เลือกตรวจ เริ่มต้นที่ 5 โครโมโซม รู้เพศได้
                • อัลตราซาวนด์
            1. ประเมินความเสี่ยงในการฝากครรภ์

                 

                  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์
                  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ
                  • การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โดยการอัลตราซาวนด์วัดความยาวปากมดลูก
              1. บันทึกประวัติการฝากครรภ์

            ต้องฝากครรภ์ทั้งหมดกี่ครั้ง

            คำตอบคือ ไม่มีตัวเลขที่แน่นอน

            ขึ้นอยู่กับความเสี่ยง และความผิดปกติที่พบระหว่างตั้งครรภ์ อาจจะฝากครรภ์ถี่มากขึ้น หากมีความเสี่ยง หรือมีโรค/ภาวะแทรกซ้อน

            โดยปกติ หากไม่มีความเสี่ยง/ภาวะแทรกซ้อนใดๆ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และฝากต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ ตามตารางนี้ เพื่อรับบริการตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแต่ละครั้งอย่างครบถ้วน

            ในรายที่เป็นครรภ์เสี่ยงสูงจากโรคทางอายุรกรรม ศัลยกรรม มีภาวะแทรกซ้อนในครรภ์ก่อน หรือครรภ์ปัจจุบัน มีปัจจัยเสี่ยงทางสังคม จะต้องปรับ วิธีและความถี่ของการฝากครรภ์ให้เหมาะสมกับปัญหาของแต่ละคนด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์แต่ละท่าน

            ตารางกิจกรรมบริการ การตรวจคดักรองที่จำเป็น และการประเมินความเสี่ยงตามอายุครรภ์

            ตารางกิจกรรมบริการ การตรวจคดักรองที่จำเป็น และการประเมินความเสี่ยงตามอายุครรภ์

             

            โดยหลักๆการตรวจติดตาม จะประกอบไปด้วยการซักประวัติความเสี่ยงทั้งทางกาย และทางใจ มีการตรวจร่างกาย ตรวจครรภ์ แนะนำการตรวจคัดกรองโรคต่างๆที่อาจเกิดในเด็ก เช่น คัดกรองอาการดาวน์ซินโดรม , ธาลัสซีเมีย คัดกรองโรคต่างๆที่อาจเกิดในมารดา เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ การตรวจสุขภาพช่องปาก รวมไปถึงการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในมารดาและทารกในครรภ์ ได้แก่ การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนคอตีบ/ไอกรน/บาดทะยัก เป็นต้น

            จากตารางด้านบน จะเป็นตารางมาตรฐานสำหรับการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลเท่านั้น ในโรงพยาบาลเอกชนระดับสูงหลายๆแห่ง อาจมีการตรวจต่างๆที่มากขึ้นกว่ามาตรฐานขั้นต่ำ เช่น การตรวจ NIPT คัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ , การตรวจคัดกรองเชื้อ GBS ในช่องคลอด , การตรวจ Torch titer , การตรวจตับอักเสบซี ฯลฯ

            แต่อย่างไรก็ดี หากคุณแม่เลือกฝากครรภ์ในคลินิก หรือโรงพยาบาลขนาดเล็ก คุณแม่ควรจะตรวจสอบให้ดี ว่าการฝากครรภ์ของคุณแม่ได้ครบตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำนี้หรือไม่ หากไม่ครบ คุณแม่ก็ควรจะเปลี่ยนสถานที่ฝากครรภ์เพื่อให้ทารกในครรภ์ของเราได้การบริการที่ดีที่สุด

            Exit mobile version