บทความนี้ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ กรกฏาคม 2567 เกี่ยวกับเรื่องฝากครรภ์สิทธิ์บัตรทอง มีอะไรบ้างนอกจากไปพบแพทย์ ได้รับยาบำรุง ได้อัลตราซาวด์กี่ครั้ง ได้วัคซีนอะไรฟรีบ้าง ได้ยาคุมฟรีไหม ข้อกำหนดเป็นอย่างไรบ้าง
อ่านตอนที่ 1 : สิทธิ์คุณแม่คนไทยต้องรู้ ตามราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.2565 ของฟรีที่รัฐมอบให้คุณแม่ตั้งครรภ์ (ตอนที่ 1)
อ่านตอนที่ 2 : สิทธิ์คุณแม่คนไทยต้องรู้ ตามราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.2565 ของฟรีที่รัฐมอบให้คุณแม่ตั้งครรภ์ (ตอนที่ 2)
ดาวน์โหลดไฟล์
สิทธิ์ที่คุณแม่จะได้รับ ตามราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.2566
เนื่องจากสิทธิต่างๆจะมีหลายข้อ แต่บทความนี้จะขอมุ่งเน้นสิทธิ์ของผู้หญิง และคุณแม่ตั้งครรภ์เท่านั้น เพื่อไม่ให้บทความมีเนื้อหายืดยาวเกินไป และเหมาะสมกับผู้อ่านหลักของเราที่เป็นคุณแม่ตั้งครรภ์นะคะ
1. บริการฝากครรภ์
-
- ค่าบริการดูแลการฝากครรภ์
-
- ตามมาตรฐานการดูแลผู้รับบริการของกระทรวงสาธารณสุข 8 ครั้ง
-
- ทั้งนี้ การเบิกค่าบริการฝากครรภ์ตั้งแต่ครั้งที่ 9 เป็นต้นไป ต้องมีรายละเอียดหลักฐานการให้บริการเพิ่มเติมจากหน่วยบริการ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจ่าย
-
- ค่าบริการดูแลการฝากครรภ์
-
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตามรายการดังนี้
-
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการชุดแรก : VDRL, HIV Antibody, Hepatitis B surface antigen (HBs Ag), CBC + MCV และ/หรือ DCIP และ Blood group: ABO/Rh
-
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการชุดที่สอง : VDRL และ HIV Antibody
-
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตามรายการดังนี้
-
- บริการตรวจอัลตราชาวด์
-
- บริการตรวจสุขภาพช่องปากและบริการขัดทำความสะอาดฟัน
-
- กรณีหญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อหรือยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๖๔ ก็สามารถใช้บริการยุติการตั้งครรภ์ได้
2. บริการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์
-
- ทั้งการตรวจทางห้องวินิจฉัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และสามีหรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีผลการคัดกรองผิดปกติ
4. บริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์
-
- ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ด้วยวิธี Quadruple test ฟรี ความแม่นยำประมาณ 80% (อ่านต่อ : คัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรี ทั่วประเทศไทย คืออะไร ใช้วิธีไหน แม่นยำเหรอ)
-
- การทำหัตถการเพื่อตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ เมื่อผลการตรวจคัดกรองพบว่ามีความเสี่ยงสูง เช่น เจาะน้ำคร่ำ เจาะเลือดสายสะดือ
-
- ยุติการตั้งครรภ์ กรณีพบทารกในครรภ์มีโครโมโซมผิดปกติ
7. บริการตรวจหลังคลอด
-
- ตรวจหลังคลอด 3 ครั้ง คือ หลังคลอดไม่เกิน 7 วัน, 8-15 วัน และ 16-42 วัน
-
- ยาเสริมธาตุเหล็ก โฟเลต และไอโอดีน ได้นานต่อเนื่อง 6 เดือน
8. บริการทดสอบการตั้งครรภ์
-
- ฟรี ไม่เกิน 4 ครั้งต่อคนต่อปี
9. บริการวางแผนครอบครัว และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
-
- ยาเม็ดคุมกำเนิด ไม่เกิน 13 แผงต่อคนต่อปี (ได้ยาครบ 1 ปี) โดยเป็นยาคุมสำหรับหญิงทั่วไป และยาคุมสำหรับหญิงให้นมบุตรไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน หรือผู้มีประวัติไมเกรนร่วมด้วยก็ได้
-
- ยาฉีดคุมกำเนิด ไม่เกิน 5 ครั้งต่อปี
-
- ใส่ห่วงอนามัย
-
- ฝังยาคุมกำเนิด ทุก 3 ปี รวมค่าถอดยาฝังคุมกำเนิดออกด้วย
-
- ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ไม่เกิน 2 แผงต่อคนต่อปี
-
- ถุงยางอนามัย ครั้งละไม่เกิน 10 ชิ้นต่อคน ไม่เกิน 365 ชิ้นต่อคนต่อปี
10. บริการป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
-
- ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ สำหรับหญิงที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ ทั้งวิธีใช้ยา และวิธีศัลยกรรม
12. บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
-
- ตรวจให้ฟรีแก่ผู้หญิงอายุ 30-59 ปี หรือ อายุ 15-29 ปี ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนหลายคน ไม่ใช้ถุงยางอนามัย
-
- ตรวจฟรี 1 ครั้งทุก 5 ปี โดยสามารถใช้ทั้งการตรวจ HPV DNA test, PAP smear, VIA
-
- ค่าตรวจยืนยันด้วยวิธี Colposcopy ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อ และตรวจทางพยาธิวิทยา
16. บริการตรวจคัดกรองยีนกลายพันธุ์โรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2
-
- เฉพาะผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เป็นมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูง (ซึ่งมีข้อกำหนดชัดเจน ว่าลักษณะใดจึงจะเป็นกลุ่มความเสี่ยงสูง)
-
- ญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัววตรวจพบยืนกลายพันธุ์
17. บริการคัดกรองโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
-
- หญิงอายุ 13-24 ปี
18. บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก และกรดโฟลิค
-
- หญิงอายุ 13-45 ปี
22. บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
-
- กลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่ม ซึ่งรวมถึง หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
จะเห็นได้ว่า รัฐมีให้สวัสดิการแก่คนไทยที่ดีพอสมควร แต่ผู้ทื่จะใช้สิทธิ์เหล่านี้ได้ จะต้องเป็นสิทธิ์บัตรทองเท่านั้น ซึ่งสามารถเข้ารับบริการได้ที่หน่วยบริการทั้งโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนที่รับสิทธิ์บัตรทองโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่มเติม (ทั้งนี้ โปรดสอบถามกับทางโรงพยาบาลก่อนเข้ารับบริการทุกครั้ง เนื่องจากบางโรงพยาบาลจะมีค่าบริการอื่นๆเพิ่มเติม)
ส่วนสิทธิ์ข้าราชการ หรือสิทธิ์ประกันสังคม ตามในเอกสารนี้จะไม่ครอบคลุม ทำให้อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเอง ดังนั้น โปรดสอบถามกับทางโรงพยาบาลก่อนเสมอ
References
1. | Facebook [Internet]. Facebook.com. [cited 2024 Jul 31]. Available from: https://www.facebook.com/NHSO.Thailand/posts/สิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์-ทุกสิทธิการรักษาพยาบาลสามารถรับบริการฝากครรภ์/447140144212499/ |
2. | “หญิงไทยตั้งครรภ์ทุกสิทธิ” มีสิทธิ “ฝากครรภ์คุณภาพ” กับกองทุนบัตรทอง [Internet]. Nhso.go.th. [cited 2024 Jul 31]. Available from: https://www.nhso.go.th/news/3484 |
3. | อีกเพียงก้าวเดียว หญิงไทย “ฝากท้องคลอด” ฟรี – TDRI: Thailand Development Research Institute [Internet]. TDRI: Thailand Development Research Institute. 2021 [cited 2024 Jul 31]. Available from: https://tdri.or.th/2021/12/financial-help-for-pregnant-women-and-childbirth/ |
4. | Uckkpho.com. [cited 2024 Jul 31]. Available from: https://www.uckkpho.com/wp-content/uploads/2023/06/22.pdf |
5. | รัฐบาลเชิญชวนหญิงไทยตั้งครรภ์ทุกคน ทุกสิทธิรักษาพยาบาล รับบริการตรวจคัดกรอง “ดาวน์ซินโดรม” และ “ธาลัสซีเมีย” ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ฝากครรภ์ กองทุนบัตรทอง [Internet]. Prd.go.th. [cited 2024 Jul 31]. Available from: https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/230754 |