Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

ยาอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อการตรวจคัดกรองโครโมโซม NIPT, NIFTY

ยาอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อการตรวจคัดกรองโครโมโซม NIPT, NIFTY

มีคุณแม่หลายๆท่าน ที่สงสัย ว่าการกินยารักษาโรคประจำตัว หรือยาต่างๆ จะส่งผลต่อการตรวจคัดกรองโครโมโซมด้วย NIPT หรือ NIFTY หรือไม่อันที่จริงแล้ว มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการตรวจ

NIPT หรือ NIFTY ได้แก่ โรคประจำตัวของมารดา(บางโรค), ภาวะโรคอ้วน, การเกิด Vanishing twins หรือ Mosaicism ของรก ฯลฯ ซึ่งสามารถอ่านได้จากบทความนี้ : 7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดพลาด

แต่สำหรับบทความนี้ เราจะมุ่งเน้น เรื่องของยา ที่อาจส่งผลต่อการตรวจ NIPT ได้ ดังนี้

ยาที่ส่งผลต่อปริมาณ fetal fraction ของ DNA ทารกในเลือดคุณแม่

Fetal fraction คือ ปริมาณชิ้นส่วนของ DNA ของทารกในครรภ์ ที่หลุดลอยอยู่ในเลือดของคุณแม่ โดย Fetal fraction ของทารกในครรภ์ควรจะมีปริมาณมากกว่า 4% จึงจะสามารถรายงานผลได้

ยาเบาหวาน Metformin (1)
ชื่อการค้า เช่น Diamet, Formin, Glucomet, Glucophage, Gluformin, ฯลฯ
ส่งผลให้ %fetal fraction ลดลง

การรับประทานยาเพื่อการรักษาโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป (two or more medications) (1)
ส่งผลให้ %fetal fraction ลดลง

ยาละลายลิ่มเลือด ชนิด low molecular weight heparin (LMWH) (2)
ได้แก่ Enoxaparin (Clexane) , dalteparin (Fragmin), tinzaparin (Innohep) ซึ่งยาเหล่านี้ ใช้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดดำ หรือโรคหัวใจ
ยากลุ่มนี้ อาจจะทำให้รายงานผลตรวจ NIPT ไม่ได้

รับประทานยาต่างๆอยู่ สามารถตรวจ NIPT ได้หรือไม่

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าคุณแม่จะได้รับยาดังกล่าวข้างต้น ก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามในการเข้ารับการตรวจ NIPT แต่อย่างใด และหากว่ารายงานผลได้ (% fetal fraction มีเพียงพอ) ผลที่ได้ ก็จะมีเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำไม่ได้แตกต่างไปจากคุณแม่ที่ไม่ได้รับประทานยาดังกล่าวแต่อย่างใด

ยาที่คุณแม่ถามบ่อยๆ ว่าสามารถรับประทานร่วมกับการตรวจ NIFTY หรือ NIPT ได้หรือไม่

ชื่อยา หรือกลุ่มยา สามารถรับประทานก่อนตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้หรือไม่
  • ยาฆ่าเชื้อ เช่น amoxy
  • ยาลดไข้ เช่น paracetamol
  • ยาลดความดันโลหิต
  • ยารักษาโรคไทรอยด์
  • ยาบำรุงครรภ์
  • วัคซีนป้องกัน COVID-19
  • วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
  • วัคซีนบาดทะยัก
ได้

 

มีไข้ ตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้หรือไม่

ตามข้อมูลทางการแพทย์แล้ว สามารถตรวจได้โดยไม่ได้ส่งผลต่อความแม่นยำของการตรวจ แต่เราแนะนำว่า คุณแม่ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการไข้ และรักษาให้หายดีก่อนการตรวจ ก็จะดีที่สุด

References

Kuhlmann-Capek, M., Chiossi, G., Singh, P., Monsivais, L., Lozovyy, V., Gallagher, L., Kirsch, N., Florence, E., Petruzzi, V., Chang, J., Buenaventura, S., Walden, P., Gardner, B., Munn, M., & Costantine, M. (2019). Effects of medication intake in early pregnancy on the fetal fraction of cell‐free DNA testing. Prenatal Diagnosis, 39(5), 361–368. https://doi.org/10.1002/pd.5436

Wardrop, J., Dharajiya, N., Boomer, T., McCullough, R., Monroe, T., & Khanna, A. (2016). Low molecular weight heparin and noninvasive prenatal testing [22C]. Obstetrics and Gynecology, 127(Supplement 1), 32S. https://doi.org/10.1097/01.aog.0000483371.41616.e2

Exit mobile version