Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

อากาศร้อนกับผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

อากาศร้อนกับผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

อากาศร้อนกับผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

อากาศร้อนจัด ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ การอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงมากและนานๆขณะตั้งครรภ์เป็นตัวก่อให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในการศึกษาในสัตว์ทดลอง ซึ่งกมีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการตั้งครรภ์ของมนุษย์ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน

การตั้งครรภ์อาจทำให้คุณแม่ป่วยได้ง่ายขึ้นเมื่ออากาศร้อนจัด เนื่องจากร่างกายของคุณต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายคุณแม่และทารกที่กำลังพัฒนาให้เย็นลง นอกจากนี้การตั้งครรภ์ยังต้องการการดื่มน้ำปริมาณที่มากขึ้น ทำให้คุณแม่มีแนวโน้มขาดน้ำมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งเมื่อมีภาวะขาดน้ำ จะทำให้คุณแม่ไม่สามารถทำให้ตัวเองเย็นลงได้ด้วยการออกเหงื่อ

ปัญหาที่เกิดกับคุณแม่ ในภาวะอากาศร้อน

1. ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)

อากาศร้อนสามารถทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำ เนื่องจากการสูญเสียเหงื่อมากขึ้น การขาดน้ำสามารถส่งผลต่อปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปยังทารกในครรภ์ และอาจทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้

2. ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)

การสูญเสียน้ำในร่างกายจากอากาศร้อนสามารถทำให้ความดันโลหิตลดลง ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกหน้ามืดหรือหมดสติได้ การที่ความดันโลหิตต่ำยังส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปยังทารก

3. การเกิดโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Exhaustion and Heat Stroke)

การที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปสามารถทำให้เกิดลมแดดหรือฮีทสโตรกได้ ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายและอาจมีผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างรุนแรงได้

4. ความเครียดและอารมณ์ไม่ดี

อากาศร้อนสามารถทำให้คุณแม่รู้สึกเครียดและอารมณ์ไม่ดี ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาของทารกและสุขภาพจิตของคุณแม่

การดูแลตนเองในช่วงอากาศร้อนจึงเป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่ควรดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อนนาน ๆ และสวมใส่เสื้อผ้าที่เบาและระบายอากาศได้ดี นอกจากนี้ ควรพักผ่อนในที่เย็นและมีการระบายอากาศเพียงพอเพื่อรักษาสุขภาพของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ค่ะ

ปัญหาที่เกิดกับทารกในครรภ์ ในภาวะอากาศร้อน

ปัจจุบัน ยังไม่มีการจำแนกลักษณะของความร้อนว่า ร้อนขนาดไหนถึงจะมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความปัญหาในการตั้งครรภ์

จากผลการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่มีรายได้สูง พบว่าอากาศที่ร้อน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย ความผิดปกติแต่กำเนิด และการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ได้

คุณแม่ควรทำอย่างไรในวันที่อากาศร้อนจัด

ในการป้องกันปัญหาจากความร้อน มีอยู่ 3 หลักการ ได้แก่

1. ทำร่างกายให้เย็น

  • ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม อาจจะหลวมเล็กน้อย เนื้อผ้าบางๆ
  • อยู่ในที่ร่ม หรือในห้องแอร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • อาบน้ำให้บ่อยขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการทำอาหารร้อนๆ หรือการรับประทานอาหารร้อนๆ
  • ไม่อยู่ในรถที่ไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ และห้ามปล่อยเด็กไว้ในรถโดยลำพังเด็ดขาด
  • แม้พัดลมจะช่วยให้เย็นขึ้นได้เล็กน้อย ในกรณีที่อยู่ในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท แต่ก็ไม่สามารถป้องกันอันตรายจากความร้อนได้
  • งดเว้นการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือออกกำลังกาย
  • ทาครีมกันแดดที่มีสารป้องกัน UVA / UVB

2. ทำร่างกายให้ชุ่มชื้น

  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น ไม่ต้องรอจนรู้สึกกระหายน้ำ
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีความหวาน เพราะว่าจะยิ่งทำให้เสียน้ำมากขึ้น
  • การมีเหงื่อออกมาก สามารถทำให้เกลือแร่และแร่ธาตุออกจากร่างกายในปริมาณมากได้ อาจจำเป็นต้องได้รับน้ำเกลือแร่หรือแร่ธาตุเสริมที่สูญเสียไปจากเหงื่อ
  • ไม่ควรดิ่มเครื่องดิ่มร้อนจัด หรือเย็นจัดอย่างรวดเร็ว

3. ติดตามอาการของร่างกาย

หากคุณแม่มีอาการ หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกหายใจไม่ค่อยทัน เวียนศีรษะ หน้ามืดจะเป็นลม คุณแม่ควรหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ขณะนั้นๆทันที รีบเข้าที่ร่มและขอความช่วยเหลือ

ไปพบแพทย์ทันทีหากคุณหรือคนที่คุณรู้จักมีอาการป่วย ที่สงสัยว่าเกิดจากความร้อน

References

CDC. (2024, May 15). Heat and pregnancy. Extreme Heat. https://www.cdc.gov/extreme-heat/risk-factors/heat-and-pregnancy.html

Baharav, Y., Nichols, L., Wahal, A., Gow, O., Shickman, K., Edwards, M., & Huffling, K. (2023). The impact of extreme heat exposure on pregnant people and neonates: A state of the science review. Journal of Midwifery & Women’s Health68(3), 324–332. https://doi.org/10.1111/jmwh.13502

Konkel, L. (2019). Taking the heat: Potential fetal health effects of hot temperatures. Environmental Health Perspectives127(10). https://doi.org/10.1289/ehp6221

Kuehn, L., & McCormick, S. (2017). Heat exposure and maternal health in the face of climate change. International Journal of Environmental Research and Public Health14(8), 853. https://doi.org/10.3390/ijerph14080853

Ravanelli, N., Casasola, W., English, T., Edwards, K. M., & Jay, O. (2019). Heat stress and fetal risk. Environmental limits for exercise and passive heat stress during pregnancy: a systematic review with best evidence synthesis. British Journal of Sports Medicine53(13), 799–805. https://doi.org/10.1136/bjsports-2017-097914

Samuels, L., Nakstad, B., Roos, N., Bonell, A., Chersich, M., Havenith, G., Luchters, S., Day, L.-T., Hirst, J. E., Singh, T., Elliott-Sale, K., Hetem, R., Part, C., Sawry, S., Le Roux, J., & Kovats, S. (2022). Physiological mechanisms of the impact of heat during pregnancy and the clinical implications: review of the evidence from an expert group meeting. International Journal of Biometeorology66(8), 1505–1513. https://doi.org/10.1007/s00484-022-02301-6

Saunas during pregnancy. (2017, May 1). American Pregnancy Association. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/is-it-safe/saunas-and-pregnancy/

Syed, S., O’Sullivan, T. L., & Phillips, K. P. (2022). Extreme heat and pregnancy outcomes: A scoping review of the epidemiological evidence. International Journal of Environmental Research and Public Health19(4), 2412. https://doi.org/10.3390/ijerph19042412

Wells, D. (2016, July 21). Sauna and pregnancy: Is it safe to use? Healthline. https://www.healthline.com/health/pregnancy/sauna

Exit mobile version