เชื้อ Group B Streptococcus (GBS) หรือ Streptococcus agalactiae เป็นเชื้อแบคทีเรีย โดยสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อของทารกแรกคลอดทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบที่เริ่มมีอาการช้าได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ โดยในบางสายพันธุ์ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารกแรกคลอดได้ด้วย
เชื้อ GBS นั้นสามารถก่อให้เกิดโรครุนแรงได้ในประชากร 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งมีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งเกิดเนื่องมาจากโรคประจำตัวที่มีอยู่
เช่น โรคเบาหวาน, โรคมะเร็ง, โรคตับ/ไตทำงานบกพร่อง, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อเฮชไอวี ซึ่งมักทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดแบบรุนแรง, การติดเชื้อของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เป็นต้น ซึ่งอาการติดเชื้อเหล่านี้สัมพันธ์กับอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตตามมาได้สูง แม้จะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมแล้วก็ตาม
2. หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
พบว่าเชื้อ GBS เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ, การติดเชื้อของระบบสืบพันธ์ส่วนบน (เช่น การอักเสบติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ) , เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบหลังคลอด (8 เปอร์เซ็นต์), ปอดอักเสบติดเชื้อ (2 เปอร์เซ็นต์), การติดเชื้อในกระแสเลือดหลังคลอด (2 เปอร์เซ็นต์) และการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดแบบไม่เฉพาะเจาะจง (31 เปอร์เซ็นต์)
นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการติดเชื้อตามอวัยวะต่างๆอีก เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, เยื่อบุหัวใจอักเสบได้ แต่พบได้ไม่บ่อยนัก
การติดเชื้อ GBS แบบรุนแรงในมารดาขณะตั้งครรภ์ ยังสัมพันธ์กับการเกิดการแท้งบุตรและการคลอดก่อนกำหนดได้ ซึ่งในกลุ่มของหญิงตั้งครรภ์ที่ทราบผลของการตั้งครรภ์พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของมารดาที่มีการติดเชื้อ GBS ทำให้เกิดการเสียชีวิตของทารกในครรภ์, การติดเชื้อของทารกแรกเกิด, การเสียชีวิตของทารกแรกเกิด หรือการแท้งตามมาได้
GBS Colonization คือการที่มารดามีเชื้อ GBS โดยไม่มีอาการ ซึ่งพบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดการติดเชื้อ GBS ของทารกแรกเกิด ซึ่งจะอธิบายเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ GBS ในทารกแรกเกิดต่อไป
3. ทารกแรกเกิด
การติดเชื้อ GBS ของทารกแรกเกิดแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ตามอายุที่เกิดอาการของโรค คือ
-
- Early-onset GBS กลุ่มนี้โดยทั่วไปจะเกิดอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด แต่ยังสามารถเกิดได้ภายใน 6 วันหลังการเกิดมีชีพโดยโรคที่มักจะพบได้คือ
-
- ติดเชื้อในกระแสเลือดแบบแพร่กระจาย (80-85 เปอร์เซ็นต์)
-
- ปอดอักเสบติดเชื้อ(10 เปอร์เซ็นต์)
-
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ(7 เปอร์เซ็นต์)
-
- อาการในทารกมักไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อาจมีอาการซึมลง กินนมน้อยลง กระสับกระส่าย มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ (เช่น หายใจเร็ว หายใจมีเสียงดัง ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ) อุณหภูมิร่างกายผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ
-
- Early-onset GBS กลุ่มนี้โดยทั่วไปจะเกิดอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด แต่ยังสามารถเกิดได้ภายใน 6 วันหลังการเกิดมีชีพโดยโรคที่มักจะพบได้คือ
-
- Late-onset GBSมักเกิดอาการใน 4-5 สัปดาห์หลังคลอด (อายุระหว่าง 7-89 วัน) โดยโรคที่มักจะพบได้ในระยะนี้คือ
-
- การติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด (65 เปอร์เซ็นต์) โดยมักมีอาการนำมาด้วยมีไข้มากกว่า/เท่ากับ 38 องศาเซลเซียส
-
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (25-30 เปอร์เซ็นต์)
-
- การติดเชื้อเฉพาะที่ มักมาด้วยอาการปอดอักเสบติดเชื้อ ข้อติดเชื้อ การอักเสบติดเชื้อของกระดูก เนื้อเยื่อผิวหนังอักเสบ และต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ส่วนที่พบได้ไม่บ่อยคือ เยื่อบุหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กรวยไตอักเสบ การติดเชื้อภายในลูกตา ฝีหนองในสมอง เป็นต้น
-
- Late-onset GBSมักเกิดอาการใน 4-5 สัปดาห์หลังคลอด (อายุระหว่าง 7-89 วัน) โดยโรคที่มักจะพบได้ในระยะนี้คือ
-
- Late,late-onset GBS (หรือ very-late-onset GBS หรือ GBS beyond early infancy) เกิดในทารกที่มีอายุมากกว่า 3 เดือน มักพบในทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ หรือในเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เราติดเชื้อ GBS ได้อย่างไร
แบคทีเรีย GBS เกิดขึ้นตามธรรมชาติในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น ลำไส้ ระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ ผู้ใหญ่ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนหรือจากการแบ่งปันอาหารหรือเครื่องดื่มกับผู้ติดเชื้อ ณ ปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญยังไม่แน่ใจว่าทำไมแบคทีเรียถึงแพร่กระจาย แต่เชื้อดังกล่าวนี้เป็นอันตรายมากต่อทารกและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
ต้องการทราบว่าตนเองมีเชื้อ GBS หรือไม่ คลิกที่นี่ เพื่อสอบถามชุดตรวจด้วยตนเอง
GBS เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่?
ไม่ใช่ แบคทีเรีย GBS อาศัยอยู่ตามธรรมชาติในช่องคลอดหรือทวารหนักของคุณ ไม่ก่อให้เกิดอาการสำหรับคนส่วนใหญ่
ปัจจัยของการเกิดการติดเชื้อ GBS แบบ Early onset ในทารกแรกเกิด
การมีเชื้อ GBS colonization อยู่บริเวณช่องคลอดและทวารหนักของมารดาในช่วงระหว่างการรอคลอด ถือเป็นปัจจัยหลักของการเกิดการติดเชื้อ GBS แบบ Early onset ในทารก
พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มี GBS colonization มีความเสี่ยงมากกว่าถึง 25 เท่าในการเกิดการติดเชื้อ GBS แบบ Early onset ในทารกเมื่อเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีเชื้อ GBS colonization อยู่
ปัจจัยอื่นๆที่สัมพันธ์กับการเกิดการติดเชื้อ GBS ในทารกประกอบด้วย การคลอดที่อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์, ความยาวนานของการแตกของถุงน้ำคร่ำ, การอักเสบติดเชื้อภายในถุงน้ำคร่ำ, มารดาที่อายุน้อย, หญิงผิวดำ และมารดาที่มี GBS-specific anticapsular antibody ต่ำ
ยิ่งมี GBS colonization ปริมาณมาก เช่น มีการติดเชื้อ GBS ในทางเดินปัสสาวะ หรือมีตกขาวผิดปกติที่เกิดจากเชื้อ GBS ก็เพิ่มปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อเช่นกัน
ตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมาหลังจากได้มีการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS สู่ทารก (Intrapartum antibiotic prophylaxis) พบว่ามีการลดลงของอุบัติการณ์การเกิด Early-onset GBS sepsis ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ (จาก 1.7 ลดลงเหลือ 0.4 เคสต่อ 1,000 การคลอดมีชีพ)
อาการของการติดเชื้อ GBS เป็นอย่างไร?
ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ไม่พบอาการ แต่อาจทำให้เกิดอาการในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่างได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะมีอาการตกขาวหรือไม่ หรือจะมีปัสสาวะผิดปกติหรือไม่ก็ตาม ผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคน ควรได้รับการตรวจหาเชื้อ GBS เนื่องจากว่ามักจะมีการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการอยู่เสมอๆ หากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างรุนแรงได้
ในบางกรณี GBS ทำให้เกิดการติดเชื้อของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาการของการติดเชื้อ ได้แก่ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว และอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หากคุณแม่มีอาการดังกล่าว ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เนื่องจากการติดเชื้อนี้ อาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้
ใครที่ควรได้ยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS ของทารกในครรภ์
The CDC guideline 2010 (Centers for Disease Control and Prevention) หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำถึงการทำการเพาะเชื้อ GBS บริเวณช่องคลอดและทวารหนักของหญิงตั้งครรภ์ทุกคนที่อายุครรภ์ 35-37 สัปดาห์เพื่อประเมินหาผู้ที่ควรได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS ในช่วงรอคลอด
โดยหญิงตั้งครรภ์ทุกคนที่มีผลการเพาะเชื้อ GBS เป็นผลบวกจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS ในช่วงระหว่างรอคลอดเองทางช่องคลอด ยกเว้นในรายที่มีการผ่าตัดคลอดก่อนที่จะมีการเจ็บครรภ์และถุงน้ำคร่ำยังไม่แตกก็จะไม่ต้องให้ยาป้องกัน
การทำการเพาะเชื้อ GBS บริเวณช่องคลอดและทวารหนักของหญิงตั้งครรภ์จะยกเว้นไม่ต้องทำในรายที่มีการติดเชื้อ GBS ในปัสสาวะ(GBS bacteriuria) ในครรภ์ปัจจุบัน หรือในรายที่มีประวัติให้กำเนิดทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อ Early-onset GBS ในครรภ์ก่อน เพราะในสองกรณีดังกล่าว มารดาควรได้รับ intrapartum antibiotic prophylaxis อยู่แล้ว และหากตรวจพบ GBS bacteriuria ในช่วงใดก็ตามของการตั้งครรภ์ควรได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาด้วย
เนื่องจากในหญิงตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติ GBS colonization ในครรภ์ก่อนมักจะไม่สัมพันธ์กับการมี GBS colonization ในครรภ์ถัดไป ดังนั้นจึงควรได้รับการเพาะเชื้อเหมือนหญิงตั้งครรภ์ปกติ และไม่จำเป็นต้องได้รับ intrapartum antibiotic prophylaxis ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ในการให้ในครรภ์ปัจจุบัน
สรุปผู้ที่ควรได้รับยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS ของทารกในครรภ์
-
- หญิงตั้งครรภ์ที่มีผลเพาะเชื้อบริเวณช่องคลอดและทวารหนัก พบ GBS (ระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะตรวจ คือช่วงอายุครรภ์ 35-37 สัปดาห์)
-
- หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติให้กำเนิดทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อ Early-onset GBS ในครรภ์ก่อน
-
- เคยตรวจพบการติดเชื้อ GBS ในปัสสาวะ (GBS bacteriuria) ในไตรมาสใดก็ตามของการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
-
- ไม่ทราบสถานะของการพบเชื้อ GBS ในช่วงเจ็บครรภ์คลอด (ไม่เคยทำการเพาะเชื้อ, หรือไม่ทราบผลของการเพาะเชื้อ) และมีลักษณะใดๆดังต่อไปนี้
-
- อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ และกำลังจะคลอด
-
- ถุงน้ำคร่ำแตกมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ชั่วโมง
-
- มารดามีไข้ ในระหว่างรอคลอด มากกว่าหรือเท่ากับ 38.0 องศาเซลเซียส
-
- ผลการทดสอบ nucleic acid amplification test (NAAT) สำหรับเชื้อ GBS ให้ผลบวกในช่วงระหว่างรอคลอด (การทดสอบ NAAT สำหรับเชื้อ GBS อาจไม่มีใช้ในบางสถานที่)
-
- ไม่ทราบสถานะของการพบเชื้อ GBS ในช่วงเจ็บครรภ์คลอด (ไม่เคยทำการเพาะเชื้อ, หรือไม่ทราบผลของการเพาะเชื้อ) และมีลักษณะใดๆดังต่อไปนี้
สรุปผู้ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS ของทารกในครรภ์
-
- ผ่าตัดคลอดก่อนที่จะมีการเจ็บครรภ์และถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก โดยไม่คำนึงถึงผลตรวจเชื้อ GBS หรือ อายุครรภ์
-
- มี GBS colonization ในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน (ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ในครรภ์ปัจจุบัน)
-
- มีการติดเชื้อ GBS ในปัสสาวะในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน (ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ในครรภ์ปัจจุบัน)
-
- ผลการเพาะเชื้อ GBS บริเวณช่องคลอดและทวารหนักในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ (ระยะเวลาที่เหมาะสมคือช่วงอายุครรภ์ 35-37 สัปดาห์)ให้ผลเป็นลบในครรภ์ปัจจุบัน โดยไม่คำนึกถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆในช่วง intrapartum
ยาฆ่าเชื้อที่ควรใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS ของทารกระหว่างรอคลอด
ยาที่เหมาะสมที่สุดยังคงเป็น Penicillin โดยอาจใช้ Ampicillin เป็นทางเลือกรองได้ และ Cefazolin ยังคงเป็นยาที่เหมาะสมที่สุดในผู้ป่วยที่แพ้ Penicillin แบบไม่รุนแรง
CDC guideline 2010 ไม่แนะนำให้ใช้ยา Erythromycin แล้ว เนื่องจากมีการดื้อยาสูง
โดยพบว่าการให้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ GBS ในทารกแรกเกิดนั้นจะเพียงพอเมื่อได้รับยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนคลอด แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรให้หัตถการใดๆที่จำเป็นต้องล่าช้าเพื่อรอระยะเวลา 4 ชั่วโมงก่อนคลอดดังกล่าว
การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหาเชื้อ GBS
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการเก็บสิ่งส่งตรวจจะเก็บโดยใช้ไม้พันสำลีปราศจากเชื้อป้ายเก็บที่บริเวณช่องคลอด (ด้านนอก) และทวารหนัก (ผ่านหูรูดทวารหนัก) แล้วนำเก็บใน transport media แล้วจึงนำไปเพาะเชื้อต่อไปนั้น เป็นวิธีมาตรฐาน แต่ว่าต้องใช้อุปกรณ์ และบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้เก็บสิ่งส่งตรวจ นอกจากนี้ยังเสียเวลาในการรอผลที่ค่อนข้างนาน เพื่อเพาะให้เชื้อเจริญเติบโต (รอผลอย่างน้อย 3-7 วัน ขึ้นกับสถานที่ตรวจ)
ทาง CDC 2010 จึงได้มีการแนะนำการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติตามเพิ่มเติมในการระบุหาเชื้อ GBS โดยการใช้ Nucleic acid amplification test (NAAT) เพื่อหา DNA ของเชื้อที่อยู่ในช่องคลอด ซึ่งได้ผลที่รวดเร็วกว่า โดยในปัจจุบัน เทคโนโลยีในการตรวจเชื้อจาก DNA นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด จนมาเป็นวิธี Polymerase chain reaction (PCR) (ที่ใช้เป็นมาตรฐานในการตรวจเชื้อ COVID) ซึ่งมีความแม่นยำสูงมาก และผลออกเร็วภายในไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ในรายที่ผลการทดสอบ NAAT ต่อเชื้อ GBS ให้ผลเป็นบวก ควรได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันเชื้อ GBS ในช่วงระหว่างรอคลอด
บทสรุป
โดยสรุปแล้ว Group B streptococci (GBS) หรือ เชื้อ Streptococcus agalactiae เป็นเชื้อก่อโรคสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงและการตายของทารกแรกเกิด จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 10-30 มีเชื้อนี้แฝงอยู่ที่ช่องคลอดและทวารหนักหรืออาจเรียกว่าเป็นพาหะของเชื้อ GBS ซึ่งสามารถทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก ถุงน้ำคร่ำอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด หรืออาจพบเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนี้ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกนั้นมักเกิดจากการติดเชื้อระหว่างคลอด ในช่วงที่ทารกคลอดผ่านช่องคลอดที่มีเชื้อ GBS แฝงอยู่ได้
สำหรับในประเทศไทยนั้นได้เคยมีการศึกษาความชุกของพาหะของเชื้อ GBS ในสตรีตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ซึ่งพบว่าความชุกของพาหะของเชื้อ GBS คือ ร้อยละ16 และโรงพยาบาลศรีนครินทร์พบว่าความชุกของพาหะของเชื้อ GBS คือ ร้อยละ 6.22
สำหรับในโรงพยาบาลทั่วไปทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ยังไม่มีมาตรฐานเรื่องของการตรวจคัดกรอง GBS ในคุณแม่ตั้งครรภ์ จึงยังไม่มีโรงพยาบาลใดถือนำมาปฏิบัติเรื่องของการตรวจหาเชื้อ GBS
แต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องการได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อ GBS เพื่อป้องกันโรคร้ายที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งตัวคุณแม่ และทารกในครรภ์ ณ ปัจจุบัน ก็สามารถซื้อชุดตรวจหาเชื้อ GBS ได้ด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยี Multiplex PCR (วิธีหนึ่งของ NAAT) ที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจหาเชื้อ หากพบความผิดปกติ ก็สามารถให้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อสู่ทารกได้ตามแนวทางการรักษาของ CDC 2010 ดังที่ได้กล่าวข้างต้น
References
Group B strep in pregnancy: Test, risks & treatment. (n.d.). Cleveland Clinic. Retrieved April 20, 2024, from https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/11045-group-b-streptococcus–pregnancy
การป้องกันการติดเชื้อสเตร๊บโตคอคคัสกรุ๊ปบีในทารกแรกเกิด – department of obstetrics and gynecology faculty of medicine Chiang Mai university. (n.d.). Cmu.ac.th. Retrieved April 20, 2024, from https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/4503/
ทางทีมงานปรับปรุงเนื้อหาเล็กน้อย เพื่อความง่ายในการอ่านสำหรับบุคคลทั่วไป