แผลที่อวัยวะเพศ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การเสียดสี/กระแทก การติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรืออาจเป็นจากโรคที่เกิดในส่วนอื่นๆของร่างกายแต่ว่าทำให้เกิดแผลก็ได้ เช่น มะเร็งต่างๆ โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน ฯลฯ แม้ว่าบางครั้งแผลอาจดูไม่รุนแรงในระยะแรก แต่ก็มีบางกรณีที่ต้องรีบรักษาเพื่อป้องกันภาวะที่ร้ายแรงขึ้นในอนาคต ดังนั้น ในบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับแผลที่อวัยวะเพศและความสำคัญของการรักษาให้ทันเวลาก่อนที่อาการจะรุนแรง
สำหรับคุณผู้หญิง หรือคุณผู้ชายที่มีแผล หรือตุ่ม ที่มีอาการเจ็บ/แสบเวลาโดนน้ำ บริเวณอวัยวะเพศ ช่องคลอด องคชาติ หรือบริเวณทวารหนัก สาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs : Sexually Transmitted Diseases) แต่อย่างไรก็ดี มีโรคอีกหลายอย่างที่ทำให้เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศได้
สาเหตุของการเป็นแผลที่อวัยวะเพศ
การบาดเจ็บของอวัยวะเพศจากการเสียดสี กระแทก หรือสารเคมี
อวัยวะเพศชายและหญิงเป็นโครงสร้างที่อ่อนไหวและมีความไวต่อการบาดเจ็บ อาจเกิดจากการเสียดสีและทำให้เกิดแผล เช่น เวลามีเพศสัมพันธ์ในขณะที่อวัยวะเพศขาดการหล่อลื่น หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ (Sex toy) โดยไม่ระมัดระวัง การบาดเจ็บเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะเพศและสามารถทำให้เกิดแผลร้ายแรงได้ หากมีเลือดออกปริมาณมาก และมีการฉีกขาดรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาทันเวลา
นอกจากนี้ อวัยวะเพศอาจเป็นแผลจากการถูกสารเคมีต่างๆกัดจนทำให้เกิดแผลได้เช่นกัน เช่น โลชั่น ครีมกำจัดขน หรือสารเคมีจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ
-
- แผลริมอ่อน (Chancroid) เกิดจากเชื้อ Haemophilus ducreyi
-
- หนองในเทียม (Chlamydia) เกิดจากเชื้อ Chlamydia trachomatis
-
- เริมที่อวัยวะเพศ (Genital herpes) เกิดจากเชื้อ Herpes simplex virus
-
- ซิฟิลิส (Syphilis) เกิดจากเชื้อ Treponama pallidum
-
- การติดเชื้อ HIV
การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัยหรือการมีคู่นอนหลายคนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อที่กล่าวด้านบนสามารถถ่ายทอดผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และทำให้เกิดแผลบนอวัยวะเพศได้ บางกรณีจะมีอาการอักเสบรุนแรง สามารถก่อให้เกิดแผลเป็นน่าเกลียดที่อวัยวะเพศและร่างกายรอบๆได้
แผลที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นี้สามารถแพร่ไปให้ผู้อื่นได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์โดยการสอดใส่ การสัมผัส หรือการใช้ปากก็สามารถติดได้ ดังนั้นจึงควรงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์หากมีแผลที่บริเวณอวัยวะเพศ และเข้ารับการตรวจรักษาให้แน่ชัดก่อนเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคติดต่อไปสู่ผู้อื่น
การติดเชื้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ก็ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศได้
การติดเชื้อไวรัส
-
- CMV : Cytomegalovirus ทำให้เกิดตับอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาการรุนแรงอื่นๆ
-
- EBC : Epstein-Barr virus ทำให้เกิดโรค mononucleosis.
-
- Influenza A virus ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่
-
- Paratyphoid virus ทำให้เกิดไข้ไทฟอยด์ typhoid fever.
-
- Varicella zoster virus ทำให้เกิดโรค สุกใส (chickenpox) และ โรคงูสวัด (shingles) ได้
การติดเชื้อแบคทีเรีย
โรคทางกายอื่นๆที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และเป็นแผลที่อวัยวะเพศได้
การรักษาแผลที่อวัยวะเพศ
การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของแผล แต่ทั้งนี้ การรักษาแผลที่อวัยวะเพศต้องดำเนินการโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เท่านั้น ไม่ควรไปซื้อยาจากร้านขายยามารับประทานด้วยตนเอง เนื่องจากอาจจะไม่ตรงโรค และทำให้การรักษาล่าช้าเกิดผลเสียได้
การรักษา อาจเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุ ซึ่งมีหลายชนิด ดังนั้น จึงต้องให้การรักษาให้ตรงโรคและหายขาด นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาและการรักษาอื่นๆเพื่อลดอาการอักเสบ ลดอาการปวด บวม แดง หรือมีน้ำเหลืองไหลออกมา และหากไม่ได้รับการรักษาทันเวลาและอยู่ในสภาวะอักเสบรุนแรง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงเช่น การติดเชื้อแทรกซ้อนที่มีอาการรุนแรงได้
อ่านต่อ : ผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น หากไม่ได้รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การป้องกันการเกิดแผลที่อวัยวะเพศ
นอกจากการรักษาแผลที่อวัยวะเพศทันทีเมื่อเกิดบาดเจ็บแล้ว การป้องกันก็เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยคุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยง
-
- การป้องกันอุบัติเหตุ การเสียดสี และสารเคมี : ไม่ใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น และไม่มีการระบายอากาศที่ดี ใช้สารหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์กรณีที่ไม่มีน้ำหล่อลื่นตามธรรมชาติที่เพียงพอ ระมัดระวังและใช้เครื่องป้องกันอุบัติเหตุ เช่น สวมใส่ชุด/ผ้าคลุมที่มีความปลอดภัยเมื่อมีกิจกรรมที่อาจเสี่ยงขณะทำงาน
-
- การใช้มาตรการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ : ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ หรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย เช่น มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือทวารหนักโดยไม่ได้มีเครื่องป้องกัน
-
- การรักษาอาการ และรักษาโรคอย่างถูกต้อง ตามสาเหตุที่พบ : หากเกิดบาดแผลบนอวัยวะเพศ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง หากมีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อให้เกิดขึ้น หากตรวจพบโรคอื่นก็ควรรักษาตามสาเหตุของโรคที่ตรวจพบ
-
- รักษาสุขอนามัยที่ดีเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย : รวมถึงการรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถป้องกันได้ เช่น วัคซีนป้องกันเอชพีวี (HPV vaccine) หรือวัคซีนป้องกันตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine) เป็นต้น
-
- หมั่นตรวจสุขภาพทางเพศ : นอกจากการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและรักษาแผลที่อวัยวะเพศ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพทางเพศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจจับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระยะเริ่มต้นและรับการรักษาทันทีเมื่อมีความจำเป็น
ท้ายที่สุดนี้ ข้อสำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่เป็นแผลที่อวัยวะเพศ ต้องให้ความสำคัญอย่างสูง คือควรจะเข้ารับการรักษาให้หายขาดก่อนมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดต่ออย่างเข้มงวด ไม่เพียงเพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคลแต่ยังเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม เพราะแผลที่เป็นนี้อาจเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งสามารถกระจายไปสู่คนอื่นๆในชุมชนได้
สรุป
แผลที่เกิดขึ้นบนอวัยวะเพศอาจมีความร้ายแรงและต้องรีบเข้ารับการตรวจ และรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นในอนาคต การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจอย่างสูง และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อรักษาสุขภาพทางเพศและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นในอนาคต การรักษาและป้องกันแผลที่อวัยวะเพศทันเวลาเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ และควรใช้ข้อมูลและคำแนะนำที่มีคุณภาพจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ในที่สุด เราต้องระมัดระวังและดูแลสุขภาพทางเพศของเราเองอย่างสม่ำเสมอ