Bacterial vaginosis เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากแบคทีเรียชนิด ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ มีการเพิ่มจำนวนของในช่องคลอดอย่างมากมาย โดยเกิดจากการที่แบคทีเรียสายพันธุ์ lactobacillus ที่มีประโยชน์ ซึ่งทำหน้าที่สร้าง hydrogen peroxide ในช่องคลอดลดลง
สาเหตุของโรค
สาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับการที่ช่องคลอดมีสภาพเป็นด่างบ่อยๆ จากการมีเพศสัมพันธ์ หรือการสวนล้างช่องคลอด (โดยปกติช่องคลอดที่ปกติจะมีภาวะเป็นกรดอ่อนๆ)
เชื่อว่าเชื้อที่เป็นสาเหตุหลักคือ Gardnerella vaginalis ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง พบว่าสามารถเพาะเชื้อนี้ได้จากผู้ป่วย BV ที่ได้รับการรักษาหายแล้วก็สามารถเพาะเชื้อได้ถึง 40 %
บางท่านเชื่อว่าเชื้อ Gardnerella vaginalis เป็นเชื้อประจำถิ่นในช่องคลอดและอาจตรวจพบเป็นครั้งคราว (transient) ได้บ่อยๆ จึงแนะนำไม่ต้องให้รักษาในคนที่ไม่มีอาการ
ปัจจุบันเชื่อว่าอาการของ BV นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิด anaerobe หลาย ๆ ชนิด (อาทิเช่น Prevotella sp., Mobiluncus sp.) Mycoplasma hominis และ Gardnerella vaginalis ร่วมกัน (symbiosis และ synergism)
โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการของโรคนี้จะมีแบคทีเรียชนิด anaerobe และ Gardnerella vaginalis ในช่องคลอดเพิ่มขึ้น 10 เท่า และ 100 เท่า ตามลำดับ ขณะที่มักตรวจไม่พบ lactobacilli (แบคทีเรียชนิดดี) ในช่องคลอดเลย
อาการและอาการแสดง
อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ
-
- ตกขาวมีกลิ่นอับ (musty) หรือกลิ่นคาวปลา (fishy) มักมีกลิ่นรุนแรงภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเกิดจากการที่ตกขาวทำปฏิกิริยากับน้ำอสุจิซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง แล้วปลดปล่อยสารเคมีชนิด aromatic amines ออกมา
-
- อาการคันหรือ vulva irritation พบได้เล็กน้อย
-
- ตรวจทางช่องคลอดจะพบตกขาวสีขาวเทาลักษณะเหลวเนื้อละเอียดคล้ายกาวแป้งมันติดอยู่กับผนังช่องคลอดไม่แน่น ตกขาวอาจมีลักษณะเป็นฟอง (frothy) พบได้ 10 %
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
-
- Gardnerella vaginalis (เป็นเชื้อที่พบหลัก)
-
- อื่นๆ เช่น Prevotella, Mobiluncus, Bacteroides, Peptostreptococcus, Fusobacterium, Veillonella, Eubacterium. , Streptococcus viridans, Atopobium vaginae
การรักษา
การใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) เป็นวิธีหลักในการรักษา แม้ว่าโรคนี้จะสัมพันธ์กับการลดลงของเชื้อแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) แต่ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีแลคโตบาซิลลัส ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่ามีประโยชน์
ในสตรีทั่วไป ควรได้รับการรักษาหากมีอาการ
แต่หากไม่มีอาการตกขาว หรือมีกลิ่นผิดปกติ ถึงแม้ว่าจะตรวจพบเชื้อ Gardnerella vaginalis ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
ในสตรีตั้งครรภ์ ควรรักษาภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในสตรีมีครรภ์ เนื่องจากส่งผลเสียหลายอย่างต่อการตั้งครรภ์ได้
หากตรวจพบการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (BV) แนะนำให้รักษาให้หาย ก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอด, การตัดมดลูกออกทางหน้าท้องทั้งหมด, หรือการใส่ห่วงอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการทำการผ่าตัด/หัตถการดังกล่าว
หากใช้ยาเพื่อรักษาจนครบขนาดยาที่กำหนดแล้วโรคไม่หาย อาจลองใช้ตัวเดิมรักษาซ้ำเป็นครั้งที่สอง หรือเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นก็ได้ (เช่น จาก Metronidazole เป็น Clindamycin)
1. ยารับประทาน
Metronidazole ถือเป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรก เพราะมีฤทธิ์ต่อแบคทีเรียชนิด anaerobe รวมถึง Gardnerella vaginalis ที่ทำให้เกิดโรค แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อ lactobacilli ที่เป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในช่องคลอด
ให้ยาได้ 2 แบบ
-
- รับประทาน 500 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน ได้ผลประมาณ 95 %
Metronidazole (500) 1 tab po bid pc for 7 days (14 เม็ด)
ในร้านขายยาโดยทั่วไป จะมีแต่ยาขนาด 200 มิลลิกรัม/เม็ด ดังนั้น จึงอาจแนะนำให้รับประทาน 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน แทน
Metronidazole (200) 2 tab po tid pc for 7 days (42 เม็ด)
- รับประทาน 500 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน ได้ผลประมาณ 95 %
-
- รับประทาน 2 กรัมครั้งเดียว ได้ผลประมาณ 84 %
Metronidazole (200) 10 tab po once (10 เม็ด)
- รับประทาน 2 กรัมครั้งเดียว ได้ผลประมาณ 84 %
อาการข้างเคียง
คลื่นไส้ อาเจียน, ลิ้นรับรสเปลี่ยนแปลง, ปวดศีรษะ, ปัสสาวะมีสีเข้ม ซึ่งเกิดได้ไม่มาก
ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำให้งดการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างรักษาและหลังรักษาเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพราะ Metronidazole ร่วมกับแอลกอฮอล์อาจทำให้มีอาการ disulfiram like reaction คือ หน้าแดง ปวดหัว ใจสั่น มึนงง ได้
ในรายที่แพ้ยา metronidazole หรือดื้อยา
-
- Clindamycin รับประทาน 300 mg วันละ 2 ครั้งนาน 7 วัน มีประสิทธิภาพ 94 %
-
- Amoxicillin 500 mg + clavulanic acid (Augmentin®️) รับประทานวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน มีข้อเสียคือ มีผลต่อ lactobacilli ด้วย
ยาอื่นๆ เช่น ciprofloxacin, cephalexin, tetracycline, ampicillin, erythromycin ไม่ค่อยได้ผล
2. ยาทา หรือยาใช้เฉพาะที่ (Topical therapy)
ปัจจุบันเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเพราะ BV เป็นการติดเชื้อที่แค่บริเวณผิวของช่องคลอดเท่านั้น ดังนั้นการรักษาเฉพาะที่จึงได้ผลเท่า ๆ กับการรับประทาน และมีข้อดีกว่าที่ไม่มีผลข้างเคียง
-
- metronidazole 500 mg สอดทางช่องคลอดวันละครั้ง นาน 7 วัน
-
- metronidazole gel, 0.75 % ครั้งละ 5 กรัมทางช่องคลอดวันละ 2 ครั้งนาน 5 วัน
-
- clindamycin cream, 2 % ครั้งละ 5 กรัมทางช่องคลอดวันละครั้งก่อนนอนนาน 7 วัน
สำหรับ ampicillin, tetracycline หรือ sulfa cream นั้นได้ผลไม่ค่อยดีเท่าควร
ข้อควรคำนึง
-
- โดยทั่วไปไม่ถือว่า BV เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่อาจจะพบ BV ร่วมกับการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น หากตรวจพบ ต้องคำนึงถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆด้วย เช่น HIV, ซิฟิลิส, หนองในแท้ หนองในเทียม ฯลฯ
-
- ตัวโรคมีระยะฟักตัวประมาณ 5-10 วัน
-
- สตรีกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคนี้ ได้แก่
-
- สตรีที่มีคู่นอนหลายคน
-
- สวนล้างช่องคลอด : ไม่แนะนำให้สวนล้างหรือใช้สบู่ที่มีฤทธิ์รุนแรง หรือผลิตภัณฑ์สุขอนามัยในช่องคลอดมาใช้ด้วยตัวเอง ผู้ป่วยควรล้างตัวด้วยสบู่สูตรอ่อนโยนสำหรับผิวที่แพ้ง่ายหรือไม่ใช้สบู่เลย
-
- ขาดเชื้อแลคโตบาซิลลัสในช่องคลอด
-
- กินยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
-
- ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
-
- คุมกำเนิดด้วยวิธีใส่ห่วงคุมกำเนิด
-
- สตรีกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคนี้ ได้แก่
-
- สามารถตรวจพบเชื้อ Gardnerella ในคู่นอนฝ่ายชายด้วยประมาณ 90 % แต่จากการศึกษาพบว่าการรักษาคู่นอนไม่ได้ป้องกันการเป็นซ้ำ โดยทั่วไปจึงไม่แนะนำให้รักษาคู่นอน
ผลระยะยาวของโรค
-
- เสี่ยงต่อโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease : PID) ทำให้มีโอกาสเป็นฝีหนองในช่องท้อง (Tubo-Ovarian Abscess) และอาจส่งผลให้มีบุตรยากในอนาคตได้
-
- เสี่ยงต่อการติดเชื้ออุ้งเชิงกรานหลังการแท้งบุตร (postabortal PID)
-
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดในช่องคลอด (postoperative cuff infection) หลังผ่าตัดมดลูก
-
- เสี่ยงต่อการมีเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ (Abnormal cervical cell cytology) เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Virus) แบบถาวร (อ่านเพิ่ม) และอาจทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูกในอนาคตได้
-
- ถ้าตั้งครรภ์เสี่ยงต่อ ภาวะน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์คลอด (PROM), การคลอดก่อนกำหนด (Preterm labor), การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (Chorioamnionitis), การติดเชื้อที่มดลูกหลังการผ่าตัดคลอด (Postcesarean endometritis)
References
Journal Article. (2023, May 24). Bacterial vaginosis. Medscape.com. https://emedicine.medscape.com/article/254342-overview
Vaginal Discharge. (n.d.). Cmu.ac.th. Retrieved April 20, 2024, from https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/vaginal-discharge/