Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

ตกขาวรักษาทำไมไม่หายสักที?อยากตรวจละเอียดต้องทำอย่างไร?

ตกขาวรักษาทำไมไม่หายสักที?จะรู้ได้อย่างไรว่าหมอตรวจโรคทางเพศของเราละเอียดแล้ว?

ตกขาวรักษาทำไมไม่หายสักที?จะรู้ได้อย่างไรว่าหมอตรวจโรคทางเพศของเราละเอียดแล้ว?

หลายๆคนเวลาที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับบริเวณอวัยวะเพศ เช่น ตกขาวมากผิดปกติ มีกลิ่นเหม็นจากช่องคลอด ตกขาวมีสีผิดปกติ มีแผลที่ช่องคลอด ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะเหมือนไม่สุด มีหนองออกมาเวลาปัสสาวะ ฯลฯ ก็จะเข้าไปพบแพทย์ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษา

แพทย์แต่ละท่าน ก็จะมีความรู้ความสามารถ และแนวทางการตรวจที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความละเอียด และประสบการณ์ของแพทย์แต่ละท่าน แต่เท่าที่ทีมงานได้พูดคุยกับผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจโรคทางเพศกับ เฮลท์สไมล์ ของเรา โดยหลักๆแล้วก็จะพบว่าแพทย์แต่ละท่านมักจะมีแนวทางในการตรวจรักษาแบ่งประเภทตามความละเอียดของการตรวจได้ดังนี้

ไม่ได้ตรวจอะไร และสั่งยาให้รักษา

เป็นวิธีที่พึงพาประสบการณ์ของแพทย์เพียงอย่างเดียว อาจจะถามจากประวัติ และตรวจดูภายนอก (แพทย์บางท่านอาจจะไม่ได้ทำการตรวจใดๆเลยด้วยซ้ำ)

มักพบในคลินิกที่คุณภาพต่ำ หรือร้านขายยาทั่วๆไป ซึ่งสถานที่เหล่านี้จะไม่มีอุปกรณ์ตรวจ จึงไม่สามารถตรวจหาสาเหตุได้อย่างเหมาะสม การรักษาก็จะเป็นการใช้ยาที่คิดว่าน่าจะตรงกับโรค ซึ่งแน่นอน หากไม่ได้ตรวจแล้วก็มีโอกาสสูงมากที่จะให้การรักษาผิด ไม่ตรงโรค ทำให้เป็นเรื้อรัง หรือบางครั้งอาจจะดูเหมือนอาการดีขึ้นแต่ก็ไม่หายขาด

กรณีนี้ทำให้เกิดผลเสียกับคนไข้มากที่สุด เนื่องจากเป็นการสุ่มๆยามารักษาตามอาการที่พบ ถ้าหากสุ่มยามารักษาได้ตรงโรคก็ถือว่าโชคดี แต่หากไม่ตรงโรคก็จะเกิดผลแทรกซ้อนตามมาจากการรักษาล่าช้าได้

อ่านเพิ่ม : ผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น หากไม่ได้รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ตรวจเพิ่มเติมเล็กน้อย แต่ไม่ได้ตรวจละเอียด

วิธีนี้ อาจจะพบได้บ่อยที่โรงพยาบาลรัฐ หรือ รพ.เอกชนที่รับสิทธิ์ประกันสังคม เนื่องจากสถานพยาบาลเหล่านี้ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆให้กับโรงพยาบาล ทำให้ไม่สามารถตรวจได้ครบถ้วนทุกอย่าง อาจจะตรวจแค่เบื้องต้น ไม่ได้ทำการตรวจยืนยัน เช่น อาจเอาปัสสาวะไปตรวจว่ามีแบคทีเรียหรือไม่(แต่ไม่ทราบว่าติดเชื้อแบคทีเรียชนิดใด) หรือเอาตกขาวไปย้อมสีบนสไลด์แก้วเพื่อส่องกล้องตรวจ วิธีนี้หากตรวจหนองในแท้ มีโอกาสผิดพลาดได้ถึง 40-50% (อ้างอิง) แปลว่า หากนำคนที่เป็นหนองในมาตรวจด้วยวิธีนี้ อาจจะตรวจเชื้อไม่พบถึงเกือบครึ่งหนึ่ง

กรณีการตรวจเพิ่มเติมแบบเบื้องต้นนี้ เมื่อพบความผิดปกติหรือพบการติดเชื้อ ก็จะสามารถให้การรักษาได้ แต่หากผลตรวจเป็นปกติ ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่ได้เป็นโรค เนื่องจากความไวของวิธีการตรวจนั้นไม่สูง ทำให้อาจพลาดไม่ได้รับการรักษาโรคได้

การตรวจที่พบในกลุ่มนี้บ่อยๆ เช่น การตรวจปัสสาวะ (Urine analysis), การตรวจตกขาวด้วยการย้อมสีและส่องกล้องจุลทรรศน์ (Gram stain, smear) หรือตรวจด้วยการใช้สารละลาย normal saline หรือ KOH เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ การตรวจเหล่านี้ใช้เวลาแค่ 1-2 ชั่วโมงก็จะทราบผล

เทคนิคเหล่านี้ ข้อดีคือ เป็นวิธีที่ราคาถูก และใช้เวลาในการรายงานผลไม่นาน แต่ความแม่นยำก็จะค่อนข้างต่ำ ดังนั้น ยารักษาที่ได้ ก็อาจจะไม่ครอบคลุมเชื้อทั้งหมด ในบางคนจึงมีอาการเป็นๆหายๆ และในกรณีที่พลาดเชื่้อที่อันตราย เช่น การตรวจหนองในของผู้หญิง ด้วยวิธีย้อมสไลด์ จะมีความไวในการตรวจเชื้อ (Senstivity) อยู่ที่เพียง 50-60% เท่านั้น (อ้างอิง) แปลว่า แม้ผลจะบอกว่าปกติ แต่ก็มีสิทธิ์สูงถึงครึ่งหนึ่ง ที่จะตรวจไม่พบ

ดังนั้น หากเข้าไปรักษาที่โรงพยาบาล แล้วแพทย์ทำการตรวจให้เบื้องต้น (สังเกตุได้จากที่ใช้เวลาในการรอผลไม่นาน) แม้ผลจะปกติ ก็อาจจะพลาดได้สูงถึง 50% เลยทีเดียว

อ่านเพิ่ม : เปรียบเทียบความแม่นยำของการตรวจหนองใน แต่ละวิธี อย่างไหนดีที่สุด

ตรวจละเอียด

สำหรับแพทย์ที่มีประสบการณ์ และมีความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศ อาจจะเลือกการตรวจที่มีความไวในการตรวจพบเชื้อที่สูงและมีความแม่นยำสูง เพื่อที่จะได้ทำการรักษาโรคได้อย่างตรงจุดที่สุด โดย ณ ปัจจุบันจะมีการตรวจที่มีความไวสูงหลักๆ 2 วิธี คือ

    1. การเพาะเชื้อ (Culture)
    1. การตรวจหา DNA ของเชื้อ (NAAT หรือ PCR)

วิธีการเพาะเชื้อ (Culture)

จะเป็นวิธีที่ค่าใช้จ่ายมากกว่าการย้อมสีที่กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว และใช้เวลาในการตรวจนาน บางครั้งอาจจะนานถึง 7 วันในบางโรค ซึ่งอาจทำให้การรักษานั้นล่าช้าออกไปได้ แพทย์หลายท่านจึงมักให้ยาเพื่อรักษาไปก่อน จากนั้นจะรอจนผลตรวจออกแล้วค่อยรักษาอีกครั้งตามเชื้อที่ตรวจพบ นอกจากนี้ โรคหนองในเทียมบางโรคยังมีความยากลำบากในการเพาะเชื้อ ทำให้อาจจะไม่เหมาะสมในการเลือกวิธีนี้

ข้อดีของการเพาะเชื้อหาโรคติดต่อทางเพศ

    • เป็นวิธีที่เป็นมาตรฐาน (Gold standard) ในการวินิจฉัยเชื้อหนองใน หรือการติดเชื้อแบคทีเรียอื่น

    • สามารถรู้การดื้อยาได้

ข้อเสียของการเพาะเชื้อหาโรคติดต่อทางเพศ

    • การเพาะเชื้อแต่ละชนิดต้องใช้สารเพาะเชื้อที่แตกต่างกัน ทำให้บางครั้งหากแพทย์เลือกสารผิด ก็อาจทำให้ผลผิดได้

    • ไม่เหมาะกับการเพาะเชื้อที่มีขั้นตอนยุ่งยาก เช่น หนองในเทียม เป็นต้น

    • ใช้เวลาในการตรวจนานที่สุดในทุกๆวิธี

    • เก็บสิ่งส่งตรวจยากกว่า ไม่สามารถเก็บด้วยตนเองที่บ้านได้

    • แม้ว่าจะเก็บสิ่งส่งตรวจโดยแพทย์ แต่หากการขนส่งไปยังศูนย์แลปไม่ดี ก็ให้ผลผิดพลาดได้ เนื่องจากการตรวจต้องตรวจเฉพาะเชื้อที่ยังมีชีวิตเท่านั้น

การตรวจหา DNA ของเชื้อ (NAAT หรือ PCR)

เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจหา DNA หรือ RNA ของเชื้อที่อยู่ในสิ่งส่งตรวจ สามารถเก็บตรวจได้จากหลายๆตำแหน่ง มีความแม่นยำสูง โอกาสผิดพลาดน้อย นอกจากนี้ยังสามารถตรวจได้แม้จะเป็นเชื้อที่ตายแล้ว ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆมากนักในการเก็บสิ่งส่งตรวจ สามารถเก็บได้ด้วยตนเองที่บ้านและส่งไปตรวจยังศูนย์แลปได้

ข้อดีของการตรวจ DNA หาโรคติดต่อทางเพศ

    • เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการตรวจวินิจฉัยโรค ในหลายงานวิจัยพบว่ามีประสิทธิภาพในการพบเชื้อมากกว่าการตรวจเพาะเชื้อที่เป็นการตรวจมาตรฐาน

    • เก็บเชื้อตรวจได้พร้อมกันทีละหลายๆเชื้อ โดยใช้อุปกรณ์เก็บสิ่งส่งตรวจแค่ชุดเดียว

    • สามารถตรวจ DNA ของเชื้อที่เพาะเชื้อยากได้ เช่น หนองในเทียม เป็นต้น

    • ใช้เวลาในการตรวจเร็ว ผลออกภายใน 24 ชั่วโมง

    • สามารถเก็บด้วยตนเองที่บ้านได้ ส่งทางไปรษณีย์ได้

ข้อเสียของการตรวจ DNA หาโรคติดต่อทางเพศ

    • ราคาสูงกว่าการเพาะเชื้อ

    • หากพบเชื้อ จะไม่สามารถรู้ได้ว้าเชื้อดื้อยาหรือไม่

การเปรียบเทียบระหว่าง วิธี PCR และวิธีการเพาะเชื้อ (Bacterial culture) เพื่อวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ความไวและความจำเพาะ:

PCR : PCR มีความไวในการตรวจพบเชื้อสูงมาก (90-99%) และมีความเฉพาะเจาะจง (99+%) สำหรับการตรวจหาโรคหนองใน วิธีนี้สามารถตรวจหา DNA หรือ RNA ของเชื้อแบคทีเรียได้เแม้ว่าจะมีปริมาณเชื้อที่น้อยมาก ทำให้เป็นการทดสอบที่เชื่อถือได้มากสำหรับการวินิจฉัยโรคหนองในและโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

การเพาะเชื้อ : การเพาะเชื้อมีความไวต่ำกว่าเล็กน้อย (~80-85%) เมื่อเทียบกับ PCR เนื่องจากพวกมันต้องการแบคทีเรียที่มีชีวิตในการเจริญเติบโต(ตรวจเชื้อตายไม่ได้) อย่างไรก็ตาม พวกมันมีความจำเพาะสูงเช่นกัน

เวลาในการรายงานผล

PCR : โดยปกติแล้วสามารถทราบผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้การรักษาเร็วขึ้นและลดการแพร่กระจายของเชื้อ

การเพาะเชื้อ : การเพาะเลี้ยงใช้เวลานานกว่า (48-72 ชั่วโมง) เนื่องจากแบคทีเรียต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโต

วิธีการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจ

PCR : วิธีนี้สามารถเก็บตัวอย่างได้จากปัสสาวะ ช่องคลอด องคชาติ และตำแหน่งอื่นๆของร่างกายได้เช่นกัน (เช่น บริเวณแผล หรือที่ที่มีอาการผิดปกติ) ขึ้นอยู่กับการสัมผัส และเนื่องจากวิธีนี้สามารถตรวจเชื้อที่ตายแล้วได้ ดังนั้น การเก็บสิ่งส่งตรวจ สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 7 วันโดยไม่มีผลต่อความแม่นยำของการตรวจ และสามารถเก็บตรวจได้ด้วยตนเอง เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

การเพาะเชื้อ : โดยปกติแล้ว จำเป็นต้องใช้ไม้กวาดจากบริเวณที่ติดเชื้อ (เช่น ปากมดลูก ท่อปัสสาวะ ไส้ตรง หรือลำคอ) และรีบส่งตรวจ เนื่องจากหากล่าช้า อาจทำให้เชื้อตาย และตรวจไม่พบได้ ดังนั้นวิธีเพาะเชื้อจึงไม่สามารถส่งตรวจได้ด้วยตนเอง

การทดสอบการดื้อยาปฏิชีวนะ

PCR : PCR ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับความไวหรือการดื้อยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งอาจมีความสำคัญในกรณีเป็นโรคหนองในที่รักษาไม่หายหรือดื้อยา

การเพาะเชื้อ : การเพาะเชื้อสามารถใช้ทดสอบความไวของแบคทีเรียต่อยาปฏิชีวนะต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับการรักษากรณีเชื้อดื้อยา

ค่าใช้จ่าย:

PCR : การทดสอบเหล่านี้มีราคาแพงกว่าการเพาะเชื้อ

การเพาะเชื้อ : การเพาะเชื้อมีราคาถูกกว่าแต่ต้องการห้องแล็บเฉพาะทางและนักเทคนิคการแพทย์ผู้ชำนาญเพื่อทำการเพาะเชื้อ และแยกเชื้อจากจานเพาะเชื้อ

โดยสรุป

ปัจจุบันหากสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศ หรือมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ แม้ว่าเราจะไปตรวจที่โรงพยาบาล หรือพบแพทย์ตามคลินิกก็ตาม แต่ละที่ก็จะมีมาตรฐานและประสิทธิภาพในการตรวจที่ต่างกัน ดังนั้น หากเลือกตรวจด้วยวิธีที่ไม่ค่อยแม่นยำ ก็อาจส่งผลต่อการรักษาที่ล่าช้า เป็นซ้ำ เป็นเรื้อรังได้

วิธีตรวจที่ความแม่นยำต่ำกว่า แต่ราคาถูก : ดูด้วยตาเปล่า ย้อมสี ตรวจปัสสาวะ

วิธีที่แม่นยำสูง แต่มีราคาสูงกว่า : เพาะเชื้อ และ PCR

โดยที่ PCR จะไวกว่า เร็วกว่า และรุกรานน้อยกว่า แต่ก็ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดื้อยาปฏิชีวนะได้ และมีราคาแพงกว่า ในทางกลับกัน การเพาะเชื้อแม้ว่าจะมีความละเอียดน้อยกว่าและใช้เวลานานกว่าเล็กน้อย แต่ก็สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดื้อยาปฏิชีวนะได้และมีราคาถูกกว่า การเลือกวิธีการวินิจฉัยมักขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย และแนวทางปฏิบัติในแต่ละสถานพยาบาล

Exit mobile version