ในผู้หญิง ตกขาวโดยทั่วไปจะมีลักษณะใส หรือขาวคล้ายน้ำนม อาจมีกลิ่นอ่อนๆ และมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของรอบเดือน ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในแต่ละช่วงนั่นเอง
ในระหว่างตั้งครรภ์ สารคัดหลั่งหรือตกขาวในช่องคลอดจะปริมาณเพิ่มขึ้น และอาจมีลักษณะที่แตกต่างไปจากตกขาวปกติได้ตลอดการตั้งครรภ์
ตกขาวในผู้หญิงตั้งครรภ์ จะเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ ในขณะที่อายุครรภ์ของคุณแม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาการตกขาวก็จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนขึ้น และจะมีปริมาณมากที่สุดในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์
คุณแม่อาจต้องสวมใส่เสื้อผ้าและกางเกงชั้นในระบายอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงผ้าอนามัยแบบสอดขณะตั้งครรภ์
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ ก่อนคลอด คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าตกขาวของคุณแม่มีเมือกข้นเหนียวปนเลือดปนอยู่ เรียกว่า มูกเลือด นี่เป็นสัญญาณเริ่มต้นของการคลอดและคุณแม่ควรไปพบแพทย์เพื่อประเมินการคลอด
อะไรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตกขาว?
ตกขาวจะมีการเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เมื่อคุณตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจะมีความเปลี่ยนแปลงมาก จึงทำให้ลักษณะของตกขาวเปลี่ยนแปลงไปได้
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ก็ส่งผลต่อการตกขาวเช่นกัน เมื่อปากมดลูกและผนังช่องคลอดมีการเปลี่ยนแปลง อ่อนนุ่มและบอบบางลง เพื่อรองรับการคลอดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ร่างกายจะผลิตสารคัดหลั่งเพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ ศีรษะของทารกอาจกดทับปากมดลูกเมื่อคุณใกล้จะสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ซึ่งมักนำไปสู่การตกขาวเพิ่มขึ้น
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้ตกขาว
คุณแม่ตั้งครรภ์ มีโอกาสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้มากกว่าผู้หญิงทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น หนองในแท้ หนองในเทียม พยาธิในช่องคลอด เชื้อรา ฯลฯ เนื่องจากสภาพทางกายภาพที่ช่องคลอดมีความบอบบางลง และโอกาสเสี่ยงที่สามีจะนอกใจภรรยาระหว่างตั้งครรภ์ ตามรายงานของต่างประเทศ สูงถึง 10% เลยทีเดียว (คุณแม่ตั้งครรภ์ 10 คน จะมีคนนึงที่สามีนอกใจระหว่างที่คุณแม่กำลังท้อง!!) (อ้างอิง : https://www.marriage.com/advice/infidelity/cheating-during-pregnancy/)
จากความเสี่ยงนี้เอง ทำให้คุณแม่ควรคำนึงถึงเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย หากมีตกขาวผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์
ผลเสียหากไม่รักษาเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่อการตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์
-
- แท้งบุตร (หนองในแท้)
-
- คลอดก่อนกำหนด (หนองในแท้ หนองในเทียม พยาธิในช่องคลอด)
-
- น้ำคร่ำแตก หรือรั่วก่อนกำหนด (หนองในแท้ หนองในเทียม พยาธิในช่องคลอด)
-
- น้ำหนักตัวน้อย (หนองในแท้ หนองในเทียม)
-
- อาจมีการติดเชื้อระหว่างการคลอด ทำให้ติดเชื้อที่ลูกตา และปอด (หนองในแท้ หนองในเทียม)
-
- อวัยวะภายในผิดปกติ ได้แก่ สมอง ตา หู หัวใจ ผิวหนัง กระดูกและฟัน (ซิฟิลิส)
เมื่อใดควรตรวจตกขาว และ/หรือ รับการรักษา
1. ตกขาวผิดปกติ จากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
นอกจากตกขาวที่ปกติตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและการเตรียมการคลอดแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับการตกขาวที่ผิดปกติ เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของคุณ นี่คือสัญญาณของตกขาวที่ผิดปกติ:
-
- สีเหลือง สีเขียว หรือสีเทา
-
- กลิ่นแรงและเหม็น
-
- ผิวหนังที่ปากช่องคลอดมีอาการแดง หรือคัน หรือปากช่องคลอดบวม
-
- ตกขาวที่เป็นก้อนๆเหมือนนมบูด อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อราในช่องคลอด
กรณีที่ตกขาวมีปริมาณมาก หากตรวจไม่พบการติดเชื้อ ก็ควรดูแลรักษาสุขอนามัยของช่องคลอดคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนี้
-
- สวมเสื้อผ้าที่หลวมและระบายอากาศได้
-
- สวมชุดชั้นในผ้าฝ้าย
-
- เช็ดอวัยวะเพศให้แห้งหลังอาบน้ำ ว่ายน้ำ หรือ ออกกำลังกาย
แนะนำให้ตรวจคัดกรองสตรีมีครรภ์ทุกคนเพื่อหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) โดยโรคติดต่อทางเพศที่ประเทศพัฒนาแล้ว แนะนำให้ตรวจมีอยู่หลายชนิด เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม เอดส์ ซิฟิลิส ตับอักเสบบี ตับอักเสบซี Group B streptococcus (GBS) ฯลฯ
แต่ในประเทศไทย มาตรฐานการตรวจคัดกรองอาจจะไม่สูงเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้ว หากคุณแม่เข้ารับการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลทั่วๆไป ก็จะได้รับการตรวจคัดกรองขั้นต่ำเพียง 3 โรค ดังนี้ เอดส์ ซิฟิลิส ตับอักเสบบี
ดังนั้น หากคุณแม่มีตกขาวผิดปกติ และสงสัยว่าจะมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบโดยเร็วที่สุดเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการส่งต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไปยังลูกน้อยของคุณ
2. ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์
อาการตกขาวที่ผิดปกติ อาจส่งสัญญาณถึงภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ของคุณ เช่น รกเกาะต่ำ หรือเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ก็อาจจะมีตกขาวปนเลือดได้
ควรโทรหาแพทย์ที่ฝากครรภ์ของคุณแม่ทันที หากคุณแม่มีตกขาวที่เป็นเลือด หรือสีแดงสด และควรรีบเข้ารับการตรวจรักษาทันที
3. ตรวจคัดกรองเชื้อ Group B Streptococcus (GBS) ก่อนคลอด
ตามมาตรฐานของการฝากครรภ์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว (สหรัฐอเมริกา, และประเทศแถบยุโรป) รวมถึงมาตรฐานของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย (RTCOG) ที่ออกมาเมื่อต้นปี 2566 (20 มกราคม 2566) มีกำหนดว่า คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเชื้อ Group B Streptococcus (GBS) ก่อนคลอดทุกราย โดยเก็บสิ่งส่งตรวจจากช่องคลอดและทวารหนัก เมื่ออายุครรภ์ 35-37 สัปดาห์ (อ้างอิง : www.rtcog.or.th)
อ่านเพิ่ม : Group B Streptococcus เชื้ออันตรายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และทารก
แต่เนื่องจากในประเทศไทยเพิ่งประกาศเป็นมาตรฐานมาเมื่อไม่นาน จึงทำให้แพทย์หลายๆท่านอาจจะไม่ได้ทำตามมาตรฐานนี้ และในหลายๆสถานพยาบาลอาจไม่สามารถตรวจได้ จึงทำให้คุณแม่บางคนไม่ได้ตรวจ ดังนั้น หากคุณแม่โชคดีได้อ่านบทความนี้ก็อย่าลืมสอบถามแพทย์ที่ทำการฝากครรภ์ให้ตรวจให้ หรือหากสถานพยาบาลนั้นตรวจไม่ได้ สามารถติดต่อทางบริษัท ให้เข้าไปให้บริการได้ค่ะ
ที่มา : https://www.nhs.uk/pregnancy/related-conditions/common-symptoms/vaginal-discharge/
https://www.cdc.gov/std/pregnancy/stdfact-pregnancy-detailed.htm
[/fusion_text][/fusion_builder_column][/fusion_builder_row][/fusion_builder_container]