Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

โรคต่างๆที่ตรวจได้จาก package NIPT หรือ NIFTY สามารถอัลตราซาวนด์เห็นหรือไม่? โรคอะไรที่อัลตราซาวนด์แล้วไม่เห็น?

โรคต่างๆที่ตรวจได้จาก package NIPT หรือ NIFTY สามารถอัลตราซาวนด์เห็นหรือไม่?

โรคต่างๆที่ตรวจได้จาก package NIPT หรือ NIFTY สามารถอัลตราซาวนด์เห็นหรือไม่?

โรคต่างๆที่ตรวจได้จาก package NIPT หรือ NIFTY สามารถอัลตราซาวนด์เห็นหรือไม่? โรคอะไรที่อัลตราซาวนด์แล้วไม่เห็น?

ปัจจุบันการตรวจคัดกรองโครโมโซมของทารกในครรภ์มีอยู่หลายวิธีตรวจ เริ่มตั้งแต่การตรวจคัดกรองด้วยอัลตราซาวนด์เพียงอย่างเดียว หรือที่เรียกว่า Genetic sonogram (อ่านเพิ่มที่นี่ มาร์คเกอร์ทางอัลตราซาวด์ของโครโมโซมผิดปกติที่พบบ่อย (Ultrasound markers of common fetal aneuploidies) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ถือว่ามีความไวในการตรวจอยู่ที่ประมาณ 60-80% แต่ต้องใช้สูตินรีแพทย์ที่จบเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) ชำนาญการสูงเป็นผู้อัลตราซาวนด์จึงจะได้ความแม่นยำที่สูง ส่วนวิธีที่ตรวจฟรีและไม่ต้องใช้ความสามารถของแพทย์มากนัก ก็คือการตรวจคัดกรองด้วย Quad test ซึ่งมีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 80-85% และการตรวจคัดกรองโครโมโซม โดยเฉพาะความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 (ดาวน์ซินโดรม) ที่ดีที่สุด คือ การตรวจ NIPT หรือ Non-invasive prenatal testing ที่มีความแม่นยำสูงถึง 99.9% เมื่อเทียบกับการเจาะน้ำคร่ำ

ในบทความนี้ เราจะพูดถึงการตรวจคัดกรองด้วยวิธี NIPT ที่บริษัท เฮลท์สไมล์ จำกัด ให้บริการอยู่ คือ แบรนด์ NGD NIPS และ NIFTY ซึ่งจะสามารถตรวจคัดกรองภาวะขาด / เกินของโครโมโซมได้เริ่มตั้งแต่ แพคเกจ 5 โครโมโซม ไปจนถึง 23 โครโมโซม และ 23 โครโมโซม + Microdeletion / duplication อีก 92 โรค

โดยจะนำมาเปรียบเทียบ ในกรณีที่ทารกของคุณแม่ในครรภ์มีความผิดปกติของโครโมโซมต่างๆ สูตินรีแพทย์จะสามารถอัลตราซาวนด์เห็นความผิดปกติเหล่านั้นได้หรือไม่

แพคเกจ NIFTY Focus และ NGD NIPS

เริ่มจากการตรวจที่เป็นแพคเกจเริ่มต้นของ NIFTY ซึ่งก็คือ NIFTY Focus (กรณีแบรนด์ไทย จะเป็น NGD NIPS) : ซึ่งสามารถตรวจการขาด/เกินของโครโมโซมได้ 5 โครโมโซม ได้แก่ โครโมโซมคู่ที่ 13 18 21 X และ Y ซึ่งความผิดปกติของ 5 โครโมโซมนี้ จะแบ่งได้เป็น 7 โรค (เรียงตามใบรายงานของ NIFTY และ NGD NIPS) คือ

ดาวน์ซินโดรม (Trisomy 21 : Down’s syndrome)

อัลตราซาวนด์ : เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น : พบได้หลายอย่าง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้ https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/residents-fellows/3740/

ความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ : ประมาณ 60% – 65%

ที่มา : https://healthsmile.co.th/blog/down-syndrome-and-other-chromosome-abnormalities/downs-syndrome/

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Trisomy 18 : Edwards syndrome) โอกาสเกิด 1/3500 – 1/8000

อัลตราซาวนด์ : เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ได้แก่ โครงสร้างสมองผิดปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ นิ้วมือกำผิดปกติ ผนังหน้าท้องไม่ติด ไตผิดปกติ หัวใจผิดปกติ น้ำคร่ำมากผิดปกติ หนังต้นคอหนา

ความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ : มากกว่า 80%

ที่มา : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4286865/

พาทัวซินโดรม (Trisomy 13 : Patau syndrome) โอกาสเกิด 1/6500

อัลตราซาวนด์ : เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ได้แก่ โครงสร้างของศีรษะผิดปกติ โครงสร้างสมองผิดปกติ ศีรษะเล็ก หลังต้นคอหนา ปากแหว่ง เพดานโหว่ ท่อประสาทผิดปกติ ผนังหน้าท้องไม่ติดกัน หัวใจผิดปกติ นิ้วเกิน

ความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ : ประมาณ 90%-100%

ที่มา : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4286865/

เทอร์เนอร์ซินโดรม (XO : Turner syndrome) โอกาสเกิด 1/2000 – 1/2500 ของทารกเพศหญิง

อัลตราซาวนด์ : เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ได้แก่ มีถุงน้ำที่ต้นคอ ไตและหัวใจผิดปกติ ตัวบวม ผนังต้นคอหนา โตช้ากว่ากำหนด

ความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ : ไม่มีข้อมูล ขึ้นอยู่กับความผิดปกติที่พบว่ามีมากหรือน้อย

ที่มา : https://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/8756479314555222

ไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม (XXY : Klinefelter syndrome) โอกาสเกิด 1/650 ของทารกเพศชาย

อัลตราซาวนด์ : อาจไม่เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ได้แก่ หนังต้นคอหนา

ความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ : ไม่มีข้อมูล (บางงานวิจัยน้อยกว่า 50%)

ที่มา : https://obgyn.mhmedical.com/content.aspx?bookid=1306&sectionid=75210335

https://www.umbjournal.org/article/S0301-5629(03)00500-3/fulltext

ทริปเปิลเอกซ์ซินโดรม (XXX : Triple X syndrome) โอกาสเกิด 1/1000 ของทารกเพศหญิง

อัลตราซาวนด์ : ไม่เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ไม่มี

ความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ : ไม่มีข้อมูล

ที่มา : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2987225/

จาคอบซินโดรม (XYY : Jacob syndrome) โอกาสเกิด 1/1000 ของทารกเพศชาย

อัลตราซาวนด์ : ไม่เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ไม่มี

ความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ : ไม่มีข้อมูล

ที่มา : https://obgyn.mhmedical.com/content.aspx?bookid=1306&sectionid=75210408


NIFTY Core และ NGD NIPS Plus

เป็นแพคเกจที่ตรวจได้เพิ่ม จาก 5 คู่โครโมโซม เพิ่มเป็น 23 คู่ ครบทุกคู่ที่มีในมนุษย์ โดยในใบรายงานผลตรวจของ NIFTY Core จะเขียนไว้ว่าเป็น Aneuploidy of other chromosomes กล่าวคือแจ้งผลรวมๆมาทั้งหมดเลย ส่วน NGD NIPS Plus จะแยกแต่ละคู่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

Trisomy 8 โอกาสเกิด 1/25,000 – 1/50,000

อัลตราซาวนด์ : อาจเห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ได้แก่ โครงสร้างของศีรษะผิดปกติ โครงสร้างสมองผิดปกติ ศีรษะเล็ก หลังต้นคอหนา มีถุงน้ำที่คอ ไตผิดปกติ แขนขาผิดปกติ กระดูกสันหลังผิดปกติ

ความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ : ไม่มีข้อมูล

ที่มา : https://rarediseases.info.nih.gov/diseases/5359/mosaic-trisomy-8

Trisomy 9

โอกาสเกิดและมีชีวิตรอดน้อยมาก

อัลตราซาวนด์ : เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ได้แก่ มีความผิดปกติหลายอย่าง ได้แก่ โครงสร้างของใบหน้าและศีรษะ หัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อและกระดูกผิดปกติ มีความผิดปกติของอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ

ความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ : ไม่มีข้อมูล

ที่มา : https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14618660/

Trisomy 16

ไม่มีโอกาสมีชีวิตรอด เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการแท้ง คือ พบได้บ่อยประมาณ 1%-1.5% ของการแท้งทั้งหมด

อัลตราซาวนด์ : เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ได้แก่ มีความผิดปกติหลายอย่าง และรุนแรง

ความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ : ไม่มีข้อมูล

ที่มา : https://www.nature.com/articles/gim201723

Trisomy 22

โอกาสเกิดและมีชีวิตรอดน้อยมาก เป็นสาเหตุที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ของการแท้ง คือ พบได้บ่อยประมาณ 0.4% ของการแท้งทั้งหมด

อัลตราซาวนด์ : เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ได้แก่ มีความผิดปกติหลายอย่าง และรุนแรง

ความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ : ไม่มีข้อมูล

ที่มา : https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25257307/

Other Autosome Aneuploidies โอกาสเกิดน้อย และยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด


NIFTY Pro

เป็นแพคเกจที่ตรวจได้มากที่สุดที่เฮลท์สไมล์ให้บริการ คือ ได้ครบ 23 คู่โครโมโซม + 92 โรค ที่เกิดจาก Microdeletion / Duplication หากต้องการทราบว่า 92 โรคที่เพิ่มขึ้น สามารถตรวจอะไรได้บ้าง สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ NIFTY®️ Pro เพิ่มรายการตรวจ deletion/duplication จาก 84 เป็น 92 รายการแล้ว

โรคที่เกิดจาก Microdeletion / duplication นี้ เกิดขึ้นค่อนข้างน้อย ประมาณ 1/5,000 – 1/200,000 จึงทำให้ยังไม่มีข้อมูลความแม่นยำของอัลตราซาวนด์ที่จะตรวจพบ

Cri du chat Syndrome หรือ Cat cry syndrome (5p deletion syndrome) โอกาสเกิด : 1/20,000 – 1/50,000

อัลตราซาวนด์ : เห็นความผิดปกติได้ยาก และมักจะตรวจพบหลังคลอด

ความผิดปกติที่มักพบหลังคลอดบุตร : ศีรษะเล็ก น้ำหนักแรกเกิดน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแรง และมีสติปัญญาต่ำปานกลางถึงต่ำรุนแรง พบปัญหาด้านการกลืน การรับนม และ/หรือปัญหาด้านการหายใจได้บ่อย

ที่มา : http://www.e-kjgm.org/journal/view.html?doi=10.5734/JGM.2017.14.1.34

1p36 deletion syndrome โอกาสเกิด : 1/5,000

อัลตราซาวนด์ : อาจจะเห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ได้แก่ โครงสร้างสมองผิดปกติ หัวใจผิดปกติ ใบหน้าส่วนกลางไม่เจริญเติบโต มีภาวะเติบโตช้าในครรภ์ ฯลฯ

ความผิดปกติที่มักพบหลังคลอดบุตร : กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ และมักจะมีปัญหาด้านพัฒนาการทั้งของร่างกายและสมอง มีสติปัญญาต่ำกว่าปกติได้ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงสติปํญญาต่ำรุนแรง

ที่มา : https://radiopaedia.org/articles/1p36-deletion-syndrome?lang=us

2q33.1 deletion syndrome โอกาสเกิด : ไม่ทราบ

อัลตราซาวนด์ : ไม่เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ไม่มี

ความผิดปกติที่มักพบหลังคลอดบุตร : มีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ มีปัญหาด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ พบความผิดปกติของการกินและรับประทานอาหารได้อย่างรุนแรง และมักพบปากแหว่งเพดานโหว่ได้สูง

ที่มา : https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21343628/

16p12.2 deletion syndrome โอกาสเกิด : ไม่ทราบ

อัลตราซาวนด์ : ไม่เห็นความผิดปกติ

ความผิดปกติที่เห็น ไม่มี

ความผิดปกติที่มักพบหลังคลอดบุตร : มีหน้าตาผิดปกติจากเด็กทั่วไป มีปัญหาด้านการรับประทานอาหาร พบการติดเชื้อซ้ำซากของหู มีการเจริญเติบโตช้า และพบภาวะสติปัญญาต่ำ

ที่มา : https://rarechromo.org/media/information/Chromosome%2016/16p12.2%20deletions%20FTNW.pdf

Jacobsen syndrome (11q23 deletion syndrome) โอกาสเกิด : 1/100,000

อัลตราซาวนด์ : เห็นความผิดปกติได้ยากมาก

ความผิดปกติที่เห็น –

ความผิดปกติที่มักพบหลังคลอดบุตร : การเจริญเติบโตช้า พัฒนาการด้านอารมณ์และกล้ามเนื้อช้า มีโครงสร้างกะโหลกศีรษะผิดปกติ (Trigonocephaly) มีตาเหล่ ตาเขเป็นระยะ และใบหูผิดปกติและอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าทารกปกติ

ที่มา : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6946260/

Van der Woude syndrome (1q32.2 deletion syndrome) โอกาสเกิด : 1/35,000 – 1/100,000

อัลตราซาวนด์ : เห็นความผิดปกติได้ยาก

ความผิดปกติที่เห็น : มีร่องที่ริมฝีปากล่าง ร่วมกับปากแหว่ง/เพดานโหว่

ความผิดปกติที่มักพบ : เช่นเดียวกับ Jacobsen syndrome คือ มีการเจริญเติบโตช้า พัฒนาการด้านอารมณ์และกล้ามเนื้อช้า มีโครงสร้างกะโหลกศีรษะผิดปกติ (Trigonocephaly) มีตาเหล่ ตาเขเป็นระยะ และใบหูผิดปกติและอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าทารกปกติ

ที่มา : https://radiopaedia.org/articles/van-der-woude-syndrome

Angelman syndrome หรือ Prader-Willi syndrome (15q11.2 deletion syndrome) โอกาสเกิด : 1/10,000 – 1/20,000

อัลตราซาวนด์ : เห็นความผิดปกติได้ยากมาก

ความผิดปกติที่เห็น –

ความผิดปกติที่มักพบ : ในกรณีที่เป็น Prader-Willi syndrome จะมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีภาวะอ้วนบริเวณกึ่งกลางลำตัว มีปัญหาด้านการรับประทานอาหาร มีความผิดปกติของต่อมเพศที่สร้างฮอร์โมนเพศได้ผิดปกติ เป็นหมัน และมีสติปัญญาต่ำ

ที่มา : https://unmhealth.org/services/development-disabilities/_media/angelman-syndrome-information.pdf

ในกรณีที่เป็น Angelman syndrome จะมีสติปัญญาต่ำ ศีรษะเล็ก ชัก การเคลื่อนไหวผิดปกติ และมีคลื่นสมองที่ผิดปกติ

Exit mobile version