Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

ตารางรวมความเสี่ยงทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรม ตามอายุของคุณแม่ หน้าเดียวจบ ครบทุกอายุ

แม่อายุเท่าไหร่ถึงเสี่ยงดาวน์ซินโดรม? อายุน้อยกว่า 35 ปี ต้องตรวจดาวน์ซินโดรมไหม? อายุเท่าไหร่ควรตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

ดาวน์ซินโดรมคืออะไร อ่านได้ที่นี่ กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)

ใครมีความเสี่ยง ที่ลูกในครรภ์จะเป็นดาวน์ซินโดรม

พ่อแม่บางคนมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรม โดยปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ได้แก่

การเพิ่มอายุของมารดา

โอกาสของคุณแม่ในการคลอดบุตรที่เป็นดาวน์ซินโดรม จะเพิ่มขึ้นตามอายุ เนื่องจากไข่ที่มีอายุมากขึ้นก็มีความเสี่ยงต่อการแบ่งโครโมโซมที่ผิดปกติ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอย่ารวดเร็วหลังจากอายุ 35 ปี อย่างไรก็ตามไม่ได้แปลว่าคุณแม่ที่อายุต่ำกว่า 35 ปี จะไม่มีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมเลย เพียงแต่ความเสี่ยงต่ำกว่า

บิดา/มารดา เป็นดาวน์ซินโดรม หรือเป็นพาหะของความผิดปกติของโครโมโซมกลุ่มอาการดาวน์

หากคุณพ่อ หรือคุณแม่ มีโครโมโซมที่ผิดปกติ หรือเป็นดาวน์ซินโดรมอยู่แล้ว ก็สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมของดาวน์ซินโดรมไปยังบุตรหลานได้โดยง่าย

มีลูกหนึ่งคนที่เป็นดาวน์ซินโดรม

ผู้ปกครองที่มีลูกหนึ่งคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะมีลูกคนถัดๆไปเป็นดาวน์ซินโดรมเช่นกัน ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อช่วยพ่อแม่ประเมินความเสี่ยงของการมีลูกคนถัดไปจะเป็นดาวน์ซินโดรม และวิธีการตรวจที่เหมาะสม

ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใดๆที่ยืนยันว่าดาวน์ซินโดรมนั้นมีสาเหตุจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หรือพฤติกรรม/การกระทำของบิดา-มารดาไม่ว่าจะเป็นก่อน หรือระหว่างการตั้งครรภ์

มีเพียงปัจจัยสำคัญเพียงปัจจัยใจเดียวเท่านั้น ที่มีผลต่อการเกิดดาวน์ซินโดรม ของทารกในครรภ์ นั่นก็คือ อายุของมารดา

ความเสี่ยงของอายุมารดาที่จะมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรม

อย่างที่แจ้งไว้ในบทความนี้ว่า คุณแม่ทุกคนนั้นมีความเสี่ยงที่จะมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรม ไม่ว่าคุณแม่นั้นจะอายุมาก หรือน้อยเท่าไรก็ตาม แต่คุณแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปีนั้น จะมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังภาพนี้

ตารางแสดงอัตราการมีทารกเป็นดาวน์ซินโดรม ในช่วงปี 1950-1964 (2493-2507)

ที่มา : https://www.health.nsw.gov.au/hpr/Pages/201408-epi.aspx

สำหรับงานวิจัยในประเทศไทย พบว่าตัวเลขความเสี่ยงของบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมกับอายุของมารดานั้น ก็ไม่ได้แตกต่างกับงานวิจัยของต่างประเทศมากนัก ดังตารางแสดงอัตราเสี่ยงของภาวะดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติของโครโมโซมทุกชนิด เทียบกับอายุมารดาด้านล่างนี้

อายุมารดา (ปี)

อัตราเสี่ยงของภาวะดาวน์ซินโดรม

อัตราเสี่ยงสำหรับความผิดปกติของโครโมโซมทุกชนิด
20 1/1667 1/526
21 1/1667 1/526
22 1/1429 1/500
23 1/1429 1/500
24 1/1250 1/476
25 1/1250 1/476
26 1/1250 1/476
27 1/1111 1/455
28 1/1053 1/435
29 1/1000 1/417
30 1/952 1/384
31 1/909 1/384
32 1/769 1/322
33 1/625 1/317
34 1/500 1/260
35 1/385 1/209
36 1/294 1/164
37 1/227 1/130
38 1/175 1/103
39 1/137 1/82
40 1/106 1/65
41 1/82 1/51
42 1/64 1/40
43 1/50 1/32
44 1/38 1/25
45 1/30 1/20
46 1/23 1/15
47 1/18 1/12

ตารางแสดงอัตราเสี่ยงของภาวะดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติของโครโมโซมทุกชนิด เทียบกับอายุมารดา

ที่มา : พ.ต.ท.นพ.เสรี ธีรพงษ์ มูลนิธิหมอชาวบ้าน (https://www.doctor.or.th/article/detail/4247)

ดังนั้น คุณแม่ทุกคน ควรตระหนักถึงความเสี่ยงที่ลูกของตนจะเป็นดาวน์ซินโดรม และเลือกการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมกับเศรษฐฐานะ และความต้องการของตนเองให้มากที่สุด

คุณแม่สามารถเปรียบเทียบ ความแม่นยำของการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ด้วยวิธีต่างๆได้ จากรูปที่แสดงด้านล่างนี้

รูปภาพเปรียบเทียบความแม่นยำของการคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีต่างๆ
อ่านเพิ่ม : การเจาะตรวจคัดกรองคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีกี่แบบ แต่ละแบบความแม่นยำกี่เปอร์เซนต์

หากต้องการการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่ดีที่สุด ณ ปัจจุบัน ก็จะเป็นการตรวจที่เรียกว่า NIPT (Non-invasive prenatal testing) ซึ่งมีความแม่นยำสูงถึง 99.9% เมื่อเทียบกับการเจาะน้ำคร่ำ แต่ว่าไม่มีความเสี่ยงใดๆจากการเจาะน้ำคร่ำ ไม่เสี่ยงในการทำให้บุตรในครรภ์แท้ง 

Exit mobile version