คุณแม่บางท่านที่เลือกตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจ Quadruple test (Quad test) ที่มีความแม่นยำ 80% หรือการตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal testing) ที่มีความแม่นยำสูงขึ้นมาที่ 99.9% อาจจะต้องประสบกับเหตุการณ์ที่ว่า ผลตรวจออกมามีความเสี่ยงสูง ต้องทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันผล
อ่านเพิ่ม : การเจาะตรวจคัดกรองคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีกี่แบบ แต่ละแบบความแม่นยำกี่เปอร์เซนต์
หลายๆคนที่ต้องเจาะน้ำคร่ำก็คงมีความกังวลและความกลัวหลายๆอย่าง
บทความนี้นำเอาข้อมูลทางการจาก คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มาให้คุณแม่ได้อ่าน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดโดยการเจาะน้ำคร่ำ” โดยมีเนื้อหาดังนี้
และเนื่องจากการเจาะน้ำคร่ำ เป็นหัตถการที่มีข้อจำกัด และมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลแทรกซ้อนได้ เช่น น้ำคร่ำรั่ว ติดเชื้อในน้ำคร่ำ จนอาจรุนแรงถึงการแท้งได้ จึงต้องมีการให้ข้อมูลโดยแพทย์ และให้คุณแม่ได้เซนต์เอกสารรับทราบตามเอกสารนี้
อย่างไรก็ดี แม้ว่าการเจาะน้ำคร่ำตรวจ จะเป็นวิธีในการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติของโครโมโซมของทารกในครรภ์ แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้
ดังเช่นในกรณีของข่าวนี้ : กรณีแพทย์อ่านผลวินิจฉัยว่าลูกเป็นโรคดาว์นซินโดรมผิด ทำอะไรได้บ้าง?
ดังนั้น ถึงแม้จะเข้ารับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมหรือแม้แต่เจาะน้ำคร่ำแล้ว คุณแม่ก็ยังต้องดูแลสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทารกในครรภ์แข็งแรงที่สุดค่ะ
ที่มา : https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_OBS/admin/knowledges_files/6_65_1.pdf
อ่านเพิ่มเติม
– 5 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPT, Quadruple test, Ultrasound, etc.)