Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

คนที่เป็นดาวน์ซินโดรม สามารถไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้หรือไม่?

คนที่เป็นดาวน์ซินโดรม สามารถไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้หรือไม่?

คนที่เป็นดาวน์ซินโดรม สามารถไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้หรือไม่?

การเลือกตั้ง เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนคนไทยทุกคนที่จัดขึ้นภายใต้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (universal suffrage) ตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอยู่ดังนี้

  • มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือแปลงสัญชาติเป็นไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

และต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ต้องไม่เป็นพระสงฆ์ สามเณร นักพรตหรือนักบวช, ต้องไม่อยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, ต้องไม่ถูกคุมขังด้วยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย, ต้องไม่เป็นคนสติฟั่นเฟือน

บุคคลที่ห้ามใช้สิทธิ์เลือกตั้ง คือใครบ้าง

ใครบ้างที่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด มีดังนี้

  1. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือ นักบวช
  2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
  3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
  4. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  5. มีลักษณะอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

คนเป็นดาวน์ซินโดรม มีสิทธิ์เลือกตั้งไหม

Trisomy 21 (T21) หรือกลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของความพิการทางสติปัญญา ระดับผิดปกติของ IQ ที่ได้รับการประเมินโดยการทดสอบเชาวน์ปัญญา (IQ test) จะแตกต่างกันอย่างมากในผู้ป่วยแต่ละคน

เนื่องจากดาวน์ซินโดรมนั้น มีความผิดปกติเกี่ยวกับสติปัญญาและการเรียนรู้ โดยระดับ IQ ของผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นมีค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 50 และมีช่วง IQ อยู่ที่ 30-70 (คนปกติจะมีค่าเฉลี่ย IQ อยู่ที่ประมาณ 100)

ซึ่งถึงแม้ว่าระดับสติปัญญาดังกล่าวจะน้อยกว่าคนทั่วไป แต่ว่า คนที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นหากได้รับการศึกษาที่เหมาะสมและดีพอ ก็สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้

ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าคนเป็นดาวน์ซินโดรมมีสิทธิ์สมบูรณ์ที่จะเข้าคูหาเลือกตั้งได้โดยที่ไม่มีข้อห้ามทางกฎหมายใดๆ

เว้นแต่ในกรณีที่มีระดับสติปัญญาที่ต่ำมาก จนถึงขั้นที่ต้องลงทะเบียนเป็นผู้พิการที่วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือ มีคำพิพากษาของศาลสั่งว่าไม่สามารถเลือกตั้งได้และมีใบรับรองแพทย์ว่าเลือกตั้งหรือเสนอความเห็นไม่ได้เท่านั้น

ดาวน์ซินโดรม สามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้

เว้นแต่ในกรณีที่เป็นผู้พิการที่วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือ มีคำพิพากษาของศาลสั่งและมีใบรับรองแพทย์ว่าเลือกตั้งหรือเสนอความเห็นไม่ได้เท่านั้น

ปัญหาของคนเป็นดาวน์ซินโดรม หรือคนพิการทางสติปัญญา ในการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

หลายครั้งที่คนพิการทางสติปัญญาถูกมองข้ามเรื่องสิทธิทางการเมืองและการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ เช่น กรณีเด็กที่เป็นออทิสติก หรือ ความบกพร่องในการเรียนรู้ Learning Disabilities (LD) รวมถึงดาวน์ซินโดรม อายุถึงเกณฑ์ใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ปกครองบางคนจะเลือกชี้นำให้เด็กเลือกตามที่ตนต้องการ แทนการชี้แนะเด็กให้คิดและเลือกตั้งตามใจตนเอง หรือบางคนเลือกตัดปัญหาโดยไม่พาบุคคลดังกล่าวไปสู่คูหาเลือกตั้งเลยก็มี หรือบางคนพาไป แต่ถูกเจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งนั้นปฏิเสธการให้ข้อมูลเพราะมองว่าผู้บกพร่องทางสติปัญญาไร้ความสามารถ

ประเทศไทยนั้นไม่มีการอำนวยความสะดวกในการเลือกตั้งให้ผู้พิการทางสติปัญญา หลักการง่าย ๆ ของเรื่องนี้คือ คนพิการทางสติปัญญา บางคนไม่ได้ขาดวิจารณญาณ แต่อาจจะบกพร่องการวางตัว หรือบางคนเป็นดาวน์ซินโดรม เขาเป็นผู้พิการแต่เขามีสิทธิเรียนรู้ และใช้สิทธินั้นออกไปได้ โดยหากสังคมและรัฐเปิดกว้างก็อาจจะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งสำหรับเผยแพร่แก่คนกลุ่มนี้ โดยมีผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดเป็นผู้ช่วย เช่น กรณีที่การจัดสถานที่จำลองหน่วยเลือกตั้งให้ลูกเรียนรู้ โดย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือใครก็แล้วแต่ แล้วใช้สีมากำหนดแทนการกากบาท ใช้สีแทนตัวแทนพรรคการเมือง นักการเมืองให้คนออทิสติกเลือกคนที่เขาชื่นชอบ (ที่มา)

ดังนั้น หากภาครัฐมีการสนับสนุนที่ดี ก็น่าจะช่วยให้กลุ่มคนดังกล่าวได้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้อย่างเต็มที่

Exit mobile version