Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

อัปเดต! ค่าฝากครรภ์-ค่าคลอดบุตร ลดหย่อนภาษีปี 2567 ได้เท่าไหร่ รวมไว้ที่นี่

อัปเดต! ค่าฝากครรภ์-ค่าคลอดบุตร ลดหย่อนภาษี 2566 ได้เท่าไหร่ รวมไว้ที่นี่

อัปเดต! ค่าฝากครรภ์-ค่าคลอดบุตร ลดหย่อนภาษี 2566 ได้เท่าไหร่ รวมไว้ที่นี่

ปลายปี 2566 ขึ้นปี 2567 ที่จะถึงนี้ สิ่งหนึ่งที่เราจะลืมไปไม่ได้เลยคือ การเตรียมยื่นภาษีของปี 2566 เพราะทุกคนที่มีรายได้ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับทางกรมสรรพากร แต่ก่อนจะยื่นภาษีเราควรทำการตรวจสอบด้วยว่า รายการใดบ้างที่เราจ่ายไปตลอดปี 2566 สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ป้ายแดงที่เพิ่งตั้งครรภ์และคลอดบุตร สามารถนำค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรมาใช้ลดหย่อนภาษี 2566 ได้สูงสุดถึง 60,000 บาท

ใครที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างใดหนึ่งอย่างใด ดังนี้

1. บุคคลธรรมดา

2.ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

5.วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร

ค่าลดหย่อนภาษี หรือที่เรียกกันว่า ค่าลดหย่อน เป็นรายการตามกฎหมายที่กำหนดไว้ว่า สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งสิทธิประโยชน์ในส่วนนี้ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรในปี 2566 ที่เป็นผู้มีเงินได้ สามารถนำค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ มาลดภาษีเงินได้บุคคคลธรรมดาได้ ดังนี้

รายการอะไรบ้าง ลดหย่อนภาษีได้สำหรับการตั้งครรภ์

รายการดังที่กล่าวมา ไม่ว่าจะใช้บริการในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน ก็สามารถนำมาลดภาษีได้สูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

เงื่อนไขการลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

เงื่อนไขทั่วไป

  1. กรณีสามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างเป็นผู้มีเงินได้ ให้ภรรยาใช้สิทธิ์ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท
  2. กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภรรยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ ใช้สิทธิ์ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท
  3. ต้องรวมกับสิทธิเบิกค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ที่เป็นสวัสดิการของรัฐหรือเอกชนสำหรับการตั้งครรภ์แต่ละครั้งไม่เกิน 60,000 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่นำมาลดภาษีปี 66 ได้ ต้องเป็นค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566-31 ธันวาคม 2566

เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ท้องแฝด

สามารถลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรท้องแฝดได้สูงสุด 60,000 บาท เพราะถือเป็นท้องเดียว

เช่น ต้นปี 2566 ตั้งครรภฺแฝด ฝากครรภ์ 50,000 จะถือเป็นท้อง 1 ครั้ง ไม่ได้นับจำนวนทารก ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง 50,000 เพราะกฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิ์ท้องละไม่เกิน 60,000 บาท

เงื่อนไขการใช้สิทธิ์จ่ายค่าคลอดบุตรและฝากครรภ์ในปีเดียวกัน

สามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ท้องละไม่เกิน 60,000

เช่น ต้นปี 2566 จ่ายค่าคลอดบุตรคนที่แรก จำนวน 70,000 บาท และปลายปีตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2 มีการจ่ายค่าฝากครรภ์ 50,000 บาท จะถือเป็นท้อง 2 ครั้ง ในปีเดียวกัน ซึ่งสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทั้ง 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 60,000 บาท แสดงว่าคุณจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 110,000 บาท เพราะกฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิ์ตามที่จ่ายจริงท้องละไม่เกิน 60,000 บาท

กรณีที่ต้นปี 2566 จ่ายค่าคลอดบุตรคนแรก จำนวน 70,000 บาท และปลายปี 2566 ตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2 มีการจ่ายค่าฝากครรภ์ 60,000 บาท รวมเป็น 130,000 บาท แต่คุณจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 120,000 บาท เพราะกฎหมายกำหนดให้สิทธิ์ตามที่จ่ายจริงท้องละไม่เกิน 60,000 บาท

เงื่อนไขใช้สิทธิ์นอกเหนือจากค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร

กรณีที่มีค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร ไม่ว่าจะเป็น การรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร เช่น ค่าตรวจครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นตรวจดาวน์ซินโดรม ค่าบำบัดทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น ค่าขูดมดลูกในกรณีแท้งบุตร รวมถึงค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล เป็นต้น รายการเหล่านี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงท้องละไม่เกิน 60,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม แต่ไม่รวมค่าของใช้ต่างๆ ในการตั้งครรภ์ คลอดบุตร

เงื่อนไขสำหรับผู้มีสวัสดิการเบิกค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

กรณีที่มีสวัสดิการเบิกค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรของหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน เช่น บัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการของหน่วยงานราชการหรือเอกชน ค่าลดหย่อนภาษีจะต้องนำมาหักออกจากค่าใช้จ่ายจากสวัสดิการที่เบิกได้ตามกำหนดของหน่วยงานต่างๆ ที่คุณสามารถใช้สิทธิ์ได้

เช่น กรณีคลอดบุตร มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 60,000 บาท แต่คุณแม่สามารถเบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เพียง 47,000 บาท (เท่าที่จ่ายจริง) เนื่องจากนำสิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรที่กำหนดท้องละไม่เกิน 60,000 บาท มาหักลบจากสวัสดิการที่คุณเบิกได้

เอกสารใช้ลดหย่อนภาษีสำหรับค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร

1.ใบรับรองแพทย์

ใบรับรองแพทย์ ที่ได้จากแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่แสดงความเห็นว่ามีภาวะตั้งครรภ์จริง

2.ใบเสร็จรับเงิน

ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงให้เห็นว่า ได้จ่ายค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรให้แก่สถานพยาบาลจริง

ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ที่ไหนบ้าง

● สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สรรพากรเขต/อำเภอเดิม) สำหรับการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ผู้ที่มีเงินได้ สามารถยื่นแบบฯ ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง

●ไปรษณีย์ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1.ผู้มีเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพฯ

2.ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน พร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค.หรือ ง.) หรือ ธนาณัติ (ตามจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระทั้งจํานวน) โดยส่งไปยัง กองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

3.กรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์ เป็นวันรับแบบและชําระภาษีและจะส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ยื่นแบบฯ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

4.กรณีผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลําเนาอยู่ในต่างจังหวัด หรือประสงค์จะขอชําระภาษีเป็นงวด จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนไม่ได้

● ยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเอง ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th อ่านขั้นตอนการยื่นแบบออนไลน์

ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี

ยื่นภาษีของปี 2566 จะต้องทำการยื่นภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2567 แต่หากทำการยื่นภาษีออนไลน์สามารถยื่นได้ตั้งแต่ 1 มกราคม -10 เมษายน 2567

ช่องทางติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

●โทร 1161 ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (สรรพากร Call Center) ให้บริการข้อมูลสรรพากรทางโทรศัพท์แก่ผู้เสียภาษีและประชาชนทั่วไป ในเวลาทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-18.00 น. (ไม่พักกลางวัน)

●ติดตามข่าวสารได้ทาง Facebook page กรมสรรพากร : The Revenue Department และเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th

คัดกรองดาวน์ซินโดรมกับ HealthSmile ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่

คุณแม่ท่านใดที่ได้ใช้บริการคัดกรองดาวน์ซินโดรม ตรวจ NIPT, NIFTY (นิฟตี้) กับทาง HealthSmile ในปี 2566 สามารถนำไปใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษี 2566 สำหรับการตั้งครรภ์ได้นะคะ

สำหรับคุณแม่ท่านใดลังเลว่าจะตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ดีหรือไม่ ไม่ต้องลังเลเลยค่ะ นอกจากจะได้ทราบความผิดปกติของทารกในครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์แล้ว คุณแม่ยังสามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปใช้ลดหย่อนภาษี 2566 ได้อีกด้วยค่ะ สนใจพูดคุย ปรึกษาเกี่ยวกับการคัดกรองดาวน์ซินโดรม กับทีมแพทย์ พยาบาลของ HealthSmile ติดต่อเราได้ที่นี่เลยค่ะ Line ID : @Healthsmile หรือคลิก https://link.healthsmile.co.th/add-line/4 หรือโทร 0898749565

——————————————————

คำถามที่พบบ่อย อ้างอิงจากกรมสรรพากร

1.Q : หากจ่ายค่าฝากครรภ์ต้นปี 2561 เป็นเงิน 30,000 บาท ต่อมาแท้งบุตรต้องขูดมดลูกจำนวน 40,000 บาท สามารถใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่าใด
A: ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งค่าฝากครรภ์และค่าขูดมดลูก แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท

2. Q: กรณีตั้งครรภ์และแท้งเอง และตั้งครรภ์ใหม่ในปีภาษีเดียวกัน ลดหย่อนได้เท่าใด
A : ใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้ง 2 ครั้งๆ ละ ไม่เกิน 60,000 บาท ตามข้อ2(4) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331)

3. Q : กรณีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้แยกยื่นแบบ ใบเสร็จรับเงินค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรออกมาในชื่อสามี ภริยาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
A : ได้ ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายค่าฝากครรภ์ ตามข้อ 3(2) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331)

4. Q: ค่าตรวจครรภ์ที่คลินิกสามารถนำมาลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ได้หรือไม่
A : หากคลินิกดังกล่าวเป็นสถานพยาบาลแบบไม่มีเตียงตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ.2541 สามารถนำมาใช้สิทธิ์ได้

5. Q : กรณีการยกเว้นค่าคลอดบุตร ชาวต่างชาติได้รับสิทธิ์ด้วยหรือไม่
A: หากชาวต่างชาติ (มารดา) ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในไทย และบุตรมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สามารถนำมาใช้สิทธิได้

6. Q : กรณีที่บิดาและมารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มารดาสามารถใช้สิทธิ์ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้หรือไม่
A : สามารถใช้สิทธิ์ได้ เนื่องจากมารดาเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรเสมอ โดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรส

7. Q : กรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมารดาไม่มีเงินได้ บิดาสามารถใช้สิทธิ์ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้หรือไม่
A : กรณีบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส บิดาไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ ทั้งนี้ หากบิดามีการจดทะเบียนรับรองบุตรในปีภาษีที่บุตรคลอด บิดาสามารถใช้สิทธิ์หักลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้

8. Q : กรณีได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากนายจ้างภาคเอกชนในการคลอดบุตร จำนวน 30,000 บาท แต่ได้จ่ายค่าคลอดบุตรไปจำนวน 100,000 บาท จะใช้สิทธิ์ลดค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร อย่างไร
A : ได้รับสิทธิ์ จำนวน 30,000 บาท เนื่องจากเมื่อนำไปรวมกับสวัสดิการที่เบิกได้ต้องไม่เกิน 60,000 บาท

อ้างอิงข้อมูลจาก กรมสรรพากร

อ้างอิงข้อมูลจาก กรมสรรพากร

10. Q : มีบุตรมาแล้ว 3 คน คนที่ 1 อายุ 21 ปี คนที่ 2 อายุ 18 ปี และคนที่ 3 อายุ 6 เดือน แต่ภริยาคนแรกเสียชีวิตในปี 2560 ได้สมรสใหม่กับภริยาคนปัจจุบันในปี 2561 ภริยาไม่มีเงินได้ เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ภริยาตั้งครรภ์และมีการฝากครรภ์แต่ในเดือนสิงหาคม 2561 มีภาวะต้องยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากเด็กไม่สมบูรณ์ ตั้งครรภ์ใหม่และฝากครรภ์ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้เท่าไหร่
A : ได้รับสิทธิหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร จำนวน 120,000 บาท เนื่องจากมีการตั้งครรภ์ 2 คราวในปีภาษีเดียวกัน

11. Q : มีบุตรกับภริยาคนแรก ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีการจ่ายค่าเลี้ยงดู 1 คน เกิดเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2561 ขณะนี้บุตรคนแรกมีอายุ 10 เดือนกว่าๆ และได้แต่งงานจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนปัจจุบันมีบุตรด้วยกันอีก 1 คน เกิดเมื่อวันที 1 พ.ย. 2561 ภริยาทั้ง 2 คน ไม่มีเงินได้ จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร รวมถึงการใช้สิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม 30,000 บาท ได้หรือไม่
A : ใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรจากภริยาที่จดทะเบียนสมรส แต่ไม่ได้รับสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม 30,000 บาท เนื่องจากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายเพียงคนเดียว

อ้างอิงข้อมูลจาก กรมสรรพากร

9. Q : กรณีจดทะเบียนสมรสและหย่าภริยาคนแรก มีบุตร 2 คน และต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกับภริยาคนที่ 2 มีบุตรด้วยกันอีก 2 คน และบุตรคนที่ 3 ตั้งครรภ์และคลอดในปี 2561 จะสามารถลดหย่อนบุตรได้ 5 คนหรือไม่ และจะได้รับสิทธิ์ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร และสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม 30,000 บาท หรือไม่ และต้องใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง
A : ได้รับสิทธิลดหย่อนบุตร ทั้ง 5 คน และบุตรคนที่ 5 ได้รับสิทธิ์ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร และสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม โดยใช้หลักฐาน ดังนี้
1. บันทึกท้ายหย่าในการแสดงรายละเอียดว่าเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรจากภริยาคนแรก
2. เอกสารใบทะเบียนสมรสกับภริยาคนที่ 2
3. ใบรับรองแพทย์ฯ และใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

10. Q : มีบุตรมาแล้ว 3 คน คนที่ 1 อายุ 21 ปี คนที่ 2 อายุ 18 ปี และคนที่ 3 อายุ 6 เดือน แต่ภริยาคนแรกเสียชีวิตในปี 2560 ได้สมรสใหม่กับภริยาคนปัจจุบันในปี 2561 ภริยาไม่มีเงินได้ เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ภริยาตั้งครรภ์และมีการฝากครรภ์แต่ในเดือนสิงหาคม 2561 มีภาวะต้องยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากเด็กไม่สมบูรณ์ ตั้งครรภ์ใหม่และฝากครรภ์ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้เท่าไหร่
A : ได้รับสิทธิหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร จำนวน 120,000 บาท เนื่องจากมีการตั้งครรภ์ 2 คราวในปีภาษีเดียวกัน

11. Q : มีบุตรกับภริยาคนแรก ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีการจ่ายค่าเลี้ยงดู 1 คน เกิดเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2561 ขณะนี้บุตรคนแรกมีอายุ 10 เดือนกว่าๆ และได้แต่งงานจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนปัจจุบันมีบุตรด้วยกันอีก 1 คน เกิดเมื่อวันที 1 พ.ย. 2561 ภริยาทั้ง 2 คน ไม่มีเงินได้ จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร รวมถึงการใช้สิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม 30,000 บาท ได้หรือไม่
A : ใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรจากภริยาที่จดทะเบียนสมรส แต่ไม่ได้รับสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม 30,000 บาท เนื่องจากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายเพียงคนเดียว

อ้างอิงข้อมูลจาก กรมสรรพากร

Exit mobile version