Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

รู้เพศลูกตอนกี่เดือน วิธีตรวจเพศลูก ในครรภ์

รู้เพศลูกตอนกี่เดือน วิธีตรวจเพศลูกในครรภ์

รู้เพศลูกตอนกี่เดือน วิธีตรวจเพศลูกในครรภ์

สิ่งสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และครอบครัว นอกจากความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์แล้ว ก็คือ เพศของลูกในครรภ์นั่นเอง ซึ่งการรู้เพศของทารกในครรภ์นั้น สามารถทำได้ง่ายขึ้นในปัจจุบัน สำหรับบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า วิธีตรวจเพศลูก รู้เพศของลูกในครรภ์ได้ตั้งแต่กี่เดือน มีวิธีไหนบ้างที่จะรู้เพศลูก และความแม่นยำของการรู้เพศลูกในครรภ์นั้นกี่เปอร์เซนต์

ตารางแสดงความแม่นยำของการตรวจเพศทารกในครรภ์ อายุครรภ์ที่เริ่มตรวจเพศได้ และข้อจำกัดของแต่ละวิธี (เรียงตามอายุครรภ์ที่ตรวจได้)

 

วิธีตรวจ อายุครรภ์ที่เริ่มตรวจได้ ความแม่นยำ ข้อจำกัด
เลือกเพศตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
– คัดเลือกอสุจิ (สเปิร์ม) ทำก่อนตั้งครรภ์ 70% – ความแม่นยำไม่สูงนัก
– การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF, ICSI) ร่วมกับการตรวจโครโมโซม (PGT-A) ทำก่อนตั้งครรภ์ มากกว่า 99% – มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว

– ค่าใช้จ่ายสูงมาก

ตรวจเพศของทารกในครรภ์
– ตรวจนิป NIPT (Non-invasive prenatal testing) 10 สัปดาห์เป็นต้นไป มากกว่า 99% – ค่าใช้จ่ายสูง
– อัลตราซาวด์ในไตรมาสแรก 12 สัปดาห์เป็นต้นไป 75% – ความแม่นยำไม่สูงนัก
– ตรวจชิ้นเนื้อรก (CVS) 10 – 13 สัปดาห์ 100% – เสี่ยงเกิดการแท้ง
– อัลตราซาวด์ในไตรมาสสอง 17 สัปดาห์เป็นต้นไป 92-99% – ขึ้นกับความสามารถของแพทย์
– ตรวจน้ำคร่ำ 17-20 สัปดาห์ 100% – เสี่ยงเกิดการแท้ง

การเลือกเพศของทารกในครรภ์ตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ

ปัจจุบันสามารถเลือกเพศของทารกในครรภ์ได้ตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิ ด้วยการใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นการทำเด็กหลอดแก้ว การคัดเลือกสเปิร์ม เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้จะบอกถึงวิธีต่างๆเท่านั้น แต่อาจจะไม่ได้บอกรายละเอียดของแต่ละวิธีว่าทำอย่างไร

การคัดเลือกสเปิร์ม

ความแม่นยำประมาณ 75% ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก

การใช้เทคโนโลยีเจริญพันธ์ เช่น เด็กหลอดแก้ว (IVF) ร่วมกับการตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน (PGT)

ความแม่นยำสูงมากกว่า 99% แต่ก็มีโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนจากการทำเด็กหลอดแก้วที่สูง ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนของการใช้ยาฮอร์โมนกระตุ้นไข่ ภาวะแทรกซ้อนจากการเก็บไข่ การฝังตัวอ่อน ฯลฯ นอกจากนี้วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก

วิธีตรวจเพศลูกในครรภ์ปัจจุบัน ความแม่นยำสูง

แบบไม่เสี่ยง

การตรวจ NIPT หรือ NIFTY

เป็นการตรวจเศษของ DNA จากรกของทารกที่ลอยอยู่ในเลือดแม่ วิธีนี้ความแม่นยำของวิธีนี้อยู่ที่มากกว่า 99% ซึ่งนอกจากจะได้ทราบเพศที่มีความแม่นยำสูงแล้ว ยังทราบโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมต่างๆได้ครบทั้ง 23 โครโมโซม และความผิดปกติของโครโมโซมขนาดเล็กๆ (microdeletion / duplication syndrome) ได้สูงสุดถึง 92 ความผิดปกติ (ตรวจดาวน์ซินโดรมแบบดีที่สุด (NIFTY® Pro))

อัลตราซาวนด์

เป็นวิธีที่ราคาต่ำกว่าวิธีอื่น และเป็นที่นิยม วิธีนี้ความแม่นยำของวิธีนี้อยู่ที่ประมาณ 92-99% เมื่อตรวจตอนอายุครรภ์ 17 สัปดาห์ขึ้นไป หากตรวจเร็วกว่านั้น ก็จะมีความแม่นยำที่ลดหลั่นกันลงมา โดยบางงานวิจัย สามารถอัลตราซาวนด์เห็นเพศได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ ความแม่นยำประมาณ 75%

แบบเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแท้ง หรือผลแทรกซ้อนของทารกในครรภ์

เจาะตรวจชิ้นเนื้อรก

ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ เป็นการแทงเข็มเข้าไปที่บริเวณรกของทารกเพิ่อดูดเอาชิ้นส่วนของรกมาตรวจโครโมโซม มักใช้กับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ไม่ใช้ในการตรวจเพศเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีความเสี่ยงทำให้เกิดการแท้งบุตรได้มากถึง 0.5-1.0%

เจาะน้ำคร่ำ

ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ตั้งแต่ 17 สัปดาห์เป็นต้นไป เป็นการแทงเข็มเข้าไปที่บริเวณถุงน้ำคร่ำของของทารก เพิ่อดูดเอาน้ำคร่ำที่มีเซลล์ของทารกมาตรวจโครโมโซม มักใช้กับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมเช่นกัน ไม่ใช้ในการตรวจเพศเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีความเสี่ยงทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ประมาณ 0.5% และอาจเกิดภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว ถุงน้ำคร่ำติดเชื้อได้

วิธีโบราณในการคาดเทาเพศลูกในครรภ์ ที่ไม่จริง และไม่แม่นยำ

หลากหลายวิธีโบราณในการคาดเดาเพศของทารกในครรภ์ ซึ่ง ณ ปัจจุบันพิสูจน์แล้วว่าไม่มีความแม่นยำ กล่าวคือ เดาเพศไหน ก็มีโอกาสถูกประมาณ 50% อยู่แล้ว โดยตัวอย่างวิธีเดาเพศทารกในครรภ์แบบโบราณ มีดังนี้

  1. ตำแหน่งของท้อง
    ถ้าพุงของคุณแม่ห้อยต่ำ (หรืออยู่ข้างหน้า) แสดงว่าคุณแม่ได้ลูกชาย ถ้าท้องอยู่สูง (หรือกว้างตรงกลาง) คุณแม่ได้ลูกสาว ไม่จริง
  2. จังหวะของหัวใจ
    หากหัวใจของทารกเต้นเร็วกว่า 140 ครั้งต่อนาที แสดงว่าเป็นเด็กผู้หญิง ไม่จริง
  3. การทดสอบด้วยแหวนแต่งงาน
    แขวนแหวนแต่งงานของคุณจากปอยผมของพ่อไว้ที่ท้องของคุณ ถ้าแหวนแกว่งเป็นวงกลมแสดงว่าเป็นผู้หญิง ถ้ามันแกว่งไปมาแสดงว่าเป็นเด็กผู้ชาย ตำนานอีกฉบับหนึ่งแนะนำให้ห้อยเข็มกลัดไว้เหนือข้อมือของแม่ ไม่จริง
  4. การทดสอบด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำ
    เทลงในปัสสาวะของคุณ ถ้าส่วนผสมเปลี่ยนเป็นสีเขียวแสดงว่าเป็นเด็กผู้ชาย มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสีอื่น ๆ จะได้ลูกสาว แต่สีเขียวเป็นหนึ่งในสีที่พบบ่อยที่สุด ไม่จริง
  5. ความอยากของหวาน
    หญิงมีครรภ์ที่อยากกินของหวานกำลังมีลูกชาย หากพวกเขาอยากอาหารรสเปรี้ยวพวกเขากำลังมีลูกสาว ไม่จริง
  6. อาการแพ้ท้อง
    หากคุณมีอาการแพ้ท้องทั้งวันก็เป็นผู้หญิง ตำนานนี้อาจมีความจริงอยู่บ้าง ผลการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงที่เรียกว่า Hyperemesis Gravidarum มีแนวโน้มที่จะให้กำเนิดเด็กผู้หญิงมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ทารกเพศชาย ก็ทำให้มารดามีอาการแพ้ท้องรุนแรงได้เหมือนกัน ไม่จริง
  7. ดูปฏิทิน
    ปฏิทินจันทรคติของจีนสามารถทำนายเพศของทารกได้โดยพิจารณาจากอายุของมารดาเมื่อตั้งครรภ์และเดือนที่ตั้งครรภ์ ไม่จริง
  8. ผิวพรรณของมารดา
    หากขณะตั้งครรภ์ คุณแม่มีฝ้าขึ้นมาก ผิวคล้ำลงหรือมีร่องรอยบนผิวหนังเยอะขึ้น หรือสิวขึ้นเยอะ จะเป็นเพศชาย หากคุณแม่หน้าตาผ่องใส ผิวพรรณขาวเนียนขึ้นระหว่าตั้งครรภ์จะได้ทารกเพศชาย ไม่จริง

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ด้วยวิธี Quadruple test ไม่สามารถทราบเพศทารกในครรภ์ได้

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ฟรีที่โรงพยาบาลรัฐ วิธี Quadruple test (หรือ Quad test) ไม่สามารถทราบเพศของทารกในครรภ์ได้ (อ่านเพิ่มเติม : ตรวจดาวน์ซินโดรมฟรี ทั่วประเทศไทย คืออะไร ใช้วิธีไหน แม่นยำเหรอ)

สรุปวิธีที่เร็วที่สุดในการตรวจเพศของทารกในครรภ์ (นับเฉพาะที่ความแม่นยำสูงมากกว่า 90%)

  1. การทำเด็กหลอดแก้ว และเลือกโครโมโซมตัวอ่อนก่อนฝังตัว
  2. การตรวจ NIPT หรือ NIFTY เร็วที่สุดที่ 10 สัปดาห์ เป็นต้นไป
  3. การตรวจชิ้นเนื้อรก ที่ 11-14 สัปดาห์
  4. การเจาะน้ำคร่ำ ที่ 15-20 สัปดาห์
  5. การอัลตราซาวนด์ ที่ 17-22 สัปดาห์

ปัญหาจริยธรรมของการรู้เพศของทารกในครรภ์

ในบางประเทศ อาจมีการเลือกยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ในกรณีที่เพศของทารกในครรภ์นั้นไม่ตรงตามที่ครอบครัวต้องการ เช่น ประเทศอินเดียและจีนที่มีความต้องการทารกเพศชายสูง ทำให้มีการทำแท้งทารกเพศหญิงจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีความไม่สมดุลของประชากรในสองประเทศดังกล่าว โดยประชากรเพศชายมีมากกว่าเพศหญิงราว 70 ล้านคน ซึ่งยิ่งเทคโนโลยีการตรวจ NIPT หรือ NIFTY มีความแม่นยำมากขึ้น NIPT สามารถตรวจเพศของทารกในครรภ์ได้เร็วขึ้นก็จะทำให้การเลือกเพศง่ายขึ้น ทำให้มีโอกาสที่ในอนาคต จะเกิดความไม่สมดุลของเพศชายและหญิงได้

References

Bowman-Smart, H., Savulescu, J., Gyngell, C., Mand, C., & Delatycki, M. B. (2020). Sex selection and non‐invasive prenatal testing: A review of current practices, evidence, and ethical issues. Prenatal Diagnosis40(4), 398–407. https://doi.org/10.1002/pd.5555

Efrat, Z., Perri, T., Ramati, E., Tugendreich, D., & Meizner, I. (2006). Fetal gender assignment by first‐trimester ultrasound. Ultrasound in Obstetrics & Gynecology: The Official Journal of the International Society of Ultrasound in Obstetrics and Gynecology27(6), 619–621. https://doi.org/10.1002/uog.2674

How to find out your baby’s sex during pregnancy: Genetic testing and other methods to try. (n.d.). Flo.Health – #1 Mobile Product for Women’s Health. Retrieved April 29, 2024, from https://flo.health/pregnancy/find-out-baby-gender

Igbinedion, B.-E., & Akhigbe, T. (2012). The accuracy of 2D ultrasound prenatal sex determination. Nigerian Medical Journal: Journal of the Nigeria Medical Association53(2), 71. https://doi.org/10.4103/0300-1652.103545

Miles, K. (2015, April 18). How sex selection methods work and when they’re used. BabyCenter. https://www.babycenter.com/getting-pregnant/how-to-get-pregnant/choosing-your-babys-sex-what-the-scientists-say_2915

Mom, H. (2023, June 18). How to read NIPT results for gender. Fetal Growth. http://www.fetalgrowth.net/how-to-read-nipt-results-for-gender

Ormstad, S. S., Stoinska‐Schneider, A., Solberg, B., Fure, B., & Juvet, L. K. (2016). Non‐invasive prenatal testing (NIPT) for fetal sex determination. Health technology assessment. Knowledge Centre for the Health Services at The Norwegian Institute of Public Health.

Exit mobile version