ปัญหาเด็กพูดช้า นับเป็นปัญหาที่ผู้ปกครองหลายท่านกังวล เพราะพบได้บ่อยในเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน ประมาณร้อยละ 5-15 แต่ผู้ปกครองอย่าพึ่งกังวลไปค่ะ และอย่าเอาลูกไปเปรียบเทียบกับลูกเพื่อน ญาติพี่น้องนะคะ เดี๋ยวจิตตกไปกันใหญ่ เพราะเห็นหลายครั้งเมื่อลูกพูดช้า ลูกไม่พูดผู้ปกครองมักเปรียบเทียบการพูดของลูก แล้วเก็บมาสงสัยว่า ทำไมเด็กพูดไม่ชัดเท่าเด็กคนอื่น เด็กคนอื่นพูดได้แล้ว ทำไมลูกไม่ยอมพูด
ก่อนที่จะสรุปว่า ลูกพูดช้า เด็กไม่พูด เด็กพูดไม่ชัด มาลองเช็กลิสต์สัญญาณการพูดของเด็กแต่ละวัย ที่เรียกว่า “ผิดปกติ” พร้อมไขสาเหตุเด็กพูดช้า เด็กไม่พูด และเรียนรู้วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ที่ผู้ปกครองสามารถทำได้ที่บ้าน ไปพร้อมกับบทความนี้เลยค่ะ
เด็กพูดได้ตอนกี่ขวบ?
ลูก 2 ขวบครึ่งยังไม่พูด ลูกไม่ยอมพูด 3 ขวบ ลูกไม่ยอมพูด 5 ขวบ ฯลฯ เชื่อว่าคงเป็นความกังวลใจสำหรับผู้ปกครองอยู่ไม่น้อย และเชื่อว่าผู้ปกครองหลายท่าน จะกังวลเด็กพูดช้า เด็กไม่พูดเป็นพิเศษ เพราะผู้ปกครองสามารถสังเกตได้ชัด และกลัวว่า หากเด็กไม่ยอมพูด จะสื่อสารไม่ได้ คุยกับใครไม่รู้เรื่อง หรือมีโรคอื่นแอบแฝง ดังนั้น เริ่มต้นเรามาดูกันค่ะว่า เด็กพูดได้กี่ขวบ
เด็กพูดได้กี่ขวบ? พ่อแม่ควรทำความเข้าใจพัฒนาการด้านการพูดของเด็ก จะช่วยให้ทราบว่า เด็กพูดได้ตอนกี่ขวบ เพราะเด็กแต่ละวัย จะมีพัฒนาการด้านการพูดที่ต่างกัน โดยทั่วไปพัฒนาการเด็กด้านภาษาและการพูด
- เด็กสามารถพูดออกมาเป็นความหมายได้ตั้งแต่ 1 คำขึ้นไป คือ เด็กวัย 1 ขวบ โดยออกเสียงคำง่ายๆ เช่น หม่ำๆ
- เมื่อเข้า 2 ขวบ จะเริ่มพูด 2 คำติดกัน
- พูดเป็นประโยคยาวๆ ได้เมื่อเข้า 3-4 ขวบ
แต่หากพูดถึงเด็กเล็กอายุยังไม่ถึงขวบ ผู้ปกครองบางท่านอาจมองข้ามเรื่องการสื่อสารของเด็กไป เพราะโฟกัสที่เด็กเริ่มเข้าสู่วัยพูดได้ ถึงแม้ว่าเด็กเล็กยังสื่อสารออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ แต่เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการพูดนะคะ โดยเด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ได้ ดังนั้น ผู้ปกครองควรเริ่มสังเกตพัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กทุกวัยจะดีที่สุดค่ะ
ลูกพูดช้าสุดกี่ปี?
ผู้ปกครองบางท่าน เมื่อพบว่า เด็กพูดช้า เชื่อว่า บางท่านอาจรอไปเรื่อยๆ จนถึงวัยที่สามารถพูดเป็นประโยคได้ และมีความเชื่อว่า เด็กจะสามารถพูดได้เองไม่ช้าก็เร็ว แต่โดยทั่วไปเด็กที่ถือว่ามีปัญหาเรื่องการพูด คือ เด็กอายุ 2 ขวบ หากผู้ปกครองพบว่า เด็กวัยนี้ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้เลย ก็ไม่ควรรอไปเรื่อยๆ นะคะ เพราะเด็กถือว่ามีปัญหาพูดช้า ควรเริ่มหาวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด และพบผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุดค่ะ
แต่อย่างที่ได้กล่าวข้างไปข้างต้น พ่อแม่ควรเข้าใจพัฒนาการด้านการพูดของเด็กแต่ละวัยด้วย จะช่วยให้ลดความกังวลเรื่องลูกพูดช้าไปได้เยอะเลยค่ะ และช่วยให้สังเกตความผิดปกติของพัฒนาการด้านการพูดของลูกได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรโฟกัสพัฒนาการด้านการพูดของเด็กแต่ละวัยจะดีกว่าเรื่องลูกพูดช้าสุดกี่ปี เด็กพูดได้ตอนกี่ขวบนะคะ เพราะเด็กแต่ละวัยมีพัฒนาการด้านการพูดที่แตกต่างกันออกไป
สัญญาณเตือนเด็กพูดช้า…ผู้ปกครองควรเช็ก!
ความวิตกกังวลของคนเป็นพ่อเป็นแม่เมื่อลูกพูดช้า ลูกไม่ยอมพูด ไม่พูดหม่ำๆ หรือไม่เรียก พ่อ แม่ เป็นเรื่องทั่วไปที่หลายครอบครัวต้องเจอ แต่เชื่อว่า คุณพ่อ คุณแม่หลายท่านคงเคยมีความสงสัยว่า ลูกเราเข้าข่ายพัฒนาการล่าช้าหรือไม่? งั้นอย่ารอช้า ลองมาเช็กสัญญาณการพูดของเด็กแต่ละวัย ที่เรียกว่า “ผิดปกติ” กันเลยค่ะ
●เด็กอายุ 6-10 เดือน : ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่หันตามเสียง ไม่ตอบโต้ต่อเสียงดัง ไม่หัวเราะ
●เด็กอายุ 1 ปี : เรียกชื่อผู้ปกครองไม่ได้ เช่น “พ่อ” “แม่” “ตา” “ยาย” ใช้ภาษาท่าทางเพื่อปฏิเสธไม่ได้
●เด็กอายุ 1 ปี 3 เดือน : ไม่พูดคำที่มีความหมายเลย เช่น “หม่ำๆ” ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ เช่น “มานี่”
●เด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน : ไม่พูดคำที่มีความหมายอย่างน้อย 3 คำ ไม่เข้าใจภาษา ทำตามคำสั่งง่ายๆ ไม่ได้ หรือพูดไม่หยุด แต่สื่อสารไม่รู้เรื่อง และไม่เป็นเรื่องเดียวกัน
●เด็กอายุ 2 ปี : ไม่พูดคำที่มีความหมายต่างกัน 2 คำติดกัน พูดคำที่มีความหมายได้น้อยกว่า 50 คำ ชี้อวัยวะร่างกายตามคำสั่งไม่ได้
●เด็กอายุ 3 ปี : พูดเป็นประโยคยังไม่ได้ หรือไม่สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ไม่สามารถทำตามคำสั่ง 2 อย่างต่อเนื่องกันได้
●เด็กอายุ 4 ปี : เล่าเรื่องสั้นๆ ให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ พูดติดอ่าง
พัฒนาการของเด็กด้านการเข้าใจภาษาและการพูด ดังที่กล่าวมา ผู้ปกครองจะเห็นได้ว่า เด็กเล็กที่ยังไม่ถึงขวบ ก็สามารถเช็กได้ว่า เด็กพูดช้า หรือมีปัญหาเรื่องการได้ยิน จึงไม่ควรชะล่าใจรอให้เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป หากพูดช้า ถึงจะเข้าข่ายเด็กพูดช้า ลูกไม่พูด เด็กพูดไม่ชัด เพราะหากพบความผิดปกติตั้งแต่เด็กเล็ก ผู้ปกครองจะสามารถช่วยลูกได้ทัน โดยการพาลูกไปประเมินพัฒนาการเด็ก ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุ และแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นทาง และรับคำแนะนำวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดได้อย่างเหมาะสม
สาเหตุของเด็กพูดช้า ผู้ปกครองควรใส่ใจ เพราะอาจแอบแฝงด้วยโรคอื่น
หากพบว่า เด็กพูดช้า ผู้ปกครองควรเช็กสาเหตุของการทำให้ลูกพูดช้าด้วย เพราะเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยให้ผู้ปกครองรู้ได้ว่า เด็กพูดช้ามาจากสาเหตุใด จะได้แก้ไขได้อย่างเหมาะสม เพราะบางครั้งผู้ปกครองไม่ทันฉุกคิดว่า พฤติกรรมการเลี้ยงลูก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกพูดช้าได้ค่ะ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ดังนี้
1.บกพร่องทางการได้ยิน
เด็กอาจมีปัญหา หูหนวก หูตึง ทำให้เด็กมีปัญหาการได้ยินลดลง หรือไม่ได้ยินสิ่งที่ผู้ปกครองพูด จึงส่งผลให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ และเข้าใจภาษาจากการได้ยิน จึงใช้ภาษาท่าทางสื่อสารมากกว่าพูด ทำให้ผู้ปกครองคิดว่า เด็กไม่ยอมพูด เด็กพูดช้า
2.มีความผิดปกติด้านสติปัญญา
เด็กบางรายอาจมีความผิดปกติทางด้านสมอง ส่งผลให้มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน และขาดทักษะการปรับตัว เช่น มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อ ความจำ ทำอะไรเชื่องช้า และเด็กพูดช้ากว่าวัยเดียวกัน ซึ่งมักเป็นร่วมกับความผิดปกติอย่างอื่นด้วย และมักแสดงอาการออกมาก่อนอายุ 1 ปี 6 เดือน
3.โรคออทิสติก
ผู้ปกครองหลายท่าน เมื่อพบลูกพูดช้า ลูกไม่ยอมพูด มักสันนิษฐานว่า ลูกอาจเป็นออทิสติก ซึ่งก็ถือว่าอาจเป็นไปได้ค่ะ เพราะเด็กในกลุ่มออทิซึม จะมีพัฒนาการล่าช้า และมีปัญหาด้านการเข้าสังคม มีปัญหาทางด้านพฤติกรรมที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป เช่น มักชอบเล่น หรือทำอะไรซ้ำๆ ไม่เข้าสังคม ไม่เข้าใจคำสั่ง พูดไม่เป็นภาษา
4.พัฒนาการของเด็กด้านการพูดล่าช้า
เด็กบางรายอาจพบว่า มีพัฒนาการด้านภาษาสมวัยปกติ แต่พัฒนาการด้านการพูดล่าช้า หรือที่เรียกว่า เด็กปากหนัก ส่งผลให้เด็กมีปัญหาในการสื่อสาร เช่น เด็กไม่ยอมพูด เด็กพูดช้า บอกความต้องการโดยการใช้ท่าทางแทนการพูด ซึ่งมักจะมีปัญหาด้านการเรียนรู้ตามมาได้
5.ปล่อยให้เด็กดูจอบ่อยๆ
การเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง โดยการปล่อยให้เด็กดูจอบ่อยๆ เช่น ดูทีวี เล่นมือถือ เล่นแท็บเล็ต ถือเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ลูกพูดช้า หรือพูดไม่ชัด ใช้ท่าทางมากกว่าพูด เนื่องจากเด็กไม่ได้ฝึกทักษะสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งเสียงที่อยู่ในจอเป็นการสื่อสารทางเดียว เด็กจึงไม่ได้รับการกระตุ้นให้สื่อสารกับผู้อื่น
ทริค! เด็กพูดช้า ลูกไม่พูด ควรมีวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดเก่งขึ้นยังไง!
ผู้ปกครองหลายท่านนอกจากจะกังวลเรื่องการพูดของเด็ก เช่น ลูก 2 ขวบครึ่งยังไม่พูด ลูกไม่ยอมพูด 3 ขวบ ลูกไม่ยอมพูด 5 ขวบ เชื่อว่านอกจากจะหาสาเหตุที่ทำให้ลูกพูดช้า เด็กพูดไม่ชัดแล้ว ต้องคอยหาคลังความรู้ หรือศึกษาข้อมูลเรื่องวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดกันใช่ไหมคะ ดังนั้น บทความนี้เราจึงนำแนวทางส่งเสริมพัฒนาการของเด็กด้านการพูด หรือวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฉบับที่ผู้ปกครองทำได้เบื้องต้นที่บ้านมาฝากด้วยค่ะ
1.อ่านนิทานให้เด็กฟัง เพื่อเพิ่มคลังคำศัพท์ใหม่ๆ และผู้ปกครองควรใช้โอกาสนี้ในการถาม-ตอบเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทานกับเด็ก เพื่อฝึกให้เด็กพูดโต้ตอบได้
2.พูดคุยกับเด็กบ่อยๆ ด้วยคำพูดที่ใช้ในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน และไม่ควรตัดบทเมื่อเด็กพยายามพูด แต่ควรตั้งใจฟัง และมีปฏิกิริยากับเด็ก เพราะการพูดกับเด็กบ่อยๆ และตั้งใจฟัง เป็นการฝึกให้เด็กพูดมากขึ้น ฝึกให้เด็กพยายามออกเสียงมากขึ้น
3.เรียกชื่อสิ่งของที่เด็กสนใจ หรือกำลังเล่นอยู่ เมื่อผู้ปกครองพบว่า เด็กกำลังเล่นกับของเล่น หรือจับสิ่งของที่สนใจอยู่ ควรแนะนำกับเด็กว่า แต่ละอย่างเรียกว่าอะไร สิ่งนี้คืออะไร โดยพูดช้าๆ ชัดๆ ให้เด็กฟัง จะช่วยให้เด็กรู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ มากขึ้น
4.หากเด็กต้องการสิ่งของบางอย่าง ผู้ปกครองอาจจะยังไม่ส่งของให้เด็ก หรือยังไม่ตอบสนองความต้องการของเด็ก แต่ใช้วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดออกมาก่อน จึงตอบสนองความต้องการ
5.พูดคุยกับเด็ก โดยใช้โทนเสียงสูง ต่ำ เพื่อให้เด็กสนใจมองปาก จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กมองผู้พูดมากขึ้น และพยายามเลียนเสียงตาม
การเอาใจใส่พัฒนาการของเด็กด้านการใช้ภาษาและการพูดตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม เนื่องจากพัฒนาการทางด้านภาษา มีความเกี่ยวข้องกับภาวะความบกพร่องด้านอื่นๆ และเกี่ยวข้องกับระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กในอนาคตต่อไป และหากเด็กไม่ได้รับการดูแล หรือรับการรักษาอย่างถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ อาจทำให้เด็กมีปัญหาสื่อสารกับผู้อื่นไม่ได้ บอกความต้องการไม่ได้ จนเกิดความเครียด มีปัญหาด้านสุขภาพจิตใจตามมา
ดังนั้น หากสงสัยว่า ลูก 2 ขวบครึ่งยังไม่พูด ลูกไม่ยอมพูด 3 ขวบ ลูกไม่ยอมพูด 5 ขวบ และเด็กวัยอื่นๆ ยังไม่พูด หรือเด็กพูดช้า พูดภาษาต่างดาว หรือพบสัญญาณเตือนว่า เด็กพูดช้า ลูกไม่พูด เด็กพูดไม่ชัด ตามบทความข้างต้น ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยผ่าน หรือชะล่าใจนะคะ ควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินพัฒนาการของเด็ก หากผู้ปกครองต้องการปรึกษา พร้อมประเมินพัฒนาการเด็กกับนักจิตวิทยาคลินิกของ HealthSmile ติดต่อสอบถามได้ที่ 📱 Line ID : @healthsmilecenter หรือคลิกลิงก์นี้เลยค่ะ👉https://lin.ee/CDUgd8d
อ้างอิงข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต สถาบันราชานุกูล