Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

8 ขั้นตอนในการเลือกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมให้คุ้มค่า (NIFTY, Quad test, อัลตราซาวนด์ และอื่นๆ)

8 ขั้นตอน ช่วยประหยัดเงิน ในการเลือกตรวจดาวน์ซินโดรม และโครโมโซม ลูกในครรภ์

ดาวน์ซินโดรมนั้นเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งมีการตรวจเพื่อวินิจฉัยดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์อยู่ 2 วิธี ได้แก่ การเจาะน้ำคร่ำ หรือการตรวจชิ้นเนื้อรก ซึ่งวิธีการเหล่านี้มีความแม่นยำที่ 99-100% (เนื่องจากได้เซลล์จากตัวทารกมาตรวจโดยตรง) แต่ก็เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแท้งบุตรจากการเจาะน้ำคร่ำ หรือการตัดชิ้นเนื้อรกมาตรวจได้

ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม เพื่อที่จะไม่ต้องเสี่ยงแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำหรือการตรวจชิ้นเนื้อรกดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายวิธี แต่ละวิธีมีความแตกต่างกันทั้งด้านวิธีการตรวจ และความแม่นยำ โดยคร่าวๆแล้ว มีดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงวิธีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (เรียงลำดับจากเปอร์เซนต์ความแม่นยำมากไปน้อย)

วิธีการตรวจคัดกรอง ความแม่นยำในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (1) ตรวจคัดกรองโรคอะไรได้บ้าง ข้อจำกัด ข้อดี
เจาะเลือดตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal testing)Brand : Nifty, NGD NIPS, Panorama, etc.) 99.9% แล้วแต่แพคเกจที่เลือกตรวจ ได้สูงสุด 23 โครโมโซม และ โรคที่เกิดจาก microdeletion / duplication มีราคาสูงกว่าวิธีอื่น – แม่นยำที่สุด- ตรวจได้หลายโรคมากกว่าทุกวิธี
อัลตราซาวนด์ + เจาะเลือดดูค่า PAPP-A 79 – 87 % ดาวน์ซินโดรม ต้องใช้สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้าน MFM และไม่สามารถทำได้ทุก รพ. เพิ่มความแม่นยำ ในราคาที่ไม่สูงนัก
เจาะเลือดดูสารชีวเคมี (Quad test) 80-85% ดาวน์ซินโดรม, Neural tube defect, Edward syndrome ต้องเจาะช่วงอายุครรภ์ที่มากขึ้น คือช่วงไตรมาสที่สอง อายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ (4-5 เดือน) ตรวจฟรีกับ รพ.รัฐ กรณีคุณแม่อายุมากกว่า 35 ปี
อัลตราซาวนด์อย่างเดียว 64 – 70 % ตรวจโครงสร้างของร่างกายทารก ขึ้นอยู่กับความสามารถและความละเอียดของสูตินรีแพทย์ ทำได้ใน รพ.ทั่วไป

 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าวิธีตรวจวิธีไหน ถึงจะเหมาะสมกับเรามากที่สุด วิธีเลือกการตรวจดาวน์ซินโดรมที่ราคาถูกที่สุด หรือทำอย่างไรจะตรวจดาวน์ซินโดรมได้ในราคาประหยัด ประหยัดค่าตรวจดาวน์ซินโดรมได้หลายพันบาท บทความนี้ จะมาแนะนำวิธีช่วยเลือกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม 8 ขั้นตอน ให้กับคุณแม่กันค่ะ

1. คอนเฟิร์มอายุครรภ์ของตัวเอง

เนื่องจากการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม จะมีช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมในการตรวจอยู่ ซึ่งการตรวจคัดกรองแต่ละอย่าง ก็จะมีช่วงเวลาในการตรวจแตกต่างกัน เช่น การตรวจ NIPT จะตรวจได้ที่ช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ 10 สัปดาห์เป็นต้นไป, การตรวจด้วย Quad test จะตรวจที่ช่วงอายุครรภ์ประมาณ 16-20 สัปดาห์ ดังนั้นคุณแม่ควรที่จะทราบอายุครรภ์ของตนเองก่อน โดยมีวิธีดูดังนี้

1.1 ดูอายุครรภ์จากประจำเดือนครั้งสุดท้าย

วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะกับคุณแม่ที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุกเดือน แต่ไม่เหมาะกับคุณแม่ที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากจะไม่สามารถคำนวณอายุครรภ์ได้แม่นยำมากนัก โดยปกติ แอปพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ ก็มักจะใช้สูตรการคำนวณนี้

โดยสามารถคำนวณได้จากสูตร

อายุครรภ์ = วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด จากนั้นให้นับย้อนหลัง 3 เดือน และบวกเพิ่มอีก 7 วัน

เช่น หากคุณแม่มีประจำเดือนวันแรกครั้งล่าสุด วันที่ 1 สิงหาคม 2563 จากนั้นให้นับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 และบวกเพิ่มอีก 7 วัน คุณแม่ก็จะได้กำหนดคลอดเป็นวันที่ 8 พฤษภาคม 2564

หรืออาจใช้แอปพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือในการคำนวณก็ได้ค่ะ

1.2 ดูอายุครรภ์จากผลอัลตราซาวนด์กับสูตินรีแพทย์

โดยอายุครรภ์ จะดูที่คำว่า GA (Gestational age) จากนั้นก็นำมาดูว่า ขณะนี้ ผ่านไปจากวันอัลตราซาวนด์กี่สัปดาห์ / กี่วันแล้ว คุณแม่ก็จะทราบอายุครรภ์ ณ วันนั้นๆได้ค่ะ

1.3 สอบถามจากสูตินรีแพทย์

อันนี้เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดค่ะ คุณแม่สามารถสอบถามกับคุณหมอที่ฝากครรภ์ได้เลย ว่าช่วงเวลาตั้งแต่วันไหน ที่เหมาะกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

หากไม่มั่นใจอายุครรภ์ของตัวเอง สามารถสอบถามกับ Admin ของ HealthSmile ได้ที่นี่เลยค่ะ (คลิกที่นี่)

2. สำรวจความเสี่ยงของคนในครอบครัว

เนื่องจากโรคทางพันธุกรรม ก็คือโรคที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง ดังนั้นหากมีคนในครอบครัวมีความผิดปกติใดๆ ก็อาจจะต้องตรวจเพิ่มเติมในความผิดปกตินั้นๆมากเป็นพิเศษ

2.1 ประวัติการเป็นโรคพันธุกรรมในครอบครัว

เช่น เอ็ดเวิร์ดซินโดรม พาทัวซินโดรม เทอร์เนอร์ซินโดรม ไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม หรือซินโดรมอื่นๆที่อาจจะพบไม่บ่อยมากนัก ก็จะเป็นข้อบ่งชี้อย่างหนึ่ง ให้คุณแม่ควรเลือกการตรวจที่มากกว่าการตรวจคัดกรองแค่ดาวน์ซินโดรมแบบปกติ

2.2 ประวัติคนในครอบครัวมีความผิดปกติ เช่น เรียนรู้ช้า หน้าตาผิดปกติ แขน-ขาผิดปกติ

ในบางกรณี ความผิดปกติของหน้าตา หรืออวัยวะต่างๆ ก็อาจจะเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมได้ ดังนั้น หากไม่ทราบว่าคนในครอบครัวที่ผิดปกตินั้น เป็นความผิดปกติของโครโมโซมหรือไม่ ก็อาจจะจำเป็นต้องพิจารณาการตรวจที่ครอบคลุมโรคต่างๆมากขึ้น

3. สำรวจการเงินของตนเอง

การตรวจคัดกรองแต่ละชนิด ก็มีค่าใช้จ่ายในการตรวจแตกต่างกันนะคะ เช่น

  • อัลตราซาวนด์ (ความแม่นยำน้อยที่สุด) มีราคาตั้งแต่ 400 – 2500 บาท

ทั้งนี้ ราคาทั้งหมด ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่เลือกตรวจที่ใดนะคะ บางครั้งราคาชาร์จของ รพ.เอกชน ก็ทำให้ราคาต่างกันกับการตรวจกับศูนย์ตรวจข้างนอกหลายพันบาทค่ะ

ถึงแม้ว่า การตรวจ NIPT จะมีราคาสูงกว่าวิธีอื่น แต่ก็ได้มาซึ่งการคัดกรองโครโมโซมหลายคู่ และบางรายการก็ได้โรคอื่นๆด้วย ก็เปรียบเสมือนการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งถือเป็นการลงทุนชนิดนึงนะคะ เนื่องจากหากเราไม่ได้ตรวจ หรือเลือกตรวจตัวที่ความแม่นยำน้อยกว่า แล้วเกิดเหตุไม่คาดฝัน น้องออกมามีความผิดปกติ เป็นปัญญาอ่อน หรือมีความพิการรุนแรง การเลี้ยงดูก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ และอาจจำเป็นต้องใช้เงินในการดูแลน้องที่มีความผิดปกติมากกว่าการตรวจคัดกรองให้ทราบตั้งแต่อยู่ในครรภ์เป็นร้อย-พันเท่าเลยค่ะ

4. ปรึกษาคนในครอบครัว ถึงความกังวลที่จะเกิดความผิดพลาดจากการตรวจคัดกรอง

หากรับความเสี่ยงในการผิดพลาดไม่ได้ หรือไม่อยากพลาดเลย ก็อาจจะเลือกการตรวจที่ความแม่นยำสูงหน่อย หรือเลือกตัวที่ตรวจโรคได้มากหน่อย (แม้ว่าอาจจะมีราคาสูงกว่าเล็กน้อย) ก็จะสบายใจกว่า

หรือหากคิดว่าโอกาสเกิดความผิดปกติไม่ได้มาก อายุก็ไม่ได้เยอะ คนในบ้านไม่มีใครผิดปกติ จะเลือกการตรวจที่ % ความแม่นยำต่ำกว่าก็ได้ค่ะ

(อ่านเพิ่มเติม : ตารางรวมความเสี่ยงทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรม ตามอายุของคุณแม่ หน้าเดียวจบ ครบทุกอายุ)

5. ดูว่าประเภทครรภ์เป็นครรภ์เดี่ยว หรือครรภ์แฝด

เปอร์เซ็นต์ความแม่นยำในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้านบนนั้น ใช้สำหรับกรณีครรภ์เดี่ยว (มีบุตรในครรภ์เพียงคนเดียว) คุณแม่สามารถเลือกการตรวจใดๆก็ได้ค่ะ โดยแพคเกจตรวจคัดกรองดาวน์ที่บริษัท เฮลท์สไมล์ ให้บริการอยู่นั้น เป็นการตรวจ NIPT ความแม่นยำสูง มีอยู่ 3 แพคเกจ ดังนี้ค่ะ เริ่มต้นตั้งแต่

  • แบบประหยัด ได้ 5 โครโมโซม รู้ดาวน์ซินโดรม รู้เพศ
  • แบบคุ้มค่า ได้ 23 โครโมโซมครบ รู้ดาวน์ซินโดรม รู้เพศ
  • แบบดีที่สุด ได้ 23 โครโมโซม รู้ดาวน์ซินโดรม รู้เพศ + โรคทางพันธุกรรมอีก 92 โรค

ส่วนในกรณีครรภ์แฝด %ความแม่นยำของการตรวจอัลตราซาวนด์, Quad test ฯลฯ ตามตารางด้านบนจะใช้ไม่ได้ค่ะ และก็จะมีความแตกต่างในการรายงานผล ที่อาจจะมีความคลาดเคลื่อนมากกว่าการตรวจครรภ์เดี่ยวได้ ซึ่งแพคเกจตรวจ NIPT คัดกรองดาวน์ซินโดรมสำหรับครรภ์แฝดที่บริษัท เฮลท์สไมล์ ให้บริการอยู่นั้น มีอยู่ 3 แพคเกจ ดังนี้

  • NGD NIPS Plus รู้ดาวน์ซินโดรม รู้เพศ โครโมโซมครบทั้ง 23 คู่
  • NIFTY Twins รู้ดาวน์ซินโดรม รู้เพศ รู้โครโมโซมคู่ที่ 13, 18, 21
  • Panorama twins รู้ดาวน์ซินโดรม รู้เพศ รู้โครโมโซมคู่ที่ 13, 18, 21

สำหรับข้อจำกัดของทั้งแบรนด์ NGD NIPS Plus และ NIFTY Twins (แพคเกจ 1 และ 2) คือ จะรู้เพศได้เพียงว่ามีเพศชายในครรภ์หรือไม่ แต่จะไม่สามารถบอกได้ ว่าน้องแต่ละคนมีเพศใดบ้าง เช่น ตรวจพบโครโมโซม Y จะแปลได้ว่า ทารกในครรภ์ อาจจะเป็น ชาย/หญิง หรือ ชาย/ชาย ก็ได้ ส่วนกรณีไม่พบโครโมโซม Y ก็แปลได้ว่าทารกในครรภ์เป็น หญิง/หญิง

ส่วนการตรวจ Panorama สำหรับครรภ์แฝด จะสามารถแยกเพศของทารกแต่ละรายในครรภ์ได้ ว่าเป็น ชาย/ชาย, ชาย/หญิง หรือ หญิง/หญิง

6. เลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีเงินประกันความผิดพลาด

โดยปกติ อย่างน้อย จะต้องมีประกันการเจาะน้ำคร่ำ กรณีตรวจพบความเสี่ยงสูง และประกันความผิดพลาดจากผลการตรวจ False negative

(อ่านเพิ่มเติม : ประกันของการตรวจ NIFTY focus และ NIFTY pro มีรายละเอียดอย่างไร อย่างไหนจ่าย อย่างไหนไม่อยู่ในประกัน?)

7. เข้าดูรีวิวบริการของแต่ละที่

เนื่องจากการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซม เป็นการตรวจที่ใช้เทคโนโลยีที่สูง การแปลผลจึงจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดูผล และแปลผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเกิดกรณีพบความผิดปกติ ก็จะต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำ

นอกจากนี้ การบริการที่ได้มาตรฐานเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ แต่ควรที่จะมีความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาตัดสินใจร่วมด้วย โดยก่อนจะเลือกการตรวจแบรนด์ใดก็แล้วแต่ แนะนำว่าให้คุณแม่ลองเข้าไปดูที่เว็บไซต์ หรือ รีวิวใน facebook , google หรือเว็บอื่นๆประกอบการตัดสินใจด้วย

8. ตัดสินใจ

จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้มา ก็น่าจะสามารถช่วยให้คุณแม่ตัดสินใจเลือกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่เหมาะสมกับคุณแม่ได้แล้วนะคะ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของคุณแม่แล้วล่ะค่ะ ว่าอยากตรวจที่ใด อยากเลือกแพคเกจที่ตรวจได้มาก/น้อย มีความคุ้มครองมาก/น้อย ต่างกันเท่าไร

โดยปกติ สามารถตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมแม่นยำสูงด้วยวิธี NIPT แบรนด์ NIFTY และ NGD NIPS ตั้งแต่อายุครรภ์ 10-24 สัปดาห์ แต่แนะนำว่าควรตรวจก่อนอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ เพื่อจะได้มีเวลาเผื่อกรณีตรวจพบความเสี่ยงสูงค่ะ

นำผลที่ได้ปรึกษาสูตินรีแพทย์ เพื่อฝากครรภ์ต่อเนื่อง

ท้ายที่สุดนี้ หลังจากได้ผลตรวจเรียบร้อย คุณแม่ก็สามารถนำผลที่ได้ ไปพบกับคุณหมอสูตินรีที่รับฝากครรภ์คุณแม่ เพื่อการดูแลต่อเนื่องได้เลยค่ะ

อย่างไรก็ดี โครโมโซมก็เปรียบเสมือนกับแม่พิมพ์ของชีวิต ระหว่างที่น้องเขากำลังเติบโตในครรภ์ คุณแม่ก็ยังต้องเติมสารอาหาร, ความรัก และเข้ารับการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเติมเต็มแม่พิมพ์ให้สมบูรณ์ที่สุดนะคะ

หรือหากคุณแม่ไม่อยากต้องเสียเวลาในการเลือกตรวจให้ยุ่งยากใจ คุณแม่สามารถสอบถามมาได้ที่ LINE ID : @HealthSmile ทาง Admin ของเรายินดีให้คำแนะนำค่ะ

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจดาวน์ซินโดรมและตรวจโครโมโซม ความแม่นยำสูง 99.9% NIFTY (ตรวจนิฟตี้) , NIPT บริการถึงบ้าน ราคาคุ้มค่า ประหยัดกว่าไปโรงพยาบาล ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่ Line ID : @Healthsmile

อ้างอิง : Down syndrome screening – Department of Obstetrics and Gynecology Faculty of Medicine Chiang Mai University. (n.d.). Cmu.ac.th. Retrieved April 8, 2024, from https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/residents-fellows/1757/

Exit mobile version