อายุแรกสมรส ของประเทศไทย เทียบกับทั่วโลก
อายุแรกสมรส ของประเทศไทย เทียบกับทั่วโลก
อายุแรกสมรส (Age at First Marriage) หมายถึงอายุของบุคคลเมื่อเข้าสมรสครั้งแรก ในประเทศไทยมีข้อมูลจาก ระบบฐานข้อมูลอนามัยการเจริญพันธุ์ประเทศไทย มีรายงานล่าสุดเมื่อปี 2553 พบว่า คนไทยแต่งงานรวม เฉลี่ยเมื่ออายุประมาณ 28.4 ปี เพศชายแต่งงานช้ากว่า ที่อายุประมาณ 28.3 ปี และเพศหญิงที่ 23.7 ปี
ซึ่งแนวโน้มอายุแรกสมรส หรืออายุเฉลี่ยที่คนไทยแต่งงานนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยตลอดตั้งแต่ปี 2533 (ปีแรกที่เริ่มเก็บสถิติ) โดยปี 2533 พบว่า คนไทยแต่งงานรวม เฉลี่ยเมื่ออายุเพียง 24.7 ปี เพศชายแต่งงานที่อายุประมาณ 25.9 ปี และเพศหญิงที่ 23.5 ปี
รูปแสดงอายุแรกสมรสของประเทศไทย
อายุแรกสมรสของทั่วโลก
ข้อมูลจาก Wikipedia ซึ่งข้อมูลมาจากหลากหลายแหล่ง และปีที่ได้ข้อมูลนั้นค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่ ข้อมูลเก่าปี 1980 ไปจนถึงประเทศที่พัฒนาแล้วก็จะมีข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดในปี 2023
ประเทศที่มีอายุแรกสมรสเฉลี่ยสูงสุดคือ
Country
Men
Women
Average
Age Gap
Age Ratio
Year
Source
37.1
34.9
36
2.2
1.06
2023
[33]
36.8
34.8
35.8
2
1.06
2019
[32]
36.3
33.9
35.1
2.4
1.07
2019
[15]
South Africa[b] (more info)
37
33
35
4
1.12
2019
[7]
35.6
33.6
34.6
2
1.06
2019
[15]
35.1
33.7
34.4
1.4
1.04
1991
[2]
35.3
32.6
34
2.7
1.08
2013
[11]
34.8
33.2
34
1.6
1.05
2021
[2]
35
32.7
33.9
2.3
1.07
2019
[15]
34.1
33.2
33.7
0.9
1.03
2015
[8]
ประเทศที่มีอายุแรกสมรสเฉลี่ยต่ำสุด คือ
Country
Men
Women
Average
Age Gap
Age Ratio
Year
Source
21.7
17.3
19.5
4.4
1.25
2010
[2]
22.3
17.9
20.1
4.4
1.25
2010
[3]
22.4
18.2
20.3
4.2
1.23
2011
[3]
22.3
18.4
20.4
3.9
1.21
2008
[3]
24
17.2
20.6
6.8
1.4
2015
[2]
24.3
17.9
21.1
6.4
1.36
2010
[3]
23.4
18.7
21.1
4.7
1.25
2017
[2]
23.4
18.9
21.2
4.5
1.24
2007
[3]
23.7
18.7
21.2
5
1.27
2007
[3]
23.8
18.7
21.3
5.1
1.27
2006
[3]
รูปแสดงอายุแรกสมรส เปรียบเทียบทั่วโลก
สีน้ำเงินอายุมาก สีเขียวอายุน้อย
By BlacknoseDace – Own work, CC BY-SA 4.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=92562922
สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทั่วโลก พบว่าอยู่ในระดับกลางๆ โดย อยู่ในอันดับที่ 76
ความสำคัญของอายุแรกสมรส
1. สุขภาพและการมีบุตร
อายุที่สมรสเป็นปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของทั้งบิดา มารดา และทารกในครรภ์ โดยทั่วไปผู้ที่สมรสในช่วงอายุที่เหมาะสมมีโอกาสในการมีบุตรที่สุขภาพดี และลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพทั้งแม่และเด็ก การสมรสในวัยที่มีอายุเยอะขึ้นอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยากและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางอย่าง
2. การศึกษาและการพัฒนาอาชีพ
การสมรสในช่วงวัยที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น สามารถส่งผลดีต่อการศึกษาและการพัฒนาอาชีพได้ ในทางกลับกันหากมีอัตราการสมรสในอายุน้อย ก็อาจจะทำให้ขาดโอกาสในการเข้ารับการศึกษาในระดับสูง และทำให้โอกาสในการสร้างฐานะทางการเงินที่มั่นคงมีน้อยลง
3. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
สมรสในช่วงวัยที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นสามารถส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของครอบครัวและสังคม โดยการลดปัญหาทางการเงินและความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงในครอบครัว ลดปัญหาการหย่าร้าง การทอดทิ้งเด็ก การทารุณกรรมในเด็กลงได้
4. การพัฒนาจิตใจและความสัมพันธ์
การสมรสในวัยที่มีวุฒิภาวะมากขึ้นช่วยให้คู่สมรสสามารถรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตคู่ได้ดีกว่า ช่วยให้มีความเข้าใจและสนับสนุนซึ่งกันและกันในช่วงเวลาที่ยากลำบากได้มากกว่า นอกจากนี้ยังเพิ่ม
โดยทั่วไป อายุแรกสมรสที่เหมาะสมสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ในระยะยาว
อายุแรกสมรสที่เหมาะสม คือกี่ปี
ยังไม่มีระบุว่าอายุแรกสมรสที่เหมาะสม คือกี่ปี แต่จากบทความของนิตยสาร Time ในปี 2015 ได้กล่าวถึงสถิติการสมรสจากรายงานผลการศึกษาของ Nick Wolfinger นักสังคมวิทยาจาก Utah University ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นชีวิตคู่คือ 28-32 ปี โดยผู้วิจัยนำข้อมูลการสำรวจสภาวะครอบครัวชาวอเมริกันระหว่างปี 2006-2010 และ 2011-2013 มาวิเคราะห์ และพบว่าคู่แต่งงานที่อยู่ในช่วงวัยนี้มีอัตราการหย่าร้างต่ำกว่าผู้ที่แต่งงานในช่วงวัยอื่น โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกหลังจากแต่งงานมีอัตราการแยกทางน้อยมาก
อายุแรกที่เหมาะสมในการมีบุตร คือกี่ปี
สำหรับอายุที่เหมาะสมในการมีบุตร คือ ช่วงปลาย 20 ถึงต้น 30 จะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด มีบางรายงานการศึกษา พบว่าช่วงอายุ 30.5 ปี เป็นช่วงที่ดีที่สุด เพราะถ้าคุณแม่อายุน้อย (15-19 ปี) ก็มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้เหมือนกัน ทั้งจากสภาพร่างกายที่ยังไม่พร้อมตามธรรมชาติ และทางด้านจิตใจทั้งช่วงตั้งครรภ์ ช่วงคลอด และหลังคลอด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก ก็จะมีความเสี่ยงต่อ ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ภาวะตกเลือดหลังคลอด และสำหรับตัวเด็กในท้องก็เสี่ยงต่อภาวะทารกโตช้า ภาวะโครโมโซมผิดปกติ หรือกลุ่มอาการดาวน์
สรุป
การแต่งงานและการมีบุตรเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตของคู่สมรส ไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย การตัดสินใจที่จะมีลูกควรมาพร้อมกับการดูแลสุขภาพของทั้งพ่อและแม่เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ การฝากครรภ์และการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อพ่อแม่มีอายุมากขึ้น การฝากครรภ์จะช่วยให้แพทย์สามารถติดตามการพัฒนาของทารกและตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
สำหรับพ่อที่มีอายุมากขึ้น ควรตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของลูกในครรภ์ เช่น การกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยวและความผิดปกติทางจิต การตรวจสุขภาพและการรับคำปรึกษาจากแพทย์เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ในทำนองเดียวกัน แม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี จะมีความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมในทารกเพิ่มขึ้น การฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอและการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการมีทารกที่แข็งแรง
ดังนั้น ไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย แต่งงานช้าหรือเร็ว หากตั้งครรภ์แล้ว การดูแลรักษาและการฝากครรภ์อย่างดีเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดีและลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติต่างๆ การเตรียมตัวและการดูแลสุขภาพตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์จะเป็นก้าวสำคัญในการสร้างครอบครัวที่มีสุขภาพดีและแข็งแรง
References
1.
Math says this is the perfect age to get married. Time [Internet]. [cited 2024 Jul 30]; Available from: https://time.com/3966588/marriage-wedding-best-age/
2.
Mirowsky J. Parenthood and health: The pivotal and optimal age at first birth. Soc Forces [Internet]. 2002 [cited 2024 Jul 30];81(1):315–49. Available from: https://academic.oup.com/sf/article-abstract/81/1/315/2234500
3.
Wikipedia.org. [cited 2024 Jul 30]. Available from: https://th.wikipedia.org/wiki/อายุแรกสมรส
4.
อายุเฉลี่ยเมื่อแรกสมรส จากสำมะโน [Internet]. Data.go.th. [cited 2024 Jul 30]. Available from: https://data.go.th/dataset/os_01_00040
5.
บัวทอง ธ, โพธิศิริ ว. ความสัมพันธ์ระหว่าง การศึกษา อายุแรกสมรส และภาวะเจริญพันธุ์สมรส. J SocHu UBU [Internet]. 2020 [cited 2024 Jul 30];11(1):25–51. Available from: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_ubu/article/view/229253