Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

อายุของพ่อ ส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์

อายุของพ่อ ส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์

ปัจจุบันคนไทยแต่งงานช้าลง ทำให้อายุของพ่อและคุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์นั้นช้าลงด้วย ซึ่งงานวิจัยมีการชี้ชัดแล้วว่า คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก (โดยเฉพาะตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี) จะมีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะมีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรมได้สูงขึ้น แต่สำหรับอายุคุณพ่อนั้น เมืออายุมากขึ้นก็จะมีคุณภาพของน้ำอสุจิลดลง ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำอสุจิลดลง ความคล่องตัวลดลง และรูปร่างปกติของน้ำอสุจิก็ลดลงด้วย แต่ผลกระทบของพ่อที่อายุมาก ต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์นั้น ณ ปัจจุบันยังไม่ค่อยรู้จักกันอย่างแพร่หลาย บทความนี้จึงขอพูดถึงผลกระทบของพ่อที่อายุมาก ต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ให้ทราบครับ

ตารางสรุปผลกระทบของอายุพ่อที่มีต่อลูกในครรภ์อายุของพ่อ สัมพันธ์กับโรคอะไรในเด็กทารกบ้าง

ผลกระทบ รายละเอียด
การกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยว กลุ่มอาการ Apert, Crouzon, Pfeiffer, อะคอนโดรพลาเซีย, Noonan syndrome, Costello syndrome, เนื้องอกต่อมไร้ท่อหลายชนิด
ความผิดปกติของโครโมโซม ดาวน์ซินโดรม (บิดาอายุ 40-44 ปี เพิ่มความเสี่ยง 1.37 เท่า)
ความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด ความผิดปกติของโครงสร้างทารก, ทารกเสียชีวิตในครรภ์, น้ำหนักแรกคลอดน้อย
ความผิดปกติของโครงสร้าง ความผิดปกติของหัวใจ, ปากแหว่ง, ต้อกระจกในเด็ก, ภาวะหลอดอาหารอุดตัน, กระบังลมไม่ปิด, กระโหลกศีรษะไม่ปิด, เส้นเลือดแดงหัวใจผิดปกติ, ผนังหน้าท้องไม่ปิด, กระดูกสันหลังและไขสันหลังผิดปกติ
ความผิดปกติทางจิต ออทิสติก, โรคจิตเภท, โรคอารมณ์สองขั้ว, ระดับไอคิวต่ำ, สมาธิสั้น
โรคมะเร็ง มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็ก, เนื้องอกของระบบประสาทส่วนกลาง
อายุที่มีความเสี่ยงสูง ยังไม่มีกำหนดแน่ชัด แต่ในหลายๆงานวิจัย กำหนดที่อายุบิดามากกว่า 40 ปี

อายุของพ่อ สัมพันธ์กับเกิดการกลายพันธ์ุของยีนเดี่ยวของทารก

จากงานวิจัยพบว่าอายุของพ่อมีผลกระทบต่อการเกิดโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยว (Single gene mutation) สูงสุดถึง 9.5 เท่า เช่น

อายุของพ่อ สัมพันธ์กับการเกิดดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์

ณ ปัจจุบัน มีการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อที่มีอายุมากกว่า 45 ปี มักจะมีทารกที่เป็นดาวน์ซินโดรมมากกว่าคุณพ่อที่อายุน้อยกว่า 30 ปี โดยการศึกษาพบว่า บิดาที่อายุ 40-44 ปี แต่มารดาอายุ 20-29 ปี จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.37 เท่า (ความเสี่ยงการเกิดดาวน์ซินโดรมในประชากรปกติ เท่ากับ 1/1200 แค่ในคุณพ่ออายุมากจะเพิ่มเป็น 1/876)

อายุของพ่อ สัมพันธ์กับความผิดปกติระหว่่างตั้งครรภ์ และการคลอด

คุณพ่อที่มีอายุมากนั้น มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความผิดปกติของโครงสร้างทารกในครรภ์ เกิดทารกเสียชีวิตในครรภ์ และการคลอดทารกที่มีน้ำหนักน้อย

แต่มีงานวิจัยไม่มากนัก ที่พูดถึงอายุของพ่อที่มากต่อการคลอดก่อนกำหนด และการต้องนอน ICU ของทารกแรกคลอด

อายุของพ่อ ทำให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้าง และความผิดปกติทางจิตของทารกในครรภ์

อายุของพ่อ ทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตของทารกในครรภ์

อายุของพ่อเท่าไหร่ ถึงจะถือว่ามีอายุมาก

อายุที่มากของพ่อถูกกำหนดไว้ต่างกันในหลายๆงานวิจัย ขึ้นอยู่กับความผิดปกติในทารกที่ต้องการทำวิจัย (ตั้งแต่ มากกว่า 30 ปี ถึง มากกว่า 50 ปี) แต่โดยส่วนมากจะถือว่าอายุมากกว่า 40 เป็นเป็นจุดตัด

ตารางแสดงโรคที่อาจจะมีความสัมพันธ์กับอายุของพ่อที่มากขึ้น

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก link นี้ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4955707/

Reference

1. Janeczko D, Hołowczuk M, Orzeł A, Klatka B, Semczuk A. Paternal age is affected by genetic abnormalities, perinatal complications and mental health of the offspring (Review). Biomed Rep [Internet]. 2019 [cited 2024 Jul 28];12(3):83. Available from: http://dx.doi.org/10.3892/br.2019.1266
2. Ramasamy R, Chiba K, Butler P, Lamb DJ. Male biological clock: a critical analysis of advanced paternal age. Fertil Steril [Internet]. 2015 [cited 2024 Jul 28];103(6):1402–6. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.fertnstert.2015.03.011
Exit mobile version