Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

Bacterial vaginosis การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด สาเหตุหลักของกลิ่นจากช่องคลอด

Bacterial vaginosis การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด

Bacterial vaginosis การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด

Bacterial vaginosis เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากแบคทีเรียชนิด ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ มีการเพิ่มจำนวนของในช่องคลอดอย่างมากมาย โดยเกิดจากการที่แบคทีเรียสายพันธุ์ lactobacillus ที่มีประโยชน์ ซึ่งทำหน้าที่สร้าง hydrogen peroxide ในช่องคลอดลดลง

สาเหตุของโรค

สาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับการที่ช่องคลอดมีสภาพเป็นด่างบ่อยๆ จากการมีเพศสัมพันธ์ หรือการสวนล้างช่องคลอด (โดยปกติช่องคลอดที่ปกติจะมีภาวะเป็นกรดอ่อนๆ)

เชื่อว่าเชื้อที่เป็นสาเหตุคือ Gardnerella vaginalis ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง พบว่าสามารถเพาะเชื้อนี้ได้จากผู้ป่วย BV ที่ได้รับการรักษาหายแล้วก็สามารถเพาะเชื้อได้ถึง 40 %

บางท่านเชื่อว่าเชื้อ Gardnerella vaginalis เป็นเชื้อประจำถิ่นในช่องคลอดและอาจตรวจพบเป็นครั้งคราว (transient) ได้บ่อยๆ จึงแนะนำไม่ต้องให้รักษาในคนที่ไม่มีอาการ

ปัจจุบันเชื่อว่าอาการของ BV นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิด anaerobe หลาย ๆ ชนิด (อาทิเช่น Prevotella sp., Mobiluncus sp.) Mycoplasma hominis และ Gardnerella vaginalis ร่วมกัน (symbiosis และ synergism) 

โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการของโรคนี้จะมีแบคทีเรียชนิด anaerobe และ Gardnerella vaginalis ในช่องคลอดเพิ่มขึ้น 10 เท่า และ 100 เท่า ตามลำดับ ขณะที่มักตรวจไม่พบ lactobacilli (แบคทีเรียชนิดดี) ในช่องคลอดเลย

ปรึกษาเรื่องการรักษากลิ่นในช่องคลอด
โดยบุคลากรทางการแพทย์
คลิกที่นี่

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ : ค่าแพทย์ 500 บาท

อาการและอาการแสดง

อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ

    • ตกขาวมีกลิ่นอับ (musty) หรือกลิ่นคาวปลา (fishy) มักมีกลิ่นรุนแรงภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเกิดจากการที่ตกขาวทำปฏิกิริยากับน้ำอสุจิซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง แล้วปลดปล่อยสารเคมีชนิด aromatic amines ออกมา
    • อาการคันหรือ vulva irritation พบได้เล็กน้อย 
    • ตรวจทางช่องคลอดจะพบตกขาวสีขาวเทาลักษณะเหลวเนื้อละเอียดคล้ายกาวแป้งมันติดอยู่กับผนังช่องคลอดไม่แน่น ตกขาวอาจมีลักษณะเป็นฟอง (frothy) พบได้ 10 %

เชื้อที่เป็นสาเหตุ

    1. Gardnerella vaginalis (เป็นเชื้อที่พบหลัก)
    1. อื่นๆ เช่น Prevotella, Mobiluncus, Bacteroides, Peptostreptococcus, Fusobacterium, Veillonella, Eubacterium, Streptococcus viridans, Atopobium vaginae

การรักษา

การใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) เป็นวิธีหลักในการรักษา แม้ว่าโรคนี้จะสัมพันธ์กับการลดลงของเชื้อแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) แต่ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีแลคโตบาซิลลัส ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่ามีประโยชน์

ในสตรีทั่วไป ควรได้รับการรักษาหากมีอาการ
แต่หากไม่มีอาการตกขาว หรือมีกลิ่นผิดปกติ ถึงแม้ว่าจะตรวจพบเชื้อ Gardnerella vaginalis ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา

ในสตรีตั้งครรภ์ ควรรักษาภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในสตรีมีครรภ์ เนื่องจากส่งผลเสียหลายอย่างต่อการตั้งครรภ์ได้

หากตรวจพบการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (BV) แนะนำให้รักษาให้หาย ก่อนเข้ารับการผ่าตัดคลอด, การตัดมดลูกออกทางหน้าท้องทั้งหมด, หรือการใส่ห่วงอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการทำการผ่าตัด/หัตถการดังกล่าว

หากใช้ยาเพื่อรักษาจนครบขนาดยาที่กำหนดแล้วโรคไม่หาย อาจลองใช้ตัวเดิมรักษาซ้ำเป็นครั้งที่สอง หรือเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นก็ได้ (เช่น จาก Metronidazole เป็น Clindamycin)

1. ยารับประทาน

Metronidazole ถือเป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรก เพราะมีฤทธิ์ต่อแบคทีเรียชนิด anaerobe รวมถึง Gardnerella vaginalis ที่ทำให้เกิดโรค แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อ lactobacilli ที่เป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในช่องคลอด

ให้ยาได้ 2 แบบ

    • รับประทาน 500 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน ได้ผลประมาณ 95 %
      Metronidazole (500) 1 tab po bid pc for 7 days (14 เม็ด)
      ในร้านขายยาโดยทั่วไป จะมีแต่ยาขนาด 200 มิลลิกรัม/เม็ด ดังนั้น จึงอาจแนะนำให้รับประทาน 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน แทน
      Metronidazole (200) 2 tab po tid pc for 7 days (42 เม็ด)
    • รับประทาน 2 กรัมครั้งเดียว ได้ผลประมาณ 84 %
      Metronidazole (200) 10 tab po once (10 เม็ด)

อาการข้างเคียง

คลื่นไส้ อาเจียน, ลิ้นรับรสเปลี่ยนแปลง, ปวดศีรษะ, ปัสสาวะมีสีเข้ม ซึ่งเกิดได้ไม่มาก

ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำให้งดการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างรักษาและหลังรักษาเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพราะ Metronidazole ร่วมกับแอลกอฮอล์อาจทำให้มีอาการ disulfiram like reaction คือ หน้าแดง ปวดหัว ใจสั่น มึนงง ได้

ในรายที่แพ้ยา metronidazole หรือดื้อยา

    • Clindamycin รับประทาน 300 mg วันละ 2 ครั้งนาน 7 วัน มีประสิทธิภาพ 94 %
    • Amoxicillin 500 mg + clavulanic acid (Augmentin®️) รับประทานวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน มีข้อเสียคือ มีผลต่อ lactobacilli ด้วย

ยาอื่นๆ เช่น ciprofloxacin, cephalexin, tetracycline, ampicillin, erythromycin ไม่ค่อยได้ผล

2. ยาทา หรือยาใช้เฉพาะที่ (Topical therapy

ปัจจุบันเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเพราะ BV เป็นการติดเชื้อที่แค่บริเวณผิวของช่องคลอดเท่านั้น ดังนั้นการรักษาเฉพาะที่จึงได้ผลเท่า ๆ กับการรับประทาน และมีข้อดีกว่าที่ไม่มีผลข้างเคียง

    1. metronidazole 500 mg สอดทางช่องคลอดวันละครั้ง นาน 7 วัน
    1. metronidazole gel, 0.75 % ครั้งละ 5 กรัมทางช่องคลอดวันละ 2 ครั้งนาน 5 วัน
    1. clindamycin cream, 2 % ครั้งละ 5 กรัมทางช่องคลอดวันละครั้งก่อนนอนนาน 7 วัน

สำหรับ ampicillin, tetracycline หรือ sulfa cream นั้นได้ผลไม่ค่อยดีเท่าควร

ข้อควรคำนึง

    • โดยทั่วไปถือว่า BV เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (แต่ไม่เสมอไปทุกกรณี) ดังนั้น หากตรวจพบ ต้องคำนึงถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆด้วย เช่น HIV, ซิฟิลิส, หนองใน ฯลฯ
    • ตัวโรคมีระยะฟักตัวประมาณ 5-10 วัน
    • สตรีกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคนี้ ได้แก่
        • สตรีที่มีคู่นอนหลายคน
        • สวนล้างช่องคลอด : ไม่แนะนำให้สวนล้างหรือใช้สบู่ที่มีฤทธิ์รุนแรง หรือผลิตภัณฑ์สุขอนามัยในช่องคลอดมาใช้ด้วยตัวเอง ผู้ป่วยควรล้างตัวด้วยสบู่สูตรอ่อนโยนสำหรับผิวที่แพ้ง่ายหรือไม่ใช้สบู่เลย
        • ขาดเชื้อแลคโตบาซิลลัสในช่องคลอด
        • กินยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
        • ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
        • คุมกำเนิดด้วยวิธีใส่ห่วงคุมกำเนิด
    • สามารถตรวจพบเชื้อ Gardnerella ในคู่นอนฝ่ายชายด้วยประมาณ 90 % แต่จากการศึกษาพบว่าการรักษาคู่นอนไม่ได้ป้องกันการเป็นซ้ำ โดยทั่วไปจึงไม่แนะนำให้รักษาคู่นอน

ผลระยะยาวของโรค

    1. เสี่ยงต่อโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease : PID) ทำให้มีโอกาสเป็นฝีหนองในช่องท้อง (Tubo-Ovarian Abscess) และอาจส่งผลให้มีบุตรยากในอนาคตได้
    1. เสี่ยงต่อการติดเชื้ออุ้งเชิงกรานหลังการแท้งบุตร (postabortal PID)
    1. เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดในช่องคลอด (postoperative cuff infection) หลังผ่าตัดมดลูก
    1. เสี่ยงต่อการมีเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ (Abnormal cervical cell cytology) เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Virus) แบบถาวร (อ่านเพิ่ม) และอาจทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูกในอนาคตได้
    1. ถ้าตั้งครรภ์เสี่ยงต่อ ภาวะน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์คลอด (PROM), การคลอดก่อนกำหนด (Preterm labor), การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (Chorioamnionitis), การติดเชื้อที่มดลูกหลังการผ่าตัดคลอด (Postcesarean endometritis)
References

Journal Article. (2023, May 24). Bacterial vaginosis. Medscape.com. https://emedicine.medscape.com/article/254342-overview

Vaginal Discharge. (n.d.). Cmu.ac.th. Retrieved April 20, 2024, from https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/vaginal-discharge/

Exit mobile version