Site icon HealthSmile.co.th ตรวจสุขภาพ

เกร็ดความรู้เมื่อตั้งท้องได้ 6 สัปดาห์ จุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่

ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ จุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่

ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ จุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่

เรื่องที่คุณแม่ทุกคนต้องรู้ เมื่อท้อง 6 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ?

การตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิงทุกคน เป็นเรื่องใหญ่ที่อาจมาพร้อมความกังวลที่เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะสำหรับ “คุณแม่มือใหม่” ที่เพิ่งรู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ได้ไม่นาน เพื่อเป็นการลดความกังวลที่เกิดขึ้น เราอยากนำเสนอเนื้อหาดี ๆ เป็นเกร็ดความรู้ เกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในครรภ์ พร้อมกับวิธีการดูแลตัวเองของคุณแม่ทุกคน โดยบทความนี้ เราจะมาแนะนำสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องได้ 6 สัปดาห์ มาดูกันเลยว่ามีเรื่องน่าสนใจอะไรกันบ้าง

 

พัฒนาการของทารกหลังจากผ่านตั้งท้องครบ 6 สัปดาห์

เมื่อคุณแม่ตั้งท้องครบ 6 สัปดาห์ ขนาดตัวอ่อนในครรภ์จะยังเล็กมาก ๆ อาจเทียบเท่ากับเมล็ดถั่วเขียว แต่ถึงอย่างไรในช่วงสัปดาห์ที่ 6 ก็ถือเป็น “พัฒนาการครั้งสำคัญ” เพราะหัวใจของทารกจะเริ่มเต้น เริ่มมีการสร้างโครงสร้างของ สมอง ไขสันหลัง ระบบประสาท รวมถึงอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ก็จะเริ่มพัฒนาหลังจากผ่านช่วงสัปดาห์นี้ไป

อ่านเพิ่มเติม : อาหารสำหรับคนแพ้ท้อง ที่ดีต่อคุณแม่และลูกในครรภ์

อาการผิดปกติที่พบบ่อยในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ พร้อมแนวทางดูแล

ในช่วงการตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์แรก ซึ่งถูกนับเป็น “ไตรมาสแรก” ของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะเริ่มพบกับอาการแพ้ท้องได้ในช่วงเวลานี้ เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง แต่สำหรับคุณแม่บางคนที่ตั้งท้องได้ 6 สัปดาห์ ก็อาจไม่มีอาการอะไรเลย สำหรับอาการผิดปกติที่คุณแม่หลายคนเผชิญ ก็จะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

การตรวจที่สำคัญของคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ครบ 6 สัปดาห์

แม้จะมีความเชื่อที่บอกกันว่า ในขณะที่ท้อง 6 สัปดาห์ ยังไม่ต้องอัลตราซาวนด์ เพราะว่าเร็วเกินไปที่จะเห็นพัฒนาการของเด็ก ทว่าที่จริงแล้วการอัลตราซาวนด์ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 ก็สามารถทำได้ เพื่อเป็นการเช็คตำแหน่งการฝังตัวของทารก ว่าไม่ได้มีภาวการณ์ตั้งครรภ์นอกมดลูก และยังได้เห็นการเต้นของหัวใจทารกในช่วงเริ่มต้น พร้อมกับการตรวจสอบความสมบูรณ์ของอวัยวะสำคัญอื่น ๆ เบื้องต้นได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม : อัลตราซาวนด์ไตรมาสแรก (อายุครรภ์ 0-12 สัปดาห์) มีประโยชน์อย่างไร

[Ultrasound] ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ (ที่มาภาพ : https://www.thebirthcompany.co.uk/your-pregnancy-guide/pregnancy-week-six)

5 คำแนะนำ สำหรับคุณแม่ที่กำลังท้อง 6 สัปดาห์ ควรทำ

  1. กินอาหารมื้อเล็ก ประมาณ 5 ถึง 6 มื้อต่อวัน เน้นอาหารย่อยง่าย เลี่ยงการกินอาหารมื้อใหญ่ เนื่องจากขณะที่แพ้ท้อง อาจคลื่นไส้บ่อย กินมื้อเล็ก ๆ จะได้ป้องกันอาการท้องว่าง และควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
  2. เดินยืดเหยียดเบา ๆ อย่างน้อยวันละ 15 ถึง 20 นาที เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ พร้อมกับยังเป็นการช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย
  3. จดจำข้อความจากแพทย์ ทุกครั้งที่มีการพบแพทย์ ควรจดจำสิ่งที่แพทย์แนะนำให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ หากใครที่กลัวลืม แนะนำให้ใช้ปากกาไฮไลท์ในส่วนที่สำคัญเอาไว้
  4. เลือกทานอาหารว่างระหว่างวัน อาจจะเป็นผลไม้อบแห้ง โยเกิร์ต กล้วยหอม หรือ แคร็กเกอร์ ซึ่งจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ พร้อมให้พลังงานได้ดีอีกด้วย
  5. ใส่ใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แม้จะเป็นอาการเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไม่ควรมองข้าม แม้ในช่วงท้อง 6 สัปดาห์จะมีอาการหลายอย่างเกิดขึ้น ก็ควรต้องรู้ว่า อาการไหนปกติ อาการไหนไม่ปกติ

 

บทส่งท้าย

การตั้งท้อง 6 สัปดาห์ ถือว่าเป็น “จุดเริ่มต้นของชีวิต” เพราะตัวอ่อนจะเริ่มพัฒนาอวัยวะสำคัญอย่าง สมอง ระบบประสาท ที่สำคัญคือหัวใจดวงน้อย ๆ ของเจ้าตัวเล็กก็จะเริ่มเต้นในช่วงสัปดาห์นี้ ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในร่างกาย หวังว่าเนื้อหาจากบทความนี้ จะช่วยให้คุณแม่มือใหม่รู้วิธีรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย และเข้าใจวิธีดูแลตัวเอง เพื่อสุขภาพของเจ้าตัวเล็กและคุณแม่ที่จะต้องดีไปพร้อม ๆ กัน

 

ข้อมูลอ้างอิง

ลิงก์อ้างอิงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ : ลิงก์ 1 , ลิงก์ 2 , ลิงก์ 3 , ลิงก์ 4 , ลิงก์ 5 , ลิงก์ 6 , ลิงก์ 7

Exit mobile version