SIGN IN YOUR ACCOUNT TO HAVE ACCESS TO DIFFERENT FEATURES

FORGOT YOUR PASSWORD?

FORGOT YOUR DETAILS?

AAH, WAIT, I REMEMBER NOW!
OPENED ON WEEKDAYS FROM 8:30 AM TO 6:30 PM
  • ร่วมงานกับเรา
  • Privacy Policy
  • Terms and Conditions
  • LOGIN

HealthSmile : ตรวจสุขภาพอย่างเฉพาะเจาะจง

  • Home
  • บริการของเรา
    • ตรวจสุขภาพองค์กร / บริษัท / โรงงาน
    • เลือกรายการตรวจสุขภาพตามใจคุณ
      • รายการตรวจสุขภาพที่ให้บริการ
      • รายการที่คุณเลือก
      • ชำระเงิน
    • เลือกรายการตรวจสุขภาพ ด้วยปัญญาประดิษฐฺ์
      • รายการที่คุณเลือก
      • ชำระเงิน
    • ระบบปัญญาประดิษฐ์ สำหรับศูนย์ตรวจสุขภาพและคลินิก
  • เกี่ยวกับเรา
    • Our TEAM & PARTNERS
    • ติดต่อ / สอบถาม / สมัครงาน
  • ความรู้สุขภาพ
  • ติดต่อ / สอบถาม / สมัครงาน
089 874 9565PRIMA CHECK
  • No products in cart.
  • Home
  • ความรู้สุขภาพ
  • ความรู้ผลตรวจสุขภาพ แลป
  • กาตรวจ Carcinoembryonic antigen (CEA) มะเร็งลำไส้ใหญ่

ความรู้สุขภาพ

วันอาทิตย์, 29 กันยายน 2019 / Published in ความรู้ผลตรวจสุขภาพ แลป

กาตรวจ Carcinoembryonic antigen (CEA) มะเร็งลำไส้ใหญ่

CEA คือการตรวจอะไร

            CEA คือโปรตีนที่ถูกสร้างจากทารกในครรภ์ ขณะที่กำลังพัฒนาตัวเอง จนกระทั่งคลอดออกมา และจะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งพบได้น้อยมากๆ เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่ ดังนั้นในวัยผู้ใหญ่หากมีการตรวจพบค่า CEA นั่นหมายถึการเกิดก้อนมะเร็งขึ้นภายในร่างกาย แพทย์จึงมักใช้ค่า CEA นี้ในการตรวจวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคมะเร็ง

            เนื่องจากค่า CEA จะตรวจพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเท่านั้นโดยเฉพาะ มะเร็งลำไส้ ค่า CEA จึงกลายเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ใช้ในการตรวจติดตามโรคมะเร็ง แต่เมื่อมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้นพบว่านอกจากมะเร็งแล้ว ยังมีภาวะอื่นๆที่ทำให้ตรวจพบค่า CEA ในเลือดได้อีกเช่น การอักเสบต่างๆ โรคตับแข็ง โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคลำไส้อักเสบ โรคถุงลมโป่งพอง รวมถึงคนที่สูบบุหรี่เป็นต้น ทำให้การตรวจค่า CEA จะไม่ใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยโรคมะเร็งแล้ว แต่ยังมีบทบาทในการตรวจติดตามการรักษาในผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งแล้วจากสาเหตุอื่นๆ โดยตรวจเป็นระยะหลังจากได้รับการรักษาไปแล้วเพื่อดูว่ามีการตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่

ต้องใช้สิ่งส่งตรวจอะไรบ้าง

            โดยทั่วไปจะทำการเจาะเลือดปกติ แต่บางครั้งอาจมีการใช้สิ่งส่งตรวจอื่นๆเช่น น้ำในช่องท้อง น้ำในเยื่อหุ้มปอด
หรือน้ำไขสันหลังเป็นต้น

ค่า CEA มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

            – ใช้ในการตรวจติดตามการตอบสนองต่อการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งไส้ตรง มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปอด
มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกรเพาะอาหาร และมะเร็งรังไข่ โดยแพทย์จะตรวจค่า CEA ก่อนการรักษาเพื่อเอาไว้เทียบกับค่า CEA ระหว่างและหลังได้รับการรักษา เพื่อดูการตอบสนองและการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง

            – ใช้ในการแบ่งระดับความรุนแรงของโรคมะเร็ง ขนาดก้อนมะเร็งและการแพร่กระจายของมะเร็ง

            – การตรวจค่า CEA ที่ไม่ได้ตรวจจากในเลือด จะช่วยบอกได้ว่ามีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปที่อวัยวะนั้นๆหรือไม่
เช่น ตรวจน้ำที่เยื่อหุ้มปอด หรือในช่องท้องเพื่อดูการแพร่กระจายไปยังปอด หรือกระเพาะอาหาร

            แต่ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลใจเมื่อเห็นว่าแพทย์สั่งตรวจค่า CEA เพราะจากที่กล่าวมาข้างต้นว่าค่า CEA ไม่เหมาะสำหรับ
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เนื่องจากเกิดขึ้นได้จากหลายสภาวะทั้งจากมะเร็ง และไม่ใช่มะเร็ง

เมื่อไหร่แพทย์จะสั่งตรวจค่า CEA

            ค่า CEA จะถูกสั่งตรวจเมื่อผู้ป่วยถูกวินิจฉัยว่าเป้นโรคมะเร็งที่สามารถสร้างค่า CEA ได้ จากวิธีตรวจอื่นๆ โดยจะทำการตรวจก่อนการรักษาเพื่อเป็นมาตรฐานไว้เทียบ จากนนั้นจะทำการตรวจระหว่างและหลังการรักษาเป็นระยะๆ

            แต่บางครั้งค่า CEA ก็ถูกสั่งตรวจก่อนที่จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ซึ่งงเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมมากนัก แต่จะช่วยให้ข้อมูล
แก่แพทย์และช่วยให้แพทย์วางแนวทางการรักษาได้ง่ายมากขึ้น

            นอกจากนี้ยังมีการตรวจค่า CEA จากน้ำที่เบื่อหุ้มปอด น้ำที่เยื่อบุช่องท้อง รวมถึงน้ำไขสันหลัง เพื่อดูการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย

มีการแปลผลค่า CEA อย่างไร

สำหรับการติดตามการรักษา และการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง

            เมื่อค่า CEA ลดลงจากค่าพื้นนฐานของผู้ป่วยนั่นหมายถึงประสบความสำเร็จในการรักษาโรคมะเร็ง แต่หากค่า CEA
มีการลดลงแล้วอยู่ๆเกิดพบขึ้นมาสูงอีกนั่นหมายถึงการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง

สำหรับการแบ่งระดับความรุนแรง

            หากก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กจะพบค่า CEA เพิ่มเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากมะเร็งมีก้อนใหญ่ขึ้น และมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆจะพบว่าค่า CEA จะเพิ่มตามไปด้วย

สำหรับการตรวจเพื่อดูการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง

            หากพบค่า CEA ที่บริเวณอื่นนอกจากเลือดเช่น พบว่าค่า CEA สูงขึ้นในน้ำไขสันหลังนั่นหมายความว่ามีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง)

            แต่ต้องไม่ลืมว่าไม่ใช่มะเร็งทุกชนิดจะสามารถผลิตค่า CEA ได้ ดังนั้นหากตรวจไม่พบค่า CEA ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นมะเร็ง ค่า CEA จึงไม่ใช้ตรวจเพื่อการคัดกรองโรคมะเร็ง

มีเรื่องอื่นๆที่ควรทราบอีกหรือไม่

            – การตรวจค่า CEA มีหลายวิธีที่ใช้ ดังนั้นการตรวจในห้องแลปที่แตกต่างกัน และวิธีที่แตกต่างกัน จะทำให้ค่า CEA ออกมาไม่เท่ากัน คำแนะนำคือ คววรตรวจที่ห้องแลปเดิมตลอดการรักษา เพื่อความแม่นยำในการแผลผลการรักษา ซึ่งหากผู้ป่วยไม่สะดวกในส่วนใดของการรักษา ให้ปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้เพื่อหาวิธีการแก้ไขร่วมกัน

            – การสูบบุหรี่จะทำให้ค่า CEA สูงขึ้นได้ ดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่มักมีค่า CEA สูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

            – การเพิ่มขึ้นของค่า CEA สามารถเกิดจากสาเหตุที่ไม่ใช่โรคมะเร็งได้เช่น การอักเสบต่างๆ โรคตับแข็ง โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคลำไส้อักเสบ และโรคถุงลมโป่งพองเป็นต้น

Tagged under: CEA, มะเร็งลำไส้

What you can read next

โปรตีนอัลบูมินในกระแสเลือด
การตรวจวิตามินดี
การตรวจความสมบูรณ์ชองเม็ดเลือด (Complete blood count)

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Recent Posts

  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง 2020

    ตารางแสดงเรื่องการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งประเภทต่า...
  • งานวิจัย : ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง กับอัตราการเสียชีวิต

    ที่มาของการศึกษา      ...
  • ประจำเดือนกับสุขภาพ

           &nbsp...
  • 10 สาเหตุ ทำไมนกเขาถึงไม่ขัน (สาเหตุของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

    ภาวะซึมเศร้า      &nbs...
  • 14 โรคที่วินิจฉัยแสนยาก

    1. โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome) &...

Categories

  • PARTNERS
  • ความรู้ผลตรวจสุขภาพ แลป
  • ความรู้สุขภาพ / โรคภัย

Tags

HIV กาแฟ คลอเลสเตอรอล ความเข้มข้นเลือด ความเครียด ตรวจร่างกาย ตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด ติดเชื้อ นอนกรน นิ่ว บุหรี่ ประจำเดือน ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปัสสาวะ ผมร่วง ฝังเข็ม ภูมิแพ้ มะเร็ง ยาเสพติด รังไข่ วัยทอง สายตาผิดปกติ ส่วนสูง อัลบูมิน อัลไซเมอร์ อ่อนแรง อ้วน ฮอร์โมน เกร็ดเลือด เบาหวาน เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง แอลกอฮอล์ โบท็อกซ์ โรคตับ โรคสมอง โรคหัวใจ โรคเลือด โรคไต โรคไทรอยด์ ใจสั่น ไขมันในเลือด ไมเกรน

บริษัท เฮลท์สไมล์ จำกัด
Health Smile Co., Ltd.

899/17 หมู่ 2 ตำบลบ้านคลองสวน
อำเภอพระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ
10290

เลขทะเบียนนิติบุคคล 0115560004927

เลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล 10101023860

PAGES

  • Home
  • บริการของเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ความรู้สุขภาพ
  • ติดต่อ / สอบถาม / สมัครงาน

ความรู้สุขภาพ

VIEW ALL
  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง 2020

    พฤศจิกายน 30, 2019
  • งานวิจัย : ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง กับอัตราการเสียชีวิต

    พฤศจิกายน 15, 2019

รับข้อมูลสุขภาพ และข่าวสารจากเรา

ส่งตรงถึง Email ของคุณ ทุก 2 สัปดาห์

Made with ♥ and passion © 2019 HealthSmile Co.,Ltd. All rights reserved.
TOP