เนื้อหาในบทความนี้

ขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติ หรือการใช้เทคโนโลยีช่วย เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF : Invitro fertilization) , ICSI (Intracytoplasmic sperm injection) หรือวิธีอื่นๆ ในการใช้เทคโนโลยีช่วยการตั้งครรภ์นั้น ก็จะสามารถนำตัวอ่อนมามาตรวจคัดกรองโครโมโซมก่อนการฝังตัว หรือเรียกว่า PGT-A ได้ ซึ่งจะทำให้เลือกเฉพาะตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมปกติเท่านั้น ฝังเข้าไปในโพรงมดลูกของคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งในกรณีคุณแม่ ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน แล้ว จะต้องตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมขณะตั้งครรภ์ (NIPT หรือ NIFTY) อีกหรือไม่ ในบทความนี้จะมีคำตอบค่ะ

เด็กหลอดแก้วที่ได้ ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ก่อนใส่ในโพรงมดลูกแล้ว ยังควรตรวจ NIPT หรือ NIFTY หรือไม่

 

[เด็กหลอดแก้ว] ทำ ICSI ตรวจโครโมโซมก่อนใส่ตัวอ่อนแล้ว ต้องตรวจ NIPT หรือ ตรวจนิฟตี้ ซ้ำอีกไหม

 

คำตอบ คือ สามารถเลือกได้ว่าจะตรวจซ้ำหรือไม่ แต่หากกังวลก็แนะนำว่าควรตรวจซ้ำ ขึ้นอยู่กับความต้องการของครอบครัวว่าต้องการตรวจหรือไม่

 

เหตุผลที่แนะนำว่าควรตรวจคัดกรองโครโมโซมซ้ำ

 

ภาวะขาด-เกินของโครโมโซม เป็นความผิดปกติที่เกิดได้บ่อยที่สุดในตัวอ่อนที่ได้จากการทำเด็กหลอดแก้ว โดยทั่วไปเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าภาวะขาด-เกินของโครโมโซมนั้น มีปัจจัยเสี่ยงหลักๆก็คือเรื่องอายุของมารดา

 

มีการศึกษาอย่างชัดเจนแล้ว ว่า การคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติด้วยวิธี PGT-A (Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy) หรือในอดีตเรียกว่า PGS (Pre-implantation genetic screening) นั้นสามารถลดโอกาสการตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติของโครโมโซม นอกจากนี้ ยังเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เปอร์เซนต์การตั้งสูงขึ้นได้ด้วย

โดย PGT-A นั้น มีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณมากกว่า 95% ซึ่งก็ถือว่ามีความแม่นยำสูงในการตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจากการขาด-เกินของโครโมโซม ดังนั้น หากรับได้กับโอกาสผิดพลาดที่มีไม่มากนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจ NIPT ซ้ำ

ความแม่นยำของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนฝังในโพรงมดลูก (PGT-A) ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง

  1. คุณภาพของเซลล์ที่ส่งตรวจ : หากเซลล์ที่ได้มามีคุณภาพต่ำ หรือเก็บไว้นานก่อนที่จะนำส่งเข้าเครื่องตรวจ ก็จะทำให้ผลไม่แม่นยำได้
  2. เทคนิคที่ใช้ในการตรวจ : มีเทคนิคในการตรวจ PGT-A อยู่หลายเทคนิค เช่น ในอดีตจะใช้ fluorescence in situ hybridization (FISH), comparative genomic hybridization (CGH), ส่วนในปัจจุบัน จะใช้เทคนิค next-generation sequencing (NGS) ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดเท่าที่มี ณ ปัจจุบัน
  3. ความเชี่ยวชาญของแลปที่ตรวจ : เนื่องจากเป็นการดูผลจากเซลล์จำนวนน้อย ดังนั้น ผู้ที่ทำการตรวจจะต้องมีความเชี่ยวชาญ รวมถึงเครื่องที่ใช้ตรวจจะต้องมีความแม่นยำด้วย
  4. ระยะของตัวอ่อนที่นำไปตรวจ : การตรวจที่ระยะ blastocyst ณ ปัจจุบันถือว่าเป็นช่วงที่มีความแม่นยำมากกว่าการตรวจที่ระยะก่อนหน้า
  5. ภาวะ Mosaic ของตัวอ่อน : ภาวะ Mosaicism ของตัวอ่อน คือภาวะที่ในตัวอ่อนนั้นๆมีทั้งเซลล์ที่มีโครโมโซมปกติ ปะปนกับเซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติ การตรวจ PGT-A หากสุ่มได้เซลล์ที่ปกติไปตรวจเพียงอย่างเดียว ก็จะทำให้ผลผิดพลาดได้
  6. ความผิดปกติของโครโมโซม หรือพันธุกรรมของพ่อ-แม่ : ความผิดปกติบางอย่างก็ไม่สามารถตรวจได้จากการตรวจ PGT-A ได้

 

จะเห็นได้ว่า การตรวจ PGT-A นั้นก็มีข้อจำกัดหลายๆอย่าง อาจเกิดความผิดพลาดของการอ่านผลเนื่องมาจากปริมาณ DNA ที่เก็บมาได้จากเซลล์ของตัวอ่อนนั้นมีปริมาณน้อยเกินไป นอกจากนั้น ยังอาจมีภาวะโมเซอิก (Mosaic) ซึ่งก็คือการที่โครโมโซมของเด็กแต่ละเซลล์มีความแตกต่างกัน ทำให้เซลล์ที่นำมาตรวจนั้นถึงแม้ว่าผลปกติ ก็อาจจะไม่สามารถบอกได้ว่าเซลล์อื่นๆจะปกติทั้งหมด

การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซม หลังจากตั้งครรภ์สำเร็จแล้ว

 

ในปัจจุบัน หากคุณแม่สามารถตั้งครรภ์ได้แล้ว ก็มีการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมอยู่หลายวิธีในช่วงการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อย เช่น การตรวจอัลตราซาวนด์ดูความหนาต้นคอเด็ก, การตรวจสารเคมีในเลือดมารดา (PAPP-A), การตรวจ NIPT เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบเจาะเลือด มีกี่แบบ? ความแม่นยำเท่าไหร่?)

 

นอกจากนี้ยังมีการตรวจวินิจฉัยได้แก่ การเจาะน้ำคร่ำ หรือการตัดชิ้นเนื้อรกบางส่วนมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้เช่นเดียวกัน แต่ทั้งวิธีเจาะน้ำคร่ำ หรือการตัดชื้นเนื้อรกนี้ ก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแท้งบุตรได้

 

ซึ่งการตรวจเมื่อตั้งครรภ์แล้วนั้น ก็จะมีประโยชน์เพราะว่าเป็นการตรวจคัดกรองโครโมโซมในทารกที่ยืนยันการมีชีวิตแล้ว และช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณแม่และครอบครัวได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ การตรวจ NIPT หรือ NIFTY นั้น ยังสามารถตรวจภาวะที่มีการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กๆ (deletion/duplication syndrome) ซึ่ง PGT-A ไม่สามารถตรวจได้ (อ่านต่อ : NIFTY®️ Pro เพิ่มรายการตรวจ deletion/duplication จาก 84 เป็น 92 รายการแล้ว)

สรุป

จะเห็นได้ว่า ถึงแม้คุณแม่ที่ทำเด็กหลอดแก้ว จะได้ทำการตรวจคัดกรองโครโมโซมก่อนใส่ตัวอ่อนเข้าในโพรงมดลูก ก็ยังมีโอกาสที่ตัวอ่อนนั้นมีความผิดปกติของโครโมโซมได้ อันเนื่องจากสาเหตุ 2 ประการ ก็คือ

 

  1.  
    1. ภาวะโมเซอิก (Mosaicism) ที่เกิดจากเซลล์ของของตัวอ่อนแต่ละเซลล์นั้น มีโครโมโซมที่ไม่เหมือนกัน ทำให้การสุ่มนำเซลล์ของตัวอ่อนเพียงบางเซลล์มาตรวจก่อน ก็อาจจะมีโอกาสได้แต่เซลล์ที่ปกติ แต่ไม่ได้เซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติมาด้วยก็ได้
    2. การนำเซลล์เพียงบางเซลล์จากตัวอ่อน (ซึ่งเซลล์ที่นำมาตรวจมีจำนวนน้อย) อาจทำให้เกิดข้อจำกัดของปริมาณ DNA ที่นำมาตรวจนั้นมีน้อยเกินไป

 

นอกจากนี้ ข้อจำกัดของ PGT-A คือ ไม่สามารถตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กๆ (deletion/duplication syndrome)ได้

ดังนั้น เพื่อความมั่นใจว่าทารกที่อยู่ในครรภ์ มีความปกติของโครโมโซม แพทย์จึงแนะนำว่าคุณแม่ สามารถเลือกที่จะตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมเพิ่มเติมได้ (เช่น NIPT, NIFTY) หรือจะเลือกตรวจวินิจฉัยด้วยการเจาะน้ำคร่ำหรือตรวจชิ้นเนื้อรกก็ได้เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดี โครโมโซมก็เปรียบเสมือนแม่พิมพ์ของชีวิต คุณแม่ยังต้องมีการให้สารอาหารและความรักความอบอุ่นตลอดการตั้งครรภ์ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลและฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และถึงแม้ว่าผลตรวจทั้งหลายจะปกติมารดาทุกคนก็จะมีความเสี่ยงพื้นฐาน 3 ถึง 5% สำหรับการตั้งครรภ์ใดๆ ที่จะส่งผลให้ทารกมีความพิการแต่กำเนิดหรือปัญญาอ่อนได้ ซึ่งการตรวจคัดกรองก่อนคลอดและการทดสอบวินิจฉัยไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติทั้งหมด และผลการตรวจที่ปกติไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะปกติไปจนถึงช่วงเวลาคลอด

References

Kimelman, D., Confino, R., Confino, E., Shulman, L. P., Zhang, J. X., & Pavone, M. E. (2018). Do patients who achieve pregnancy using IVF-PGS do the recommended genetic diagnostic testing in pregnancy? Journal of Assisted Reproduction and Genetics, 35(10), 1881–1885. https://doi.org/10.1007/s10815-018-1289-z

Kimelman, D., & Pavone, M. E. (2021). Non-invasive prenatal testing in the context of IVF and PGT-A. Best Practice & Research. Clinical Obstetrics & Gynaecology, 70, 51–62. https://doi.org/10.1016/j.bpobgyn.2020.07.004

Madjunkov, M., Abramov, R., Glass, K. B., Baratz, A. Y., Sharma, P. A., Madjunkova, S., & Librach, C. L. (2023). Noninvasive prenatal testing (nipt) after euploid embryo transfer shows high concordance with pgt-a results and low nipt predictive values. Fertility and Sterility, 120(4), e50. https://doi.org/10.1016/j.fertnstert.2023.08.165

หากมีคำถามใดๆเกี่ยวกับเนื้อหาในบทความ สามารถกรอกคำถามไว้ที่แบบฟอร์มด้านท้ายของบทความ ทางทีมงานเฮลท์สไมล์ของเราจะรีบตอบกลับให้เร็วที่สุดค่ะ

ตรวจนิฟตี้ ราคาประหยัด

หากต้องการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมครบ 23 คู่ รู้เพศ และโรคอื่นๆได้มากถึง 94 โรคกับ Brand NIFTY®️ หรือ NGD NIPS

📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่ Line ID : @Healthsmile
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้ https://link.healthsmile.co.th/add-line/NIFTY-content

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

คุณแม่ทุกคนอยากให้ลูกในครรภ์สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีความผิดปกติ ไม่เป็นดาวน์ซินโดรม หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ดังนั้นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ซึ่งมีหลายการตรวจจึงเป็นเรื่องสำคัญ

✅✅✅✅✅